ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| term_end1 = 10 พฤศจิกายน 1799
| term_end1 = 10 พฤศจิกายน 1799
| predecessor1 = [[Jean Baptiste Treilhard]]
| predecessor1 = [[Jean Baptiste Treilhard]]
| office2 = [[Council of Five Hundred|ประธานสภานิติบัญญัติห้าร้อยคน]]
| office2 = [[สภาห้าร้อย|ประธานสภานิติบัญญัติห้าร้อยคน]]
| term_start2 = 21 พฤศจิกายน 1797
| term_start2 = 21 พฤศจิกายน 1797
| term_end2 = 20 ธันวาคม 1797
| term_end2 = 20 ธันวาคม 1797

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:56, 26 ตุลาคม 2559

ฯพณฯ ท่าน
แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส
ภาพวาดโดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด ค.ศ. 1817
สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
17 มิถุนายน 1799 – 10 พฤศจิกายน 1799
ก่อนหน้าJean Baptiste Treilhard
ประธานสภานิติบัญญัติห้าร้อยคน
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน 1797 – 20 ธันวาคม 1797
ก่อนหน้าฟร็องซัว-ตูแช็ง วีลแลร์
ถัดไปอ็องตัว บูเลย์ เดอ ลา เมอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด03 พฤษภาคม ค.ศ. 1748(1748-05-03)
เฟรยู, ฝรั่งเศส
เสียชีวิต20 มิถุนายน ค.ศ. 1836(1836-06-20) (88 ปี)
ปารีส, ฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก

แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (ฝรั่งเศส: Emmanuel Joseph Sieyès) เป็นหมอสอนศาสนาระดับล่างสังกัดโรมันคาทอลิกตลอดจนเป็นนักการเมืองในฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในผู้นำทฤษฎีการเมืองในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และมีส่วนในการปกครองประเทศในคณะกงสุลฝรั่งเศสและจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ซึ่งนำนโปเลียนขึ้นสู่อำนาจ

ซีเยแย็สเกิดเมื่อ 3 พฤษภาคม 1748 ในเมืองเฟรยูทางภาคใต้ของฝรั่งเศส[1] เป็นบุตรคนที่ห้าของนายออนอแร กับนางอันนาแบล บิดาของเขาเป็นนายภาษีท้องถิ่นที่มีฐานะยากจน แม้ครอบครัวซีเยแย็สจะมีสายเลือดขุนนางอยู่บ้างแต่พวกเขาก็เป็นได้แค่สามัญชน[1] ซีเยแย็สเข้าศึกษากับคณะเยสุอิต เขาต้องการเข้ารับราชการทหารแต่เนื่องจากเป็นคนขี้โรคประกอบกับการมีครอบครัวเคร่งศาสนา ทำให้ซีเยแย็สต้องหันมาเอาดีทางด้านศาสนาแทน โดยเข้าศึกษากับโรงเรียนสอนศาสนาในกรุงปารีสเป็นเวลาสิบปี ซึ่ง ณ ที่นั่น เขาได้เรียนเทววิทยาและวิศวกรรมเพื่อเตรียมตัวเป็นพระ[2] ซีเยแย็สได้รับการนับถืออย่างมากในโรงเรียนจากความถนัดในวิทยาศาสตร์ เขาหลงใหลหลักปรัชญาสมัยใหม่และไม่ชอบวิชาเทววิทยาที่คร่ำครึ[2]

ในปี 1788 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16ได้เสนอให้มีการประชุมสภาฐานันดรขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างสามชนชั้นในสังคมฝรั่งเศส ซึ่งซีเยแย็สได้ตีพิมพ์จุลสารโดยมีหัวเรื่องว่า "ฐานันดรที่สามคืออะไร?" (Qu'est-ce que le tiers-état?) จุลสารฉบับนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมาก ทำให้เขาได้รับการคัดเลือกเข้าไปเป็นผู้แทนฐานันดรที่สามจากปารีส และเขากลายเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนในการปฏิวัติฝรั่งเศส เขายังเป็นผู้ร่วมร่างประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง

หลังรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ ซีเยแย็สก็ได้เป็นสมาชิกคณะกงสุลฝรั่งเศสและต่อมาเป็นสมาชิกสภาสูง ภายหลังแผนการลอบสังหารนโปเลียนที่ในเดือนธันวาคม 1800 ซีเยแย็สก็ได้ออกมาต่อต้านอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนโปเลียน ซึ่งทำให้เขาถูกนโปเลียนปลดจากตำแหน่งทั้งหมด ตัวเขาใช้ชีวิตอย่างเงียบๆในปารีส จนกระทั่งเมื่อมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ซีเยแย็สก็ถูกขับออกจากสถาบันศีลธรรมและศาสตร์การเมืองโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และตัวเขาย้ายไปบรัสเซลส์ จนกระทั่งภายหลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในปี 1830 เขาก็ย้ายกลับมายังปารีส และเสียชีวิตที่นั่นในอีก 6 ปีต่อมาเมื่อมีอายุได้ 88 ปี

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Van Deusen, Glyndon G., p. 11
  2. 2.0 2.1 Van Deusen, Glyndon G., p. 12