ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัณฑนา โมรากุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hamleamsrijan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Hamleamsrijan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
| thaifilmdb_id =
| thaifilmdb_id =
}}
}}
'''มัณฑนา โมรากุล''' ปัจจุบันมีชื่อจริงว่า '''มัณฑนา เกียรติวงศ์'''<ref>{{cite press release |title='แม่ผ่องศรี' ชู 'ในหลวง' ต้นแบบสู้วิกฤติน้ำท่วม|url=http://www.komchadluek.net/detail/20111128/116307/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.html#.UYh5IaJFBck|publisher=ไทยรัฐ|language=ไทย|date=|accessdate=7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556}}</ref> ([[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2466]] - ) [[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขา[[ศิลปะการแสดง]] (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปีพุทธศักราช 2552 อดีต[[นักร้อง]]หญิงคนแรกของวงดนตรี[[กรมโฆษณาการ]]และนักร้องรุ่นแรกของวง[[สุนทราภรณ์]]
'''มัณฑนา โมรากุล''' ปัจจุบันมีชื่อจริงว่า '''มัณฑนา เกียรติวงศ์'''<ref>{{cite press release |title='แม่ผ่องศรี' ชู 'ในหลวง' ต้นแบบสู้วิกฤติน้ำท่วม|url=http://www.komchadluek.net/detail/20111128/116307/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1.html#.UYh5IaJFBck|publisher=ไทยรัฐ|language=ไทย|date=|accessdate=7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556}}</ref> ([[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2464]] - ) [[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขา[[ศิลปะการแสดง]] (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปีพุทธศักราช 2552 อดีต[[นักร้อง]]หญิงคนแรกของวงดนตรี[[กรมโฆษณาการ]]และนักร้องรุ่นแรกของวง[[สุนทราภรณ์]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 5 ธันวาคม 2559

มัณฑนา โมรากุล
มัณฑนา โมรากุลในวัยสาว
มัณฑนา โมรากุลในวัยสาว
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด30 มีนาคม พ.ศ. 2464 (103 ปี)
เจริญ โมรากุล
คู่สมรสบุญยงค์ เกียรติวงศ์
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2479 - 2517
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2552 - สาขาศิลปะการแสดง - ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง

มัณฑนา โมรากุล ปัจจุบันมีชื่อจริงว่า มัณฑนา เกียรติวงศ์[1] (30 มีนาคม พ.ศ. 2464 - ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปีพุทธศักราช 2552 อดีตนักร้องหญิงคนแรกของวงดนตรีกรมโฆษณาการและนักร้องรุ่นแรกของวงสุนทราภรณ์

ประวัติ

มัณฑนา โมรากุล เกิดที่วังสวนสุพรรณที่พำนักของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ อำเภอดุสิต กรุงเทพมหานคร (เป็นที่ประทับตามพระนามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี) เป็นบุตรีคนที่ 4 ในจำนวน 6 คนของหลวงสิริราชทรัพย์ (ชัย โมรากุล) (2439-2504) ข้าราชการกรมบัญชีกลางเชื้อสายจีน[2] กับนางผัน โมรากุล (สกุลเดิม เครือสุวรรณ) ซึ่งเป็นครูละครในวังสวนสุพรรณ

ชื่อของมัณฑนานั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อเกิด เป็นเวลาที่บิดาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากขุนขึ้นเป็นหลวง เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ จึงเมตตาตั้งชื่อให้ว่า "เจริญ" เพราะเกิดมาพร้อมกับความเจริญของบิดา ในช่วงหนึ่งได้มีโอกาสเล่นละครร่วมกับคณะบรรทมสินธุ์ของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ท่านจึงให้ชื่อสำหรับใช้เล่นละครว่า แสงจำเริญ ต่อมาได้ไปฝึกการขับร้องเพลงกับครูสกนธ์ มิตรานนท์ (พ.ศ. 2482) จึงเปลี่ยนให้ชื่อเป็น จุรี และครั้งหลังที่สุดจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น มัณฑนา (พ.ศ. 2485) [3]

ได้ฝึกร้องเพลงครั้งแรก กับมิสแมคแคน ที่ในโบสถ์พระคริสต์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และเริ่มหัดร้องเพลงไทยเดิมกับครูเจอ บุรานนท์ (มารดาของ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต) ที่ในวังสวนสุพรรณ ภายหลังเกิดแรงบันดาลใจจากการขับร้องเพลงไทยสากลของ จำรัส สุวคนธ์ บวกกับมีความชื่นชอบในการขับร้องเพลงไทยสากลอยู่แล้ว จึงได้ฝึกหัดขับร้องเพลงไทยสากลอย่างจริงจัง จาก ครูสกนธ์ มิตรานนท์, ครูเวส สุนทรจามร และ ครูสริ ยงยุทธ รวมถึงฝึกฝนด้วยตนเองด้วย

ด้านการศึกษา ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนเสาวภา แต่จบเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพราะฐานะทางบ้านไม่อำนวย จึงได้แต่หัดร้องเพลงกับครูสกนธ์ มิตรานนท์ และครูพิมพ์ พวงนาค โดยเล่นละครวิทยุกับคณะจารุกนก อยู่ระยะหนึ่ง จนมีโอกาสได้บันทึกเสียงเพลงไทยสากลเพลงแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 กับห้าง ต. เง็กชวน คือเพลง "น้ำเหนือบ่า" แต่งโดยครูพิมพ์ พวงนาค

ต่อมาได้มีโอกาสเข้าไปขับร้องเพลงในงานวันประสูติ ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 มัณฑนาจึงได้รับการชักชวนจาก พันตรีวิลาส โอสถานนท์ อธิบดีกรมโฆษณาการในขณะนั้น ให้ไปเป็นนักร้องของวงดนตรีโฆษณาการในวันถัดมา ขณะนั้นมีอายุเพียง 16 ปีเท่านั้น จึงยังบรรจุเป็นข้าราชการไม่ได้ ต้องบรรจุในตำแหน่งพนักงานวิสามัญ (ลูกจ้าง) ก่อน จนมีอายุครบตามกำหนดจึงได้เลื่อนเป็นนักร้อง นับเป็นนักร้องหญิงคนแรกของวง

ในช่วงที่รับราชการในกรมโฆษณาการ มัณฑนา โมรากุล ได้ขับร้องเพลงปลุกใจ และเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงเพลงไทยสากลประเภทต่างๆไว้เป็นจำนวนมากกว่า 200 เพลง ลักษณะการร้อง เธอเป็นนักร้องหญิงคนแรก ๆ ของไทย ที่นำการใช้ลูกคอแบบตะวันตกมาใช้ร้องในเพลงไทย เพื่อช่วยการร้องให้เกิดเสียงสูง เรียกว่า "เสียงสมอง" นอกจากนี้ ยังได้รับหน้าที่โฆษกหญิงยุคต้นของกรมโฆษณาการด้วย เธออยู่กับวงดนตรีกรมโฆษณาการ และสุนทราภรณ์ 10 ปี จึงลาออกในปี พ.ศ. 2494 เพื่อสมรสกับ นายบุญยงค์ เกียรติวงศ์ มีบุตร-ธิดารวม 4 คน

ภายหลังที่ได้ลาออกจากราชการ มัณฑนา โมรากุล ได้ร่วมกับสามีทำกิจการโรงภาพยนตร์ศรีพรานนก และ สร้างภาพยนตร์ในระยะหนึ่ง ด้านการขับร้องเพลงก็ได้มาร่วมขับร้องในรายการทางโทรทัศน์เป็นครั้งคราว จนถึง พ.ศ. 2515 จึงเลิกขับร้องเพลงอย่างถาวรด้วยเหตุผลทางสุขภาพ และใช้ชีวิตอย่างสงบกับบุตร-ธิดา ที่บ้านย่านพุทธมณฑลสาย 2 แต่ยังได้ปรากฏตัวตามงานคอนเสิร์ตการกุศลบ้าง คือ

เกียรติยศ

ผลงาน

ขับร้อง

  • ดวงใจกับความรัก (เพลงพระราชนิพนธ์)
  • เทวาพาคู่ฝัน (เพลงพระราชนิพนธ์)
  • น้ำเหนือบ่า
  • จันทร์แจ่มฟ้า
  • สกุณาพาคู่
  • ใจชาย
  • สุดอาลัย
  • วัฒนธรรม
  • สวมหมวก
  • พลเมืองดี
  • สวนครัว
  • ปลุกไทย
  • หนองคาย
  • ไทยไม่ทำลายไทย
  • ทางสร้างชาติ
  • ทรัพย์ในดิน
  • วังบัวบาน
  • ดาวที่อับแสง
  • จุฬาตรีคูณ
  • ปรัชญาขี้เมา
  • รักคะนองคองก้า (คู่ วินัย จุลบุษปะ)
  • กล่อม
  • กล่อมดรุณ
  • สนต้องลม
  • วังน้ำวน
  • ผู้แพ้รัก
  • ดวงใจที่ไร้รัก
  • อาลัยลา
  • ลมโชย
  • นักเรียนพยาบาล
  • ปองใจรัก (คู่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน)
  • สิ้นรักสิ้นสุข
  • เมื่อไรจะให้พบ
  • สวยรวย
  • เพลินชมดง
  • สายลมครวญ
  • เงาแห่งความหลัง (คู่ วินัย จุลละบุษปะ)
  • หนูเอย
  • ราตรี
  • ผีเสื้อยามเช้า
  • วิญญาณรัก
  • ศาสนารัก
  • ปางหลัง
  • ชั่วชีวิต
  • เทพบุตรในฝัน
  • ดอกไม้กับแมลง
  • น้ำค้างกลางหาว
  • ผาเงอบ
  • จันทร์กะพ้อร่วง
  • ธรณีกรรแสง ฯลฯ

คำประพันธ์

มัณฑนา มีผลงานประพันธ์คำร้องของเพลง ดังต่อไปนี้[7]

อ้างอิง

  1. "'แม่ผ่องศรี' ชู 'ในหลวง' ต้นแบบสู้วิกฤติน้ำท่วม" (Press release). ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ดาวประดับฟ้า "มัณฑนา โมรากุล" (ตอนที่ 1) : ชีวิตต้องสู้!". ผู้จัดการออนไลน์. 12 มกราคม 2553. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ภูมิหลังของชีวิต มัณฑนา โมรากุล
  4. ข่าวงานคอนเสิร์ต 84 ปี มัณฑนา โมรากุล
  5. ขอเชิญชมคอนเสิร์ต ดาวประดับฟ้า มัณฑนา โมรากุล ศิลปินแห่งชาติ
  6. มัณฑนา โมรากุล (เกียรติวงศ์) จากเว็บไซต์ศิลปินแห่งชาติ
  7. มัณฑนา โมรากุล กับเพลงที่แต่งเนื้อร้องเอง