ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัสนี-วสันต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 263: บรรทัด 263:
==== ลงเอย (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์) ([[พ.ศ. 2543]] , 2001) ====
==== ลงเอย (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์) ([[พ.ศ. 2543]] , 2001) ====
เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ
เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ

{{บน}}
{{บน}}
* 1. ทั้งทั้งที่รู้ - โต Silly Fools
* 1. ทั้งทั้งที่รู้ - โต Silly Fools
บรรทัด 282: บรรทัด 281:
==== ยินยอม (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ 2) ([[พ.ศ. 2545]] , 2002) ====
==== ยินยอม (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ 2) ([[พ.ศ. 2545]] , 2002) ====
เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ
เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ

{{บน}}
{{บน}}
* 1. ยินยอม - นิโคล เทริโอ
* 1. ยินยอม - นิโคล เทริโอ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:24, 10 ธันวาคม 2559

อัสนี - วสันต์ โชติกุล
ไฟล์:อัสนี-วสันต์.jpg
คอนเสิร์ต 20 ปี อัสนี - วสันต์ (พ.ศ. 2549)
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกรุงเทพ , ประเทศไทย
แนวเพลงฮาร์ดร็อก , ป๊อปร็อก , นิวเวฟ , โปรเกรสซีฟร็อค
ช่วงปีพ.ศ. 2529 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงไนท์สปอร์ต (2529)
แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ (2530 - 2539)
มอร์ มิวสิก (2539 - 2553)
สหภาพดนตรี (2554 - 2558)
มิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์ (2558 - ปัจจุบัน)
สมาชิกอัสนี โชติกุล
วสันต์ โชติกุล

อัสนี - วสันต์ (Asanee-Wasan) เป็นชื่อวงดนตรีร็อคไทยซึ่งประกอบด้วยพี่น้อง อัสนี โชติกุล และ วสันต์ โชติกุล

ประวัติ

พ.ศ. 2517 ป้อม - อัสนี โชติกุล และ น้องชาย โต๊ะ - วสันต์ โชติกุล จากอำเภอเมือง จังหวัดเลย ได้เข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพ และได้ร่วมเข้าประกวดวงดนตรีโฟล์คซองในกรุงเทพฯ และได้รางวัลชนะเลิศ อาจารย์ วิมล จงวิไล ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการพาไปอัดเสียง เป็นจุดกำเนิดของวงอิสซึ่น มีผลงานเพลงดังอย่าง แม่สาวตางาม พบกันหน้าสยามสแควร์ และ หนึ่งมิตรชิดใกล้ ซึ่งต่อมาโต๊ะได้นำมาร้องใหม่อีกครั้งในอัลบั้ม ผักชีโรยหน้า เมื่อปี 2530 โดยหลังจากที่ทำงานเพลงได้ไม่นาน ป้อมและโต๊ะได้แยกตัวออกจากวงอิสซึ่นมาทำงานเบื้องหลัง

ในปี พ.ศ. 2529 ทั้งคู่ตัดสินใจทำผลงานเพลงของตนเองออกมาเพื่อออกอัลบั้มชุดแรกคือ บ้าหอบฟาง สังกัดค่ายไนท์สปอตโปรดักชั่น ในสังกัด WEA แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็มีเพลงดังอย่าง บ้าหอบฟาง ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ป้อมและโต๊ะย้ายมาสังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ และมีผลงานชุดที่ 2 ผักชีโรยหน้า ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยมีเพลงดังอย่าง ก็เคยสัญญา หนึ่งมิตรชิดใกล้ ซึ่งเป็นเพลงเก่าที่ทำร่วมกับวงอิสซึ่น บังอรเอาแต่นอน สายล่อฟ้า และ ทั้ง ๆ ที่รู้

ปี พ.ศ. 2531 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 กระดี่ได้น้ำ มีเพลงดังอย่าง กระดี่ได้น้ำ ยินยอม บังเอิญติดดิน และ ร่ำไร

ปี พ.ศ. 2532 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ฟักทอง มีเพลงดังอย่าง ยินดีไม่มีปัญหา หัวใจสะออน ได้อย่างเสียอย่าง อยากจะลืม วัวลืมตัว และ กรุงเทพมหานคร

ปี พ.ศ. 2533 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 สับปะรด มีเพลงดังอย่าง เธอปันใจ เกี่ยวก้อย คงเดิม และ กุ้มใจ

ปี พ.ศ. 2536 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 6 รุ้งกินน้ำ มีเพลงดังอย่าง รักเธอเสมอ ลาก่อน ลงเอย

จนปี พ.ศ. 2538 พวกเขาทั้งคู่ตั้งค่ายเพลง มอร์ มิวสิก ในเครือแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ (ปัจจุบันคือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)

ในปี พ.ศ. 2540 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 7 บางอ้อ มีเพลงดังอย่าง อยากได้ยินว่ารักกัน คนหลายใจ ซึ่งแต่งโดยร็อคเกอร์ชื่อดัง "เสก โลโซ" และ ข้าวเย็น

ปี พ.ศ. 2545 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 8 จินตนาการ มีเพลงดังอย่าง สิทธิ์ของเธอ รับไม่ไหว และ ลูกผู้ชาย

ปี พ.ศ. 2549 ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 9 เด็กเลี้ยงแกะ มีเพลงดังอย่าง อยากให้ฉันอยู่ด้วยไหม

ปี พ.ศ. 2554 ทั้งคู่ก็ได้ก่อตั้ง บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด ร่วมกับ นิติพงษ์ ห่อนาค ชาตรี คงสุวรรณ และ วุฒินันต์ ภิรมย์ภักดี

และเมื่อปี พ.ศ. 2558 บริษัท สหภาพดนตรี ก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น มิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์ มาจนถึงปัจจุบัน

ผลงาน

เพลงเทิดพระเกียรติ

สตูดิโออัลบั้ม

บ้าหอบฟาง (พ.ศ. 2529 , 1986)

ผลงานเพลงชุดแรก เป็นอัลบั้มที่นักวิจารณ์ยอมรับว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดชุดหนึ่ง

ต้นฉบับครั้งที่ออกกับทางค่าย ไนท์สปอต มีทั้งหมดเพียง 9 เพลง

พ.ศ. 2530 ได้จำหน่ายอีกครั้งโดย ไนท์สปอต โดยเรียงลำดับชื่อเพลงแบบครั้งแรก และได้เพิ่ม Backing Track (ดนตรี) ไว้ในช่วงท้ายของม้วนเทปอีกด้วย

พ.ศ. 2541 ได้จำหน่ายอีกครั้งโดยแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ โดยเรียงลำดับชื่อเพลงดังนี้

พ.ศ. 2559 ได้จำหน่ายอีกครั้งโดยมิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์ ในรูปแบบดิจิตอลดาวน์โหลด โดยเรียงลำดับชื่อเพลงตาม พ.ศ. 2541

ผักชีโรยหน้า (พ.ศ. 2530 , 1987)

เป็นผลงานที่ประสบความความสำเร็จอย่างสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งคู่

กระดี่ได้น้ำ (พ.ศ. 2531 , 1988)

ฟักทอง (พ.ศ. 2532 , 1989)

สับปะรด (พ.ศ. 2533 , 1990)

รุ้งกินน้ำ (พ.ศ. 2536 ,1993)

บางอ้อ (พ.ศ. 2540 , 1997)

จินตนาการ (พ.ศ. 2545 , 2002)

เด็กเลี้ยงแกะ (พ.ศ. 2549 , 2006)

พักร้อน (พ.ศ. 2550 , 2007)

เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่


หมายเหตุ 1: ชื่อเพลงที่ขึ้นเป็น ตัวหนา คือเพลงที่มีการทำมิวสิควีดีโอออกมา

เพลงพิเศษ

  • เพลง โลกสวยด้วยมือเรา - ร่วมกับกลุ่มศิลปินแกรมมี่ (เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต Earth Day) - พ.ศ. 2534
  • เพลง รักใครไม่เป็น (เพลงประกอบละคร บ่วงรักกามเทพ) - พ.ศ. 2552
  • เพลง เรา สองสาม คน (เพลงประกอบภาพยนตร์ เรา สองสาม คน) - พ.ศ. 2553
  • เพลง ด้วยแรงใจ (Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - พ.ศ. 2557

อัลบั้มพิเศษ

ลงเอย (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์) (พ.ศ. 2543 , 2001)

เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ

ยินยอม (พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ 2) (พ.ศ. 2545 , 2002)

เป็นการนำเพลงเก่ามาร้องใหม่โดยศิลปินคนอื่น ๆ

อัลบั้มรวมเพลง

  • รวมเพลงติดบอร์ด (ผักชี - กระดี่ - ฟักทอง) (พ.ศ. 2533) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • รวมฮิตติดบอร์ด 2 (พ.ศ. 2535) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • รวมเพลง วสันต์ โชติกุล (พ.ศ. 2535) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • อัสนี - วสันต์ รวมฮิต รักเธอเสมอ (พ.ศ. 2537) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • วสันต์ โชติกุล รวมฮิต แทนคำนั้น (พ.ศ. 2537) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี
  • Superstar Project - อัสนี & วสันต์ (พ.ศ. 2543) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท และ ซีดี จำนวน 3 ชุด
  • อัสนี - วสันต์ Sing (พ.ศ. 2548) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ วีซีดี คาราโอเกะ จำนวน 4 ชุด และ ดีวีดี คาราโอเกะ จำนวน 2 ชุด
  • อัสนี - วสันต์ โชติกุล Written By นิติพงษ์ ห่อนาค (พ.ศ. 2550) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ วีซีดี คาราโอเกะ
  • หัวใจสะออน (รวมเพลงจิ๊กโก๋อกหัก ของ อัสนี โชติกุล) (พ.ศ. 2553) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ วีซีดี คาราโอเกะ
  • สุขใจ (รวมเพลงเลือกเอง ของ วสันต์ โชติกุล) (พ.ศ. 2553) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ วีซีดี คาราโอเกะ
  • อัสนี - วสันต์ สายล่อฟ้า (พ.ศ. 2554) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี , วีซีดี คาราโอเกะ และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • อัสนี - วสันต์ ฮิต (พ.ศ. 2556) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • อัสนี - วสันต์ อยากได้ยินว่ารักกัน (พ.ศ. 2558) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ ซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ
  • MP3 : ASANEE WASAN 50 BEST ROCK HITS (พ.ศ. 2558) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ MP3
  • MP3 : ASANEE WASAN 50 BEST LOVE HITS (พ.ศ. 2558) - จัดจำหน่ายในรูปแบบ MP3

ผลงานเดี่ยว

อัสนี โชติกุล
  • ร่วมร้องเพลง ชีวิตสัมพันธ์ (ร่วมกับ วงคาราบาว , หงา คาราวาน , สุเทพ โฮป , พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ , สีเผือก คนด่านเกวียน - เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว) : พ.ศ. 2530
  • ร่วมร้องเพลง พลจันทร์เดือนเพ็ญ (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , หงา คาราวาน : จากอัลบั้ม ทำมือ ของ แอ๊ด คาราบาว) - พ.ศ. 2532
  • เพลง คนสุดท้าย (เพลงประกอบละคร เงา) - พ.ศ. 2543
  • ร่วมร้องเพลง คนขายฝัน (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , เสก โลโซ , ธงไชย แมคอินไตย์ , ใหม่ เจริญปุระ , แอม เสาวลักษณ์ , มาช่า วัฒนพานิช : เพลงพิเศษจากมหกรรมคอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย) - พ.ศ. 2545
  • เพลง เธอ (มาจากไหน) (เพลงประกอบภาพยนตร์ บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์) - พ.ศ. 2547
  • เพลง ยืนหยัด ยืนยง (เพลงประกอบละคร ลอดลายมังกร) - พ.ศ. 2549
  • เพลง รักชนะทุกอย่าง (เพลงประกอบละคร สู้ยิบตา) - พ.ศ. 2552
  • เพลง พูดลอยลอย (Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - พ.ศ. 2555
  • ร่วมร้องเพลง หัวใจของพ่อ (ร่วมกับ ปาล์มมี่ : ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗) - พ.ศ. 2556
  • เพลง แผ่นดินนี้...มีพอ (เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี บางจาก) - พ.ศ. 2557
  • เพลง หัวใจลิขิต (เพลงประกอบละคร เลือดมังกร) - พ.ศ. 2558
  • เพลง พูดมาเลย (Single : สังกัด มิวสิกมูฟเอนเตอร์เทนเมนต์) - พ.ศ. 2558
  • ร่วมร้องเพลง สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์ (ชื่อเดิม - Bring it On) (ร่วมกับ แอ๊ด คาราบาว , พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ : เพลงพิเศษจากคอนเสิร์ต สิงห์ใหญ่ หัวใจสิงห์) - พ.ศ. 2559
วสันต์ โชติกุล
  • อัลบั้ม กีตาร์โต๊ะ (ร่วมกับวงอีสซึ่น : สังกัด แกรมมี่) - พ.ศ. 2531
  • อัลบั้ม ขึ้นโต๊ะ (สังกัด แกรมมี่) - พ.ศ. 2535
  • เพลง เรือนแพ (เพลงประกอบละคร เรือนแพ) - พ.ศ. 2538
  • เพลง ขอบคุณที่มีเธอ (ร่วมกับ วงเคลียร์ : เพลงประกอบละคร 365 วันแห่งรัก) - พ.ศ. 2553
  • เพลง ข่าวร้ายหรือเปล่า (Single : สังกัด สหภาพดนตรี) - พ.ศ. 2556

คอนเสิร์ต

ชื่อคอนเสิร์ต วันที่ สถานที่ แขกรับเชิญ
คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์ เส้นใหญ่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
คอนเสิร์ต 20 ปี อัสนี - วสันต์ วันที่ 12 - 13 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี อ.ดนู ฮันตระกูล
วงไหมไทยออเครสตร้า
คอนเสิร์ต อัสนี & วสันต์ ร่ำไร คอนเสิร์ต วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551 สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน แอ๊ด คาราบาว
คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์ 26 ปี บ้าหอบฟาง[1] วันที่ 27 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี อ.ดนู ฮันตระกูล
วงไหมไทยออเครสตร้า
สีส้ม เอี่ยมสรรพางค์
กัลยารัตน์ วารณะรัตน์ (สีฟ้า)
คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์ 30 ปี สวัสดีครับ[2] วันที่ 24 - 25 กันยายน พ.ศ. 2559 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

อ้างอิง

  1. อัสนี-วสันต์ จัดเต็ม จิ๊กโก๋อกหัก ฉลอง 26 ปี
  2. “อัสนี-วสันต์ 30 ปี สวัสดีครับ” คุ้มค่าจิ๊กโก๋อกหัก มันส์ล้นทะลัก!

แหล่งข้อมูลอื่น