ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาราชนิกูล (ทองคำ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
ครั้งเมื่อ พ.ศ. 2251 สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ขึ้นครองราชย์เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ" จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) มีความดีความชอบ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาราชนกูล (บางแห่งเขียน พระยาราชนิกูล) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ดังนั้นครอบครัวนี้จึงได้ย้ายครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตรงเหนือป้อมเพชร
ครั้งเมื่อ พ.ศ. 2251 สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ขึ้นครองราชย์เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ" จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) มีความดีความชอบ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาราชนกูล (บางแห่งเขียน พระยาราชนิกูล) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ดังนั้นครอบครัวนี้จึงได้ย้ายครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตรงเหนือป้อมเพชร


ส่วนนายทองดี บุตรชายของท่านนั้น เมื่อมีอายุพอที่จะเข้ารับราชการได้แล้ว พระยาราชนิกูลบิดาก็นำไปรับราชการอยู่ที่กรมมหาดไทย คอยช่วยเหลืองานอยู่กับตน ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "หลวงพินิจอักษร" ครั้นอายุได้ 20 ปี หลวงพินิจอักษรก็อุปสมบทและเมื่อลาสิกขาบทแล้ว พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ได้สู่ขอ "ดาวเรือง หรือ หยก" หลานสาว[[พระยาอภัยราชา]] สมุหนายกว่าราชการแผ่นดิน ให้แต่งงานอยู่กินกันตามประเพณี ต่อมาหลวงพินิจอักษร (ทองดี) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน
ส่วนนายทองดี บุตรชายของท่านนั้น เมื่อมีอายุพอที่จะเข้ารับราชการได้แล้ว พระยาราชนิกูลบิดาก็นำไปรับราชการอยู่ที่กรมมหาดไทย คอยช่วยเหลืองานอยู่กับตน ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] ในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "หลวงพินิจอักษร" ครั้นอายุได้ 20 ปี หลวงพินิจอักษรก็อุปสมบทและเมื่อลาสิกขาบทแล้ว พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ได้สู่ขอ "ดาวเรือง" (บางแห่งว่า "หยก") หลานสาว[[พระยาอภัยราชา]] สมุหนายกว่าราชการแผ่นดิน ให้แต่งงานอยู่กินกันตามประเพณี ต่อมาหลวงพินิจอักษร (ทองดี) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน


==บรรดาศักดิ์==
==บรรดาศักดิ์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:36, 3 ธันวาคม 2559

พระยาราชนิกูล (ทองคำ)
เกิดไม่ปรากฏ
อาณาจักรอยุธยา
เสียชีวิตไม่ปรากฏ
จังหวัดอุทัยธานี
บุตรสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
บุพการี

พระยาราชนิกูล (ทองคำ) เป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ประวัติ

พระยาราชนิกูล เดิมมีชื่อว่า ทองคำ เป็นบุตรชายของเจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) เกิดเมื่อตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ต่อมาเมื่อท่านโตขึ้น เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง)บิดาของท่าน ได้นำท่านเข้าถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ดังนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงได้ให้นายทองคำ ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็น จมื่นมหาสนิท หัวหมื่นมหาดเล็ก ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เพื่อคอยกะเกณฑ์สิ่งของและทำราชการ ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการเสด็จประพาสล้อมช้างป่า และเมืองอุทัยธานีเป็นหัวเมืองด่านที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ข้าว ช้างป่า มูลค้างคาว ไม้ ผลกระวาน เป็นต้น สำหรับใช้ในกองทัพ และเป็นยุทธปัจจัยของ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในโอกาสที่ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์ต่อไปด้วย ขณะที่จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) อยู่ที่บ้านสะแกกรังนั้น ภรรยาได้ให้กำเนิดบุตรชายคนโตคนหนึ่งชื่อ "ทองดี"

ครั้งเมื่อ พ.ศ. 2251 สมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ขึ้นครองราชย์เป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ" จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) มีความดีความชอบ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาราชนกูล (บางแห่งเขียน พระยาราชนิกูล) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย ดังนั้นครอบครัวนี้จึงได้ย้ายครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตรงเหนือป้อมเพชร

ส่วนนายทองดี บุตรชายของท่านนั้น เมื่อมีอายุพอที่จะเข้ารับราชการได้แล้ว พระยาราชนิกูลบิดาก็นำไปรับราชการอยู่ที่กรมมหาดไทย คอยช่วยเหลืองานอยู่กับตน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "หลวงพินิจอักษร" ครั้นอายุได้ 20 ปี หลวงพินิจอักษรก็อุปสมบทและเมื่อลาสิกขาบทแล้ว พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ได้สู่ขอ "ดาวเรือง" (บางแห่งว่า "หยก") หลานสาวพระยาอภัยราชา สมุหนายกว่าราชการแผ่นดิน ให้แต่งงานอยู่กินกันตามประเพณี ต่อมาหลวงพินิจอักษร (ทองดี) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน

บรรดาศักดิ์

  • ทองคำ
  • จมื่นมหาสนิท
  • พระยาราชนิกูล

อ้างอิง

  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง, ดอกหญ้า, 2549, ISBN 974-941-205-2
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง, ดอกหญ้า, 2549, ISBN 974-941-204-4