ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
{{Fs player|no=14|nat=Thailand|pos=FW|name=[[วุฒิชัย ทาทอง]]|other=[[กัปตัน (ฟุตบอล)|กัปตันทีม]]}}
{{Fs player|no=14|nat=Thailand|pos=FW|name=[[วุฒิชัย ทาทอง]]|other=[[กัปตัน (ฟุตบอล)|กัปตันทีม]]}}
{{Fs mid}}
{{Fs mid}}
{{Fs player | no = 15 | nat = Thailand | pos = DF | name = [[สถาพร แดงศรี]] | other = ยืมตัวจาก [[บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด]]}}
{{Fs player | no = 15 | nat = Thailand | pos = DF | name = [[:en:Sataporn Daengsri|สถาพร แดงศรี]] | other = ยืมตัวจาก [[บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด]]}}
{{Fs player|no=16|nat=Thailand|pos=MF|name=[[ศิวกร จักขุประสาท]]}}
{{Fs player|no=16|nat=Thailand|pos=MF|name=[[ศิวกร จักขุประสาท]]}}
{{Fs player|no=18|nat=Japan|pos=MF|name=เก็งกิ นะงะซาโตะ}}
{{Fs player|no=18|nat=Japan|pos=MF|name=เก็งกิ นะงะซาโตะ}}
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
{{Fs player|no=23|nat=Thailand | pos=MF | name=[[ปิยะชาติ ถามะพันธ์]]}}
{{Fs player|no=23|nat=Thailand | pos=MF | name=[[ปิยะชาติ ถามะพันธ์]]}}
{{Fs player|no=24|nat=Thailand|pos=DF|name=อาทิตย์ พรหมขันต์}}
{{Fs player|no=24|nat=Thailand|pos=DF|name=อาทิตย์ พรหมขันต์}}
{{Fs player|no=29|nat=Brazil|pos=MF|name=โรดีกู มารันเยา}}
{{Fs player|no=31|nat=Thailand|pos=DF|name=อานิสงค์ เจริญธรรม}}
{{Fs player|no=31|nat=Thailand|pos=DF|name=อานิสงค์ เจริญธรรม}}
{{Fs player|no=34|nat=Thailand|pos=DF|name=นิติพงษ์ เสลานนท์}}
{{Fs player|no=34|nat=Thailand|pos=DF|name=นิติพงษ์ เสลานนท์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:40, 12 ธันวาคม 2559

การท่าเรือ เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
ฉายาสิงห์เจ้าท่า
ก่อตั้งพ.ศ. 2510
สนามแพตสเตเดียม
เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
(ความจุ:12,308 ที่นั่ง)
เจ้าของบริษัทการท่าเรือ เอฟซี จำกัด
ประธานไทย นวลพรรณ ล่ำซำ
ผู้จัดการทีมไทย องอาจ ก่อสินค้า
ผู้ฝึกสอนไทย จเด็จ มีลาภ
ลีกไทยลีกดิวิชั่น 1
2559อันดับ 3
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ (อังกฤษ: Port F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยได้เข้ามาร่วมเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งในอดีตสโมสรนี้มีชื่อว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย, การท่าเรือไทย และ สิงห์ท่าเรือ

ประวัติสโมสร

ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมี พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นนายกสโมสร และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

ภายหลังจากปี พ.ศ. 2533 สมาคมฟุต??ؚอลแห่งประเทศไทย ได้ปรับเปลี่ยนระบบการแข่งขันฟุตบอลถ้วยสูงสุดของประเทศ เป็นระบบอาชีพโดยให้ทีมระดับถ้วย ก. แต่ละสโมสรเป็นทีมยืนในการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 โดยให้สโมสรที่ได้สิทธิเล่นในระบบอาชีพ (เซมิโปรลีก) ต้องมีเพียงทีมเดียว เป็นผลให้สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องยกเลิกฟุตบอลถ้วย ก. ข. ค. และ ง. ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ปี พ.ศ. 2535 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปลี่ยนชื่อการแข่งขันระบบอาชีพจาก “เซมิโปรลีก” เป็น “คาร์ลเท็กซ์พรีเมียร์ลีก” และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันลีกสูงสุดของประเทศในระบบอาชีพเป็น “ไทยแลนด์ลีก” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน

หลังจาก สิงห์จ้าวท่า ห่างหายจากคำว่าแชมป์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยรายการสุดท้ายที่ได้คือ ถ้วยควีนส์คัพ นับได้ 16 ปี ที่รอคอย จนกระทั่งเกิดการปรับปรุงทีมครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2552 โดยได้และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย เอฟซี และได้แต่งตั้ง พิเชฐ มั่นคง เป็นประธานสโมสร ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งนี้เป็นครั้งที่ 2 และในปีนี้เองที่สิงห์จ้าวท่าได้ เข้าชิงฟุตบอลถ้วย ไทยเอฟเอคัพ กับ บีอีซี เทโรศาสน โดย การท่าเรือฯ เอาชนะไปได้ในการดวลจุดโทษ 5-4 หลังจากเสมอกันในเวลา 1 ต่อ 1 ซึ่งในลีกได้อันดับที่ 6 หลังจากปีแล้วเกือบตกชั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 การท่าเรือไทย เอฟซี ได้ตกชั้นไปเล่น ยามาฮ่าลีกวัน และเปลี่ยนชื่อจาก การท่าเรือไทย เอฟซี เป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ เอฟซี พร้อมกับเปลี่ยนทีมงานสต๊าฟโค้ชใหม่ทั้งหมด และได้ พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มาเป็นประธานกิตติมศักดิ์

ปลายปี พ.ศ. 2557 หลังจบฤดูกาล 2557 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น การท่าเรือ เอฟซี โดยได้ตั้ง บริษัท การท่าเรือ เอฟซี จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อร่วมแข่งขันในฤดูกาล 2558 โดยมี พลเรือเอก อภิชาติ เพ็งศรีทอง ในฐานะประธานบริษัท เป็นประธานสโมสร พร้อมด้วย พลเรือโท ชัชรินทร์ ชูศรี เป็นผู้จัดการทีม และมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[1]

ปี พ.ศ. 2558 นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยได้เข้ามาซื้อกิจการสโมสรพร้อมกับเป็นประธานสโมสร จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้ง เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย เอฟซี และเปลี่ยนโลโก้รวมทั้งฉายาใหม่เป็น "อาชาท่าเรือ" อย่างในปัจจุบัน[2] แต่ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน นวลพรรณ ล่ำซำ ได้ขอเปลี่ยนชื่อทีมใช้แบบเดิมในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี[3] แต่เมื่อสิ้นฤดูกาลในปลายปีเดียวกัน การท่าเรือ ต้องตกชั้นลงไปเล่นในไทยลีกดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาลมีเพียง 33 คะแนนเท่านั้น [4]

ตราสัญลักษณ์ในอดีต

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย วัชระ บัวทอง
3 DF ไทย ปกาศิต แสนสุข
4 MF ไทย ณรงค์ฤทธิ์ สามนปาล
5 FW ไทย ธนา ชะนะบุตร
6 MF ไทย ทศพล ลาเทศ
7 MF ไทย อิทธิพล พูลทรัพย์
8 MF ไทย เอกภูมิ โพธารุ่งโรจน์
9 FW ไทย ปกรณ์ เปรมภักดิ์
11 MF ไทย สุชนม์ สงวนดี
13 MF ไทย อดิศร แดงเรือง
14 FW ไทย วุฒิชัย ทาทอง (กัปตันทีม)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 DF ไทย สถาพร แดงศรี (ยืมตัวจาก บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด)
16 MF ไทย ศิวกร จักขุประสาท
18 MF ญี่ปุ่น เก็งกิ นะงะซาโตะ
20 DF ไทย มีโชค มหาศรานุกูล
21 MF ไทย ภิญโญ อินพินิจ
22 DF สเปน ดาบิด โรเชลา
23 MF ไทย ปิยะชาติ ถามะพันธ์
24 DF ไทย อาทิตย์ พรหมขันต์
31 DF ไทย อานิสงค์ เจริญธรรม
34 DF ไทย นิติพงษ์ เสลานนท์
36 GK ไทย วรวุฒิ แก้วผูก
38 GK ไทย ณรงค์ วิเศษศรี
DF ไทย เอเลียส ดอเลาะ

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ผลงาน

ผลงานในไทยลีก

  • 2539 - ไทยลีก - อันดับ 11
  • 2540 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2541 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2542 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2543 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 6
  • 2545/46 - ไทยลีก - อันดับ 3
  • 2546/47 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2549 - ไทยลีก - อันดับ 7
  • 2550 - ไทยลีก - อันดับ 12
  • 2551 - ไทยลีก - อันดับ 13
  • 2552 - ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 6
  • 2553 - ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 4
  • 2554 - ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 8
  • 2555 - ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 16 (ตกชั่นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1)
  • 2556 - ไทยลีกดิวิชั่น 1 - อันดับ 2 (เลือนชั่นสู่ ไทยพรีเมียร์ลีก)
  • 2557 - ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 9
  • 2558 - ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 17 (ตกชั่นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1)

ฟุตบอล เอฟเอคัพ

  • 2552 - ชนะเลิศเอฟเอคัพ

ฟุตบอล ไทยลีกคัพ

  • 2553 - ชนะเลิศ

ระดับเอเชีย

อ้างอิง

  1. "นับ 1 ใหม่! "ท่าเรือ" เปลี่ยนชื่อ ตั้ง "ฉ่วย" คุมทีม". ผู้จัดการออนไลน์. 20 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 November 2014.
  2. ""มาดามแป้ง" อุ้ม "ท่าเรือ" เปลี่ยนโลโก้เป็นม้า". ผู้จัดการออนไลน์. 12 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  3. "เอาใจแฟน!มาดามแป้งลั่นท่าเรือเปลี่ยนใช้ชื่อเดิม". สยามสปอร์ต. 21 February 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015.
  4. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, บีอีซีเก่งเมื่อสาย แม้ถล่มกว่างโซ้ง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,168: วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 1 ปีมะแม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:ไทยลีกดิวิชั่น 1