ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Timekeepertmk/กระบะทราย2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ดินแดนในอาณัติแปซิฟิกใต้
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
เตรียมร่างบทความ [[ดินแดนในอาณัติแปซิฟิกใต้]]
เตรียมร่างบทความ [[ดินแดนในอาณัติแปซิฟิกใต้]]


เซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (South Pacific Mandate) เป็นดินแดนภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุม 3 ประเทศ 1 ดินแดน คือ สาธารณรัฐปาเลา สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหพันธรัฐไมโครนีเซียและดินแดนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนนาส์ ซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน เซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเป็นชื่อทางการของอาณานิคมหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางเหนือเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสันนิบาตชาติมอบหมู่เกาะในภูมิภาคไมโครนีเซียอันเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเยอรมันนิวกินีให้กับญี่ปุ่นหลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด (Russell Fifield, 1946: 478 – 479)


ญี่ปุ่นเข้าปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 – 1947 โดยการเข้าปกครองของญี่ปุ่นนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตหลายประการทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังพบกับการเข้าใช้ประโยชน์จากดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบต่าง ๆ การเข้าปกครองดินแดนแห่งนี้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นสิ้นสุดลงหลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสหประชาชาติได้มอบหมายดินแดนบริเวณดังกล่าวให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลแทน จนกระทั่งบางประเทศในภูมิภาคไมโครนีเซียได้รับเอกราช


'''ดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตก่อนการปกครองของญี่ปุ่น'''      


ประวัติศาสตร์ภูมิภาคไมโครนีเซียก่อนการเข้ามาปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ช่วงหลัก คือ ระยะแรก เป็นระยะทีชาวไมโครนีเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างชุมชน และระยะที่สอง เป็นระยะที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีเริ่มเข้าครอบครองหมู่เกาะในบริเวณนี้

จากการสำรวจและวิเคราะห์ทางด้านโบราณคดี นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าบริเวณภูมิภาคไมโครนีเซียเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ 4,000 – 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวชามอร์โร (Chamorro) ชาวไมโครนีเซีย (Micronesia) และชาวปาเลา (Palau) ในปัจจุบัน (Felix Keesing, 1932: 288)  การอาศัยอยู่ของผู้คนในบริเวณนี้มักอาศัยอยู่กันแบบสังคมชนเผ่า แต่ก็พบการตั้งศูนย์กลางทางการเมืองในรูปแบบการปกครองอาณาจักรทางทะเลขึ้นที่เกาะเทมเวน (Temwen Island)  ในเขตโบราณสถาน นาน มาโดล (Nan Madol) ในรัฐโปนเปย์ (Pohnpei) ประเทศไมโครนีเซียน ซึ่งโบราณสถานสร้างด้วยหินมีการเชื่อมคลองและได้รับการยกย่องว่าเป็นเวนิสแห่งแปซิฟิก (UNESCO, N.d.: 3)  ดินแดนบริเวณนี้ได้รับการสำรวจโดยนักสำรวจชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวสเปนและโปรตุเกสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่มีปฏิสัมพันธ์กับชาวพื้นเมืองมากนัก ในช่วงเวลาต่อมาสเปนได้เข้าครอบครองหมู่เกาะบริเวณนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 19

ในปี ค.ศ. 1898 สเปนทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา ผลของสงครามในครั้งนั้นสเปนพ่ายแพ้ จึงจำเป็นต้องยกเกาะกวม (Guam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาเรียนาส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา และสเปนดำเนินการขายหมู่เกาะมาเรียนาส์ที่เหลือและหมู่เกาะแคโรไลน์ให้กับจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนี ส่งผลให้เยอรมนีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคไมโครนีเซีย บริหารภายใต้การปกครองของอาณานิคมเยอรมันนิวกินี เยอรมนีใช้ประโยชน์ในฐานะท่าเรือรบ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น (Earl S. Pomerov, 1948: 45 - 46) ในช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นมองเห็นโอกาสในการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเริ่มการประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยจุดเน้นของญี่ปุ่นในการทำสงครามกับเยอรมนีคือการยึดท่าเรือและแหล่งธุรกิจในฉางตง ในเวลาต่อมาชาติพันธมิตรต้องการให้ญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันขบวนสินค้าให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับการยกส่วนหนึ่งของฉางตงและหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่เป็นอาณานิคมของเยอรมนีให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น (Thomas Burkman, 2008: 5 – 7) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นได้เป็นส่วนหนึ่งในการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ค่อนข้างน้อย แต่ก็ได้ยอมรับในฐานะชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลก มีสถานะเป็นสมาชิกถาวรของสภาสันนิบาตชาติ นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้ดินแดนฉางตง และหมู่เกาะตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตามสัญญา หมู่เกาะตอนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเหล่านี้ สันนิบาตชาติจัดให้เป็น Class – C Mandate[[:ไฟล์:///C:/Users/Administrator/Downloads/บทบาทของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต.docx# ftn1|[1]]] ซึ่งเป็นดินแดนที่สันนิบาตชาติมองว่าชาติเจ้าของแมนเดตควรบริหารจัดการตามกฎหมายในฐานะดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ (Thomas Burkman, 2008: 69 - 70)

การที่ญี่ปุ่นได้ดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต เนื่องจากเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำคัญในการเข้าร่วมช่วยเหลือชาติสัมพันธมิตรของญี่ปุ่น ซึ่งการเข้าช่วยเหลือของญี่ปุ่นแม้มีเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีความสำคัญมาก เนื่องจากชาติสัมพันธมิตรชาติอื่นติดพันการรบในยุโรป ส่งผลให้ไม่สามารถคุ้มกันกองเรือของแต่ละประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในระยะแรก คณะที่ประชุมของสันนิบาติชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ไม่ต้องการมอบดินแดนอดีตอาณานิคมเยอรมันนิวกินีส่วนหนึ่งให้กับญึ่ปุ่น โดยสหรัฐอเมริกามองว่าหากมอบดินแดนส่วนนี้ให้กับญี่ปุ่น เกาะกวม สถานีวิทยุสื่อสารบนเกาะแยป (Yap) และความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาจะเป็นอันตราย (Earl S. Pomerov, 1948: 47 – 50) แต่ที่ประชุมสันนิบาติชาติเกรงว่าหากไม่มอบดินแดนส่วนนี้ให้กับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะไม่เข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้สันนิบาติชาติได้ปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นในข้อตกลงการยกเลิกการเหยียดชาติพันธุ์ ในมุมมองของสันนิบาติชาติมองว่าหากญี่ปุ่นไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งครั้งใหญ่ตามมา (E. T. Williams, 1993: 435 – 436)  

Ti Ngo (2012: 1 – 2) ได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว นายทหารระดับสูงของกองทัพเรืออย่างเอโนะโมะโตะ ทาเคอากิ (Enomoto Takeaki) และนักหนังสือพิมพ์อย่างชิกะ ชิเกทากะ (Shiga Shigetaka) ต้องการสำรวจดินแดนในบริเวณนี้เพื่อหาอาณานิคมแห่งใหม่ให้กับญี่ปุ่น แต่พบว่าเกาะเหล่านี้ตกเป็นของเยอรมนีและสเปนแล้วในขณะนั้น โดยความพยายามของญี่ปุ่นที่ต้องการดินแดนนี้มีสาเหตุอยู่ 3 เหตุผลหลัก คือ (1) แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในดินแดนนี้ (2) เป็นสะพานเชื่อมต่อดินแดนทางใต้ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเมลานีเซีย) (3) เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างฮาวายและฟิลิปปินส์ (Mark R. Peattie, 1988: 50 – 51)  และ (4) สามารถนำมาใช้เป็นฐานทัพของทัพเรือในการปกป้องประเทศจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

'''บทบาทด้านการเมืองและการทหารของญี่ปุ่น'''

หลังจากญี่ปุ่นได้รับมอบหมายการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตจากสันนิบาติ ในปี ค.ศ. 1914 รัฐบาลกลางญี่ปุ่นได้มอบหมายให้ผู้บัญชาการของกองกำลังป้องกันชั่วคราวทะเลใต้ (South Seas Islands Temporary Garrison) เป็นผู้นำรัฐบาลเของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต โดยผู้บัญชาการจะมีอำนาจในการบังคับบัญชาทหารและพลเรือนในดินแดนแห่งนี้ โดยได้ตั้งศูนย์กลางการบริหารขึ้นที่เกาะซัมเมอร์ (Summer) เกาะแยป (Yap) เกาะยาลูอิต (Jaluit) และเกาะอางาอูร์ (Angaur) (Purcell, 1967: 147)  จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1915 ได้มีการนำที่ปรึกษาและข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้ามาทำงานในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมากขึ้น จนกระทั่งในที่สุดในปี ค.ศ. 1918 กองกำลังทหารได้ถ่ายโอนอำนาจทั้งหมดให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือนในการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต และย้ายศูนย์กลางการบริหารจากเกาะซัมเมอร์มาสู่คอร์รอในเกาะปาเลาในปี ค.ศ. 1922 (Purcell, 1967: 148)

ในระยะแรกของการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 – 1922 ญี่ปุ่นปกครองดินแดนแห่งนี้โดยใช้ระบอบที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีได้วางรากฐานไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก (Purcell, 1967: 151 - 155) การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 เป็นต้นมา แต่ในช่วงปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อการการเมืองการปกครองของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตคือในปี ค.ศ. 1929 เมื่อย้ายหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการเมืองการปกครองจากการดูแลโดยตรงโดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสู่กระทรวงกิจการโพ้นทะเล (Ministry of Oversea Affairs) ส่วนกิจการด้านอื่นได้ย้ายเข้าสู่กระทรวงที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เป็นต้น (Purcell, 1967: 160) นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเปลี่ยนแปลงจากการแบ่งเขตแบบเดิม ออกเป็นการแบ่งเขตแบบใหม่ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่ ไซปัน (Saipan) (หมู่เกาะมาเรียนาส์) แยป (Yap) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ปาเลา (Palau) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ตรุก (Truk) (หมู่เกาะแคโรไลน์) โปนเปห์ (Ponape) (หมู่เกาะแคโรไลน์) และยาลูอิต (Jaluit) (หมู่เกาะมาร์แชลล์) ซึ่งในแต่ละเขตจะมีข้าหลวงจากส่วนกลางเข้าไปปกครอง ในส่วนท้องถิ่นของแต่ละเขตประกอบไปด้วยหมู่บ้านชาวพื้นเมืองหลายหมู่บ้าน มีหัวหน้าหมู่บ้านและเป็นหัวหน้าชนเผ่าในยุคดั้งเดิมซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมทะเลใต้เป็นผู้ปกครอง (Keishi Yamasaki, 1931: 103 - 104)  ในกรณีของหัวหน้าหมู่บ้านเหล่านี้มักมีหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นในการจัดทำรายงานต่าง ๆ ภายในดินแดนของตน จัดเก็บภาษีชาวพื้นเมืองผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่พิการและแก่ชรา รวมถึงส่งข้อเสนอของชุมชนของตนต่อเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ในทางกฎหมาย ญี่ปุ่นจะมอบอำนาจและหน้าที่ให้หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละแห่งเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติพบว่าอำนาจหน้าที่ในอดีตเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดสถานะที่มีความแตกต่างกันของหัวหน้าหมู่บ้านแต่ละคน (Purcell, 1967: 162 - 169) ซึ่งญี่ปุ่นใช้การปกครองรูปแบบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (John Useem, 1945: 94 123)

เมื่อพิจารณาจากสถานะของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าสันนิบาติชาติต้องการมอบดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตให้กับญี่ปุ่นในสถานะดินแดนในภาวะทรัสตี (ดินแดนในอาณัติ) แม้ว่าสภาวะของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตในขณะนั้นจะเป็นดินแดนที่ไม่สามารถปกครองตนเองได้และยังมีโครงสร้างทางการเมืองไม่แน่ชัด จึงต้องใช้หลักกฎหมายและการบริหารจัดการเสมือนเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ แต่พฤตการณ์ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการปกครองพบว่ามักไม่เปิดโอกาสให้ชาวพื้นเมืองเข้ามามีบทบาททางด้านการเมืองการปกครองมากนัก รวมไปถึงการพยายามทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่น ซึ่งพฤตการณ์ของญี่ปุ่น Hultington Gilchrist (1944: 640) ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ญี่ปุ่นควรปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตในฐานะดินแดนในอาณัติ ไม่ใช่การยึดครองและจัดระบบการปกครองในลักษณะนี้

กรณีการขอลาออกจากสันนิบาติชาติ ส่งผลให้สถานะของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเริ่มไม่แน่ชัด เนื่องจากดินแดนแมนเดตเป็นดินแดนของสันนิบาติชาติที่มอบให้ประเทศสมาชิกดูแล การลาออดจากสมาชิกภาพย่อมเป็นผลให้การดูแลแมนเดตสิ้นสุดลง ในช่วงเวลานี้พบว่าเยอรมนีได้พยายามเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่นหรือให้สันนิบาติชาติหาประเทศสมาชิกอื่นเข้ามาดูแลดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามสันนิบาติชาติไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่าสันนิบาติชาติไม่อยากดำเนินมาตรการรุนแรงกับญี่ปุ่นและคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติอีกครั้ง (Mark R. Peattie, 1988: 315 - 317)

เมื่อศึกษาระบบการศาลและกระบวนการยุติธรรมในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตพบว่า รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ มีการจัดตั้ง หน่วยงานด้านศาลครอบคลุมทุกหมู่เกาะสำคัญของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมมีอำนาจในการพิจารณีคดีความ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอำนาจบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต การพิจารณาคดีของชาวญี่ปุ่นและชาวพื้นเมืองดำเนินในลักษณะเดียวกัน ซึ่งผู้พิพากษาของศาลมักได้รับการแต่งตั้งโดยข้าหลวงใหญ่ของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (Mark R. Peattie, 1988: 69 - 71) ในส่วนของเจ้าหน้าที่รักษาความสงบในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ในระยะแรกเป็นหน่วยงานทหารในพื้นที่ เมื่อหน่วยงานทหารโอนอำนาจให้ฝ่ายพลเรือนแล้ว หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่คือตำรวจ โดยนายตำรวจระดับสูงมักเป็นชาวญี่ปุ่น และตำรวจระดับปฏิบัติการเป็นชาวพื้นเมืองผสมผสานกับชาวญี่ปุ่น (South Seas Government, 1925: 22 - 23)

ในส่วนของการทหารพบว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับดินแดนนี้เป็นอย่างมาก จากที่กล่าวในตอนต้นนั้นพบว่าญี่ปุ่นมองดินแดนแห่งนี้ในฐานะเป็นดินแดนที่มีผลประโยชน์ทางด้านการทหารเป็นหลัก เนื่องจากดินแดนแห่งนี้เป็นหมู่เกาะที่ทอดตัวยาวเหนือเส้นศูนย์สูตร ส่งผลให้มีความเหมาะสมต่อการเป็นแหล่งเสบียงอาหารและเติมน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อพิจารณาจากแหล่งที่ตั้งแล้ว พบว่าเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและฟิลิปปินส์อันเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา สามารถใช้เป็นฐานทัพป้องกันการรุกรานจากสหรัฐอเมริกาสู่แผ่นดินญี่ปุ่นได้ ความสำคัญและความเป็นพื้นที่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของพื้นที่เซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้แสดงให้เห็นในการนำเครื่องบินโจมตีเรือรบของสหรัฐอเมริกาในอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ ในสมัยสงครามโลกคร้งที่ 2 และดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามแปซิฟิกตลอดระยะเวลาสงคราม (Hultington Gilchrist, 1944: 640) ในด้านการทหารนี้ผู้เขียนมองว่าญี่ปุ่นได้ประโยชน์จากด้านการทหารมากที่สุด

อาจกล่าวได้ว่าบทบาทด้านเมืองของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดติ นอกจากการจัดการปกครองให้มีความมั่นคงแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อดินแดนนี้ คือ การทหาร ซึ่งการทหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องการดินแดนแห่งนี้ และดินแดนแห่งนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของสมรภูมิแรกของสงครามแปซิฟิก อันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2

'''บทบาทด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น'''

พื้นที่ของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมีความจำกัดมาก โดยพบว่าเมื่อนำพื้นที่เกาะต่าง ๆ รวมกันแล้วมีพื้นที่เพียง 2,158 ตารางกิโลเมตร โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเพียง 377 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น (Keishi Yamasaki, 1931: 95 – 96) แม้ว่าพื้นที่ของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตจะมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอาณานิคมอื่นของญี่ปุ่น แต่ดินแดนแห่งนี้ก็สามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับญี่ปุ่นได้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกิจการด้านเกษตรกรรม การประมงและกิจการเหมืองแร่ (E. C. Weitzell, 1946: 201)

ก่อนญี่ปุ่นได้สิทธิ์เข้าปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตในปี ค.ศ. 1919 ประชากรชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ามา เข้าไปทำงานในกิจการเหมืองแร่ของชาติตะวันตกและใช้เป็นทางผ่านในการเข้าไปทำงานในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนอื่น เช่น เหมืองแร่นิกเกิลในนิวแคลิโดเนีย เป็นต้น (Purcell, 1967: 16 – 24) ในส่วนของบริษัทของญี่ปุ่นมักให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนสินค้าญี่ปุ่นกับสินค้าพื้นเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในช่วงปี ค.ศ. 1914 มีความพยายามจากภาคส่วนของเอกชนในญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในบริเวณภูมิภาคไมโครนีเซีย (อาณานิคมเยอรมันนิวกินี) โดยนิชิมูระ อิชิมะสิ (Nishimura Ichimatsu) เกษตรกรชาวญี่ปุ่น รวมไปถึงบริษัทการพัฒนาอุตสาหกรรมทะเลใต้ (South Sea Industrial Development) ที่มองเห็นโอกาสจากราคาน้ำตาลที่สูงมาก ได้เดินทางเข้ามาทำการเพาะปลูกอ้อยในเกาะไซปัน (Saipan) แต่ประสบภาวะล้มเหลวจากโรคระบาดและการขาดความรู้ที่เพียงพอ เป็นผลให้บริษัทจากญี่ปุ่นนิยมเพาะปลูกอ้อยในเกาะฟอร์โมซามากกว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยกว่า (Purcell, 1967: 26 – 29)  

การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมของดินแดนแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อญี่ปุ่นได้รับสิทธิ์ในการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต เทะสุกะ โทชิโระ (Tezuka Toshiro) ข้าหลวงใหญ่ประจำรัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ได้ ปรึกษากับมัตสุเอะ ฮารุจิ (Matsue Haruji) ถึงความเป็นไปได้ในการเพาะปลูกอ้อย ซึ่งเป็นพืชเกษตรกรรมที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศของพื้นที่เซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมากที่สุด (Mark R. Peattie, 1988: 126 - 127) การเจรจาพูดคุยกันของหน่วยงานอาณานิคมในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตและมัตสุเอะ ฮารุจิ นำไปสู่การจัดตั้งบริษัทพัฒนาทะเลใต้ (South Seas Development Company หรือ Nanyo Kohatsu Kabushiki Kaisha) แม้ว่าในอดีตนักธุรกิจและภาคเอกชนของญี่ปุ่นมักประสบความล้มเหลวในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล แต่การที่รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้และภาคเอกชนร่วมมือกัน เป็นเพราะการสำรวจและจัดทำแผนที่ของกองทัพเรือญี่ปุ่นในบริเวณเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พร้อมทั้งระบุสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประชากรและวัฒนธรรม เป็นผลทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้โดยง่ายขึ้น (Ti Ngo, 2012: 7 – 8)

การเพาะปลูกอ้อยของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมีการใช้พื้นที่มากถึง 28,373 เอเคอร์ ซึ่งเป็นรองเพียงแค่มะพร้าว และพืชท้องถิ่นของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเท่านั้น (E. C. Weitzell, 1946: 201) สามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลอาณานิคมกว่า 20 ล้านเยน ซึ่งรายได้เกือบทั้งหมดมาจากการเพาะปลูกอ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาล และปริมาณน้ำตาลในตลาดญี่ปุ่นมีถึงร้อยละ 5 ที่มาจากเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (Purcell, 1967: 187) ความสำเร็จในการเพาะปลูกอ้อย รวมไปถึงแรงจูงใจที่ดีพอ ส่งผลให้ประชากรชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวโอกินาวานิยมเข้ามาแสวงหาโอกาสในการรับจ้างปลูกอ้อยหรือเป็นลูกจ้างของบริษัทพัฒนาทะเลใต้ (South Seas Development) ส่งผลให้ประชากรชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี ค.ศ. 1920 มีประชากร 3,671 คน เพิ่มขึ้นเป็น 90,072 คน ในปี ค.ศ. 1941  ในขณะที่ชาวพื้นเมืองมีประชากรรวมกันเพียงแค่ 51,089 คนเท่านั้น (Ti Ngo, 2012: 16) ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลให้ประชากรชาวพื้นเมืองมีอัตราส่วนประชากรชาวพื้นเมืองต่อประชากรชาวญี่ปุ่นเป็น 1 : 2 แรงจูงใจสำคัญที่ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นอพยพเข้ามา คือ ความสำเร็จจากการเพาะปลูกน้ำตาล การการันตีการได้รับที่ดินบางส่วนเพาะปลูก รวมไปถึงการไม่คู่แข่งเมื่อเทียบกับอาณานิคมอื่น กล่าวคือ ในบันทึกของรัฐบาลญี่ปุ่นมักกล่าวถึงประชากรชาวไมโครนีเซียที่อาศัยอยู่ในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตว่าเป็นผู้ที่ “ขี้เกียจ ไม่มีอารยธรรม ป่าเถื่อน ใช่ชีวิตประจำวันไปวันๆ และอยู่ในวิถีดั้งเดิม” (Mark R. Peattie, 1988: 113) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรชาวจีนในไต้หวันและชาวญี่ปุ่นในเกาหลีแล้ว ชาวไมโครนีเซียเป็นผู้ที่มีลักษณะด้อยวัฒนธรรมและความรู้มากที่สุด และรัฐอาณานิคมเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของชาวไมโครนีเซียในเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก

ในการเกษตรกรรมด้านอื่นๆ พบว่าเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้ให้ความสำคัญรองลงมาคือการเพาะปลูกมะพร้าวและสาเก ซึ่งสาเกกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของบริษัทพัฒนาทะเลใต้ (South Seas Development) โดยทำการผลิตในเกาะไซปันและทีเนียน ส่วนมะพร้าวมักแปรรูปเป็นมะพร้าวตากแห้งเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ยังพบการริเริ่มทดลองปลูกข้าว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกอ้อย รวมไปถึงได้ตั้งสถานีเกษตรกรรมเพื่อทดลองปลูกพืชชนิดต่างๆ ในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (Diane Ragone, David Lorence and Timothy Flynn, 2001: 293 – 294)

กิจการที่มีความสำคัญอีกรูปแบบหนึ่งต่อเศรษฐกิจของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตคือการปศุสัตว์และการประมง ในส่วนของการปศุสัตว์นั้นพบว่ายังดำเนินการอยู่ในรูปแบบดั้งเดิม หมูเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากชาวพื้นเมืองนิยมรับประทานหมูมาก่อนหน้านั้นแล้ว รองลงมาคือวัวและไก่ ในส่วนของการประมงนั้นพบว่าในช่วงระยะแรก ก่อนปี ค.ศ. 1923 กิจการประมงอยู่ในความดูแลของชาวประมงและบริษัทขนาดเล็ก แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา บริษัทขนาดใหญ่เริ่มเข้ามาควบคุมกิจการการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทพัฒนาทะเลตะวันออก (South Seas Development) ที่นิยมหาหอยและหมึกเพื่อกลับไปจำหน่ายในญี่ปุ่น (Purcell, 1967: 187)

กิจการทำเหมืองแร่ในช่วงแรกของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเป็นของเยอรมนีเจ้าอาณานิคมเดิม โดยในปี ค.ศ. 1922 ญี่ปุ่นดำเนินการซื้อกิจการเหมืองแร่ทั้งหมดของเยอรมนีเป็นเงิน 1,739,660 เยน โดยรัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้เข้าไปดำเนินการกิจการเหมืองแร่ในเกาะเฟยส์ (Feys) พีลีลู (Pililu) โตโกไบ (Togobai) และอางาอูร์ (Angaur) โดยแร่ที่สำคัญของเกาะเหล่านี้ คือ ฟอสเฟต กิจการเหมืองแร่ในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตค่อนข้างมีปัญหาอย่างมาก เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุน ขาดเครื่องมือที่ดีพอ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเหมืองแร่ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1934 ที่รัฐบาลอาณานิคมอนุญาตให้บริษัทพัฒนาทะเลตะวันออก (South Seas Development) เข้าไปลงทุนและพัฒนากิจการเหมืองแร่แต่เพียงผู้เดียว ด้วยภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานจึงเริ่มมีการดำเนินการจ้างชาวพื้นเมืองเป็นแรงงานไร้ฝีมือและชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลีและชาวจีนเป็นแรงงานมีฝีมือ โดยอัตราเงินได้ชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.54 เยนต่อวัน โดยชาวพื้นเมืองในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้ต่ำสุด โดยอยู่ระหว่าง 0.79 – 1.40 เยนต่อวัน ขึ้นอยู่กับทักษะการทำงานของบุคคลนั้น ๆ (Purcell, 1967: 188 - 194)  การให้เงินได้ที่แตกต่างกัน ผู้เขียนมองว่าแม้ว่าจะเป็นการแบ่งแยกผู้คน แต่การตัดสินใจส่วนหนึ่งเป็นไปตามทักษะแรงงานของบุคคลนั้น ๆ ในการได้เงินได้เหมาะสมกับสภาพงาน

เมื่อถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจทุกรูปแบบของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตซบเซาลงเป็นอย่างมาก โดยรายได้ของรัฐบาลเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากต้องนำสินค้า ปัจจัยการผลิตและกำลังคนไปใช้สนับสนุนการรบในช่วงสงครามโลก

อาจกล่าวได้ว่าบทบาทของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตนั้นมีลักษณะของการสนับสนุนภาคเอกชนเข้าไปลงทุน โดยการอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลด้านสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งกิจการที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ การปลูกอ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาล โดยกิจการด้านนี้สามารถสร้างเงินได้ให้กับรัฐบาลและภาคเอกชนอย่างมหาศาล และนำไปสู่การดึงดูดให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมากขึ้น และมีประชากรรวมมากกว่าประชากรชาวพื้นเมืองในที่สุด

'''บทบาทด้านสังคมของญี่ปุ่น'''

บทบาทของญี่ปุ่นต่อสังคมของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าญี่ปุ่นได้นำระบบแนวคิดหลายอย่างเข้ามาใช้ในอาณานิคมทะเลใต้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ การสร้างสาธารณูปโภคสำคัญเพื่อบริการสังคมให้กับชาวญี่ปุ่นและกระบวนการทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่น (Japanization) ซึ่งในมุมมองของญี่ปุ่นมองว่าการจะทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นผู้มีอารยธรรมนั้นจะต้องได้รับการศึกษาและได้รับความคิดความเชื่อในแบบญี่ปุ่น (Shingo Iitaka, 2011: 90)

สภาพสังคมโดยทั่วไปของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าประชากรชาวพื้นเมืองและประชากรชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในพื้นที่ที่มีประชากรชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เช่น ปาเลาและไซปัน เป็นต้น บริเวณดังกล่าวนี้พบอิทธิพลของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เข้มแข็ง อัตราการเกิดอาชญากรรมในอาณานิคมทะเลใต้ค่อนข้างต่ำ โดยอาชญากรรมส่วนใหญ่เกิดจากการลักขโมยและปล้นทรัพย์ (South Seas Government, 1925: 30 - 31) จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่มีชีวิตในช่วงเวลาขณะนั้น ได้กล่าวถึงสภาพของเมืองปาเลาไว้ว่า “เมืองคอร์รอมีความเจริญรุ่งเรือง เป็น Little Tokyo ถนนหนทางสะอาดและมีการวางระบบผังเมืองที่ดี มีร้านค้าและย่านที่พักอาศัยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เมืองมีความสงบเรียบร้อย” (Donald Shuster, 1981: 27) ในอาณานิคมทะเลใต้มีการห้ามการค้าทาส ห้ามชาวพื้นเมืองดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ยกเว้นเพื่อการรักษา พิธีกรรมและงานเฉลิมฉลอง รวมไปถึงการห้ามใช้สารเสพติด (South Seas Government, 1925: 86 - 90) ในส่วนของโครงสร้างทางสังคมดั้งเดิมของชนพื้นเมืองได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก กลุ่มชนชั้นนำหลายกลุ่มสูญเสียอำนาจ บางกลุ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารปกครองอาณานิคม โดยชนพื้นเมืองกลายเป็นพลเมืองชั้น 3 ของอาณานิคมทะเลใต้ (John Useem, 2009: 573 – 575)

รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ลงทุนกับการศึกษาในเขตเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก (South Seas Government, 1925: 42) โดยเป็นรองเพียงแค่การลงทุนด้านสาธารณูปโภคเท่านั้น (South Seas Government, 1925: 43) รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ ได้รายงานต่อสันนิบาติชาติว่า “โรงเรียนในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตประกอบไปด้วยโรงเรียนที่สร้างโดยภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นและโรงเรียนของมิชชันนารีที่สร้างในสมัยเป็นอาณานิคมของเยอรมนี” โรงเรียนเหล่านี้จัดการศึกษาให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่อาศัยในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตและประชาชนชาวพื้นเมือง การศึกษาของญี่ปุ่นสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อประชากรชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีตการจัดการศึกษาในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตขึ้นอยู่กับการสั่งสอนของผู้อาวุโสในแต่ละหมู่บ้าน แต่หลักสูตรที่ญี่ปุ่นใช้ ประกอบด้วยวิชาหลัก 3 วิชา คือ ภาษาญี่ปุ่น เลขคณิตและจริยธรรมแบบญี่ปุ่น รวมไปถึงสนับสนุนให้เคารพสมเด็จพระจักรพรรดิ (Felix Keesing, 1932: 679) การจัดการศึกษาในลักษณะนี้ส่งผลให้ประชากรในรุ่นหลังเริ่มใช้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาพื้นเมืองเป็นภาษาพูด ซึ่งสภาพทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อนหน้าที่มีการใช้ภาษาสเปนและภาษาเยอรมันด้วย การจัดการศึกษาของรัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้มีลักษะการแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งคล้ายคลึงกับอาณานิคมไต้หวันและเกาหลีของญี่ปุ่น ประชากรวัยเด็กชาวพื้นเมืองเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 57 และมีผู้จบการศึกษาในรูปแบบญี่ปุ่นกว่า 20,000 คน เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวเลขของนักเรียนในระบบการศึกษาแบบญี่ปุ่นในอาณานิคมอื่น ๆ พบว่า ชาวพื้นเมืองในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมีอัตราการเข้าเรียนมากกว่าชาวเกาหลีและชาวจีนในไต้หวันในปี ค.ศ. 1930 แสดงให้เห็นถึงการยอมรับและความรู้สึกที่เป็นญี่ปุ่นมากกว่าในอาณานิคมอื่น ส่วนในกรณีของผู้ใหญ่วัยทำงาน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งสถาบันฝึกภาษา (Kokugo Renshusho) เพื่อสอนภาษาและจริยธรรมแบบญี่ปุ่น (Masumi Kai, 2011: 24 – 26)

เพื่อความคงทนในการซึมซับวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่คงทนและการใช้กระบวนการทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่นนั้น รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ได้สนับสนุนให้ประชากรชาวพื้นเมืองได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น โดยระยะแรกดำเนินการโดยกองทัพเรือและในระยะเวลาต่อมารัฐบาลอาณานิคมเป็นผู้สนับสนุน ผู้ที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นมักเป็นชนชั้นนำของชาวพื้นเมือง ผู้ที่จบการศึกษาในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ในรายงานของกองทัพเรือส่วนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวไมโครนีเซียเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับอารยธรรมและความเจริญรุ่งเรืองของญี่ปุ่น ผู้ร่วมเดินทางมักกลับมาบอกเล่าประสบการณ์ให้สาธารณชนฟัง” ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นเกิดผลดีต่อญี่ปุ่นและการปกครองโดยแท้จริง เห็นได้ชัดจากการที่หัวหน้าหมู่บ้านในเขตบาเบลดาออบ (Babeldaob) ได้พยายามตัดถนนแบบญี่ปุ่น โดยมีต้นมะพร้าวและแสงไฟจากโคมไฟตามแนวจนกระทั่งถึงทะเล ซึ่งจุดนี้เองเป็นส่วนหนึ่งให้การต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนพื้นเมืองมีไม่มากนัก (Shingo Iitaka, 2011: 87 – 90)

ในส่วนของศาสนาของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าก่อนการเข้ามาของญี่ปุ่นประชากรพื้นเมืองนับถือความเชื่อดั้งเดิมและศาสนาคริสต์ ซึ่งมิชชันนารีชาติต่าง ๆ เข้ามาเผยแพร่ (South Seas Government, 1925: 22 - 23) อย่างไรก็ตามเมื่อญี่ปุ่นเข้ามาปกครองในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ได้งดการสนับสนุนมิชชันารีในศาสนาคริสต์ และสนับสนุนการเข้ามาเผยแพร่ของพุทธศาสนา โดยเริ่มครั้งแรกที่ไซปัน ในปี ค.ศ. 1919 (Donald Shuster, 1981: 21) ในรายงานของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อสันนิบาติได้รายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชนในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (South Seas Government, 1925: 22 - 23) อย่างไรก็ตามศาสนาที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนมากที่สุดคือศาสนาชินโต แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่รายงานการนับถือศาสนาชินโตต่อสันนิบาติชาติ แต่ในทางปฏิบัติพบว่ารัฐบาลอาณานิคมแปซิฟิกใต้ได้สร้างศาลเจ้าในศาสนาชินโต 17 แห่งทั่วแปซิฟิกแมนเดต ศาลเจ้าชินโตมีหน้าที่สำคัญคือการสร้างพื้นที่ทางความเชื่อให้กับชาวญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตและการกลืนชาวพื้นเมือง ด้วยคำสอนที่เน้นชาตินิยมรุนแรงและความเป็นรัฐทหาร ซึ่งเริ่มปรากฏให้เห็นชัดหลังจากที่ญี่ปุ่นออกจากสันนิบาติชาติ ศาสนาชินโตประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเผยแพร่ความเชื่อและการกลืนชาวพื้นเมืองให้เป็นญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น การที่ประชาชนในยาลูอิต อะทอลล์ (Jaluit Atoll) ศูนย์กลางการบริหารของญี่ปุ่นในเขตหมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งห่างไกลจากศูนย์กลางมากที่สุด มีการเต้นรำเนื่องในวันชาติญี่ปุ่น หรือ ชาวแยป (Yap) แต่งตัวโดยโดยใส่ “ฟุนโดชิ” (Fundoshi) ถือตะกร้าไปซื้อของในตลาดและเคารพศาลเจ้าชินโต (Donald Shuster, 1981: 23) ในเมืองคอร์รอ ศูนย์กลางการบริหารเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ได้มีการจัดตั้งศาลเจ้าคัมเป ไทชา นันโย (Kampei Taisha Nanyo Jinja) ซึ่งเป็นศาลเจ้าหลวงชั้นหนึ่งของญี่ปุ่น โดยเป็นศาลเจ้าของอามาเทระสึ โอคามิ (Amaterasu Okami) อันเป็นเทพีแห่งดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นสถานที่สำหรับทำการสักการะของประชากรชาวญี่ปุ่น การนำความเชื่อชินโตเข้ามาบูรณาการกับระบบความเชื่อเทพท้องถิ่นและการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนวงศ์ไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียแห่งบูรพา (Donald Shuster, 1981: 27)

การต่อต้านแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต และประทุขึ้นอย่างรุนแรง 2 ปีหลังจากการจัดตั้งศาลเจ้าคัมเป ไทชา นันโย โดยเกิดจากความไม่พอใจของการเข้าแทนที่เทพพื้นเมืองของศาสนาชินโต ขบวนการนี้เป็นขบวนการด้านวัฒนธรรมและศาสนา โดยผู้นำของขบวนการมีทัศนคติมองว่า “ชาวพื้นเมืองมีผิวดำ ซึ่งแตกต่างจากชาวญี่ปุ่นมีผิวสีเหลือง ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้” (Donald Shuster, 1981: 35) อย่างไรก็ตามการต่อต้านของขบวนการนี้ประสบความล้มเหลว เนื่องจากประชากรและหัวหน้าหมู่บ้านชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถในกระบวนการสืบสวน ซึ่งนำไปสู่การจำคุกของผู้นำขบวนการหลายคน (Donald Shuster, 1981: 35 - 36)

ในส่วนของสภาพทางด้านสังคม นอกจากในส่วนของสาธารณูปโภคเพื่อรองรับประชากรชาวญี่ปุ่นแล้ว ญี่ปุ่นได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำให้ประชากรชาวพื้นเมืองมีความเป็นชาวญี่ปุ่นมากขึ้น ผ่านกระบวนการทางด้านการศึกษา การทำงาน ศาสนาและการท่องเที่ยว ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดผลดีกับญี่ปุ่น และเป็นผลให้ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่ที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้มักเป็นผู้ให้ความสนับสนุนแก่ญี่ปุ่น และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือญี่ปุ่นในการสืบสวนหาขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นอีกด้วย
----[[:ไฟล์:///C:/Users/Administrator/Downloads/บทบาทของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต.docx# ftnref1|[1]]] สันนิบาติชาติจัดดินแดนออกเป็น 3 ลักษณะตามความเจริญางสาธารณูปโภคและขีดความสามารถในการปกครองตนเอง โดยแบ่งเป็น Class A, Class B และ Class C
[[หมวดหมู่:กระบะทราย]]
[[หมวดหมู่:กระบะทราย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:35, 1 มกราคม 2560

เตรียมร่างบทความ ดินแดนในอาณัติแปซิฟิกใต้

เซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (South Pacific Mandate) เป็นดินแดนภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ครอบคลุม 3 ประเทศ 1 ดินแดน คือ สาธารณรัฐปาเลา สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ สหพันธรัฐไมโครนีเซียและดินแดนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนนาส์ ซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน เซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเป็นชื่อทางการของอาณานิคมหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางเหนือเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสันนิบาตชาติมอบหมู่เกาะในภูมิภาคไมโครนีเซียอันเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเยอรมันนิวกินีให้กับญี่ปุ่นหลังจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด (Russell Fifield, 1946: 478 – 479)

ญี่ปุ่นเข้าปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 – 1947 โดยการเข้าปกครองของญี่ปุ่นนั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตหลายประการทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังพบกับการเข้าใช้ประโยชน์จากดินแดนแห่งนี้ในรูปแบบต่าง ๆ การเข้าปกครองดินแดนแห่งนี้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นสิ้นสุดลงหลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสหประชาชาติได้มอบหมายดินแดนบริเวณดังกล่าวให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดูแลแทน จนกระทั่งบางประเทศในภูมิภาคไมโครนีเซียได้รับเอกราช

ดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตก่อนการปกครองของญี่ปุ่น      

ประวัติศาสตร์ภูมิภาคไมโครนีเซียก่อนการเข้ามาปกครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ช่วงหลัก คือ ระยะแรก เป็นระยะทีชาวไมโครนีเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างชุมชน และระยะที่สอง เป็นระยะที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีเริ่มเข้าครอบครองหมู่เกาะในบริเวณนี้

จากการสำรวจและวิเคราะห์ทางด้านโบราณคดี นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าบริเวณภูมิภาคไมโครนีเซียเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ 4,000 – 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวชามอร์โร (Chamorro) ชาวไมโครนีเซีย (Micronesia) และชาวปาเลา (Palau) ในปัจจุบัน (Felix Keesing, 1932: 288)  การอาศัยอยู่ของผู้คนในบริเวณนี้มักอาศัยอยู่กันแบบสังคมชนเผ่า แต่ก็พบการตั้งศูนย์กลางทางการเมืองในรูปแบบการปกครองอาณาจักรทางทะเลขึ้นที่เกาะเทมเวน (Temwen Island)  ในเขตโบราณสถาน นาน มาโดล (Nan Madol) ในรัฐโปนเปย์ (Pohnpei) ประเทศไมโครนีเซียน ซึ่งโบราณสถานสร้างด้วยหินมีการเชื่อมคลองและได้รับการยกย่องว่าเป็นเวนิสแห่งแปซิฟิก (UNESCO, N.d.: 3)  ดินแดนบริเวณนี้ได้รับการสำรวจโดยนักสำรวจชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวสเปนและโปรตุเกสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่มีปฏิสัมพันธ์กับชาวพื้นเมืองมากนัก ในช่วงเวลาต่อมาสเปนได้เข้าครอบครองหมู่เกาะบริเวณนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 – 19

ในปี ค.ศ. 1898 สเปนทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา ผลของสงครามในครั้งนั้นสเปนพ่ายแพ้ จึงจำเป็นต้องยกเกาะกวม (Guam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาเรียนาส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา และสเปนดำเนินการขายหมู่เกาะมาเรียนาส์ที่เหลือและหมู่เกาะแคโรไลน์ให้กับจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนี ส่งผลให้เยอรมนีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคไมโครนีเซีย บริหารภายใต้การปกครองของอาณานิคมเยอรมันนิวกินี เยอรมนีใช้ประโยชน์ในฐานะท่าเรือรบ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น (Earl S. Pomerov, 1948: 45 - 46) ในช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นมองเห็นโอกาสในการขยายอิทธิพลของจักรวรรดิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเริ่มการประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 โดยจุดเน้นของญี่ปุ่นในการทำสงครามกับเยอรมนีคือการยึดท่าเรือและแหล่งธุรกิจในฉางตง ในเวลาต่อมาชาติพันธมิตรต้องการให้ญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันขบวนสินค้าให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรอินเดียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับการยกส่วนหนึ่งของฉางตงและหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่เป็นอาณานิคมของเยอรมนีให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น (Thomas Burkman, 2008: 5 – 7) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นได้เป็นส่วนหนึ่งในการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ค่อนข้างน้อย แต่ก็ได้ยอมรับในฐานะชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลก มีสถานะเป็นสมาชิกถาวรของสภาสันนิบาตชาติ นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้ดินแดนฉางตง และหมู่เกาะตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตามสัญญา หมู่เกาะตอนเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกเหล่านี้ สันนิบาตชาติจัดให้เป็น Class – C Mandate[1] ซึ่งเป็นดินแดนที่สันนิบาตชาติมองว่าชาติเจ้าของแมนเดตควรบริหารจัดการตามกฎหมายในฐานะดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ (Thomas Burkman, 2008: 69 - 70)

การที่ญี่ปุ่นได้ดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต เนื่องจากเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำคัญในการเข้าร่วมช่วยเหลือชาติสัมพันธมิตรของญี่ปุ่น ซึ่งการเข้าช่วยเหลือของญี่ปุ่นแม้มีเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีความสำคัญมาก เนื่องจากชาติสัมพันธมิตรชาติอื่นติดพันการรบในยุโรป ส่งผลให้ไม่สามารถคุ้มกันกองเรือของแต่ละประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในระยะแรก คณะที่ประชุมของสันนิบาติชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ไม่ต้องการมอบดินแดนอดีตอาณานิคมเยอรมันนิวกินีส่วนหนึ่งให้กับญึ่ปุ่น โดยสหรัฐอเมริกามองว่าหากมอบดินแดนส่วนนี้ให้กับญี่ปุ่น เกาะกวม สถานีวิทยุสื่อสารบนเกาะแยป (Yap) และความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาจะเป็นอันตราย (Earl S. Pomerov, 1948: 47 – 50) แต่ที่ประชุมสันนิบาติชาติเกรงว่าหากไม่มอบดินแดนส่วนนี้ให้กับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะไม่เข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้สันนิบาติชาติได้ปฏิเสธข้อเสนอของญี่ปุ่นในข้อตกลงการยกเลิกการเหยียดชาติพันธุ์ ในมุมมองของสันนิบาติชาติมองว่าหากญี่ปุ่นไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งครั้งใหญ่ตามมา (E. T. Williams, 1993: 435 – 436)  

Ti Ngo (2012: 1 – 2) ได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว นายทหารระดับสูงของกองทัพเรืออย่างเอโนะโมะโตะ ทาเคอากิ (Enomoto Takeaki) และนักหนังสือพิมพ์อย่างชิกะ ชิเกทากะ (Shiga Shigetaka) ต้องการสำรวจดินแดนในบริเวณนี้เพื่อหาอาณานิคมแห่งใหม่ให้กับญี่ปุ่น แต่พบว่าเกาะเหล่านี้ตกเป็นของเยอรมนีและสเปนแล้วในขณะนั้น โดยความพยายามของญี่ปุ่นที่ต้องการดินแดนนี้มีสาเหตุอยู่ 3 เหตุผลหลัก คือ (1) แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในดินแดนนี้ (2) เป็นสะพานเชื่อมต่อดินแดนทางใต้ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเมลานีเซีย) (3) เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างฮาวายและฟิลิปปินส์ (Mark R. Peattie, 1988: 50 – 51)  และ (4) สามารถนำมาใช้เป็นฐานทัพของทัพเรือในการปกป้องประเทศจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

บทบาทด้านการเมืองและการทหารของญี่ปุ่น

หลังจากญี่ปุ่นได้รับมอบหมายการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตจากสันนิบาติ ในปี ค.ศ. 1914 รัฐบาลกลางญี่ปุ่นได้มอบหมายให้ผู้บัญชาการของกองกำลังป้องกันชั่วคราวทะเลใต้ (South Seas Islands Temporary Garrison) เป็นผู้นำรัฐบาลเของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต โดยผู้บัญชาการจะมีอำนาจในการบังคับบัญชาทหารและพลเรือนในดินแดนแห่งนี้ โดยได้ตั้งศูนย์กลางการบริหารขึ้นที่เกาะซัมเมอร์ (Summer) เกาะแยป (Yap) เกาะยาลูอิต (Jaluit) และเกาะอางาอูร์ (Angaur) (Purcell, 1967: 147)  จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1915 ได้มีการนำที่ปรึกษาและข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้ามาทำงานในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมากขึ้น จนกระทั่งในที่สุดในปี ค.ศ. 1918 กองกำลังทหารได้ถ่ายโอนอำนาจทั้งหมดให้ข้าราชการฝ่ายพลเรือนในการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต และย้ายศูนย์กลางการบริหารจากเกาะซัมเมอร์มาสู่คอร์รอในเกาะปาเลาในปี ค.ศ. 1922 (Purcell, 1967: 148)

ในระยะแรกของการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 – 1922 ญี่ปุ่นปกครองดินแดนแห่งนี้โดยใช้ระบอบที่จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมนีได้วางรากฐานไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบมากนัก (Purcell, 1967: 151 - 155) การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 เป็นต้นมา แต่ในช่วงปีที่มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อการการเมืองการปกครองของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตคือในปี ค.ศ. 1929 เมื่อย้ายหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการเมืองการปกครองจากการดูแลโดยตรงโดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสู่กระทรวงกิจการโพ้นทะเล (Ministry of Oversea Affairs) ส่วนกิจการด้านอื่นได้ย้ายเข้าสู่กระทรวงที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เป็นต้น (Purcell, 1967: 160) นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเปลี่ยนแปลงจากการแบ่งเขตแบบเดิม ออกเป็นการแบ่งเขตแบบใหม่ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต ได้แก่ ไซปัน (Saipan) (หมู่เกาะมาเรียนาส์) แยป (Yap) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ปาเลา (Palau) (หมู่เกาะแคโรไลน์) ตรุก (Truk) (หมู่เกาะแคโรไลน์) โปนเปห์ (Ponape) (หมู่เกาะแคโรไลน์) และยาลูอิต (Jaluit) (หมู่เกาะมาร์แชลล์) ซึ่งในแต่ละเขตจะมีข้าหลวงจากส่วนกลางเข้าไปปกครอง ในส่วนท้องถิ่นของแต่ละเขตประกอบไปด้วยหมู่บ้านชาวพื้นเมืองหลายหมู่บ้าน มีหัวหน้าหมู่บ้านและเป็นหัวหน้าชนเผ่าในยุคดั้งเดิมซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมทะเลใต้เป็นผู้ปกครอง (Keishi Yamasaki, 1931: 103 - 104)  ในกรณีของหัวหน้าหมู่บ้านเหล่านี้มักมีหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ชาวญี่ปุ่นในการจัดทำรายงานต่าง ๆ ภายในดินแดนของตน จัดเก็บภาษีชาวพื้นเมืองผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่พิการและแก่ชรา รวมถึงส่งข้อเสนอของชุมชนของตนต่อเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามแม้ในทางกฎหมาย ญี่ปุ่นจะมอบอำนาจและหน้าที่ให้หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละแห่งเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติพบว่าอำนาจหน้าที่ในอดีตเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดสถานะที่มีความแตกต่างกันของหัวหน้าหมู่บ้านแต่ละคน (Purcell, 1967: 162 - 169) ซึ่งญี่ปุ่นใช้การปกครองรูปแบบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (John Useem, 1945: 94 123)

เมื่อพิจารณาจากสถานะของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าสันนิบาติชาติต้องการมอบดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตให้กับญี่ปุ่นในสถานะดินแดนในภาวะทรัสตี (ดินแดนในอาณัติ) แม้ว่าสภาวะของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตในขณะนั้นจะเป็นดินแดนที่ไม่สามารถปกครองตนเองได้และยังมีโครงสร้างทางการเมืองไม่แน่ชัด จึงต้องใช้หลักกฎหมายและการบริหารจัดการเสมือนเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศแม่ แต่พฤตการณ์ของญี่ปุ่นที่ใช้ในการปกครองพบว่ามักไม่เปิดโอกาสให้ชาวพื้นเมืองเข้ามามีบทบาททางด้านการเมืองการปกครองมากนัก รวมไปถึงการพยายามทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่น ซึ่งพฤตการณ์ของญี่ปุ่น Hultington Gilchrist (1944: 640) ได้กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ญี่ปุ่นควรปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตในฐานะดินแดนในอาณัติ ไม่ใช่การยึดครองและจัดระบบการปกครองในลักษณะนี้

กรณีการขอลาออกจากสันนิบาติชาติ ส่งผลให้สถานะของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเริ่มไม่แน่ชัด เนื่องจากดินแดนแมนเดตเป็นดินแดนของสันนิบาติชาติที่มอบให้ประเทศสมาชิกดูแล การลาออดจากสมาชิกภาพย่อมเป็นผลให้การดูแลแมนเดตสิ้นสุดลง ในช่วงเวลานี้พบว่าเยอรมนีได้พยายามเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่นหรือให้สันนิบาติชาติหาประเทศสมาชิกอื่นเข้ามาดูแลดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามสันนิบาติชาติไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องดินแดนส่วนนี้คืนจากญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่าสันนิบาติชาติไม่อยากดำเนินมาตรการรุนแรงกับญี่ปุ่นและคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติอีกครั้ง (Mark R. Peattie, 1988: 315 - 317)

เมื่อศึกษาระบบการศาลและกระบวนการยุติธรรมในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตพบว่า รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ มีการจัดตั้ง หน่วยงานด้านศาลครอบคลุมทุกหมู่เกาะสำคัญของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ข้าหลวงใหญ่ประจำอาณานิคมมีอำนาจในการพิจารณีคดีความ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอำนาจบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต การพิจารณาคดีของชาวญี่ปุ่นและชาวพื้นเมืองดำเนินในลักษณะเดียวกัน ซึ่งผู้พิพากษาของศาลมักได้รับการแต่งตั้งโดยข้าหลวงใหญ่ของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (Mark R. Peattie, 1988: 69 - 71) ในส่วนของเจ้าหน้าที่รักษาความสงบในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ในระยะแรกเป็นหน่วยงานทหารในพื้นที่ เมื่อหน่วยงานทหารโอนอำนาจให้ฝ่ายพลเรือนแล้ว หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่คือตำรวจ โดยนายตำรวจระดับสูงมักเป็นชาวญี่ปุ่น และตำรวจระดับปฏิบัติการเป็นชาวพื้นเมืองผสมผสานกับชาวญี่ปุ่น (South Seas Government, 1925: 22 - 23)

ในส่วนของการทหารพบว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับดินแดนนี้เป็นอย่างมาก จากที่กล่าวในตอนต้นนั้นพบว่าญี่ปุ่นมองดินแดนแห่งนี้ในฐานะเป็นดินแดนที่มีผลประโยชน์ทางด้านการทหารเป็นหลัก เนื่องจากดินแดนแห่งนี้เป็นหมู่เกาะที่ทอดตัวยาวเหนือเส้นศูนย์สูตร ส่งผลให้มีความเหมาะสมต่อการเป็นแหล่งเสบียงอาหารและเติมน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อพิจารณาจากแหล่งที่ตั้งแล้ว พบว่าเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและฟิลิปปินส์อันเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา สามารถใช้เป็นฐานทัพป้องกันการรุกรานจากสหรัฐอเมริกาสู่แผ่นดินญี่ปุ่นได้ ความสำคัญและความเป็นพื้นที่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของพื้นที่เซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้แสดงให้เห็นในการนำเครื่องบินโจมตีเรือรบของสหรัฐอเมริกาในอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ ในสมัยสงครามโลกคร้งที่ 2 และดินแดนเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามแปซิฟิกตลอดระยะเวลาสงคราม (Hultington Gilchrist, 1944: 640) ในด้านการทหารนี้ผู้เขียนมองว่าญี่ปุ่นได้ประโยชน์จากด้านการทหารมากที่สุด

อาจกล่าวได้ว่าบทบาทด้านเมืองของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดติ นอกจากการจัดการปกครองให้มีความมั่นคงแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อดินแดนนี้ คือ การทหาร ซึ่งการทหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องการดินแดนแห่งนี้ และดินแดนแห่งนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของสมรภูมิแรกของสงครามแปซิฟิก อันเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2

บทบาทด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

พื้นที่ของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมีความจำกัดมาก โดยพบว่าเมื่อนำพื้นที่เกาะต่าง ๆ รวมกันแล้วมีพื้นที่เพียง 2,158 ตารางกิโลเมตร โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเพียง 377 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น (Keishi Yamasaki, 1931: 95 – 96) แม้ว่าพื้นที่ของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตจะมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอาณานิคมอื่นของญี่ปุ่น แต่ดินแดนแห่งนี้ก็สามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับญี่ปุ่นได้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกิจการด้านเกษตรกรรม การประมงและกิจการเหมืองแร่ (E. C. Weitzell, 1946: 201)

ก่อนญี่ปุ่นได้สิทธิ์เข้าปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตในปี ค.ศ. 1919 ประชากรชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ามา เข้าไปทำงานในกิจการเหมืองแร่ของชาติตะวันตกและใช้เป็นทางผ่านในการเข้าไปทำงานในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนอื่น เช่น เหมืองแร่นิกเกิลในนิวแคลิโดเนีย เป็นต้น (Purcell, 1967: 16 – 24) ในส่วนของบริษัทของญี่ปุ่นมักให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนสินค้าญี่ปุ่นกับสินค้าพื้นเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในช่วงปี ค.ศ. 1914 มีความพยายามจากภาคส่วนของเอกชนในญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในบริเวณภูมิภาคไมโครนีเซีย (อาณานิคมเยอรมันนิวกินี) โดยนิชิมูระ อิชิมะสิ (Nishimura Ichimatsu) เกษตรกรชาวญี่ปุ่น รวมไปถึงบริษัทการพัฒนาอุตสาหกรรมทะเลใต้ (South Sea Industrial Development) ที่มองเห็นโอกาสจากราคาน้ำตาลที่สูงมาก ได้เดินทางเข้ามาทำการเพาะปลูกอ้อยในเกาะไซปัน (Saipan) แต่ประสบภาวะล้มเหลวจากโรคระบาดและการขาดความรู้ที่เพียงพอ เป็นผลให้บริษัทจากญี่ปุ่นนิยมเพาะปลูกอ้อยในเกาะฟอร์โมซามากกว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยกว่า (Purcell, 1967: 26 – 29)  

การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมของดินแดนแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อญี่ปุ่นได้รับสิทธิ์ในการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต เทะสุกะ โทชิโระ (Tezuka Toshiro) ข้าหลวงใหญ่ประจำรัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ได้ ปรึกษากับมัตสุเอะ ฮารุจิ (Matsue Haruji) ถึงความเป็นไปได้ในการเพาะปลูกอ้อย ซึ่งเป็นพืชเกษตรกรรมที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศของพื้นที่เซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมากที่สุด (Mark R. Peattie, 1988: 126 - 127) การเจรจาพูดคุยกันของหน่วยงานอาณานิคมในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตและมัตสุเอะ ฮารุจิ นำไปสู่การจัดตั้งบริษัทพัฒนาทะเลใต้ (South Seas Development Company หรือ Nanyo Kohatsu Kabushiki Kaisha) แม้ว่าในอดีตนักธุรกิจและภาคเอกชนของญี่ปุ่นมักประสบความล้มเหลวในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล แต่การที่รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้และภาคเอกชนร่วมมือกัน เป็นเพราะการสำรวจและจัดทำแผนที่ของกองทัพเรือญี่ปุ่นในบริเวณเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พร้อมทั้งระบุสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประชากรและวัฒนธรรม เป็นผลทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้โดยง่ายขึ้น (Ti Ngo, 2012: 7 – 8)

การเพาะปลูกอ้อยของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมีการใช้พื้นที่มากถึง 28,373 เอเคอร์ ซึ่งเป็นรองเพียงแค่มะพร้าว และพืชท้องถิ่นของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเท่านั้น (E. C. Weitzell, 1946: 201) สามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลอาณานิคมกว่า 20 ล้านเยน ซึ่งรายได้เกือบทั้งหมดมาจากการเพาะปลูกอ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาล และปริมาณน้ำตาลในตลาดญี่ปุ่นมีถึงร้อยละ 5 ที่มาจากเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (Purcell, 1967: 187) ความสำเร็จในการเพาะปลูกอ้อย รวมไปถึงแรงจูงใจที่ดีพอ ส่งผลให้ประชากรชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวโอกินาวานิยมเข้ามาแสวงหาโอกาสในการรับจ้างปลูกอ้อยหรือเป็นลูกจ้างของบริษัทพัฒนาทะเลใต้ (South Seas Development) ส่งผลให้ประชากรชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี ค.ศ. 1920 มีประชากร 3,671 คน เพิ่มขึ้นเป็น 90,072 คน ในปี ค.ศ. 1941  ในขณะที่ชาวพื้นเมืองมีประชากรรวมกันเพียงแค่ 51,089 คนเท่านั้น (Ti Ngo, 2012: 16) ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลให้ประชากรชาวพื้นเมืองมีอัตราส่วนประชากรชาวพื้นเมืองต่อประชากรชาวญี่ปุ่นเป็น 1 : 2 แรงจูงใจสำคัญที่ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นอพยพเข้ามา คือ ความสำเร็จจากการเพาะปลูกน้ำตาล การการันตีการได้รับที่ดินบางส่วนเพาะปลูก รวมไปถึงการไม่คู่แข่งเมื่อเทียบกับอาณานิคมอื่น กล่าวคือ ในบันทึกของรัฐบาลญี่ปุ่นมักกล่าวถึงประชากรชาวไมโครนีเซียที่อาศัยอยู่ในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตว่าเป็นผู้ที่ “ขี้เกียจ ไม่มีอารยธรรม ป่าเถื่อน ใช่ชีวิตประจำวันไปวันๆ และอยู่ในวิถีดั้งเดิม” (Mark R. Peattie, 1988: 113) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรชาวจีนในไต้หวันและชาวญี่ปุ่นในเกาหลีแล้ว ชาวไมโครนีเซียเป็นผู้ที่มีลักษณะด้อยวัฒนธรรมและความรู้มากที่สุด และรัฐอาณานิคมเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของชาวไมโครนีเซียในเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก

ในการเกษตรกรรมด้านอื่นๆ พบว่าเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้ให้ความสำคัญรองลงมาคือการเพาะปลูกมะพร้าวและสาเก ซึ่งสาเกกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของบริษัทพัฒนาทะเลใต้ (South Seas Development) โดยทำการผลิตในเกาะไซปันและทีเนียน ส่วนมะพร้าวมักแปรรูปเป็นมะพร้าวตากแห้งเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ยังพบการริเริ่มทดลองปลูกข้าว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกอ้อย รวมไปถึงได้ตั้งสถานีเกษตรกรรมเพื่อทดลองปลูกพืชชนิดต่างๆ ในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (Diane Ragone, David Lorence and Timothy Flynn, 2001: 293 – 294)

กิจการที่มีความสำคัญอีกรูปแบบหนึ่งต่อเศรษฐกิจของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตคือการปศุสัตว์และการประมง ในส่วนของการปศุสัตว์นั้นพบว่ายังดำเนินการอยู่ในรูปแบบดั้งเดิม หมูเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากชาวพื้นเมืองนิยมรับประทานหมูมาก่อนหน้านั้นแล้ว รองลงมาคือวัวและไก่ ในส่วนของการประมงนั้นพบว่าในช่วงระยะแรก ก่อนปี ค.ศ. 1923 กิจการประมงอยู่ในความดูแลของชาวประมงและบริษัทขนาดเล็ก แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา บริษัทขนาดใหญ่เริ่มเข้ามาควบคุมกิจการการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทพัฒนาทะเลตะวันออก (South Seas Development) ที่นิยมหาหอยและหมึกเพื่อกลับไปจำหน่ายในญี่ปุ่น (Purcell, 1967: 187)

กิจการทำเหมืองแร่ในช่วงแรกของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเป็นของเยอรมนีเจ้าอาณานิคมเดิม โดยในปี ค.ศ. 1922 ญี่ปุ่นดำเนินการซื้อกิจการเหมืองแร่ทั้งหมดของเยอรมนีเป็นเงิน 1,739,660 เยน โดยรัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้เข้าไปดำเนินการกิจการเหมืองแร่ในเกาะเฟยส์ (Feys) พีลีลู (Pililu) โตโกไบ (Togobai) และอางาอูร์ (Angaur) โดยแร่ที่สำคัญของเกาะเหล่านี้ คือ ฟอสเฟต กิจการเหมืองแร่ในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตค่อนข้างมีปัญหาอย่างมาก เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุน ขาดเครื่องมือที่ดีพอ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเหมืองแร่ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1934 ที่รัฐบาลอาณานิคมอนุญาตให้บริษัทพัฒนาทะเลตะวันออก (South Seas Development) เข้าไปลงทุนและพัฒนากิจการเหมืองแร่แต่เพียงผู้เดียว ด้วยภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานจึงเริ่มมีการดำเนินการจ้างชาวพื้นเมืองเป็นแรงงานไร้ฝีมือและชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลีและชาวจีนเป็นแรงงานมีฝีมือ โดยอัตราเงินได้ชาวญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.54 เยนต่อวัน โดยชาวพื้นเมืองในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตได้ต่ำสุด โดยอยู่ระหว่าง 0.79 – 1.40 เยนต่อวัน ขึ้นอยู่กับทักษะการทำงานของบุคคลนั้น ๆ (Purcell, 1967: 188 - 194)  การให้เงินได้ที่แตกต่างกัน ผู้เขียนมองว่าแม้ว่าจะเป็นการแบ่งแยกผู้คน แต่การตัดสินใจส่วนหนึ่งเป็นไปตามทักษะแรงงานของบุคคลนั้น ๆ ในการได้เงินได้เหมาะสมกับสภาพงาน

เมื่อถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจทุกรูปแบบของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตซบเซาลงเป็นอย่างมาก โดยรายได้ของรัฐบาลเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากต้องนำสินค้า ปัจจัยการผลิตและกำลังคนไปใช้สนับสนุนการรบในช่วงสงครามโลก

อาจกล่าวได้ว่าบทบาทของญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตนั้นมีลักษณะของการสนับสนุนภาคเอกชนเข้าไปลงทุน โดยการอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลด้านสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งกิจการที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ การปลูกอ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาล โดยกิจการด้านนี้สามารถสร้างเงินได้ให้กับรัฐบาลและภาคเอกชนอย่างมหาศาล และนำไปสู่การดึงดูดให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมากขึ้น และมีประชากรรวมมากกว่าประชากรชาวพื้นเมืองในที่สุด

บทบาทด้านสังคมของญี่ปุ่น

บทบาทของญี่ปุ่นต่อสังคมของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าญี่ปุ่นได้นำระบบแนวคิดหลายอย่างเข้ามาใช้ในอาณานิคมทะเลใต้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ การสร้างสาธารณูปโภคสำคัญเพื่อบริการสังคมให้กับชาวญี่ปุ่นและกระบวนการทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่น (Japanization) ซึ่งในมุมมองของญี่ปุ่นมองว่าการจะทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นผู้มีอารยธรรมนั้นจะต้องได้รับการศึกษาและได้รับความคิดความเชื่อในแบบญี่ปุ่น (Shingo Iitaka, 2011: 90)

สภาพสังคมโดยทั่วไปของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าประชากรชาวพื้นเมืองและประชากรชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในพื้นที่ที่มีประชากรชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เช่น ปาเลาและไซปัน เป็นต้น บริเวณดังกล่าวนี้พบอิทธิพลของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เข้มแข็ง อัตราการเกิดอาชญากรรมในอาณานิคมทะเลใต้ค่อนข้างต่ำ โดยอาชญากรรมส่วนใหญ่เกิดจากการลักขโมยและปล้นทรัพย์ (South Seas Government, 1925: 30 - 31) จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่มีชีวิตในช่วงเวลาขณะนั้น ได้กล่าวถึงสภาพของเมืองปาเลาไว้ว่า “เมืองคอร์รอมีความเจริญรุ่งเรือง เป็น Little Tokyo ถนนหนทางสะอาดและมีการวางระบบผังเมืองที่ดี มีร้านค้าและย่านที่พักอาศัยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เมืองมีความสงบเรียบร้อย” (Donald Shuster, 1981: 27) ในอาณานิคมทะเลใต้มีการห้ามการค้าทาส ห้ามชาวพื้นเมืองดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ยกเว้นเพื่อการรักษา พิธีกรรมและงานเฉลิมฉลอง รวมไปถึงการห้ามใช้สารเสพติด (South Seas Government, 1925: 86 - 90) ในส่วนของโครงสร้างทางสังคมดั้งเดิมของชนพื้นเมืองได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก กลุ่มชนชั้นนำหลายกลุ่มสูญเสียอำนาจ บางกลุ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารปกครองอาณานิคม โดยชนพื้นเมืองกลายเป็นพลเมืองชั้น 3 ของอาณานิคมทะเลใต้ (John Useem, 2009: 573 – 575)

รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ลงทุนกับการศึกษาในเขตเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก (South Seas Government, 1925: 42) โดยเป็นรองเพียงแค่การลงทุนด้านสาธารณูปโภคเท่านั้น (South Seas Government, 1925: 43) รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ ได้รายงานต่อสันนิบาติชาติว่า “โรงเรียนในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตประกอบไปด้วยโรงเรียนที่สร้างโดยภาครัฐและภาคเอกชนของญี่ปุ่นและโรงเรียนของมิชชันนารีที่สร้างในสมัยเป็นอาณานิคมของเยอรมนี” โรงเรียนเหล่านี้จัดการศึกษาให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่อาศัยในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตและประชาชนชาวพื้นเมือง การศึกษาของญี่ปุ่นสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อประชากรชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีตการจัดการศึกษาในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตขึ้นอยู่กับการสั่งสอนของผู้อาวุโสในแต่ละหมู่บ้าน แต่หลักสูตรที่ญี่ปุ่นใช้ ประกอบด้วยวิชาหลัก 3 วิชา คือ ภาษาญี่ปุ่น เลขคณิตและจริยธรรมแบบญี่ปุ่น รวมไปถึงสนับสนุนให้เคารพสมเด็จพระจักรพรรดิ (Felix Keesing, 1932: 679) การจัดการศึกษาในลักษณะนี้ส่งผลให้ประชากรในรุ่นหลังเริ่มใช้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาพื้นเมืองเป็นภาษาพูด ซึ่งสภาพทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อนหน้าที่มีการใช้ภาษาสเปนและภาษาเยอรมันด้วย การจัดการศึกษาของรัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้มีลักษะการแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งคล้ายคลึงกับอาณานิคมไต้หวันและเกาหลีของญี่ปุ่น ประชากรวัยเด็กชาวพื้นเมืองเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 57 และมีผู้จบการศึกษาในรูปแบบญี่ปุ่นกว่า 20,000 คน เมื่อพิจารณาเฉพาะตัวเลขของนักเรียนในระบบการศึกษาแบบญี่ปุ่นในอาณานิคมอื่น ๆ พบว่า ชาวพื้นเมืองในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตมีอัตราการเข้าเรียนมากกว่าชาวเกาหลีและชาวจีนในไต้หวันในปี ค.ศ. 1930 แสดงให้เห็นถึงการยอมรับและความรู้สึกที่เป็นญี่ปุ่นมากกว่าในอาณานิคมอื่น ส่วนในกรณีของผู้ใหญ่วัยทำงาน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งสถาบันฝึกภาษา (Kokugo Renshusho) เพื่อสอนภาษาและจริยธรรมแบบญี่ปุ่น (Masumi Kai, 2011: 24 – 26)

เพื่อความคงทนในการซึมซับวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่คงทนและการใช้กระบวนการทำให้ชาวพื้นเมืองเป็นญี่ปุ่นนั้น รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ได้สนับสนุนให้ประชากรชาวพื้นเมืองได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น โดยระยะแรกดำเนินการโดยกองทัพเรือและในระยะเวลาต่อมารัฐบาลอาณานิคมเป็นผู้สนับสนุน ผู้ที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นมักเป็นชนชั้นนำของชาวพื้นเมือง ผู้ที่จบการศึกษาในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ในรายงานของกองทัพเรือส่วนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับชาวไมโครนีเซียเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับอารยธรรมและความเจริญรุ่งเรืองของญี่ปุ่น ผู้ร่วมเดินทางมักกลับมาบอกเล่าประสบการณ์ให้สาธารณชนฟัง” ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นเกิดผลดีต่อญี่ปุ่นและการปกครองโดยแท้จริง เห็นได้ชัดจากการที่หัวหน้าหมู่บ้านในเขตบาเบลดาออบ (Babeldaob) ได้พยายามตัดถนนแบบญี่ปุ่น โดยมีต้นมะพร้าวและแสงไฟจากโคมไฟตามแนวจนกระทั่งถึงทะเล ซึ่งจุดนี้เองเป็นส่วนหนึ่งให้การต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนพื้นเมืองมีไม่มากนัก (Shingo Iitaka, 2011: 87 – 90)

ในส่วนของศาสนาของเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต พบว่าก่อนการเข้ามาของญี่ปุ่นประชากรพื้นเมืองนับถือความเชื่อดั้งเดิมและศาสนาคริสต์ ซึ่งมิชชันนารีชาติต่าง ๆ เข้ามาเผยแพร่ (South Seas Government, 1925: 22 - 23) อย่างไรก็ตามเมื่อญี่ปุ่นเข้ามาปกครองในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต รัฐบาลอาณานิคมทะเลใต้ได้งดการสนับสนุนมิชชันารีในศาสนาคริสต์ และสนับสนุนการเข้ามาเผยแพร่ของพุทธศาสนา โดยเริ่มครั้งแรกที่ไซปัน ในปี ค.ศ. 1919 (Donald Shuster, 1981: 21) ในรายงานของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อสันนิบาติได้รายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นให้เสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชนในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต (South Seas Government, 1925: 22 - 23) อย่างไรก็ตามศาสนาที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนมากที่สุดคือศาสนาชินโต แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่รายงานการนับถือศาสนาชินโตต่อสันนิบาติชาติ แต่ในทางปฏิบัติพบว่ารัฐบาลอาณานิคมแปซิฟิกใต้ได้สร้างศาลเจ้าในศาสนาชินโต 17 แห่งทั่วแปซิฟิกแมนเดต ศาลเจ้าชินโตมีหน้าที่สำคัญคือการสร้างพื้นที่ทางความเชื่อให้กับชาวญี่ปุ่นในเซาธ์แปซิฟิกแมนเดตและการกลืนชาวพื้นเมือง ด้วยคำสอนที่เน้นชาตินิยมรุนแรงและความเป็นรัฐทหาร ซึ่งเริ่มปรากฏให้เห็นชัดหลังจากที่ญี่ปุ่นออกจากสันนิบาติชาติ ศาสนาชินโตประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการเผยแพร่ความเชื่อและการกลืนชาวพื้นเมืองให้เป็นญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น การที่ประชาชนในยาลูอิต อะทอลล์ (Jaluit Atoll) ศูนย์กลางการบริหารของญี่ปุ่นในเขตหมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งห่างไกลจากศูนย์กลางมากที่สุด มีการเต้นรำเนื่องในวันชาติญี่ปุ่น หรือ ชาวแยป (Yap) แต่งตัวโดยโดยใส่ “ฟุนโดชิ” (Fundoshi) ถือตะกร้าไปซื้อของในตลาดและเคารพศาลเจ้าชินโต (Donald Shuster, 1981: 23) ในเมืองคอร์รอ ศูนย์กลางการบริหารเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต ได้มีการจัดตั้งศาลเจ้าคัมเป ไทชา นันโย (Kampei Taisha Nanyo Jinja) ซึ่งเป็นศาลเจ้าหลวงชั้นหนึ่งของญี่ปุ่น โดยเป็นศาลเจ้าของอามาเทระสึ โอคามิ (Amaterasu Okami) อันเป็นเทพีแห่งดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นสถานที่สำหรับทำการสักการะของประชากรชาวญี่ปุ่น การนำความเชื่อชินโตเข้ามาบูรณาการกับระบบความเชื่อเทพท้องถิ่นและการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนวงศ์ไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียแห่งบูรพา (Donald Shuster, 1981: 27)

การต่อต้านแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นการปกครองเซาธ์แปซิฟิกแมนเดต และประทุขึ้นอย่างรุนแรง 2 ปีหลังจากการจัดตั้งศาลเจ้าคัมเป ไทชา นันโย โดยเกิดจากความไม่พอใจของการเข้าแทนที่เทพพื้นเมืองของศาสนาชินโต ขบวนการนี้เป็นขบวนการด้านวัฒนธรรมและศาสนา โดยผู้นำของขบวนการมีทัศนคติมองว่า “ชาวพื้นเมืองมีผิวดำ ซึ่งแตกต่างจากชาวญี่ปุ่นมีผิวสีเหลือง ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้” (Donald Shuster, 1981: 35) อย่างไรก็ตามการต่อต้านของขบวนการนี้ประสบความล้มเหลว เนื่องจากประชากรและหัวหน้าหมู่บ้านชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถในกระบวนการสืบสวน ซึ่งนำไปสู่การจำคุกของผู้นำขบวนการหลายคน (Donald Shuster, 1981: 35 - 36)

ในส่วนของสภาพทางด้านสังคม นอกจากในส่วนของสาธารณูปโภคเพื่อรองรับประชากรชาวญี่ปุ่นแล้ว ญี่ปุ่นได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำให้ประชากรชาวพื้นเมืองมีความเป็นชาวญี่ปุ่นมากขึ้น ผ่านกระบวนการทางด้านการศึกษา การทำงาน ศาสนาและการท่องเที่ยว ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดผลดีกับญี่ปุ่น และเป็นผลให้ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่ที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้มักเป็นผู้ให้ความสนับสนุนแก่ญี่ปุ่น และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือญี่ปุ่นในการสืบสวนหาขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นอีกด้วย


[1] สันนิบาติชาติจัดดินแดนออกเป็น 3 ลักษณะตามความเจริญางสาธารณูปโภคและขีดความสามารถในการปกครองตนเอง โดยแบ่งเป็น Class A, Class B และ Class C