ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จูกัดเหลียง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6667513 สร้างโดย 171.96.181.199 (พูดคุย)
คำผิด กี่ครัง เป็น กี่ครั้ง, พ่งชน เป็น พุ่งชน, พินิหาร เป็น ภินิหาร, ดั้งด้น เป็น ดั้นด้น, ...
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยโจวผิง [[ซุยเป๋ง]] และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์[[ยุคชุนชิว]]และ[[ราชวงศ์ฉิน]] ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับขวันต๋งและงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับ[[เจียง จื่อหยา|เจียงไท่กง]] คนตกปลาอายุร่วม 80 ผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีเป็นอย่างมาก<ref>http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000108955</ref>
จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยโจวผิง [[ซุยเป๋ง]] และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์[[ยุคชุนชิว]]และ[[ราชวงศ์ฉิน]] ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับขวันต๋งและงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับ[[เจียง จื่อหยา|เจียงไท่กง]] คนตกปลาอายุร่วม 80 ผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีเป็นอย่างมาก<ref>http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000108955</ref>


จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่[[เล่าปี่]]จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว
จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่[[เล่าปี่]]จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้นด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว


จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่[[เล่าปี่]]ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจนกระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคนอาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น
จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่[[เล่าปี่]]ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจนกระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคนอาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น
บรรทัด 78: บรรทัด 78:
=== บุคคลอื่น ===
=== บุคคลอื่น ===
'''[[เล่าปี่]]'''
'''[[เล่าปี่]]'''
เล่าปี่ให้ความเคารพและศรัทธาในตัวจูกัดเหลียงเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ที่จูกัดเหลียงยังอาศัยอยู่ที่เขาโงลังกั๋ง ด้วยการแนะนำของ[[ชีซี]]ถึงความเป็นสุดยอดนักปราชญ์ ถึงกับพยายามดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็นเพื่อมาเชิญตัวจูกัดเหลียงไปเป็นที่ปรึกษาถึงสามครั้งแต่กับไม่พบตัวจูกัดเหลียง แต่หาได้ละความพยายามในการขอพบตัวจูกัดเหลียงแต่อย่างใด เล่าปี่เดินทางมาพบจูกัดเหลียงที่กระท่อมภายในเขาโงลังกั๋งเป็นครั้งที่สาม ระหว่างทางได้รับความอัปยศอดสูด้วยการเข้าใจผิด คิดว่าผู้อื่นที่มีถ้อยคำวาทะการเจรจาที่ฉลาดหลักแหลมคือจูกัดเหลียง ก็ตรงเข้าไปคาราวะด้วยความศรัทธาเสียหลายต่อหลายครั้ง จนกวนอูและเตียวหุย สองพี่น้องร่วมสาบานในสวนดอกท้อไม่พอใจการกระทำของเล่าปี่ เตียวหุยถึงกับเอ่ยปาก ในเมื่อยากได้ตัวจูกัดเหลียงก็จะไปจับมามอบให้ แต่กลับถูกเล่าปี่ต่อว่าด้วยความโกรธ
เล่าปี่ให้ความเคารพและศรัทธาในตัวจูกัดเหลียงเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ที่จูกัดเหลียงยังอาศัยอยู่ที่เขาโงลังกั๋ง ด้วยการแนะนำของ[[ชีซี]]ถึงความเป็นสุดยอดนักปราชญ์ ถึงกับพยายามดั้นด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็นเพื่อมาเชิญตัวจูกัดเหลียงไปเป็นที่ปรึกษาถึงสามครั้งแต่กับไม่พบตัวจูกัดเหลียง แต่หาได้ละความพยายามในการขอพบตัวจูกัดเหลียงแต่อย่างใด เล่าปี่เดินทางมาพบจูกัดเหลียงที่กระท่อมภายในเขาโงลังกั๋งเป็นครั้งที่สาม ระหว่างทางได้รับความอัปยศอดสูด้วยการเข้าใจผิด คิดว่าผู้อื่นที่มีถ้อยคำวาทะการเจรจาที่ฉลาดหลักแหลมคือจูกัดเหลียง ก็ตรงเข้าไปคาราวะด้วยความศรัทธาเสียหลายต่อหลายครั้ง จนกวนอูและเตียวหุย สองพี่น้องร่วมสาบานในสวนดอกท้อไม่พอใจการกระทำของเล่าปี่ เตียวหุยถึงกับเอ่ยปาก ในเมื่อยากได้ตัวจูกัดเหลียงก็จะไปจับมามอบให้ แต่กลับถูกเล่าปี่ต่อว่าด้วยความโกรธ


เมื่อเล่าปี่ได้พบจูกัดเหลียง จึงพยายามขอร้องและอ้อนวอนให้จูกัดเหลียงเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยราชการกอบกู้แผ่นดิน จนจูกัดเหลียงใจอ่อนต่อความอ่อนน้อมและความศรัทธาอย่างแรงกล้าในตนเองของเล่าปี่ จึงยอมละทิ้งอาชีพชาวนาที่ใช้ชีวิตอย่างสงบที่เขาโงลังกั๋งเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่ เล่าปี่นับถือจูกัดเหลียงดุจเช่นอาจารย์ผู้ประสาทวิชาให้แก่ศิษย์ ยอมรับคำแนะนำและความคิดเห็นของจูกัดเหลียงเสมอมา ซึ่งจูกัดเหลียงเองก็มอบความจงรักภักดีต่อเล่าปี่เช่นกัน แม้จะมีผู้อื่นเข้าเกลี้ยกล่อมให้นำใจออกห่างจากเล่าปี่เช่นจูกัดกิ๋นพี่ชายของตนเกลี้ยกล่อมให้มาอยู่ข้างซุนกวน แต่จูกัดเหลียงกลับปฏิเสธและเป็นฝ่ายชักชวนจูกัดกิ๋นมาอยู่ด้วยกับเล่าปี่แทน จูกัดเหลียงช่วยเล่าปี่กอบกู้ราชการแผ่นดินจนได้เป็นฮ่องเต้แห่งจ๊กก๊ก ถึงแม้ต่อมาพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต แต่จูกัดเหลียงก็ยังคอยช่วยเหลือพระเจ้าเล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสของพระเจ้าเล่าปี่ ด้วยความภักดีจนวาระสุดท้ายของตนเองจ๊กก๊กล้มสลายเพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนเป็นคนหูเบา
เมื่อเล่าปี่ได้พบจูกัดเหลียง จึงพยายามขอร้องและอ้อนวอนให้จูกัดเหลียงเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยราชการกอบกู้แผ่นดิน จนจูกัดเหลียงใจอ่อนต่อความอ่อนน้อมและความศรัทธาอย่างแรงกล้าในตนเองของเล่าปี่ จึงยอมละทิ้งอาชีพชาวนาที่ใช้ชีวิตอย่างสงบที่เขาโงลังกั๋งเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่ เล่าปี่นับถือจูกัดเหลียงดุจเช่นอาจารย์ผู้ประสาทวิชาให้แก่ศิษย์ ยอมรับคำแนะนำและความคิดเห็นของจูกัดเหลียงเสมอมา ซึ่งจูกัดเหลียงเองก็มอบความจงรักภักดีต่อเล่าปี่เช่นกัน แม้จะมีผู้อื่นเข้าเกลี้ยกล่อมให้นำใจออกห่างจากเล่าปี่เช่นจูกัดกิ๋นพี่ชายของตนเกลี้ยกล่อมให้มาอยู่ข้างซุนกวน แต่จูกัดเหลียงกลับปฏิเสธและเป็นฝ่ายชักชวนจูกัดกิ๋นมาอยู่ด้วยกับเล่าปี่แทน จูกัดเหลียงช่วยเล่าปี่กอบกู้ราชการแผ่นดินจนได้เป็นฮ่องเต้แห่งจ๊กก๊ก ถึงแม้ต่อมาพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต แต่จูกัดเหลียงก็ยังคอยช่วยเหลือพระเจ้าเล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสของพระเจ้าเล่าปี่ ด้วยความภักดีจนวาระสุดท้ายของตนเองจ๊กก๊กล้มสลายเพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนเป็นคนหูเบา
บรรทัด 137: บรรทัด 137:


== วรรณกรรมสามก๊ก ==
== วรรณกรรมสามก๊ก ==
ในวรรณกรรมเรื่อง[[สามก๊ก]] จูกัดเหลียงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึงมังกรซุ่มหรือมังกรหลับ จากคำแนะนำของ[[สุมาเต็กโช]]และ[[ชีซี]]ที่หลงกลอุบายของ[[โจโฉ]]จำต้องหวนกลับไปอยู่วุ่ยก๊กด้วยความจำใจ ทำให้[[เล่าปี่]]ต้องดั้งด้นมาเชิญตัวจูกัดเหลียงด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา จูกัดเหลียงมีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังก่อนที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้ฝากฝัง [[เล่าเสี้ยน]]ให้ดูแลบ้านเมืองต่อไป แต่ไม่อาจสำเร็จได้เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบาเชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮ<ref>http://men.mthai.com/men-around/35855.html</ref>
ในวรรณกรรมเรื่อง[[สามก๊ก]] จูกัดเหลียงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึงมังกรซุ่มหรือมังกรหลับ จากคำแนะนำของ[[สุมาเต็กโช]]และ[[ชีซี]]ที่หลงกลอุบายของ[[โจโฉ]]จำต้องหวนกลับไปอยู่วุ่ยก๊กด้วยความจำใจ ทำให้[[เล่าปี่]]ต้องดั้นด้นมาเชิญตัวจูกัดเหลียงด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา จูกัดเหลียงมีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังก่อนที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้ฝากฝัง [[เล่าเสี้ยน]]ให้ดูแลบ้านเมืองต่อไป แต่ไม่อาจสำเร็จได้เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบาเชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮ<ref>http://men.mthai.com/men-around/35855.html</ref>


=== อุบายและสิ่งเกี่ยวข้อง<ref>https://www.se-ed.com/product/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%87.aspx?no=9789741310821</ref> ===
=== อุบายและสิ่งเกี่ยวข้อง<ref>https://www.se-ed.com/product/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%87.aspx?no=9789741310821</ref> ===
บรรทัด 156: บรรทัด 156:
# ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพล[[เตียวคับ]]ยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว
# ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพล[[เตียวคับ]]ยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว
# สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5
# สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5
# ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ [[สุมาสู]] และ[[สุมาเจียว]] บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาพินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้
# ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ [[สุมาสู]] และ[[สุมาเจียว]] บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาภินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้
# ก่อนจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัยโดยให้นำหุ่นไม้ของจูกัดเหลียงขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในจุดนี้ บางฉบับกล่าวว่าจูกัดเหลียงให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้[[เกียงอุย]]เป็นทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็นทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิดว่าจูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของจูกัดเหลียง และยังให้[[เตียวหงี]]กับ[[ม้าต้าย]]ทำกลลวงกบฏ[[อุยเอี๋ยน]]จนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง
# ก่อนจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัยโดยให้นำหุ่นไม้ของจูกัดเหลียงขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในจุดนี้ บางฉบับกล่าวว่าจูกัดเหลียงให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้[[เกียงอุย]]เป็นทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็นทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิดว่าจูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของจูกัดเหลียง และยังให้[[เตียวหงี]]กับ[[ม้าต้าย]]ทำกลลวงกบฏ[[อุยเอี๋ยน]]จนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง


บรรทัด 162: บรรทัด 162:
สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่ของจูกัดเหลียงใช้เพื่อการสงคราม มีดังต่อไปนี้
สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่ของจูกัดเหลียงใช้เพื่อการสงคราม มีดังต่อไปนี้
* [[หน้าไม้กล]] สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกใช้หลังจากจูกัดเหลียงตายไปแล้ว จูกัดเหลียงเพียงออกแบบเท่านั้น และนำแบบร่างให้[[เกียงอุย]]ไปจัดการทำ กล่าวกันว่าหน้าไม้นี้สามารถยิงได้ครั้งละ 10 ดอก
* [[หน้าไม้กล]] สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกใช้หลังจากจูกัดเหลียงตายไปแล้ว จูกัดเหลียงเพียงออกแบบเท่านั้น และนำแบบร่างให้[[เกียงอุย]]ไปจัดการทำ กล่าวกันว่าหน้าไม้นี้สามารถยิงได้ครั้งละ 10 ดอก
* [[โคยนต์]] จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งเสบียงได้ทีละมากๆและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สามารถเดินทางได้ในช่องเขาแคบที่คนไม่อาจเดินผ่านได้ ทำให้ขงเบ้งสามารถขนเสบียงจากแนวหลังมายังแนวหน้าได้ไวขึ้น มีลักษณะคล้ายวัวสามารถเดินได้เองด้วยระบบกลไก แต่ต่อมาสุมาอี้ได้รู้เข้าจึงนำกองกำลังบุกจู่โจมกองคาราวานส่งเสบียงที่ใช้โคยนต์และได้นำมันมาชำแหละเพื่อดูกลไกและสร้างเลียนแบบเพื่อขนเสบียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่จูกัดเหลียงก็ได้แก้เผ็ดสุมาอี้โดยสั่งให้แม่ทัพนายกองนำทหารจำนวนหนึ่งแต่งตัวปลอมเป็นทหารของสุมาอี้ ลอบเข้าไปตอนกลางคืนระหว่างทางขนเสบียง และปลอมตัวเป็นทหารที่สุมาอี้ส่งมาเพื่อรับช่วงต่อ และเมื่อเผลอก็ให้สังหารทหารเหล่านั้นทิ้งเสีย และนำเสเบียงที่นำมาโดยโคยนต์กลับมา พร้อมทั้งสั่งว่า หากมีกองทัพหนุนของสุมาอี้มาไล่ตามและจวนถึงตัวให้พลิกลิ้นโคยนต์แล้วรีบถอยมาเพื่อสมทบกับกำลังหลักซึ่งจะส่งตามเข้าไปในภายหลัง และแล้วเป็นไปตามที่จูกัดเหลียงคาดไว้ สุมาอี้ก็ได้ส่งกองทัพหนุนเข้ามาเพื่อตีชิงเอาเสบียงกลับไป ทหารจ๊กก๊กของขงเบ้งที่มีจำนวนน้อยกว่าเห็นจะสู้ไม่ได้ก็พากันพลิกลิ้นโคยนต์แล้วถอยหนีทันที เมื่อทัพหนุนสุมาอี้มาถึงก็พยายามที่จะนำโคยนต์ซึ่งเต็มไปด้วยเสบียงกลับไป แต่ก็ต้องพบกับความประหลาดใจเพราะไม่ว่าจะดึงจะดันอย่างไร บรรดาโคยนต์ทั้งหลายที่ต่างเคยเดินได้ด้วยการตบทางด้านท้ายไม่กี่ครังกลับไม่ยอมขยับแม้สักนิด โดยที่พวกเขาต่างก็หาวิธีแก้ไขกันไม่ได้ จนกระทั่งกำลังหลักของจ๊กก๊กได้ยกมาถึงและได้ตีทัพหนุนสุมาอี้เสียจนแตกกระเจิง และกลับค่ายไปพร้อมทั้งเสบียงของสุมาอี้จำนวนมากที่บรรจุไว้ในโคยนต์ที่ลอกเลียนแบบ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วลิ้นของโคยนต์เป็นตัวระบบล็อกกลไก แต่ทหารของสุมาอี้นั้นไม่ทราบ แม้แต่ตัวสุมาอี้เองก็เช่นกันเพราะถึงแม้สุมาอี้จะสามารถลอกเลียนแบบโคยนต์ม้ากลของขงเบ้งได้ แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจถึงหลักการใช้งานทั้งหมด จึงทำให้สุมาอี้เสียรู้ขงเบ้งเป็นเหตุให้ต้องเสียเสบียงจำนวนมหาศาลให้แก่ขงเบ้ง ทำให้กองทัพสุมาอี้ต้องระส่ำระส่ายเป็นอย่างมาก
* [[โคยนต์]] จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งเสบียงได้ทีละมากๆและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สามารถเดินทางได้ในช่องเขาแคบที่คนไม่อาจเดินผ่านได้ ทำให้ขงเบ้งสามารถขนเสบียงจากแนวหลังมายังแนวหน้าได้ไวขึ้น มีลักษณะคล้ายวัวสามารถเดินได้เองด้วยระบบกลไก แต่ต่อมาสุมาอี้ได้รู้เข้าจึงนำกองกำลังบุกจู่โจมกองคาราวานส่งเสบียงที่ใช้โคยนต์และได้นำมันมาชำแหละเพื่อดูกลไกและสร้างเลียนแบบเพื่อขนเสบียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่จูกัดเหลียงก็ได้แก้เผ็ดสุมาอี้โดยสั่งให้แม่ทัพนายกองนำทหารจำนวนหนึ่งแต่งตัวปลอมเป็นทหารของสุมาอี้ ลอบเข้าไปตอนกลางคืนระหว่างทางขนเสบียง และปลอมตัวเป็นทหารที่สุมาอี้ส่งมาเพื่อรับช่วงต่อ และเมื่อเผลอก็ให้สังหารทหารเหล่านั้นทิ้งเสีย และนำเสเบียงที่นำมาโดยโคยนต์กลับมา พร้อมทั้งสั่งว่า หากมีกองทัพหนุนของสุมาอี้มาไล่ตามและจวนถึงตัวให้พลิกลิ้นโคยนต์แล้วรีบถอยมาเพื่อสมทบกับกำลังหลักซึ่งจะส่งตามเข้าไปในภายหลัง และแล้วเป็นไปตามที่จูกัดเหลียงคาดไว้ สุมาอี้ก็ได้ส่งกองทัพหนุนเข้ามาเพื่อตีชิงเอาเสบียงกลับไป ทหารจ๊กก๊กของขงเบ้งที่มีจำนวนน้อยกว่าเห็นจะสู้ไม่ได้ก็พากันพลิกลิ้นโคยนต์แล้วถอยหนีทันที เมื่อทัพหนุนสุมาอี้มาถึงก็พยายามที่จะนำโคยนต์ซึ่งเต็มไปด้วยเสบียงกลับไป แต่ก็ต้องพบกับความประหลาดใจเพราะไม่ว่าจะดึงจะดันอย่างไร บรรดาโคยนต์ทั้งหลายที่ต่างเคยเดินได้ด้วยการตบทางด้านท้ายไม่กี่ครั้งกลับไม่ยอมขยับแม้สักนิด โดยที่พวกเขาต่างก็หาวิธีแก้ไขกันไม่ได้ จนกระทั่งกำลังหลักของจ๊กก๊กได้ยกมาถึงและได้ตีทัพหนุนสุมาอี้เสียจนแตกกระเจิง และกลับค่ายไปพร้อมทั้งเสบียงของสุมาอี้จำนวนมากที่บรรจุไว้ในโคยนต์ที่ลอกเลียนแบบ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วลิ้นของโคยนต์เป็นตัวระบบล็อกกลไก แต่ทหารของสุมาอี้นั้นไม่ทราบ แม้แต่ตัวสุมาอี้เองก็เช่นกันเพราะถึงแม้สุมาอี้จะสามารถลอกเลียนแบบโคยนต์ม้ากลของขงเบ้งได้ แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจถึงหลักการใช้งานทั้งหมด จึงทำให้สุมาอี้เสียรู้ขงเบ้งเป็นเหตุให้ต้องเสียเสบียงจำนวนมหาศาลให้แก่ขงเบ้ง ทำให้กองทัพสุมาอี้ต้องระส่ำระส่ายเป็นอย่างมาก
* [[โคมลอย]] ใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร เรียกกันทั่วไปว่า โคมจูกัดเหลียง (Kongming lantern : 孔明灯)
* [[โคมลอย]] ใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร เรียกกันทั่วไปว่า โคมจูกัดเหลียง (Kongming lantern : 孔明灯)
* [[หมั่นโถว]] หลังเสร็จศึกเบ้งเฮกแล้ว กองทัพจ๊กก๊กไม่สามารถข้ามแม่น้ำได้เนื่องวิญญาณทหารทั้งหลายที่ตายในสนามรบไม่ได้รับการปลดปล่อย จูกัดเหลียงจึงต้องทำพิธีบวงทรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณด้วยการทำซาลาเปาแทนศีรษะเหล่าทหาร และเชิญดวงวิญญาณกลับ
* [[หมั่นโถว]] หลังเสร็จศึกเบ้งเฮกแล้ว กองทัพจ๊กก๊กไม่สามารถข้ามแม่น้ำได้เนื่องวิญญาณทหารทั้งหลายที่ตายในสนามรบไม่ได้รับการปลดปล่อย จูกัดเหลียงจึงต้องทำพิธีบวงทรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณด้วยการทำซาลาเปาแทนศีรษะเหล่าทหาร และเชิญดวงวิญญาณกลับ
* [[ปีศาจยนต์]] จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีลักษณะคล้ายกับ[[รถถัง]]และมีรูปร่างคล้ายกับสัตว์ประหลาดหน้าตาน่ากลัว สามารถพ่นไฟได้ สิ่งประดิษฐ์นี้ได้นำมาใช้ในศึกเบ้งเฮก เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากเบ้งเฮกถูกปล่อยตัวเป็นครั้งที่ 5 เบ้งเฮกก็ไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงได้ขอความช่วยเหลือกับหัวหน้าเผ่าคนหนึ่งที่สามารถเรียกสัตว์มาช่วย เมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้า หัวหน้าเผ่าคนนั้นได้เรียกฝูงโคและสั่งให้ไปพ่งชนกองทัพจ๊กก๊กจนต้องแตกกระเจิง จูกัดเหลียงก็ได้รู้จึงนำทัพด้วยตัวเองและได้นำปีศาจยนต์มาใช้ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนนั้นได้เรียกฝูงโคมาพุ่งชนอีก จูกัดเหลียงก็สั่งให้กองทัพเปิดกล่องที่บรรจุปีศาจยนต์เอาไว้ออกมา ทำให้ฝูงโคเกิดความกลัวจนไม่กล้าพ่งชนแม้หัวหน้าเผ่าจะสั่งแล้วสั่งอีกก็ไม่เป็นผล จูกัดเหลียงก็ได้สั่งให้กองทัพนำปีศาจยนต์เดินหน้าและพ่นไฟใส่ฝูงโคจนทำให้โคบางตัวถูกไฟครอกตาย เบ้งเฮกและหัวหน้าเผ่าเห็นท่าไม่จึงสั่งถอยทัพในที่สุด
* [[ปีศาจยนต์]] จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีลักษณะคล้ายกับ[[รถถัง]]และมีรูปร่างคล้ายกับสัตว์ประหลาดหน้าตาน่ากลัว สามารถพ่นไฟได้ สิ่งประดิษฐ์นี้ได้นำมาใช้ในศึกเบ้งเฮก เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากเบ้งเฮกถูกปล่อยตัวเป็นครั้งที่ 5 เบ้งเฮกก็ไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงได้ขอความช่วยเหลือกับหัวหน้าเผ่าคนหนึ่งที่สามารถเรียกสัตว์มาช่วย เมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้า หัวหน้าเผ่าคนนั้นได้เรียกฝูงโคและสั่งให้ไปพุ่งชนกองทัพจ๊กก๊กจนต้องแตกกระเจิง จูกัดเหลียงก็ได้รู้จึงนำทัพด้วยตัวเองและได้นำปีศาจยนต์มาใช้ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนนั้นได้เรียกฝูงโคมาพุ่งชนอีก จูกัดเหลียงก็สั่งให้กองทัพเปิดกล่องที่บรรจุปีศาจยนต์เอาไว้ออกมา ทำให้ฝูงโคเกิดความกลัวจนไม่กล้าพุ่งชนแม้หัวหน้าเผ่าจะสั่งแล้วสั่งอีกก็ไม่เป็นผล จูกัดเหลียงก็ได้สั่งให้กองทัพนำปีศาจยนต์เดินหน้าและพ่นไฟใส่ฝูงโคจนทำให้โคบางตัวถูกไฟครอกตาย เบ้งเฮกและหัวหน้าเผ่าเห็นท่าไม่ดีจึงสั่งถอยทัพในที่สุด


=== ตำรา ===
=== ตำรา ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:32, 2 มกราคม 2560

จูกัดเหลียง
เสนาธิการแห่งจ๊กก๊ก
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 724
ถึงแก่กรรม23 สิงหาคม พ.ศ. 777 (อายุ 53 ปี)
สถานที่ถึงแก่กรรมทุ่งอู่จั้งหยวน
ผู้ดำรงตำแหน่งคนถัดไปเจียวอ้วน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม諸葛亮
อักษรจีนตัวย่อ诸葛亮
ชื่อรองขงเบ้ง (ข่งหมิง)
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
ชื่ออื่น ๆฮกหลง (มังกรหลับ, 臥龍先生)
จูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳)

จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์

จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน[1]

ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน[2] (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ[3]

ประวัติ

ขงเบ้ง มีชื่อจริงว่าจูกัดเหลียง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูกัดฟ่ง ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เกิดเมื่อวันที่ 23 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติ (ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม ตามปฏิทินสากล) กำพร้าบิดาและมารดาตั้งแต่ยังเด็ก จึงไปอาศัยอยู่กับอา คือ จูกัดเหี้ยน เมื่ออายุได้ 16 ปี ทั้งหมดจึงอพยพไปอยู่ยังเมืองเกงจิ๋ว เล่าเปียวผู้เป็นเจ้าเมืองจึงยกพื้นที่บนเขาโงลังกั๋งให้ จูกัดเหลียงจึงปลูกกระท่อมหลังเล็ก ๆ อาศัยอยู่[4] จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูกัดจิ้น จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต คุณธรรม ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน[5]

จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยโจวผิง ซุยเป๋ง และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับขวันต๋งและงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับเจียงไท่กง คนตกปลาอายุร่วม 80 ผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความจงรักภักดีเป็นอย่างมาก[6]

จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้นด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว

จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่เล่าปี่ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจนกระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคนอาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น

เมื่อจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกับเล่าปี่ ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ดูแลและให้การเคารพนับถือเช่นอาจารย์ ทำให้จูกัดเหลียงมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อจูกัดเหลียงได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการใช้ไฟทำลายทัพของแฮหัวตุ้น แม่ทัพเอกของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว และโจหยิน จูกัดเหลียงก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง[7]

ความสัมพันธ์

ครอบครัว

  • บิดา: จูกัดกุ๋ย (諸葛珪), รับราชการในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
  • อา: จูกัดเสียน (諸葛玄), รับราชการโดยเป็นเจ้าเมืองอี้เจียง ต่อมาได้เข้าด้วยกับ เล่าเปียว โดยจูกัดเสียนเป็นคนชุบเลี้ยงลูกของจูกัดกุ๋ยทั้งสามคน
  • ลูกพี่ลูกน้อง:
    • จูกัดเอี๋ยน รับราชการที่วุยก๊ก เข้าร่วมในปราบกบฏสุมาเจียว แต่ก็พ่ายแพ้จนถูกฆ่าเสียชีวิต
  • บุตรบุญธรรม:
  • หลานชาย:
    • จูเก๋อแพ่น (諸葛攀), ลูกของจูกัดเกียว, กลับไปรับราชการที่ง่อก๊ก เพื่อสืบทอดเชื้อสายจูกัด หลังจูกัดเก๊กเสียชีวิต
    • จูกัดสง, ลูกชายคนโตของ จูกัดเจี๋ยม ถูกฆ่าตายพร้อมกับพ่อในสงครามวุยก๊กบุกจ๊กก๊ก
    • จูกัดเจ้ง (諸葛京), ลูกคนที่สองของ จูกัดเจี๋ยม ย้ายไปเหอตงในปี พ.ศ. 807 พร้อมกับ จูกัดเจง (諸葛顯) ลูกชายของ จูเก๋อแพ่น รับราชการกับราชวงศ์จิ้น
    • จูเก๋อฉี (諸葛質), ลูกชายคนเล็กของ จูกัดเจี๋ยม

บุคคลอื่น

เล่าปี่ เล่าปี่ให้ความเคารพและศรัทธาในตัวจูกัดเหลียงเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ที่จูกัดเหลียงยังอาศัยอยู่ที่เขาโงลังกั๋ง ด้วยการแนะนำของชีซีถึงความเป็นสุดยอดนักปราชญ์ ถึงกับพยายามดั้นด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็นเพื่อมาเชิญตัวจูกัดเหลียงไปเป็นที่ปรึกษาถึงสามครั้งแต่กับไม่พบตัวจูกัดเหลียง แต่หาได้ละความพยายามในการขอพบตัวจูกัดเหลียงแต่อย่างใด เล่าปี่เดินทางมาพบจูกัดเหลียงที่กระท่อมภายในเขาโงลังกั๋งเป็นครั้งที่สาม ระหว่างทางได้รับความอัปยศอดสูด้วยการเข้าใจผิด คิดว่าผู้อื่นที่มีถ้อยคำวาทะการเจรจาที่ฉลาดหลักแหลมคือจูกัดเหลียง ก็ตรงเข้าไปคาราวะด้วยความศรัทธาเสียหลายต่อหลายครั้ง จนกวนอูและเตียวหุย สองพี่น้องร่วมสาบานในสวนดอกท้อไม่พอใจการกระทำของเล่าปี่ เตียวหุยถึงกับเอ่ยปาก ในเมื่อยากได้ตัวจูกัดเหลียงก็จะไปจับมามอบให้ แต่กลับถูกเล่าปี่ต่อว่าด้วยความโกรธ

เมื่อเล่าปี่ได้พบจูกัดเหลียง จึงพยายามขอร้องและอ้อนวอนให้จูกัดเหลียงเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยราชการกอบกู้แผ่นดิน จนจูกัดเหลียงใจอ่อนต่อความอ่อนน้อมและความศรัทธาอย่างแรงกล้าในตนเองของเล่าปี่ จึงยอมละทิ้งอาชีพชาวนาที่ใช้ชีวิตอย่างสงบที่เขาโงลังกั๋งเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่ เล่าปี่นับถือจูกัดเหลียงดุจเช่นอาจารย์ผู้ประสาทวิชาให้แก่ศิษย์ ยอมรับคำแนะนำและความคิดเห็นของจูกัดเหลียงเสมอมา ซึ่งจูกัดเหลียงเองก็มอบความจงรักภักดีต่อเล่าปี่เช่นกัน แม้จะมีผู้อื่นเข้าเกลี้ยกล่อมให้นำใจออกห่างจากเล่าปี่เช่นจูกัดกิ๋นพี่ชายของตนเกลี้ยกล่อมให้มาอยู่ข้างซุนกวน แต่จูกัดเหลียงกลับปฏิเสธและเป็นฝ่ายชักชวนจูกัดกิ๋นมาอยู่ด้วยกับเล่าปี่แทน จูกัดเหลียงช่วยเล่าปี่กอบกู้ราชการแผ่นดินจนได้เป็นฮ่องเต้แห่งจ๊กก๊ก ถึงแม้ต่อมาพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต แต่จูกัดเหลียงก็ยังคอยช่วยเหลือพระเจ้าเล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสของพระเจ้าเล่าปี่ ด้วยความภักดีจนวาระสุดท้ายของตนเองจ๊กก๊กล้มสลายเพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนเป็นคนหูเบา

เล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าเสี้ยนกับจูกัดเหลียงมีความสัมพันธ์ที่ผูกพันลึกซึ้งเช่นนายกับบ่าวรวมทั้งลูกกับพ่อด้วย ซึ่งก่อนหน้าที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้เรียกจูกัดเหลียงและพระเจ้าเล่าเสี้ยนเข้าพบ ก่อนสั่งเสียให้จูกัดเหลียงดูแลและสั่งสอนพระเจ้าเล่าเสี้ยน ให้การสั่งสอน อบรบตักเตือน ประหนึ่งบิดาเลี้ยงดูบุตร เมื่อพระเจ้าเล่าเสี้ยนขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเล่าปี่ ก็ทรงให้ความเคารพนับถือจูกัดเหลียงประหนึ่งเป็นบิดาบุญธรรม และทรงขอความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ จากจูกัดเหลียงอยู่เสมอ ในขณะที่จูกัดเหลียงคงปฏิบัติตนเช่นเดิม ด้วยไม่ถือตนว่าเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน คงมอบความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเล่าเสี้ยนตามคำสั่งเสียของพระเจ้าเล่าปี่ และเป็นผู้นำทัพขยายอาณาเขตให้แก่พระเจ้าเล่าเสี้ยนอีกด้วย

พระเจ้าเล่าเสี้ยนเป็นคนอ่อนแอ โง่และหูเบาเป็นอย่างมาก ทรงหลงเชื่อถ้อยคำของเหล่าขุนนางที่มีใจคิดการกบฏ กล่าวหาจูกัดเหลียงว่าคิดการใหญ่ในการยึดครองราชสมบัติของพระเจ้าเล่าเสี้ยนเป็นของตนเอง เมื่อคราวที่จูกัดเหลียงนำทัพออกรบกับสุมาอี้และเกือบได้ชัยชนะ สุมาอี้วางแผนการเป่าหูให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนหลงเชื่อถ้อยคำว่าจูกัดเหลียงคิดไม่ซื่อ และเรียกตัวกลับด่วนทำให้สุมาอี้รอดชีวิตจากการถูกโจมตีจากจูกัดเหลียงได้สำเร็จ ภายหลังเมื่อจูกัดเหลียงกลับเมืองหลวงแล้วได้เรียกพระเจ้าเล่าเสี้ยนเข้าพบและอบรมสั่งสอนเช่นพ่อสอนลูกถึงความหูเบาและเชื่อคนง่ายของพระเจ้าเล่าเสี้ยน

กวนอู,เตียวหุย จูกัดเหลียง เตียวหุยและกวนอูนั้นมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยจะลงรอยกันในช่วงแรก ๆ ที่เล่าปี่เชิญจูกัดเหลียงมาอยู่ด้วย ด้วยอายุยังน้อยของจูกัดเหลียงที่อ่อนกว่าเล่าปี่ถึงสิบปี และน้อยกว่าเตียวหุยถึงเจ็ดปี ทำให้กวนอูและเตียวหุยไม่นับถือและเลื่อมใสในตัวจูกัดเหลียงมากนัก และเมื่อเล่าปี่ให้การปรนนิบัติดูแลจูกัดเหลียงจนเกินควร รวมทั้งยอมให้จูกัดเหลียงต่อว่าเช่นเมื่อคราวถึงยามศึกแต่เล่าปี่กลับนำขนจามรีมาถักหมวกเล่น สร้างความไม่พอใจแก่กวนอูและเตียวหุยยิ่งนัก จนถึงคราวศึกใหญ่ที่โจโฉให้แฮหัวตุ้นนำทหารยกทัพมาตี ซึ่งจูกัดเหลียงได้วางแผนการใช้กลอุบายโดยกำหนดหน้าที่ต่าง ๆ ให้แก่เตียวหุย กวนอูและจูล่ง ส่วนตนอยู่เฝ้าดูแลเมือง ทำให้กวนอูและเตียวหุยเอ่ยคำสบประมาทจูกัดเหลียงที่คิดเอาแต่ตนสบาย ไม่ลงแรงในการออกรบ

แต่เมื่อแผนการลวงกองทัพของแฮหัวตุ้นมาเผาที่ทุ่งพกบ๋องสร้างความเสียหายย่อยยับให้แก่กองทัพของโจโฉ กวนอูและเตียวหุยก็ตระหนักและเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในสติปัญญาของจูกัดเหลียงเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อถึงคราวออกศึกคราใด กวนอูและเตียวหุยจะยินยอมและเชื่อฟังคำแนะนำของจูกัดเหลียงตลอดด้วยความเต็มใจ เช่นคราวศึกเซ็กเพ็กที่จูกัดเหลียงมอบหมายให้เตียวหุยนำกองทัพรอสุ่มโจมตีโจโฉเมื่อสุมไฟหุงหาอาหาร แต่ไม่มอบหมายหน้าที่ใด ๆ ให้แก่กวนอู จนถึงกับเอ่ยปากบ่นด้วยความน้อยใจที่จูกัดเหลียงให้ใช้ตนบ้าง จูกัดเหลียงจึงมอบหมายให้กวนอูไปดักรอโจโฉและนำหัวโจโฉมาให้ โดยให้คำสัญญาซึ่งกันและกันถ้ากวนอูไปดักรอตามที่จูกัดเหลียงบอกแล้วไม่พบโจโฉ จูกัดเหลียงยินยอมมอบหัวตนเองให้ แต่ถ้ากวนอูไม่ได้หัวโจโฉกลับมา กวนอูจะต้องมอบหัวตัวเองให้แทน ซึ่งจูกัดเหลียงเองก็มอบความไว้ใจให้แก่กวนอูเช่นกัน เมื่อถึงคราวที่จูกัดเหลียงต้องไปช่วยทัพเล่าปี่ตีเสฉวน จูกัดเหลียงได้ฝากเมืองเกงจิ๋วให้กวนอูดูแลแทน

จูล่ง จูกัดเหลียงและจูล่งมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการช่วยเล่าปี่กอบกู้ราชวงศ์ฮั่น จูกัดเหลียงนั้นไว้วางใจจูล่งเป็นอย่างมากมาก มอบหมายหน้าที่ซึ่งเป็นงานสำคัญ ๆ ให้จู่ลงรับคำสั่งไปปฏิบัติเสมอ จูกัดเหลียงนั้นเคยกล่าวเปรียบเปรยและยกย่องจูล่งว่าเปรียบเสมือนแขนข้างหนึ่งของตนเลยทีเดียว จูกัดเหลียงมอบหมายงานแก่จูล่งนำไปปฏิบัติในการรบหลายสิบครั้ง เริ่มจากศึกครั้งแรกของจูกัดเหลียงและจูล่งที่นำทัพออกเผาทหารแฮหัวตุ้นที่พกบ๋อง น้ำท่วมแปะโห ศึกยุทธนาวีเซ็กเพ็ก ช่วยอาเต๊า ปราบเบ้งเฮ็กอ๋องแห่งม่าน และอื่น ๆ อีกมากมาย

จูล่งคงสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าเล่าปี่และจูกัดเหลียงมาตลอด เมื่อพระเจ้าเล่าปี่สวรรคตและจูกัดเหลียงนำทัพออกรบแทนพระเจ้าเล่าเสี้ยน จูล่งก็คงปฏิบัติตนเช่นเดิม คอยดูแลและช่วยเหลือจูกัดเหลียงมาตลอดจนถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่ออายุ 72 ปี หลังจากที่จูล่งถึงแก่กรรม สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่จูกัดเหลียงเป็นอย่างมาก ถึงกับเอ่ยปากว่า "เมื่อจูล่งตายลงเสียแล้ว ตัวข้านี้ก็เปรียบเสมือนแขนหักไปข้างหนึ่ง"ซึ่งเล่าเสี้ยนก็มิอาจกลั้นน้ำตาไว้ได้

ฮองตง ความสัมพันธ์ระหว่างจูกัดเหลียงและฮองตงไม่ชัดเจนนัก แต่ในการยกทัพบุกตะวันออกของเล่าปี่ จูกัดเหลียงเป็นผู้ยั่วฮองตงให้ฮึกเหิมว่า ฮองตงอายุมากแล้วคงทำศึกไม่ได้เต็มกำลัง ฮองตงจึงฮึกเหิมและกล่าวเหตุผลต่างๆนานาและขอไปทำศึกได้สำเร็จ และสามารถยึดเขาเตงกุนสันสังหารแฮหัวเอี๋ยนได้ ถือได้จูกัดเหลียงเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนในความสำเร็จในการยึดเขาเตงกุนสัน

บังทอง บังทองเป็นเพื่อนสนิทของจูกัดเหลียงตั้งแต่สมัยเรียน โดยที่สุมาเต็กโช ปราชญ์ในสมัยนั้นยกย่อง 2 คนนี้ว่า เป็นดัง มังกรซุ่ม-ฮกหลง และ หงส์ดรุณ-ฮองซู ซึ่งฮองซูคือบังทองนี่เอง ตัวจูกัดเหลียงยังยกย่องว่าบังทองฉลาดกว่าตน 10 เท่า ในครั้งที่จิวยี่ตายจูกัดเหลียงได้ไปพบกับบังทองเพื่อชักชวนไปทำงานกับเล่าปี่ เมื่อบังทองได้รับราชการกับเล่าปี่ และได้เป็นทัพหน้าในการตีเมืองเสฉวน ระหว่างการรบ จูกัดเหลียงได้ส่งจดหมายมาเตือนเล่าปี่ว่า ดาวศุกร์ขึ้นเหนือเมืองลกเสีย เป็นลางว่าจะเกิดอันตรายกับแม่ทัพคนสำคัญ เล่าปี่จะยกทัพกลับ แต่บังทองคิดว่าจูกัดเหลียงอิจฉาที่ตนกำลังจะได้ผลงาน จึงห้ามมิให้เล่าปี่ถอยทัพกลับ จนในที่สุดบังทองจึงเสียชีวิตที่เนินหงส์ตก เมื่อจูกัดเหลียงทราบข่าวการตายของบังทองก็ร้องไห้อาลัยในตัวบังทอง ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่าขงเบ้งเก่งกว่าบังทอง

จิวยี่ จิวยี่ผู้ที่ถ่มน้ำลายรดฟ้า จิวยี่เป็นเพื่อนสนิทกันกับซุนเซ็ก และได้รับใช้ซุนกวนจนมาปรึกษากับจูเก๋อขงเมิ่งหรือขงเบ้งในผาแดงหรือศึกเซ็กเพ็กหรือพันธมิตรซุนเล่าทำให้โจโฉแตกทัพเรือที่ศึกผาแดงได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ทำให้ง่อก๊กแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และจิวยี่คิดทำร้ายขงเบ้งแต่ถูกขงเบ้งซ้อนกลทำให้จิวยี่กระอักเลือดตายในที่สุด ก่อนตายจิวยี่ได้ตะโกนร้องออกมาว่า "ฟ้าส่งจิวยี่มาเกิดแล้ว ไฉนให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยเล่า" โดยกล่าวเป็นภาษาจีนว่า เทียนกี้แซยี่ ฮ่อปิดแซเหลียง

จูกัดกิ๋น ถึงแม้ว่าจูกัดเหลียงและจูกัดกิ๋นจะเป็นพี่น้องกัน แต่ค่อนข้างเหินห่างกัน เพราะรับใช้นายคนละคนกัน โดยจูกัดเหลียงรับใช้เล่าปี่ จูกัดกิ๋นรับใช้ซุนกวน ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่ค่อยดีนัก จูกัดกิ๋นมักจะเป็นผู้ที่ซุนกวนส่งให้มาทวงเมืองเกงจิ๋วจากเล่าปี่หรือกวนอู โดยใช้ความเป็นพี่ของจูกัดเหลียงให้เป็นประโยชน์ แต่ก็อุบายของจูกัดเหลียงทำให้จูกัดกิ๋นกลับไปมือเปล่าทุกครั้ง

สุมาอี้ สุมาอี้คือคู่ปรับตลอดกาลของจูกัดเหลียงตามที่ปรากฏบทบาทในนิยายสามก๊ก และยังมีบันทึกในประวัติศาสตร์ สุมาอี้เป็นเพียงไม่กี่คนที่สามารถอ่านแผนการทำศึกของจูกัดเหลียงได้(นานๆครั้ง) และยังสามารถคาดเดาได้ว่าเขาจะอายุสั้นเพราะตรากตรำทำงานหนักเกินไป สุมาอี้เป็นศัตรูที่แทบจะไม่อาจเอาชนะจูกัดเหลียงได้เลย จนกระทั่งวาระสุดท้าย เป็นที่เชื่อกันว่าสุมาอี้ให้ความเคารพยกย่องในสติปัญญาของจูกัดเหลียงไม่น้อย แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นศัตรูกัน

บุคคลที่จูกัดเหลียงสังหาร

  • เตียวหยิม ขุนพลของเล่าเจี้ยง
  • ม้าเจ็ก ที่ปรึกษาของฝ่ายตนเอง เนื่องจากม้าเจ๊กไม่สามารถรักษาด่านเกเต๋งไว้ได้ จูกัดเหลียงจึงสั่งให้นำตัวไปประหาร (ด้วยน้ำตา)
  • อองลอง ขุนนางวุยก๊ก จูกัดเหลียงใช้วาจาด่าอองลองจนตกม้าตาย
  • ตันเซ็ก ขุนพลฝ่ายตนเอง เนื่องจากไม่ฟังคำสั่ง จนเกือบเสียทีแล้วยังป้ายความผิดให้กับอุยเอี๋ยนอีก จูกัดเหลียงจึงให้นำตัวไปสั่งประหาร
  • โจจิ๋น แม่ทัพใหญ่วุยก๊ก จูกัดเหลียงเขียนจดหมายเยาะเย้ยโจจิ๋นจนตรอมใจตาย
  • เตียวคับ ขุนพลของวุยก๊ก โดนจูกัดเหลียงใช้กลทำให้เตียวคับโดนเกาทัณฑ์รุมยิงจนตาย
  • แต้บุ้น ขุนพลวุยก๊กที่แสร้งทำเป็นสวามิภักดิ์ แต่จูกัดเหลียงจับได้
  • อุยเอี๋ยน ขุนพลฝ่ายตนเอง เป็นคนที่ไม่ไว้ใจที่สุดของจูกัดเหลียงเพราะอุยเอี๋ยนเคยทรยศฮันเหียน เจ้าเมืองเตียงสา และคิดว่าสักวันจะต้องทรยศแน่ๆ ก่อนที่จูกัดเหลียงจะตายได้รู้ล่วงหน้าว่าอุยเอี๋ยนจะก่อกบฏก็ได้วางแผนกำจัดอุยเอี๋ยนจึงได้ให้จดหมายกับเกียงอุย และเต่งหงีโดยในเนื้อหาจดหมายเขียนว่าให้บอกอุยเอี๋ยนว่าให้เงยหน้าขึ้นฟ้า ตะโกนว่า ใครกล้าฆ่าข้า 3 ครั้ง เมื่อนั้นจะมีคนฆ่าอุยเอี๋ยนเอง และกระซิบบอกกับม้าตายว่าให้เป็นคนกำจัดอุยเอี๋ยนหลังตะโกน 3 ครั้ง ต่อมาภายหลังอุยเอี๋ยนก็ได้ก่อกบฏจริงๆและนำกำลังบุกยึดเมืองฮันต๋ง แต่เกียงอุย และเต่งหงีก็ได้ทำตามที่จดหมายของจูกัดเหลียง อุยเอี๋ยนก็ได้ตะโกนว่า ใครกล้าฆ่าข้า 3 ครั้งด้วยความคึกคะนอง ม้าตายที่อยู่เคียงข้างก็ตะโกนตอบกลับว่า ข้าเองและฟันอุยเอี๋ยนจนหัวขาดตายในที่สุด

บทบาทหน้าที่

ศาลเจ้าจูกัดเหลียงที่มณฑลเสฉวน

ยามออกศึก จูกัดเหลียงจะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน [8]โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว จูกัดเหลียงเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า จูกัดเหลียงเป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยจูกัดเหลียงมีฐานะเป็นสมุหนายก (ไจ่เซียง, เสิงเสี้ยงในสำเนียงจีนกลาง) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 6 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิตจูกัดเหลียงเจ็บออดๆ แอดๆ อยู่เสมอ จูกัดเหลียงสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี (จูกัดเหลียงฉบับการ์ตูนบอกว่าสิ้นอายุเมื่อตอน 52 ปี) บนรถม้ากลางสนามรบ ในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เขียนไว้ดังนี้

ครั้นเวลาค่ำ จูกัดเหลียงอุตส่าห์เดินออกไปดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัว มันเศร้าหมองกว่าแต่ก่อน ก็ยิ่งตกใจเป็นอันมาก จึงพาเกียงอุยเข้าไปที่ข้างในแล้วว่า "ชีวิตเรานี้ เห็นทีจะตายในวันพรุ่งนี้แล้ว" เกียงอุยได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ จึงถามว่า "เหตุใดมหาอุปราชจึงว่า ฉะนี้" จูกัดเหลียงจึงว่า "เราพิเคราะห์ดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัวเราวิปริต จึงรู้ว่าสิ้นอายุแล้ว" เกียงอุยเสนอให้จูกัดเหลียงทำพิธีต่ออายุ ด้วยการตั้งโต๊ะบูชาเทพยดาและจุดโคมเสี่ยงทายอายุ ถ้าไฟโคมยังสว่างไสวตลอดพิธีจะมีอายุยืนยาวได้อีกสิบสองปี แต่ถ้าไฟโคมดับก่อนเสร็จพิธี ชีวิตก็จะสิ้นสุด จูกัดเหลียงคิดถึงภาระหน้าที่และคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับเล่าปี่ว่าจะรวบรวมแผ่นดินถวายคืนสู่ราชวงศ์ฮั่น จำต้องทำพิธีต่ออายุแต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้น เมื่อนายพลอุยเอี๋ยนผลีผลามเข้ากระโจมเพื่อรายงานว่าสุมาอี้ส่งทัพมาท้ารบ ได้เตะเอาโคมเสี่ยงทายล้มไฟโคมดับ"

เรื่องการดูดาวประจำตัวนั้นจูกัดเหลียงรู้แต่สุมาอี้ก็รู้ สุมาอี้ต้องการยืนยันความรู้ของตนว่าจูกัดเหลียงใกล้ตายแล้วหรือไม่ด้วยการส่งทัพมาท้ารบ ถ้าทัพจูกัดเหลียงออกสู้ แสดงว่าจูกัดเหลียงยังไม่เป็นอะไรถ้าไม่สู้แสดงว่าจูกัดเหลียงแย่แล้วจะได้ตีซ้ำบดขยี้ทัพจูกัดเหลียงให้แหลกลาญ จูกัดเหลียงรู้ทันความคิดแม้รู้ว่าชีวิตจะสิ้นยังคงสติได้ดีสั่งให้ทหารออกปะทะขับไล่ทัพสุมาอี้ถอยไปตามเดิม

ถึงจูกัดเหลียงลาลับดับโลก แต่ยังได้ทำพิธีรักษาดวงดาวประจำตัวไม่ให้ร่วงหล่นจากฟากฟ้า เป็นการขู่สุมาอี้ มิให้ตามโจมตีเวลาถอยทัพ ซึ่งอุบายนี้สามารถรักษาชีวิตทหารของตนได้หลายหมื่น และยังทำให้อาณาจักร จ๊กก๊ก (ของเล่าปี่) ยืนยาวอยู่ได้อีกกว่ายี่สิบปี พระเจ้าเล่าเสี้ยนโศกเศร้าเสียพระทัยมาก ศพของจูกัดเหลียงถูกฝังอยู่ที่เชิงเขาเตงกุนสัน ปากทางเข้าเสฉวน

ภายหลังจากที่จูกัดเหลียงสิ้นชีวิตไปแล้ว 29 ปี[9] เมื่อเตงงายแม่ทัพของวุยก๊กได้ยกทัพผ่านมาทางเขาเหยียดฟ้าปากทางเข้าเมืองเสฉวนอีกทาง ได้พบกับป้อมค่ายที่ร้างบนเขาซึ่งปราศจากทหารดูแลเมื่อจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตไปแล้ว ซึ่งจูกัดเหลียงทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าจะมีแม่ทัพของวุยก๊กยกทัพผ่านทางนี้จึงให้เฝ้าระวังไว้ และเมื่อจงโฮยแม่ทัพวุยก๊กอีกคนที่ยกทัพผ่านมาทางเขาเตงกุนสัน นอนหลับไปฝันเห็นว่าจูกัดเหลียงมาเข้าฝันว่า เมื่อยกทัพเข้าเสฉวนได้แล้วขอให้ไว้ชีวิตราษฎร ซึ่ง จูกัดเจี๋ยม ที่เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้เข้าต่อต้านทัพวุยและก็เสียชีวิตพร้อมบุตรชายตัวเองในครั้งนี้ด้วย ปัจจุบันมีศาลเจ้าจูกัดเหลียงและเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย และบรรดาขุนพลของจ๊กก๊กที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการบูรณะในปีที่ 11 ของรัชสมัยจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง

วรรณกรรมสามก๊ก

ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก จูกัดเหลียงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึงมังกรซุ่มหรือมังกรหลับ จากคำแนะนำของสุมาเต็กโชและชีซีที่หลงกลอุบายของโจโฉจำต้องหวนกลับไปอยู่วุ่ยก๊กด้วยความจำใจ ทำให้เล่าปี่ต้องดั้นด้นมาเชิญตัวจูกัดเหลียงด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา จูกัดเหลียงมีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังก่อนที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้ฝากฝัง เล่าเสี้ยนให้ดูแลบ้านเมืองต่อไป แต่ไม่อาจสำเร็จได้เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบาเชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮ[10]

อุบายและสิ่งเกี่ยวข้อง[11]

  1. กลเผาทุ่งพกบ๋อง ทำลายทัพของแฮหัวตุ้นที่มาโจมตี
  2. เผากองทัพโจหยินที่เมืองซินเอี๋ย โดยใช้ค่ายกลเมืองร้างล่อ อีกทั้งกักเก็บน้ำ ทำให้น้ำท่วมที่แม่น้ำแปะโห จนโจหยินหนีเกือบตาย
  3. เบื้องหลังความสำเร็จของยุทธนาการศึกเซ็กเพ็ก ทำลายทัพกำลังพลเป็นล้านของโจโฉหมดสิ้น นำหุ่นฟางไปลวงระดมธนูมาจากฝ่ายโจโฉ ขึ้นแท่นเรียกลมอ่านโองการบัญชาฟ้าดิน วางกลซุ่มดักตีทัพโจโฉยามแตกพ่าย
  4. อุบายยึดเกงจิ๋วและหัวเมืองสำคัญทั้งหลายโดยใช้อุบายยืมกำลังจากง่อก๊กเข้าตีลวงแล้วจึงส่งกำลังเข้ายึดโดยไม่ต้องลงทุน
  5. แก้อุบายจิวยี่จนเล่าปี่ได้ซุนฮูหยินเป็นภรรยา
  6. อุบายลวงจิวยี่ มันสมองสำคัญของง่อก๊กจนกระอักเลือดตาย
  7. อุบายให้เตียวสงมอบแผนที่เสฉวน
  8. เคลื่อนทัพเข้ายืดแคว้นเสฉวนของเล่าเจี้ยงเพื่อสร้างสถานภาพสามก๊ก
  9. เจริญสัมพันธไมตรีกับง่อก๊กหลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ซึ่งก่อนหน้านี้เล่าปี่ได้เคลื่อนทัพหลวงบุกรุกง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู ซึ่งในครั้งนั้น ทำให้พระเจ้าเล่าปี่สูญเสียแม่ทัพเตียวหุย และยังถูกลกซุนเผาทัพหลวงจนมอดใหม่หมดสิ้น
  10. สยบเบ้งเฮ็กทำให้ทางใต้สงบ โดยไม่ต้องกังวลกับการบุกทางเหนือฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น
  11. ออกอุบายปล่อยข่าวลือทำให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อไม่ให้ต่อกรกับจ๊กก๊กได้
  12. บุกกิสานครั้งที่หนึ่ง สามารถเคลื่อนทัพบุกยึดเทียนซุยและอันติ้งได้ด้วยอุบาย พร้อมทั้งได้ยอดทหารอย่างเกียงอุยมาเป็นขุนศึกคู่ใจด้วย
  13. ครานั้นพระเจ้าโจยอยส่งทัพใหญ่ให้แม่ทัพโจจิ๋นเป็นแม่ทัพ และให้อองลองขุนนางเฒ่าข้าเก่าในสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้เป็นที่ปรึกษานำทัพออกสู้รบเพื่อป้องกันการบุกของทัพจ๊กซึ่งมีจูกัดเหลียงเป็นแม่ทัพใหญ่ ครานั้นอองลองออกยืนหน้าทัพของฝ่ายตนหวังจะพูดจาเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้จูกัดเหลียงละอายใจและได้สำนึก จะได้ถอยทัพกลับไปโดยไม่ต้องรบ กลับถูกจูกัดเหลียงซึ่งนั่งอยู่บนรถเลื่อนพูดด่าประจานให้ได้อายฟ้าอายดินจนอองลองตกม้าตายอยู่ตรงหน้าทัพ ทหารเสียขวัญแตกพ่ายไม่เป็นขบวน เป็นการแสดงออกถึงอัจฉริยภาพด้านวาทศิลป์ไม่แพ้โซ้จิ๋น และเตียวยี่ในอดีต
  14. ในยามคับขันครั้งหนึ่ง หลังจากเสียเกเต๋ง จูกัดเหลียงต้องถอยทัพใหญ่กลับเซงโต๋ (เฉิงตู) แต่ต้องขนถ่ายเสบียงกลับจากเมืองเล็กๆที่เสเสีย ภายในเมืองเสเสียมีแต่เสบียงกับทหารเพียงแค่สองพันห้าร้อยคน ในขณะที่กองทัพสุมาอี้มีกองทัพเรือนแสนยกมาประชิดกำแพงเมือง จูกัดเหลียงทำกลลวง เปิดประตูเมือง ลดธงทิวลง และขึ้นเล่นพินจีนบนกำแพงเมือง ลวงทัพสุมาอี้ ทำให้สุมาอี้ลังเลที่จะยกทัพบุกเข้าในเมืองเพราะกลัวจูกัดเหลียงซุ่มทัพโจมตี ครั้งนี้เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของจูกัดเหลียงในการแก้ปัญหายามคับขันถึงชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยมถึงแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ตาม
  15. ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพลเตียวคับยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว
  16. สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5
  17. ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ สุมาสู และสุมาเจียว บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาภินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้
  18. ก่อนจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัยโดยให้นำหุ่นไม้ของจูกัดเหลียงขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในจุดนี้ บางฉบับกล่าวว่าจูกัดเหลียงให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้เกียงอุยเป็นทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็นทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิดว่าจูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของจูกัดเหลียง และยังให้เตียวหงีกับม้าต้ายทำกลลวงกบฏอุยเอี๋ยนจนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง

สิ่งประดิษฐ์

สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่ของจูกัดเหลียงใช้เพื่อการสงคราม มีดังต่อไปนี้

  • หน้าไม้กล สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกใช้หลังจากจูกัดเหลียงตายไปแล้ว จูกัดเหลียงเพียงออกแบบเท่านั้น และนำแบบร่างให้เกียงอุยไปจัดการทำ กล่าวกันว่าหน้าไม้นี้สามารถยิงได้ครั้งละ 10 ดอก
  • โคยนต์ จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งเสบียงได้ทีละมากๆและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สามารถเดินทางได้ในช่องเขาแคบที่คนไม่อาจเดินผ่านได้ ทำให้ขงเบ้งสามารถขนเสบียงจากแนวหลังมายังแนวหน้าได้ไวขึ้น มีลักษณะคล้ายวัวสามารถเดินได้เองด้วยระบบกลไก แต่ต่อมาสุมาอี้ได้รู้เข้าจึงนำกองกำลังบุกจู่โจมกองคาราวานส่งเสบียงที่ใช้โคยนต์และได้นำมันมาชำแหละเพื่อดูกลไกและสร้างเลียนแบบเพื่อขนเสบียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่จูกัดเหลียงก็ได้แก้เผ็ดสุมาอี้โดยสั่งให้แม่ทัพนายกองนำทหารจำนวนหนึ่งแต่งตัวปลอมเป็นทหารของสุมาอี้ ลอบเข้าไปตอนกลางคืนระหว่างทางขนเสบียง และปลอมตัวเป็นทหารที่สุมาอี้ส่งมาเพื่อรับช่วงต่อ และเมื่อเผลอก็ให้สังหารทหารเหล่านั้นทิ้งเสีย และนำเสเบียงที่นำมาโดยโคยนต์กลับมา พร้อมทั้งสั่งว่า หากมีกองทัพหนุนของสุมาอี้มาไล่ตามและจวนถึงตัวให้พลิกลิ้นโคยนต์แล้วรีบถอยมาเพื่อสมทบกับกำลังหลักซึ่งจะส่งตามเข้าไปในภายหลัง และแล้วเป็นไปตามที่จูกัดเหลียงคาดไว้ สุมาอี้ก็ได้ส่งกองทัพหนุนเข้ามาเพื่อตีชิงเอาเสบียงกลับไป ทหารจ๊กก๊กของขงเบ้งที่มีจำนวนน้อยกว่าเห็นจะสู้ไม่ได้ก็พากันพลิกลิ้นโคยนต์แล้วถอยหนีทันที เมื่อทัพหนุนสุมาอี้มาถึงก็พยายามที่จะนำโคยนต์ซึ่งเต็มไปด้วยเสบียงกลับไป แต่ก็ต้องพบกับความประหลาดใจเพราะไม่ว่าจะดึงจะดันอย่างไร บรรดาโคยนต์ทั้งหลายที่ต่างเคยเดินได้ด้วยการตบทางด้านท้ายไม่กี่ครั้งกลับไม่ยอมขยับแม้สักนิด โดยที่พวกเขาต่างก็หาวิธีแก้ไขกันไม่ได้ จนกระทั่งกำลังหลักของจ๊กก๊กได้ยกมาถึงและได้ตีทัพหนุนสุมาอี้เสียจนแตกกระเจิง และกลับค่ายไปพร้อมทั้งเสบียงของสุมาอี้จำนวนมากที่บรรจุไว้ในโคยนต์ที่ลอกเลียนแบบ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วลิ้นของโคยนต์เป็นตัวระบบล็อกกลไก แต่ทหารของสุมาอี้นั้นไม่ทราบ แม้แต่ตัวสุมาอี้เองก็เช่นกันเพราะถึงแม้สุมาอี้จะสามารถลอกเลียนแบบโคยนต์ม้ากลของขงเบ้งได้ แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจถึงหลักการใช้งานทั้งหมด จึงทำให้สุมาอี้เสียรู้ขงเบ้งเป็นเหตุให้ต้องเสียเสบียงจำนวนมหาศาลให้แก่ขงเบ้ง ทำให้กองทัพสุมาอี้ต้องระส่ำระส่ายเป็นอย่างมาก
  • โคมลอย ใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร เรียกกันทั่วไปว่า โคมจูกัดเหลียง (Kongming lantern : 孔明灯)
  • หมั่นโถว หลังเสร็จศึกเบ้งเฮกแล้ว กองทัพจ๊กก๊กไม่สามารถข้ามแม่น้ำได้เนื่องวิญญาณทหารทั้งหลายที่ตายในสนามรบไม่ได้รับการปลดปล่อย จูกัดเหลียงจึงต้องทำพิธีบวงทรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณด้วยการทำซาลาเปาแทนศีรษะเหล่าทหาร และเชิญดวงวิญญาณกลับ
  • ปีศาจยนต์ จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีลักษณะคล้ายกับรถถังและมีรูปร่างคล้ายกับสัตว์ประหลาดหน้าตาน่ากลัว สามารถพ่นไฟได้ สิ่งประดิษฐ์นี้ได้นำมาใช้ในศึกเบ้งเฮก เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากเบ้งเฮกถูกปล่อยตัวเป็นครั้งที่ 5 เบ้งเฮกก็ไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงได้ขอความช่วยเหลือกับหัวหน้าเผ่าคนหนึ่งที่สามารถเรียกสัตว์มาช่วย เมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้า หัวหน้าเผ่าคนนั้นได้เรียกฝูงโคและสั่งให้ไปพุ่งชนกองทัพจ๊กก๊กจนต้องแตกกระเจิง จูกัดเหลียงก็ได้รู้จึงนำทัพด้วยตัวเองและได้นำปีศาจยนต์มาใช้ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนนั้นได้เรียกฝูงโคมาพุ่งชนอีก จูกัดเหลียงก็สั่งให้กองทัพเปิดกล่องที่บรรจุปีศาจยนต์เอาไว้ออกมา ทำให้ฝูงโคเกิดความกลัวจนไม่กล้าพุ่งชนแม้หัวหน้าเผ่าจะสั่งแล้วสั่งอีกก็ไม่เป็นผล จูกัดเหลียงก็ได้สั่งให้กองทัพนำปีศาจยนต์เดินหน้าและพ่นไฟใส่ฝูงโคจนทำให้โคบางตัวถูกไฟครอกตาย เบ้งเฮกและหัวหน้าเผ่าเห็นท่าไม่ดีจึงสั่งถอยทัพในที่สุด

ตำรา

ผลงานและบทประพันธ์ของจูกัดเหลียง

  • เจี้ยงย่วน ตำราพิชัยสงครามที่ที่จูกัดเหลียงศึกษาค้นคว้า ต่อมาได้มอบให้กับเกียงอุย ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจ

วัฒนธรรมสมัยนิยม

นักแสดงที่รับบทจูกัดเหลียงในละครและภาพยนตร์

ไฟล์:ขงเบ้งรอฟังผลการรบ.jpg
ภาพจากทีวีซี่รีย์ 2010 จากนักแสดง ลู่อี้
  • หลีฝ่าเฉิงแสดงเป็นขงเบ้งในเรื่อง จูกัดเหลียง ปี 1985
  • เจิ้งเส้าชิว รับบทจูกัดเหลียงใน ขงเบ้ง ปี 1985
  • จ้าวไห่แสดงเป็นขงเบ้งในเรื่อง กวนกง(กวนอู) สามก๊ก ปี 1989
  • จ้าวซู่ไห่แสดงเป็นขงเบ้งในเรื่องวีรบุรุษสามก๊ก กวนอู ปี 1995
  • หยวีปัวแสดงเป็นขงเบ้งในเรื่อง ปาเจิ้นถู ปี 1999
  • ผูฉุนชินแสดงเป็นขงเบ้งในเรื่อง สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร ปี 2008
  • ถังกั๊วะเฉียง รับบทจูกัดเหลียงในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ ปี 1994
  • ทาเคชิ คาเนชิโร่ รับบทจูกัดเหลียงในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ปี 2008
  • ลู่อี้ รับบทจูกัดเหลียงใน สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ชุดใหม่)เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกฉายในปี 2010

การ์ตูน

  • ในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง 'อินาสึมะ อีเลฟเวน Go chrono stone' ขงเบ้งได้ปรากฏตัวในช่วงที่พวกเท็นมะ(พระเอกของเรื่อง)ได้ทำการย้อนเวลาออกตามหา 11 ผู้สุดยอดในประวัติศาสตร์ เพื่อนำพลังของท่านเหล่านั้นมาใช้ในการกอบกู้ฟุตบอลคืนจากองค์กรร้ายที่ต้องการพรากฟุตบอลไปจากทุกคน โดยเมื่อพวกเท็นมะเดินทางมาถึงในยุคสามก๊กก็ได้พบกับขงเบ้ง(ซึ่งในการ์ตูนเรื่องนี้ ขงเบ้งได้รับการอธิบายว่าเป็นผู้หญิงที่มีปัญญา เฉลียวฉลาด ไม่ได้เป็นผู้ชายอย่างในสามก๊กต้นฉบับ) และผู้ที่ได้รับพลังของเล่าปี่นั้นคือ 'อามิยะ ไทโย' เพื่อนร่วมทีมของเท็นมะ

ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์

ขงเบ้งตัวตนจริงในประวัติศาสตร์แตกต่างจากบทบาทที่ปรากฏในวรรณกรรม โดยขงเบ้งไม่เคยวางกลอุบายการศึกแต่อย่างใด เพียงแต่นำทัพด้วยความสุขุมรอบคอบ และใช้เพียงกลยุทธธรรมดา ๆ การยืมลูกธนูแสนดอกจากโจโฉในศึกผาแดง ก็มิใช่ผลงานของขงเบ้ง แต่เป็นซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก และเหตุการณ์นี้ก็เกิดหลังจากศึกผาแดงนานถึง 5 ปี โดยซุนกวนล่องเรือไปเผชิญหน้ากับกองทัพของโจโฉ โจโฉจึงสั่งยิงธนูเข้าใส่เรือของซุนกวน ซุนกวนได้หันข้างเรือรับ จนเมื่อหนักกราบเรือปริ่มน้ำแล้วก็ให้หันอีกข้างรับต่อ และเดินทางกลับได้โดยปลอดภัย อีกทั้งกลอุบายเมืองร้าง ที่ม้าเจ๊กเสียด่านเกเต๋งให้แก่สุมาอี้ แม่ทัพของวุยก๊กครั้งนั้นก็มิใช่สุมาอี้ หากแต่เป็นเตียวคับ เพราะขณะนั้นสุมาอี้อยู่ที่เมืองลกเอี๋ยง ไกลจากที่เกิดเหตุนับพันกิโลเมตร ขงเบ้งมิได้ใช้กลยุทธอุบายหลอกล่อใด ๆ เพียงแต่ถอยทัพด้วยความรวดเร็วเท่านั้น[12]

อ้างอิง

  • Chen Shou (c. 280). Sanguo Zhi (History of the Three Kingdoms). Reprint, 1959. Beijing: Zhonghua shuju.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์).
  • Guanzhong, Luo (1976) [c. 1330]. Romance of the Three Kingdoms. Trans. Moss Roberts. New York: Pantheon Books. ISBN 0394407229. OCLC 2331218.
  • Off, Greg (2005). Dynasty Warriors 5: Prima Official Game Guide. Roseville: Prima Games. ISBN 0761551417. OCLC 62162042.

ฉบับภาษาจีน

  • Dawei, Zhu (2007). 诸葛亮大传 (Zhuge Liang da zhuan). Beijing Shi: Zhonghua shu ju. ISBN 9787101056389. OCLC 173263137. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า จูกัดเหลียง ถัดไป
- อัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊ก
(พ.ศ. 764 - พ.ศ. 777)
เจียวอ้วน