ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''พระสุธรรมยานเถร''' หรือ '''ครูบาอินทจักรรักษา''' เป็นพระราชาคณ...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พระสงฆ์ไทย
|ชื่อ = อินถา
|ชื่อภาพ =
|ฉายา = อินฺทจกฺโก
|ชื่อทั่วไป = ครูบาอินทจักร
|สมณศักดิ์ =พระสุธรรมยานเถร
|วันเกิด = 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439
|วันบวชเณร =มีนาคม พ.ศ. 2445
|วันบวช = 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2457
|วันตาย = 17 มกราคม พ.ศ. 2521
|พรรษา = 62
|อายุ = {{อายุปีและวัน|2439|11|2|2521|1|17}}
|วัด = วัดน้ำบ่อหลวง
|จังหวัด = เชียงใหม่
|สังกัด = [[มหานิกาย]]
|วุฒิ = [[นักธรรมชั้นตรี]]
|ตำแหน่ง =
|รางวัล =
|ลิขิต =
}}
'''พระสุธรรมยานเถร''' หรือ '''ครูบาอินทจักรรักษา''' เป็น[[พระราชาคณะ]]ฝ่าย[[วิปัสสนาธุระ]] อดีต[[เจ้าอาวาส]]วัดน้ำบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่
'''พระสุธรรมยานเถร''' หรือ '''ครูบาอินทจักรรักษา''' เป็น[[พระราชาคณะ]]ฝ่าย[[วิปัสสนาธุระ]] อดีต[[เจ้าอาวาส]]วัดน้ำบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
=== วัยเยาว์ ===
=== วัยเยาว์ ===
พระสุธรรมยานเถร หรือ ครูบาอินทจักร มีนามเดิมว่า อินถา พิมสาร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ภูมิลำเนาอยู่บ้านป่าแพ่ง ตำบลแม่แรง [[อำเภอป่าซาง]] [[จังหวัดลำพูน]] เป็นบุตรของนายเป็งและนางสาร พิมสาร มีพี่น้องรวมทั้งหมด 13 คน ท่านเป็นคนที่ 6 [[พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)]] เป็นคนที่ 7 และพระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ คมฺภีโร) เป็นคนที่ 8 โยมบิดามารดาของท่านเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ทำวัตร ทำสมาธิ เดินจงกรม เป็นประจำและได้ปลูกฝังบุตรธิดาทุกคนให้ปฏิบัติตาม<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 69</ref>
พระสุธรรมยานเถร หรือ ครูบาอินทจักร มีนามเดิมว่า '''อินถา พิมสาร''' เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ภูมิลำเนาอยู่บ้านป่าแพ่ง ตำบลแม่แรง [[อำเภอป่าซาง]] [[จังหวัดลำพูน]] เป็นบุตรของนายเป็งและนางสาร พิมสาร มีพี่น้องรวมทั้งหมด 13 คน ท่านเป็นคนที่ 6 [[พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)]] เป็นคนที่ 7 และพระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ คมฺภีโร) เป็นคนที่ 8 โยมบิดามารดาของท่านเป็น[[พุทธศาสนิกชน]]ที่เคร่งครัด ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ทำวัตร ทำสมาธิ เดินจงกรม เป็นประจำและได้ปลูกฝังบุตรธิดาทุกคนให้ปฏิบัติตาม<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 69</ref>


=== อุปสมบท ===
=== อุปสมบท ===
บรรทัด 11: บรรทัด 31:


=== ธุดงค์ ===
=== ธุดงค์ ===
ครูบาอินทจักรได้จาริกไปทั่ว[[จังหวัดเชียงใหม่]]และ[[แม่ฮ่องสอน]] เข้า[[ประเทศพม่า]] แล้วกลับเข้าประเทศไทยทาง[[จังหวัดเชียงราย]] แล้ววกกลับมาจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดการธุดงค์ท่านได้รับความลำบากต่าง ๆ ทั้งจากสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ และอาหารอัตคัด แต่ท่านก็อดทนจนผ่านมาได้ ท่านธุดงค์อยู่นานถึง 16 ปี จึงอยู่จำพรรษาที่วัดน้ำบ่อหลวง ตามคำอาราธนาของขุนอนุพลนคร<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 81</ref>
ครูบาอินทจักรได้จาริกไปทั่ว[[จังหวัดเชียงใหม่]]และ[[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] เข้า[[ประเทศพม่า]] แล้วกลับเข้าประเทศไทยทาง[[จังหวัดเชียงราย]] แล้ววกกลับมาจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดการธุดงค์ท่านได้รับความลำบากต่าง ๆ ทั้งจากสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ และอาหารอัตคัด แต่ท่านก็อดทนจนผ่านมาได้ ท่านธุดงค์อยู่นานถึง 16 ปี จึงอยู่จำพรรษาที่วัดน้ำบ่อหลวง ตามคำอาราธนาของขุนอนุพลนคร<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 81</ref>


=== ศาสนกิจ ===
=== ศาสนกิจ ===
ท่านเข้าอยู่วัดน้ำบ่อหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นับแต่นั้นท่านได้พัฒนาวัดหลายประการ ทั้งก่อสร้างเสนาสนะ ถนน และแหล่งน้ำใช้เพื่อความสะดวกของแก่ผู้มาวัด<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 81</ref>
ท่านเข้าอยู่วัดน้ำบ่อหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นับแต่นั้นท่านได้พัฒนาวัดหลายประการ ทั้งก่อสร้างเสนาสนะ ถนน และแหล่งน้ำใช้เพื่อความสะดวกของแก่ผู้มาวัด<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 81</ref>


เมื่อ[[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร]]เปิดสอน[[วิปัสสนา]][[กรรมฐาน]]แบบ[[สติปัฏฐาน 4]] (ยุบหนอ-พองหนอ) ท่านได้ลงไปศึกษาด้วย โดยมี[[พระธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)]] เป็นผู้สอน เมื่อกลับมาวัดน้ำบ่อหลวง ท่านก็ได้นำวิธีการเจริญวิปัสสนานั้นมาเผยแผ่แก่ประชาชนด้วย วัดน้ำบ่อหลวงจึงเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานมานับแต่นั้น<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 82-83</ref>
เมื่อ[[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร]]เปิดสอน[[วิปัสสนา]][[กรรมฐาน]]แบบ[[สติปัฏฐาน 4]] (ยุบหนอ-พองหนอ) ท่านได้ลงไปศึกษาด้วย โดยมี[[พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)]] เป็นผู้สอน เมื่อกลับมาวัดน้ำบ่อหลวง ท่านก็ได้นำวิธีการเจริญวิปัสสนานั้นมาเผยแผ่แก่ประชาชน วัดน้ำบ่อหลวงจึงเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานมานับแต่นั้น<ref>''วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด'', หน้า 82-83</ref>


== สมณศักดิ์ ==
== สมณศักดิ์ ==
บรรทัด 48: บรรทัด 68:
{{อายุขัย|2439|2521}}
{{อายุขัย|2439|2521}}
[[หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย]]
[[หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย]]
[[หมวดหมู่:พระราชาคณะชั้นสามัญ]]
[[หมวดหมู่:เจ้าอาวาส]]
[[หมวดหมู่:เจ้าอาวาส]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดลำพูน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดลำพูน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:19, 10 ธันวาคม 2559

พระสุธรรมยานเถร

(อินถา อินฺทจกฺโก)
ชื่ออื่นครูบาอินทจักร
ส่วนบุคคล
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 (81 ปี 76 วัน ปี)
มรณภาพ17 มกราคม พ.ศ. 2521
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นตรี
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่
บรรพชามีนาคม พ.ศ. 2445
อุปสมบท13 พฤษภาคม พ.ศ. 2457
พรรษา62

พระสุธรรมยานเถร หรือ ครูบาอินทจักรรักษา เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

วัยเยาว์

พระสุธรรมยานเถร หรือ ครูบาอินทจักร มีนามเดิมว่า อินถา พิมสาร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ภูมิลำเนาอยู่บ้านป่าแพ่ง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของนายเป็งและนางสาร พิมสาร มีพี่น้องรวมทั้งหมด 13 คน ท่านเป็นคนที่ 6 พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) เป็นคนที่ 7 และพระครูสุนทรคัมภีรญาณ (คำ คมฺภีโร) เป็นคนที่ 8 โยมบิดามารดาของท่านเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ทำวัตร ทำสมาธิ เดินจงกรม เป็นประจำและได้ปลูกฝังบุตรธิดาทุกคนให้ปฏิบัติตาม[1]

อุปสมบท

ครูบาอินทจักรได้ขออนุญาตมารดาบิดาบวชเป็นเณร บิดาจึงพาท่านมาฝากเป็นศิษย์พระอธิการแก้ว ขตฺติโย เจ้าอาวาสวัดป่าเหียง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และได้บรรพชาเป็นสามเณรในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2445 เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติกับพระอุปัชฌาย์ จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี[2] และเรียนสายสามัญจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ณ วัดป่าเหียง โดยพระอุปัชฌาย์รูปเดิม พระฮอม โพธาโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสม สุรินฺโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า อินฺทจกฺโก หลังบวชท่านยังคงช่วยสอนพระธรรมในวัด จนกระทั่งเห็นว่าควรปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งความหลุดพ้น จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์โดยมีครูบาพรหมา น้องชาย ติดตามไปด้วย[3]

ธุดงค์

ครูบาอินทจักรได้จาริกไปทั่วจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าประเทศพม่า แล้วกลับเข้าประเทศไทยทางจังหวัดเชียงราย แล้ววกกลับมาจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดการธุดงค์ท่านได้รับความลำบากต่าง ๆ ทั้งจากสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ และอาหารอัตคัด แต่ท่านก็อดทนจนผ่านมาได้ ท่านธุดงค์อยู่นานถึง 16 ปี จึงอยู่จำพรรษาที่วัดน้ำบ่อหลวง ตามคำอาราธนาของขุนอนุพลนคร[4]

ศาสนกิจ

ท่านเข้าอยู่วัดน้ำบ่อหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นับแต่นั้นท่านได้พัฒนาวัดหลายประการ ทั้งก่อสร้างเสนาสนะ ถนน และแหล่งน้ำใช้เพื่อความสะดวกของแก่ผู้มาวัด[5]

เมื่อวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารเปิดสอนวิปัสสนากรรมฐานแบบสติปัฏฐาน 4 (ยุบหนอ-พองหนอ) ท่านได้ลงไปศึกษาด้วย โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) เป็นผู้สอน เมื่อกลับมาวัดน้ำบ่อหลวง ท่านก็ได้นำวิธีการเจริญวิปัสสนานั้นมาเผยแผ่แก่ประชาชน วัดน้ำบ่อหลวงจึงเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานมานับแต่นั้น[6]

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2493 เป็นพระครูประทวนสมณศักดิ์
  • พ.ศ. 2498 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูวนาภิราม
  • พ.ศ. 2512 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูภาวนาภิรัต
  • พ.ศ. 2516 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระสุธรรมยานเถร[7]

การอาพาธและมรณภาพ

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ครูบาอินทจักรถูกส่งเข้าโรงพยาบาลแมคคอร์มิคกระทันหันเพราะอาการกระดูกสันหลังอักเสบ ถึงวันที่ 23 มกราคม ปีถัดมาอาการทรุดหนักลงอีก จนแพทย์วินิจฉัยว่าท่านจะมรณภาพราวตี 2 แต่พอถึงรุ่งเช้าของวันที่ 24 มกราคมท่านกลับทุเลาลงจนหายอาพาธในเดือนกุมภาพันธ์ จึงกลับวัดและปฏิบัติศาสนกิจดังเดิม[8]

หลังจากได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ท่านกลับอาพาธอีก และถึงแก่มรณภาพ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2521 เวลา 22.20 น. สิริอายุได้ 81 ปี 76 วัน พรรษา 62 ได้รับพระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2524 โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพลอากาศเอกหะริน หงสกุล เป็นประธานฝ่ายฆราวาสผู้อัญเชิญเพลิงพระราชทาน[9]

ศิษย์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 69
  2. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 71
  3. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 75
  4. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 81
  5. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 81
  6. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 82-83
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 95, ตอนที่ 34 ง ฉบับพิเศษ, 27 มีนาคม 2521, หน้า 5
  8. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 85
  9. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด, หน้า 86-87
บรรณานุกรม
  • พระมหาศรัญญู ปญฺญาธโร, พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทจักรรักษา): สงฆ์ผู้นำในการบูรณะวัดน้ำบ่อหลวง. วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) : สมบัติวัด ศรัทธาวัด. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556. 270 หน้า. หน้า 67-108. ISBN 978-974-672-821-8