ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือโคร่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คำผิด สัมพันธุ์ เป็น สัมพันธ์
บรรทัด 92: บรรทัด 92:
|}
|}


== ความเชื่อและความสัมพันธุ์กับมนุษย์ ==
== ความเชื่อและความสัมพันธ์กับมนุษย์ ==
[[ไฟล์:Malaysia FA.gif|thumb|[[สัญลักษณ์]]ของทีม[[ฟุตบอลทีมชาติมาเลเซีย]]]]
[[ไฟล์:Malaysia FA.gif|thumb|[[สัญลักษณ์]]ของทีม[[ฟุตบอลทีมชาติมาเลเซีย]]]]
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาช้านาน โดยเฉพาะใน[[วัฒนธรรม]]ของเอเชีย มีเรื่องราว [[ความเชื่อ]]และ[[นิทาน]]เกี่ยวกับเสือโคร่งมากมาย ด้วยเป็นสัตว์ใหญ่มีพละกำลังมากมาย และมีความสง่างาม เช่น เรื่องราวของ[[บู๋ซ้ง]]สู้กับเสือด้วยมือเปล่า ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในวีรบุรุษในวรรณกรรมเรื่อง ''[[108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน]]'' เป็นต้น<ref>Li, Mengxia. 108 ''Heroes from the Water Margin'', page 29. EPB Publishers Pte Ltd, 1992. ISBN 9971-0-0252-3.</ref>
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาช้านาน โดยเฉพาะใน[[วัฒนธรรม]]ของเอเชีย มีเรื่องราว [[ความเชื่อ]]และ[[นิทาน]]เกี่ยวกับเสือโคร่งมากมาย ด้วยเป็นสัตว์ใหญ่มีพละกำลังมากมาย และมีความสง่างาม เช่น เรื่องราวของ[[บู๋ซ้ง]]สู้กับเสือด้วยมือเปล่า ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในวีรบุรุษในวรรณกรรมเรื่อง ''[[108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน]]'' เป็นต้น<ref>Li, Mengxia. 108 ''Heroes from the Water Margin'', page 29. EPB Publishers Pte Ltd, 1992. ISBN 9971-0-0252-3.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:40, 10 มกราคม 2560

เสือโคร่ง
ลูกเสือโคร่งมลายู (P. t. jacksoni) 2 ตัวกำลังเล่นกัน
เสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) ที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
ชื่อทวินาม
Panthera tigris
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย

P. t. tigris
P. t. corbetti
P. t. jacksoni
P. t. sumatran
P. t. altaica
P. t. amoyensis
P. t. virgata
P. t. balica
P. t. sondaica
P. t. acutidens
P. t. trinilensis

แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งในอดีต (สีเหลือง) และใน ค.ศ. 2006 (สีเขียว)[2]
ชื่อพ้อง

Felis tigris Linnaeus, 1758
Tigris striatus Severtzov, 1858
Tigris regalis Gray, 1867

เสือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้วย

กายภาพและลักษณะ

เสือโคร่งมีโครโมโซมจำนวน 38 โครโมโซม (2 N = 38) มีความยาวโดยเฉลี่ยจากหัวไปจนถึงโคนหาง 1.4-2.8 เมตร หางยาว 60-95 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 130-260 กิโลกรัม มีขนลำตัวสีน้ำตาลเหลืองหรือเหลืองอมส้ม มีลายสีดำ พาดขวางตลอดทั้งลำตัวเป็นจุดเด่น ซึ่งลายเส้นนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสือโคร่งแต่ละตัวจะมีลายไม่เหมือนกันเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของมนุษย์ ส่วนหางมีแถบดำเป็นบั้ง ๆ หรือวงสีดำสลับน้ำตาล ปลายหางมีสีดำ โดยไม่มีพู่เหมือนสิงโต (P. leo) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุลเดียวกัน ขนใต้คาง คอ และใต้ท้องเป็นสีขาว ขนเหนือบริเวณตาเป็นสีขาวหรือเป็นแถบหรือเส้นสีดำพาดขวางเช่นกัน หลังใบหูมีสีดำและมีจุดสีขาวนวลอยู่ตรงกลาง อายุโดยเฉลี่ย 15-20 ปี

พฤติกรรม

เสือโคร่งมีพฤติกรรมและอุปนิสัยชอบอยู่เพียงลำพังตัวเดียวโดด ๆ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จึงจะจับคู่กัน อายุที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นคือ 3-5 ปี โดยตัวเมียจะเป็นสัดทุก ๆ 50 วัน และจะส่งเสียงร้องดังขึ้น ๆ และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ การผสมพันธุ์ของเสือโคร่งนั้นใช้เวลาเร็วมาก คือ ใช้เวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วตัวผู้จะแยกจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่น ตัวเมียที่ปฏิสนธิแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 105-110 วัน คลอดลูกครั้งละ 1-6 ตัว และจะเลี้ยงลูกเองตามลำพังโดยไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ประมาณ 2 ปี

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่ง ชอบว่ายน้ำและแช่น้ำมาก ซึ่งแตกต่างจากเสือสายพันธุ์อื่น ล่าเหยื่อได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจะนอนพักผ่อน ล่าเหยื่อในเวลาเย็น พลบค่ำ กลางคืน หรือขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด มีสายตาที่มองเห็นได้ทั้งที่มืดและสว่าง จะคืบคลานเข้าหาเหยื่อในระยะใกล้ 10-25 เมตร จนกระทั่งได้ระยะ 2-5 เมตร จึงกระโดดใส่ หากเป็นเหยื่อขนาดเล็กจะกัดที่คอหอย หากเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น เก้ง หรือ กวาง จะกัดที่ท้ายทอยหรือหลังด้านบน เสือโคร่งวิ่งได้เร็วกว่า 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถกระโจนในระยะทาง 500 เมตรได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที[3]

เสือโคร่งมักจะกัดที่คอหอยเหยื่อจากทางด้านบนหรือด้านล่าง บางทีกระโดดตะปบหลังและตะปบขาหลังเหยื่อให้ล้มลงก่อนที่จะกัดคอหอย และเมื่อได้เหยื่อแล้ว จะเริ่มกินเนื้อบริเวณคอก่อน แล้วจึงมากินที่ท้องและกล้ามเนื้อหลัง โดยมักจะไม่กินหัวและขาของเหยื่อ เหยื่อที่เหลือจะถูกฝังกลบโดยใช้ใบไม้ หรือกิ่งไม้ หรือเศษหญ้า และตัวเสือโคร่งเองจะหลบนอนอบู่บริเวณใกล้ ๆ นั้น และบางตัวอาจคาบเหยื่อขึ้นไปขัดไว้ตามคบไม้เหมือนเสือดาว (P. pardus) ด้วยก็ได้ เสือโคร่งมีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงมาก สามารถตามเหยื่อได้ไกลถึง 100-200 เมตร เพศผู้มีพื้นที่ในการหากินกว้างถึง 200-300 ตารางกิโลเมตร ขณะที่ตัวเมียมีเพียง 60 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เพื่อเลี้ยงตัวเองและลูกน้อย

นิสัยปกติจะหวงถิ่น โดยการหันก้นปัสสาวะรดตามต้นไม้ โขดหิน เพื่อให้กลิ่นของตนเองติดอยู่ เพื่อประกาศอาณาเขต ในบางครั้งอาจจะข่วนเล็บกับเปลือกไม้ด้วยเพื่อเป็นการลับเล็บและประกาศอาณาเขต หากมีเสือโคร่งตัวอื่นหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่รุกล้ำมา จะต่อสู้กัน โดยปกติแล้ว เสือโคร่งจะกลัวมนุษย์ จะหลบหนีไปเมื่อพบกับมนุษย์ แต่จะทำร้ายหรือกินเนื้อมนุษย์ได้ เมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก หรือเป็นเสือที่อายุมากแล้วไม่สามารถล่าเหยื่อชนิดอื่นได้ หากได้กินเนื้อมนุษย์ก็จะติดใจและจะกลับมากินอีก จนกลายเป็นเสือกินคน[4]

การแพร่กระจายพันธุ์

เสือโคร่งกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียตะวันออกจนถึงตะวันออกกลาง เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้อยู่ในภูมิประเทศต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้แต่ในพื้นที่หนาวเย็นอย่างไซบีเรีย หรือแห้งแล้งเป็นทะเลทราย อีกทั้งยังอยู่ได้ตามเกาะแก่งกลางทะเลอีกด้วย หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีรายงานว่า เสือโคร่งสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ด้วย

ปัจจุบัน ปริมาณเสือโคร่งในธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมีจำนวน 3,890 ตัว กระจายทั่วไปใน 13 ประเทศของทวีปเอเชีย ได้แก่ บังกลาเทศ, ภูฏาน, กัมพูชา , จีน , อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, รัสเซีย, เวียดนาม และไทย[5] สำหรับในประเทศไทยมีราว 250 ตัว ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และผืนป่าตะวันตก เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร, อุทยานแห่งชาติแม่วงก์, อุทยานแห่งชาติคลองลาน[6] รวมถึงอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา ที่มีปริมาณรองลงมา ส่วนป่าแถบอื่นพบน้อยมาก[5]

เสือโคร่งแคสเปียน (P. t. virgata) ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว
ภาพถ่ายเสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) ตายเพราะถูกล่าด้วยฝีมือมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1925

ชนิดย่อย

เสือโคร่งนั้นจากการที่มีจำนวนประชากรกระจายอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 9 ชนิดด้วยกัน แต่สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 3 ชนิด ส่วนที่เหลือก็อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ในขั้นวิกฤตแทบทั้งสิ้น

โดยในแต่ละชนิดย่อยนั้น จะแตกต่างกันที่ขนาดรูปร่างและลวดลายบนลำตัว แต่พฤติกรรมและนิเวศวิทยาจะไม่แตกต่างกันมากนัก

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ สถานที่พบ สถานะ
เสือโคร่งไซบีเรีย Siberian tiger P. t. altaica เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยตัวผู้ที่โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 3 เมตร หนักได้กว่า 300 กิโลกรัม ไซบีเรีย, บางส่วนของจีนที่ติดกับรัสเซีย และบางส่วนของเกาหลีเหนือ ปัจจุบันคาดว่ามีเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 200 ตัว
เสือโคร่งเบงกอล Bengal tiger P. t. tigris เป็นชนิดที่ขนาดใหญ่รองลงมา เป็นสายพันธุ์ที่มีปริมาณประชากรเหลือมากที่สุด และนิยมเลี้ยงกันตามสวนสัตว์เนื่องจากมีนิสัยดุร้ายน้อยที่สุด เอเชียใต้และบางส่วนของพม่า ประมาณ 2,000 ตัว ในธรรมชาติ
เสือโคร่งอินโดจีน Indochinese tiger P. t. corbetti เป็นชนิดที่แยกออกมาจากชนิดเบงกอล มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย บางส่วนของพม่าที่ติดต่อกับไทย, ทางตอนใต้ของจีน และภูมิภาคอินโดจีน ประมาณ 1,227-1,785 ตัวในธรรมชาติ
เสือโคร่งสุมาตรา Sumatran tiger P. t. sumatrae เป็นชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ พบได้เฉพาะบนเกาะสุมาตราที่เดียวเท่านั้น ประมาณ 250-300 ตัวในธรรมชาติ
เสือโคร่งจีนใต้ South China tiger P. t. amoyensis เป็นชนิดที่มีลวดลายน้อยและมีสีสันอ่อนที่สุด พบในประเทศจีนทางตอนใต้ ประมาณ 30 ตัวในธรรมชาติ จัดเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุด
เสือโคร่งแคสเปียน Caspian tiger P. t. virgata เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะใกล้เคียงกับชนิดไซบีเรีย พบตั้งแต่ที่ราบสูงแมนจูเรีย, เอเชียกลาง ไปจนถึงตะวันออกกลาง และอาจมีประชากรบางส่วนในซูดานหรืออียิปต์ด้วย สูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งชวา Java tiger P. t. sondaica เป็นหนึ่งในสามชนิดที่พบได้ในอินโดนีเซีย พบเฉพาะบนเกาะชวาเท่านั้น สูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งบาหลี Bali tiger P. t. balica เคยเป็นชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบเฉพาะบนเกาะบาหลีเท่านั้น สูญพันธุ์ไปแล้ว
เสือโคร่งมลายู Malayan tiger P. t. jacksoni เป็นชนิดที่ถูกแยกออกมาจากชนิดอินโดจีน โดยเฉลี่ยแล้วมีรูปร่างที่เล็กกว่าเล็กน้อย พบเฉพาะบนคาบสมุทรมลายู ประมาณ 490 ตัว ในธรรมชาติ

ความเชื่อและความสัมพันธ์กับมนุษย์

ไฟล์:Malaysia FA.gif
สัญลักษณ์ของทีมฟุตบอลทีมชาติมาเลเซีย

เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาช้านาน โดยเฉพาะในวัฒนธรรมของเอเชีย มีเรื่องราว ความเชื่อและนิทานเกี่ยวกับเสือโคร่งมากมาย ด้วยเป็นสัตว์ใหญ่มีพละกำลังมากมาย และมีความสง่างาม เช่น เรื่องราวของบู๋ซ้งสู้กับเสือด้วยมือเปล่า ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในวีรบุรุษในวรรณกรรมเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน เป็นต้น[7]

แต่เสือโคร่ง ก็จัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่ทำร้ายและกินมนุษย์ได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในอินเดีย ในช่วงทศวรรษที่ 20 มีผู้ถูกเสือโคร่งฆ่าตายและกินไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ถูกทำร้ายและกินเป็นระยะ ๆ ในอดีตการล่าเสือโคร่ง ถือเป็นกิจกรรมของบุคคลชั้นสูงและระดับเชื้อพระวงศ์ แม้กระทั่งในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างล่าในทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูง และหญ้าต่ำ แต่เสือโคร่งก็สามารถกระโจนหรือโจมตีช้างหรือผู้ที่อยู่บนหลังช้างได้อย่างไม่เกรงกลัว โดยมากแล้ว เสือโคร่งที่กินมนุษย์ จะเป็นเสือโคร่งที่แก่หรือได้รับบาดเจ็บจนไม่อาจล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ชนิดอื่นได้ จึงหันมาโจมตีมนุษย์ เพราะเป็นเหยื่อที่อ่อนแอ โจมตีได้ง่ายกว่า และเมื่อได้กินเนื้อมนุษย์ครั้งแรกแล้วก็จะติดใจ ในบางพื้นที่ของอินเดีย จะมีวิธีการป้องกันเสือโคร่งโจมตีได้ด้วยการใส่หน้ากากไว้ข้างหลัง เพราะเสือโคร่งมักจะโจมตีเหยื่อจากด้านหลัง [3] ในซันดาร์บังส์ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์เขตติดต่อระหว่างอินเดียและบังกลาเทศ เป็นสถานที่ ๆ เป็นที่รู้กันดีว่า เป็นที่ ๆ เสือโคร่งโจมตีใส่มนุษย์มากที่สุด ชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า บอนบีบี ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งป่าช่วยคุ้มครองปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากเสือโคร่ง แต่ก็มีรายงานการโจมตีใส่มนุษย์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา[8]

ในมาเลเซีย ได้ใช้เสือโคร่งเป็นตราแผ่นดินและสัญลักษณ์ของประเทศ โดยทีมฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียก็ได้รับฉายาว่า "เสือเหลือง" ด้วยเช่นกัน[9]

สำหรับความเชื่อทางโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเสือโคร่ง เช่น กระดูก กะโหลก เขี้ยว เล็บหรือหนังใช้เป็นเครื่องรางป้องกันภูผีปีศาจหรือเสนียดจัญไรได้ นอกจากนี้แล้วในตำรายาจีนอวัยวะของเสือโคร่ง เช่น อวัยวะเพศผู้ เชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ หรือเสริมสร้างสมรรถนะทางเพศ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดเพราะจากการได้ศึกษาแล้วก็พบว่าเป็นเพียงอาหารให้โปรตีนเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ แต่จากความเชื่อนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เสือโคร่งถูกล่าจนเกือบสูญพันธุ์จากธรรมชาติเช่นในปัจจุบัน

การอนุรักษ์

ปัจจุบัน เสือโคร่งทุกชนิดจัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN[1]) โดยถูกล่าเพื่อนำเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ ขายในตลาดค้าสัตว์ป่าหรือตลาดมืด ซึ่งชิ้นส่วนของเสือโคร่งนับว่าเป็นที่ต้องการอย่างมากของทวีปเอเชียรองลงมาจากงาช้างและนอแรด

ในปี ค.ศ. 2010 ทุกประเทศที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่ในธรรมชาติมีการทำสัตยาบันร่วมกันว่าภายในปี ค.ศ. 2022 ทุกประเทศจะต้องทำให้ประชากรเสือโคร่งในป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจากปริมาณที่มีอยู่ปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย เสือโคร่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้งประเทศไทยยังจัดว่าเป็นประเทศที่อนุรักษ์เสือโคร่งได้ดีในลำดับต้น ๆ โดยในรายงานขององค์การอนุรักษ์เสือโลกยกย่องให้ประเทศไทยอยู่อันดับ 4 ที่ขึ้นชื่อว่าสามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเพิ่มปริมาณเสือโคร่งในป่าธรรมชาติได้ดีรองจากอินเดีย, รัสเซีย และเนปาล [5]

ในระดับโลก ในวันที่ 29 กรกฎาคม ได้ถูกจัดให้เป็นวันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก โดยเริ่มต้นขึ้นจากการประชุมว่าด้วยเรื่องเสือโคร่งที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ใน ค.ศ. 2010[10]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Chundawat, R.S., Habib, B., Karanth, U., Kawanishi, K., Ahmad Khan, J., Lynam, T., Miquelle, D., Nyhus, P., Sunarto, S., Tilson, R., Wang, S. (2011). "Panthera tigris". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Wild Tiger Conservation". Save The Tiger Fund. สืบค้นเมื่อ 2009-03-07.
  3. 3.0 3.1 Tigers, "Biggest & Baddest". สารคดีทางอนิมอล พลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 23 มกราคม 2556
  4. นิตยสาร SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 คอลัมน์ สัตว์ป่าน่ารู้ หน้า 201-213 โดย พัชรินทร์ ธรรมรส
  5. 5.0 5.1 5.2 "29 ก.ค.วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก คืน "เสือ" ให้ "ป่า"". ไทยรัฐ. 28 July 2015. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  6. ถอนพิษ (รีรัน), รายการทางบลูสกายแชนแนล โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, อัญชลีพร กุสุมภ์ และวิทเยนทร์ มุตตามระ: อาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556
  7. Li, Mengxia. 108 Heroes from the Water Margin, page 29. EPB Publishers Pte Ltd, 1992. ISBN 9971-0-0252-3.
  8. Killer Tigers, "World's Deadliest Towns". สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557
  9. "อย่าประมาท!เฮงเตือนไทย'เสือเหลือง'ยุคใหม่อันตราย". โกลด์.คอม. 13 July 2013. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.
  10. "Vietnam observes International Tiger Day". สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera tigris ที่วิกิสปีชีส์