ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยา (หนังสือพิมพ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
| ราคา =
| ราคา =
| คำขวัญ = สายธารแห่งความคิด สายชีวิตประชาธิปไตย
| คำขวัญ = สายธารแห่งความคิด สายชีวิตประชาธิปไตย
| สำนักงานใหญ่ = <ul><li>[[ทำเนียบรัฐบาล]] [[ถนนพิษณุโลก]] แขวงดุสิต [[เขตดุสิต]]</li></ul><ul><li>เลขที่ 63/1 [[ถนนพระรามที่ 9]] แขวงห้วยขวาง [[เขตห้วยขวาง]]</li></ul>{{ธง|ไทย}} [[กรุงเทพมหานคร]]
| สำนักงานใหญ่ = <ul><li>[[ทำเนียบรัฐบาล]] [[ถนนพิษณุโลก]] [[เขตดุสิต]]</li></ul><ul><li>เลขที่ 63/1 [[ถนนพระราม 9]] [[เขตห้วยขวาง]]</li></ul>{{ธง|ไทย}} [[กรุงเทพมหานคร]]
| circulation =
| circulation =
| ISSN =
| ISSN =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:14, 3 ธันวาคม 2559

เจ้าพระยา
สายธารแห่งความคิด สายชีวิตประชาธิปไตย
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
ขนาดข่าวรัฐบาล
เจ้าของอ.ส.ม.ท.
ผู้เผยแพร่โรงพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
หัวหน้าบรรณาธิการดุสิต ศิริวรรณ
บรรณาธิการเมธี บริสุทธิ์
บรรณาธิการบริหารประพฤทธิ์ สกุลรัตนเมธี
คอลัมนิสต์สมัคร สุนทรเวช
ก่อตั้งเมื่อ15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
นโยบายทางการเมืองคณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย
ภาษาภาษาไทย
ฉบับสุดท้าย20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
(3 เดือน 6 วัน; 98 ฉบับ)
สำนักงานใหญ่ไทย กรุงเทพมหานคร

เจ้าพระยา เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่ดำเนินการโดย องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยดำริของดุสิต ศิริวรรณ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น มีมติให้นำงบประมาณส่วนกลาง จำนวน 4 ล้านบาท มาใช้ในการออกหนังสือพิมพ์รายวัน ชื่อ เจ้าพระยา ขนาดบรอดชีต จำนวน 16 หน้า เริ่มออกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 โดยมีประพฤทธิ์ สกุลรัตนเมธี เป็นบรรณาธิการบริหาร และเมธี บริสุทธิ์ เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

วัตถุประสงค์ในการออกจำหน่าย เพื่อประชาสัมพันธ์กิจการของรัฐบาลโดยเฉพาะ พร้อมทั้งประกาศตัวว่า เป็นหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลอย่างชัดแจ้ง และมีคำขวัญของหนังสือพิมพ์ว่า สายธารแห่งความคิด สายชีวิตประชาธิปไตย โดยมีรัฐมนตรีบางคนมาเขียนบทความ เป็นคอลัมนิสต์รับเชิญ เพื่อโฆษณาชวนเชื่อแก่รัฐบาล ส่งผลให้นักวิชาชีพหนังสือพิมพ์หลายคน ออกมาต่อต้านด้วย

เนื้อหาของข่าวสารและบทความ มุ่งประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อันดีให้กับรัฐบาล ทั้งในแง่ผลงานและตัวบุคคล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ตลอดจนรัฐมนตรีบางคน ที่ไม่ลงรอยกับสื่อมวลชน อาทิ สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือภิญโญ สาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

เมื่อหนังสือพิมพ์เจ้าพระยา ออกจำหน่ายได้ราวหนึ่งสัปดาห์ ภิญโญออกคำสั่งกระทรวงฯ ให้หน่วยงานในสังกัดพิจารณายกเลิก การบอกรับหนังสือพิมพ์ของบริษัทเอกชน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อประหยัดการใช้งบประมาณ อีกทั้งหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ตีพิมพ์ข่าวที่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ พร้อมกันนั้น ให้บอกรับหนังสือพิมพ์เจ้าพระยา และวารสารเอกลักษณ์ (ของสำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ) ที่เป็นของรัฐบาลแทน

เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2520 ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล มีกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา จากโรงเรียนต่าง ๆ จำนวนประมาณ 20 คน นำพวงหรีดและโปสเตอร์ มาประท้วงหนังสือพิมพ์เจ้าพระยา ที่ลงตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในตำแหน่งที่มิบังควร โดยมีผู้แทนหนังสือพิมพ์ออกมาพบ พร้อมทั้งยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กันยายน กลุ่มประชาชนผู้รักชาติ ประมาณ 200 คน มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมส่งผู้แทนเข้ายื่นหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาการกระทำของหนังสือพิมพ์เจ้าพระยา ในกรณีเดียวกับเมื่อวันที่ 9 กันยายน โดยยื่นคำขาด ให้รัฐบาลพิจารณาภายใน 7 วัน พร้อมแถลงผลการพิจารณาให้ประชาชนทราบด้วย

ในส่วนของยอดจำหน่าย และกระแสตอบรับของสังคม หนังสือพิมพ์เจ้าพระยา ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเท่าที่ควร แต่กลับแสดงออกในเชิงต่อต้านเป็นอย่างมาก จนกระทั่งออกวางจำหน่ายได้เพียง 98 ฉบับ ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน 6 วัน ก็ต้องยุติการดำเนินงานลง โดยออกเป็นฉบับสุดท้าย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520

รายการอ้างอิง