ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไขควง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
== ประเภท ==
== ประเภท ==


# ไขควงปากแบน หรือไขควงธรรมดา (standard type Screwdriver) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควง ใช้สำหรับขันหรือคายสกรูหรือตะปูควงชนิดต่าง ๆ
# ไขควงปากแบน หรือไขควงธรรมดา (standard type Screwdriver) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควง ใช้สำหรับขันหรือคายสกรูหรือตะปูควงชนิ ต่าง ๆ
# ไขควงปากแฉก (Cross - Reset Head Screwdriver) ไขควงชนิดนี้ส่วนที่ปลายของไขควงปากแฉกหรือลักษณะปากจีบจะผ่าหัวเป็นสี่แฉก เวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงธรรมดาเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง
# ไขควงปากแฉก (Cross - Reset Head Screwdriver) ไขควงชนิดนี้ส่วนที่ปลายของไขควงปากแฉกหรือลักษณะปากจีบจะผ่าหัวเป็นสี่แฉก เวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงธรรมดาเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง
# ไขควงหัวคลัตช์ (Clutch - Head Screwdriver) เป็นไขควงที่มีใช้เฉพาะกับตะปูควงหรือสกรูสำหรับงานโลหะแผ่น และงานการตกแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม ปลายของไขควงจะสวมพอดีกับหัวสกรู
# ไขควงหัวคลัตช์ (Clutch - Head Screwdriver) เป็นไขควงที่มีใช้เฉพาะกับตะปูควงหรือสกรูสำหรับงานโลหะแผ่น และงานการตกแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม ปลายของไขควงจะสวมพอดีกับหัวสกรู
# ไขควงออฟเสท (Offset Screwdriver) ไขควงออฟเสทใช้งานที่อยู่ในที่แคบ ๆ ยากที่จะใช้ไขควงธรรมดาเข้าไปขันได้สามารถขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเพราะไขควงหลุดจากร่องสกรูได้ง่ายทำให้หัวสกรูเสีย
# ไขควงออฟเสท (Offset Screwdriver) ไขควงออฟเสทใช้งานที่อยู่ในที่แคบ ๆ ยากที่จะใช้ไขควงธรรมดาเข้าไปขันได้สามารถขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเพราะไขควงหลุดจากร่องสกรูได้ง่ายทำให้หัวสกรูเสีย


== ข้อควรระวังในการใช้ ==
== ีัข้อควรระวังในการใช้ไขควง ==


# อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด
# อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:47, 7 ธันวาคม 2559

ไขควงสี่แฉก

ไขควง (อังกฤษ: screwdriver) คืออุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบมาเพื่อขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออก ไขควงทั่วไปประกอบด้วยแท่งโลหะ ส่วนปลายใช้สำหรับยึดกับสกรู ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่าง ๆ และมีแท่งสำหรับจับคล้ายทรงกระบอกอยู่อีกด้านหนึ่งสำหรับการไขด้วยมือ หรือไขควงบางชนิดอาจจะหมุนด้วยมอเตอร์ก็ได้ ไขควงทำงานโดยการส่งทอร์ก (torque) จากการหมุนไปที่ปลาย ทำให้สกรูหมุนตามเกลียวเข้าหรือออกจากวัสดุอื่น

ไขควงเป็นเครื่องมือสำหรับขันและคลาย สกรูชนิดหัวผ่า ขนาดและรูปทรงของไขควงถูกออกแบบให้เป็นไปตามลักษณะการ ใช้งาน เช่น ไขควงที่ใช้สำหรับงานของช่างอัญมณี (Jeweler's Screw Driver) จะออกแบบมาให้เป็นไขควงที่ใช้สำหรับงานละเอียดเที่ยงตรง ส่วนไขควงที่ใช้ในงานหนักของช่างเครื่องกลจะออกแบบให้ก้านใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ใช้ประแจหรือคีมจับขัน เพื่อเพิ่มแรงในการบิดของไขควงให้มากกว่าเดิมได้

ส่วนประกอบ

ไขควงประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ

  1. ด้ามไขควง (Handle)
  2. ก้านไขควง (Blade or Ferule)
  3. ปากไขควง (Tip)

ด้ามไขควง ออกแบบให้มีรูปทรงที่สามารถจับได้ถนัดมือ และสามารถบิดไขควงไป-มา ได้แรงมากที่สุด ไขควงจะทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น ไม้ พลาสติก หรือ โลหะบางชนิดตามประเภทการใช้งาน

ปากไขควง จะทำจากเหล็กล้าเกรดดี ทรงกลมหรือสี่เหลี่ยม จัตุรัส ตีขึ้นรูปให้ลาดแบน และ ชุบแข็งด้วยความร้อน ในส่วนที่ไม่ได้ตีขึ้นรูปจะเป็นก้านไขควง ถ้าเป็นไขควงที่ใช้สำหรับงานเบาจะเป็นเหล็กกล้าทรงกลม ถ้าเป็นไขควงสำหรับใช้งานหนักจะเป็นเหล็กกล้าทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพื่อให้สามารถใช้ประแจหรือคีมจับเพิ่มแรงบิดงานได้

ก้านไขควงส่วนที่ต่อกับด้ามจะตีเป็นเหลี่ยมลาด เพื่อให้สวมได้สนิทกับด้าม เพื่อให้ด้ามจับก้านไขควงได้สนิทและไม่หมุนเมื่อใช้งานไขควง ในปัจจุบันมีการออกแบบให้ก้านไขควงทะลุตลอดด้ามที่เป็นพลาสติกหรือไฟเบอร์ และทำเป็นแท่นรับแรงสามารถใช้ค้อนเคาะตอกเพื่อการทำงานบางประเภทได้

ขนาดความกว้างของปากไขควง จะมีสัดส่วนมาตรฐานสัมพันธ์กับขนาดความยาวทั้งหมดของไขควง ซึ่งเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเลือกใช้ไขควงเพราะแรงบิดที่กระทำต่อตัวสกรูจะเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากความยาวนี้ และอีกประการหนึ่งไขควงขนาดยาว ปากไขควงจะกว้างกว่าปากไขควงขนาดสั้น ความหนาของปากไขควงจะขึ้นอยู่กับความกว้างของปาก ปากกว้างมากก็จะยิ่งมีความหนามากขึ้น ความหนาของปากไขควงมีผลโดยตรงกับการออกแรงบิดตัวสกรูเพราะถ้าขนาดของปากไขควงไม่พอดีกับร่องผ่าของหัวสกรูจะทำให้การขันพลาดทำให้หัวสกรูเยินหรือต้องสูญเสียแรงงานส่วนหนึ่งในการประคองปากไขควงให้อยู่บนร่องหัวสกรู แทนการหมุนสกรู

ก่อนการนำไขควงไปใช้งาน ต้องตรวจสอบปากไขควงให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน คือ ปากต้องเรียบ ไม่มีรอยบิด และเมื่อพิจารณาดูจากด้านล่างต้องมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไขควงที่ปากชำรุดสึกหรอไม่เรียบตรงหรือปากแตกร้าวจะเป็นอันตรายต่อการใช้งานมาก เพราะเมื่อใช้งานปากไขควงจะไม่สัมผัสกับร่องบนหัวสกรูเต็มที่ เมื่อออกแรงบิดจะทำให้พลาดจากร่องซึ่งทำให้หัวสกรูบิ่นหรือลื่นจากหัวสกรู ทำให้ผู้ขันได้รับอันตรายได้

ไขควงแฉก (Phillips) หรือไขควงหัวลูกศร เป็นไขควงที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับ สกรูชนิดร่องหัวผ่าไขว้กัน การออกแบบ ขนาด และการเลือกใช้งานก็เช่นเดียวกับไขควงปากแบน ข้อสำคัญที่สุดคือต้องเลือกใช้ไขควงที่ปากแนบสนิทกับร่องผ่าบนหัวสกรู จึงใช้งานได้เต็มตามประสิทธิภาพของไขควง

ไขควงเยื้องศูนย์ (Offset Screw Driver) เป็นไขควงที่ออกแบบมาสำหรับการงานพิเศษที่ไขควงแบบปกติใช้งานไม่ได้ เช่นตามซอกมุมต่าง ๆ ไขควงชนิดนี้ทำปากไขควงอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน อาจหันปากไปในตำแหน่งตามกันหรือเยื้องกันก็ได้ ส่วน ก้านใบไขควงอยู่ตรงกลางและทำหน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย

ประเภท

  1. ไขควงปากแบน หรือไขควงธรรมดา (standard type Screwdriver) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควง ใช้สำหรับขันหรือคายสกรูหรือตะปูควงชนิ ต่าง ๆ
  2. ไขควงปากแฉก (Cross - Reset Head Screwdriver) ไขควงชนิดนี้ส่วนที่ปลายของไขควงปากแฉกหรือลักษณะปากจีบจะผ่าหัวเป็นสี่แฉก เวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงธรรมดาเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง
  3. ไขควงหัวคลัตช์ (Clutch - Head Screwdriver) เป็นไขควงที่มีใช้เฉพาะกับตะปูควงหรือสกรูสำหรับงานโลหะแผ่น และงานการตกแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม ปลายของไขควงจะสวมพอดีกับหัวสกรู
  4. ไขควงออฟเสท (Offset Screwdriver) ไขควงออฟเสทใช้งานที่อยู่ในที่แคบ ๆ ยากที่จะใช้ไขควงธรรมดาเข้าไปขันได้สามารถขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเพราะไขควงหลุดจากร่องสกรูได้ง่ายทำให้หัวสกรูเสีย

ีัข้อควรระวังในการใช้ไขควง

  1. อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด
  2. อย่าใช้ไขควงงัดอาจจะทำให้งอได้ง่าย
  3. อย่าใช้ด้ามไขควงแทนค้อน
  4. เมื่อชำรุดรีบซ่อมทันที