ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
+ 5 หมวดหมู่ด้วยฮอทแคต
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}
{{Birth|1754}}{{Death|1838}}
{{Birth|1754}}{{Death|1838}}

[[หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:นักการทูตชาวฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในสงครามนโปเลียนชาวฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากปารีส]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:43, 26 ตุลาคม 2559

ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม 1815 – 26 กันยายน 1815
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 18
ถัดไปอาร์ม็อง-แอมานุแอล เดอ รีเชอลีเยอ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1754(1754-02-02)*
ปารีส, ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เสียชีวิต17 พฤษภาคม ค.ศ. 1838(1838-05-17) (84 ปี)
ปารีส, ฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
วิชาชีพมุขนายก, นักการทูต
ลายมือชื่อ
*Encyclopedia of World Biography and Catholic Encyclopedia give 13 February

ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์ (ฝรั่งเศส: Charles Maurice de Talleyrand-Périgord) หรือ เจ้าชายแห่งเบแนว็อง (Prince de Bénévent) เป็นนักการเมือง, นักการทูตและพระชาวฝรั่งเศส หลังจากจบการศึกษาด้านเทววิทยา ในปี 1780 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งพระราชาคณะ และเป็นผู้แทนของราชสำนักในการปกครองสังฆมณฑลคาทอลิกในฝรั่งเศส เขาประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในราชสำนักฝรั่งเศส และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศหรือตำแหน่งทางการทูตที่สำคัญหลายครั้ง ระยะเวลารับราชการของเขากินเวลายาวนานตั้งแต่ราชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ผ่านช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเข้าสู่รัชกาลของจักรพรรดินโปเลียน และไปสิ้นสุดลงในรัชกาลพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1

ตาแลร็องเป็นมันสมองด้านการทูตในช่วงที่นโปเลียนเรืองอำนาจและฝรั่งเศสสามารถพิชิตดินแดนมากมายในทวีปยุโรป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว งานของตาแลร็องคืองานด้านสันติภาพ โดยการเจรจาสงบศึกระหว่างฝรั่งเศสกับประเทศต่างๆ อาทิ เขาสามารถเจรจาสงบศึกกับออสเตรียในปี 1801 ผ่านสนธิสัญญาลูว์เนวีล และกับอังกฤษในปี 1802 ผ่านสนธิสัญญาอาเมียง แม้ตาแลร็องจะไม่สามารถยับยั้งสงครามให้ปะทุขึ้นมาใหม่ในปี 1803 แต่ก่อนปี 1805 เขาสามารถโน้มน้าวนโปเลียนไม่ให้ทำสงครามกับออสเตรีย, ปรัสเซีย และ รัสเซีย แม้เขาจะลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีการต่างประเทศในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1807 แม้ตาแลร็องยังคงได้รับความเชื่อใจจากนโปเลียน แต่เขาร่วมวางแผนอย่างลับๆเพื่อสกัดนโปเลียนโดยการเจรจาลับกับซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียและรัฐมนตรีเมทเทอร์นิชของออสเตรีย จนกระทั่งเมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจในปี 1814 ตาแลร็องเข้ามารับผิดชอบด้านการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงตามหลักกฎหมาย นอกจากนี้ ตาแลร็องยังมีบทบาทสำคัญในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาระหว่างปี 1814-15 ด้วย

อ้างอิง

  • Bernard, J.F. (1973). Talleyrand: A Biography. New York: Putnam. ISBN 0-399-11022-4.; major scholarly biography
  • Brinton, Crane. Lives of Talleyrand (1936), 300pp scholarly study
  • Cooper, Duff (1932). Talleyrand. New York: Harper. ISBN 0802137679.
  • Ferraro, Guglielmo. The Reconstruction of Europe: Talleyrand and the Congress of Vienna, 1814–1815 (1941)
  • Lawday, David (2006). Napoleon's Master: A Life of Prince Talleyrand. London: Jonathan Cape. ISBN 978-0-224-07366-0.
  • Orieux, Jean. Talleyrand: The Art of Survival (1974) 677pp; scholarly biography