ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดหนองคาย"

พิกัด: 17°53′N 102°44′E / 17.88°N 102.74°E / 17.88; 102.74
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Sawasdeeee (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6685445 สร้างโดย 49.237.238.12 (พูดคุย)
บรรทัด 528: บรรทัด 528:


==== สังกัด เทศบาลเมืองท่าบ่อ ====
==== สังกัด เทศบาลเมืองท่าบ่อ ====
* โรงเรียนท่าบ่อ
* โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ


=== โรงเรียน ===
=== โรงเรียน ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:25, 24 ตุลาคม 2559

จังหวัดหนองคาย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nong Khai
คำขวัญ: 
วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส
สะพานไทย-ลาว
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองคายเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองคายเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองคายเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สุชาติ นพวรรณ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2557)
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,027.280 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 61
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
 • ทั้งหมด517,260 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 51
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 20
รหัส ISO 3166TH-43
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ชิงชัน
 • ดอกไม้ชิงชัน
 • สัตว์น้ำปลายี่สก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย ถนนมิตรภาพ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
 • โทรศัพท์0 4241 2678
เว็บไซต์http://www.nongkhai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นจังหวัดชายแดนและเป็นจังหวัดที่เงียบสงบ น่าอยู่และน่าท่องเที่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา

ประวัติศาสตร์

การแสดง แสง เสียง สงครามปราบฮ่อในงานฉลองอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ

เมืองหนองคายมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารล้านช้างตลอดยุคสมัย ดังเช่นปรากฏเป็นชื่อเมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองปากห้วยหลวง (อำเภอโพนพิสัยในปัจจุบัน) และนอกจากนี้ยังปรากฏในศิลาจารึกจำนวนมากที่กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ได้สร้างไว้ในบริเวณจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะเมืองปากห้วยหลวงเป็นเมืองลูกหลวง นอกจากนี้ในรัชสมัยพระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติฯ พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ตั้งสมเด็จพระสังฆราชวัดมุจลินทรอารามอยู่ที่เมืองห้วยหลวง และยังพบจารึกที่วัดจอมมณี ลงศักราช พ.ศ. 2098 จารึกวัดศรีเมือง พ.ศ. 2109 จารึกวัดศรีบุญเรือง พ.ศ. 2151 เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโบราณสถานอิทธิพลล้านช้างจำนวนมาก เช่น พระธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะพระธาตุบังพวน สร้างก่อน พ.ศ. 2106 จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา (อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู) ลงศักราช พ.ศ. 2106 กล่าวถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้อุทิศข้าทาสและที่ดินแก่วัดถ้ำสุวรรณคูหา และได้สร้างพระพุทธรูปไว้ที่พระธาตุบังพวนอีกด้วย

เมื่อ พ.ศ. 2322 กองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ชัยชนะกรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์แล้ว หัวเมืองหนองคายยังอยู่ใต้ความควบคุมของเวียงจันทน์เช่นเดิมหลังกรณีเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 – 2370 ฝ่ายกรุงเทพฯ มีนโยบายอพยพผู้คนมาฝั่งภาคอีสานจึงยุบเมืองเวียงจันทน์ปล่อยให้เป็นเมืองร้าง ชาวเมืองเวียงจันทน์บางส่วนก็อพยพมาภาคกลางและบางส่วนก็อยู่ที่บริเวณเมืองเวียงคุก เมืองปะโค (อำเภอเมืองหนองคายในปัจจุบัน) เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ท้าวสุวอ (บุญมา) เป็นเจ้าเมือง ยกบ้านไผ่ (ละแวกเดียวกับเมืองปะโคเมืองเวียงคุก) เป็นเมืองหนองคาย ท้าวสุวอเป็น "พระปทุมเทวาภิบาล" เจ้าเมืองคนแรก มีเจ้าเมืองต่อมาอีก 2 คน คือ พระปทุมเทวาภิบาล (เคน ณ หนองคาย) ผู้เป็นบุตรและพระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ผู้เป็นหลาน

เมื่อ พ.ศ. 2428 เกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่สองในบริเวณทุ่งไหหิน (ทุ่งเชียงคำ) พวกฮ่อกำเริบตีมาจนถึงเวียงจันทน์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวศึกฮ่อ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมขณะดำรงพระอิสริยศเป็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพปราบฮ่อครั้งนั้นจนพวกฮ่อแตกหนี และสร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อไว้ที่เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2429 ต่อมา พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลลาวพวน (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร) ได้ตั้งที่ทำการที่เมืองหนองคาย ครั้นเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ไทยถูกกำหนดเขตปลอดทหารภายในรัศมี 50 กิโลเมตรจากชายแดน จึงย้ายกองบัญชาการมลฑลลาวพวนมาตั้งที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองพื้นที่ขึ้นโดยให้ยกเลิกระบอบเจ้าปกครองทั่วประเทศ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2458 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีคำสั่งสถาปนาเมืองข้าหลวงปกครอง ซึ่งต่อมาเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ หนองคายจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด

ในปี พ.ศ. 2554 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554) มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 โดยให้แยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย ไปตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ

เจ้าเมือง

รายนาม
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1. พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) พ.ศ. 2370 - 2395
2. พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย) พ.ศ. 2395 - 2441
3. พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) พ.ศ. 2441 - 2458

ผู้ว่าราชการเมือง ข้าหลวงประจำจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด

รายพระนามและรายนาม
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1. พระยาสมุทศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์) พ.ศ. 2458 - 2462
2. หม่อมเจ้าโสตถิผล ชมพูนุช พ.ศ. 2462 - 2463
3. พระยาบริหารราชอาณาเขต (ยิ้ม นิลโยธิน) พ.ศ. 2463 - 2470
4. พระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) พ.ศ. 2470 - 2479
5. หลวงบริบาลนิคมเขตร์ (ชวน ทรัพย์สาร) พ.ศ. 2479 - 2480
6. หลวงพำนักนิกรชน (อุณท์ สมิตามร) พ.ศ. 2480 - 2481
7. พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) พ.ศ. 2481 - 2482
8. พอ.พระศรีราชสงคราม (ศรี สุขะวาที) พ.ศ. 2482 - 2483
9. พอ.หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (แม้น โรหิตเศรนี) พ.ศ. 2483 - 2484
10. พระบรรณศาสารสาทร (สง่า คุปตารักษ์) พ.ศ. 2484 - 2468
11. นายปกรณ์ อังคศุสิงห์ พ.ศ. 2486 - 2490
12. ร.ท.ถวิล ระวังภัย พ.ศ. 2490 - 2490
13. นายชาญ จารุวัสตร์ พ.ศ. 2490 - 2492
14. นายแสวง รุจิรัต พ.ศ. 2492 - 2494
15. นายชุณห์ นกแก้ว พ.ศ. 2494 - 2495
16. นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล พ.ศ. 2495 - 2497
17. นายกำจัด ผาติสุวัณณ พ.ศ. 2497 - 2502
18. นายสมอาจ กุยยถานนท์ พ.ศ. 2502 - 2503
19. พล.ต.ต.สามารถ วายวานนท์ พ.ศ. 2503 - 2505
20. นายเจริญ ปานทอง พ.ศ. 2505 - 2510
21. พลตรีวิทย์ นิ่มนวล พ.ศ. 2510 - 2514
22. พลตรีชาย อุบลเดชประชารักษ์ พ.ศ. 2514 - 2517
23. นายกัมพล กลิ่นสุคนธ์ พ.ศ. 2517 - 2519
24. นายชำนาญ พจนา พ.ศ. 2519 - 2521
25. นายกุศล ศานติธรรม พ.ศ. 2521 - 2525
26. นายศักดา อ้อพงศ์ พ.ศ. 2525 - 2529
27. นายสันติ มณีกาญจน์ พ.ศ. 2529 - 2532
28. ร.ต.สนั่น ชานีรัตน์ พ.ศ. 2532 - 2534
29. ร.ต.ไมตรี ในยะกุล พ.ศ. 2534 - 2535
30. นายอนันต์ แจ้งกลีบ พ.ศ. 2535 - 2538
31. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันท์ พ.ศ. 2538 - 2541
32. นายสันติ เกรียงไกรสุข พ.ศ. 2541 - 2541
33. นายบรรทัด สิงหบุตร พ.ศ. 2541 - 2543
34. นายบุณยรงค์ นิลวงศ์ พ.ศ. 2543 - 2544
35. นายธวัช เสถียรนาม พ.ศ. 2544 - 2545
36. ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ พ.ศ. 2545 - 2548
37. นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ พ.ศ. 2548 - 2550
38. นายเจด็จ มุสิกวงศ์ พ.ศ. 2550 - 2551
39. นายกวี กิตติสถาพร พ.ศ. 2551 - 2552
40. นายคมสัน เอกชัย พ.ศ. 2552 - 2553
41. นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ พ.ศ. 2553 - 2557
42. นายสุชาติ นพวรรณ พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

ความหมายของชื่อจังหวัด

  • คำว่า "หนองคาย" ถูกเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "หนองค่าย" ซึ่งมีความหมายโดยตรงว่า "หนองน้ำบริเวณที่ตั้งของค่ายทหาร" ซึ่งคำว่าหนองค่ายถูกเรียกเพี้ยนเป็นหนองคายในช่วงรัชกาลที่ ๕ และได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นหนองคายตั้งแต่นั้นมา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ พญานาคหรืองูใหญ่
  • อักษรย่อชื่อจังหวัด คือ นค
  • คำขวัญประจำจังหวัด คือ วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
  • ตราประจำจังหวัด คือ รูปกอไผ่ริมหนองน้ำ มีภูเขาหัวน้ำอุ่นอยู่เบื้องหลัง เพราะที่ตั้งเมืองหนองคายนี้เดิมชื่อบ้านไผ่เพราะมีกอไผ่อยู่ทั่วไป จึงมีกอไผ่ประกอบในตราประจำจังหวัด และมีหนองน้ำใหญ่ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หนองคาย" เดิมหนองคายถูกเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "หนองค่าย" ในช่วงรัชกาลที่ 5 จึงมีการเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นหนองคายตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน ตราประจำจังหวัดหนองคาย ออกแบบโดย กรมศิลปากร ซึ่งได้เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นชิงชัน (([Dalbergia oliveri] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกชิงชัน
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด คือ ปลายี่สก ([Probarbus jullieni] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))
  • ภาษา คือ ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดหนองคายจะใช้ภาษาไทยอีสานในการสื่อสาร คนหนองคายจะนิยมใช้คำว่า "หวา" หรือ "ฮะหวา" ลงท้ายประโยคคำถามถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งคำว่า "หวา" นั้นมีความหมายว่า "หรอ,หรือ,จริงหรือ,อย่างนั้นหรือ" ตัวอย่างประโยค เช่น "เจ่ามี่ลูกซายสองค่นหวา" ซึ่งแปลได้ว่า "คุณมีลูกชายสองคนหรือ" ซึ่งคำว่า "หวา" นี้ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาลาว เนื่องจากในอดีตมีการอพยพถิ่นฐานของชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามายังฝั่งจังหวัดหนองคายเป็นจำนวนมากและยังมีความสัมพันธ์กันมาช้านานตั้งแต่อดีตจึงทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านภาษามาด้วยซึ่งถ้าเป็นสำเนียงภาษาหนองคายแท้ๆจะพูดภาษาไทยอีสานสำเนียงเหน่อคล้ายจะออกเป็นสำเนียงภาษาลาวเวียงจันทน์ แต่เมื่อฟังดีๆแล้วจะไม่ใช่ภาษาลาวเวียงจันทน์แต่เป็นภาษาไทยอีสาน และจะใช้ภาษาไทยกลางสื่อสารกันในเมือง
  • เพลงประจำจังหวัด

อันจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย อยู่ชายแดน ตามภูมิแผนที่ตั้งริมฝั่งโขง ภาคอีสานเรืองอร่ามเรืองอร่ามงามจรรโลง เกียรติดังโด่ง เป็นเมืองด่านบานประตู ชาวหนองคาย หนองคาย พี่น้องผองไทยกาจ ล้วนสามารถแสดงประจักษ์เป็นนักสู้ เคยชิงชัยห้าวหาญต้านศัตรู มิให้จู่โจมบุกรุกแดนไทย อันพี่น้องหนองคายชายก็ชาญ หญิงสะคราญหมดจดสวยสดใส ทุกคนเอื้ออารีมีนำใจ ถึงอยู่ไกลไมตรีสนิท เป็นมิตรเอย

กลุ่มชาติพันธุ์

เนื่องจากจังหวัดหนองคายมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวกว่า 195 กิโลเมตร และเป็นเมืองหน้าด่านในการทำสงครามในสมัยก่อน จึงทำให้มีการกวาดต้อนอพยพผู้คนจากทั้งฝั่งประเทศลาวและไทย (ในปัจจุบัน) ข้ามไปมา จึงทำให้มีกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ในจังหวัดหนองคาย แต่อย่างไรก็ตามในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ได้บ่งบอกว่ามีกลุ่มคนที่อาศัยเป็นเมืองอยู่ในบริเวณนี้อยู่เดิม ได้แก่ เมืองพานพร้าว (อำเภอศรีเชียงใหม่) เมืองปากห้วยหลวง (อำเภอโพนพิสัย) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรล้านช้าง

การอพยพที่สำคัญ ได้แก่

ในปัจจุบันกลุ่มคนที่อพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย ได้มีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กลมกลืนกับชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมจนแทบไม่เห็นความแตกต่าง ทั้งการแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ประเพณีต่าง ๆ จะสังเกตได้เฉพาะสำเนียงของภาษาพูด ที่ยังคงเหลือเค้าให้ทราบว่า เดิมเป็นชนเผ่าไหน ซึ่งพอจำแนก ได้ดังนี้

  • กลุ่มชาวไทอีสาน/ลาวอีสาน เนื่องจากเดิมเป็นอาณาจักรล้านช้างจึงนับเป็นกลุ่มลาวล้านช้างด้วยแต่ถึงอย่างไร หน้าตา ผิวพรรณ สำเนียงการพูด ก็แตกต่างจากชาวลาว จึงน่าจะเรียกว่าไทอีสาน ถือว่าเป็นกลุ่มชนที่มากที่สุดในจังหวัดหนองคาย
  • กลุ่มไทพวน มีถิ่นฐานเดิมจากเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว อาศัยอยู่ที่อำเภอศรีเชียงใหม่
  • กลุ่มไทลื้อ/ไทด่าน/ไทเหนือ เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางและอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอสังคมและอำเภอโพธิ์ตาก
  • กลุ่มคนญวน อพยพมาในสมัยสงครามอินโดจีน พร้อมๆ กับเจ้าเมืองจันทบุรี มาอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ

ตามประวัติศาสตร์เดิม มีกลุ่มคนที่เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ อพยพมาที่ จังหวัดหนองคาย มากกว่านี้ แต่ปัจจุบัน ไม่สามารถหาหลักฐาน หรือ สิ่งบอกเหตุว่าเป็นชนกลุ่มนั้นๆ หรือไม่ เนื่องจากมีการกลมกลืนกันเป็นไทอีสาน เกือบหมดแล้ว และมีบางส่วนที่เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นๆ มาตั้งถิ่นฐานในอำเภอรัตนวาปี และอำเภอโพนพิสัย ซึ่งเรียกว่า ไทครัว เพราะในหมู่บ้านหนึ่งๆ จะมาจากหลากหลายจังหวัดและไม่สามารถสืบสานชาติพันธุ์ได้และปัจจุบันก็กลมกลืนกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่เดิมเกือบหมดแล้ว

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ (นับเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคอีสาน โดยพื้นที่ทั้งหมดก่อนที่จังหวัดบึงกาฬจะแยกตัวไป มีประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร[3]) ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 - 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ดูบริเวณที่ตั้งของจังหวัดหนองคายจากกูเกิลแม็พ(คลิก)

[1]

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายมีลักษณะทอดยาวตามลำน้ำโขง จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีอาณาเขตติดกับนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยมีพื้นที่ทอดขนานยาวไปตามลำน้ำโขงมีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ทอดขนานไปตามลำน้ำโขงโดยเฉลี่ยประมาณ 20 – 25 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดอยู่ที่อำเภอเฝ้าไร่ และช่วงที่แคบที่สุดอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายมีอำเภอที่อยู่ติดกับลำน้ำโขง 6 อำเภอ คือ อำเภอสังคม อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอเมือง อำเภอโพนพิสัย และอำเภอรัตนวาปี และมีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศลาว คือ แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ

จังหวัดหนองคายมีจุดผ่านแดนไป ประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลีย-ไทย-ประเทศลาว ร่วมมือกันสร้างและเป็นประตูไปสู่อินโดจีน

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกได้เป็น 4 บริเวณ คือ

  • พื้นที่ค่อนข้างราบ ได้แก่ เขตอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ และอำเภอศรีเชียงใหม่ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา และปลูกพืชบริเวณริมน้ำโขง
  • พื้นที่เป็นคลื่นลอนลาด กระจายอยู่ทุกอำเภอเป็นหย่อมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ทำนาและปลูกพืชไร่ พืชสวนและป่าธรรมชาติ
  • พื้นที่เป็นคลื่นลอนชันและเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง เบญจพรรณ พบในเขตอำเภอสังคม
  • สภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มีความสูงชัน จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตร เป็นบริเวณเทือกเขาต่างๆ ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอสังคม[4]

เนื่องจากแม่น้ำโขงไหลผ่านอำเภอต่างๆ เกือบทุกอำเภอ จึงก่อให้เกิดประโยชน์ในการเกษตรกรรม ราษฎรได้อาศัยแม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง จะได้รับประโยชน์มากกว่าราษฎรที่อยู่ลึกเข้าไปจากแม่น้ำโขง นอกจากนี้สำนักงานพลังงานแห่งชาติได้จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในพื้นที่ 9 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 82 สถานี เพื่อทำการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำอื่น ๆ ขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตรกรรม

ลักษณะอากาศจัดอยู่ในจำพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง (ธ.ค. - ม.ค.) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มลดในเดือนพฤศจิกายนและต่ำสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม และร้อนจัดในเดือนเมษายน ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ (มิ.ย.- ก.ค.) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลง และในเดือนตุลาคมอุณหภูมิจะเริ่มลดลงจนอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุดรายปีอยู่ที่ 9.50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดรายปีอยู่ที่ 40.60 องศาเซลเซียสเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 26.46 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ที่ 1,843.6 มิลลิเมตรต่อปี[5][4]

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดหนองคาย
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.3
(84.7)
31.6
(88.9)
34.3
(93.7)
35.7
(96.3)
33.7
(92.7)
32.5
(90.5)
32.0
(89.6)
31.4
(88.5)
31.6
(88.9)
31.3
(88.3)
30.1
(86.2)
28.6
(83.5)
31.84
(89.32)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.2
(61.2)
18.6
(65.5)
21.4
(70.5)
23.8
(74.8)
24.3
(75.7)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.3
(75.7)
24.0
(75.2)
22.7
(72.9)
19.4
(66.9)
15.9
(60.6)
21.65
(70.97)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7.0
(0.276)
10.5
(0.413)
30.7
(1.209)
89.5
(3.524)
240.3
(9.461)
278.5
(10.965)
249.3
(9.815)
336.7
(13.256)
275.6
(10.85)
76.6
(3.016)
12.2
(0.48)
3.3
(0.13)
1,610.2
(63.394)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 2 3 5 8 17 19 20 22 18 9 2 1 126
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 62 ตำบล 678 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอตามหมายเลขในแผนที่ดังนี้

  1. อำเภอเมืองหนองคาย
  2. อำเภอท่าบ่อ
  3. อำเภอโพนพิสัย
  4. อำเภอศรีเชียงใหม่
  5. อำเภอสังคม
  6. อำเภอสระใคร
  7. อำเภอเฝ้าไร่
  8. อำเภอรัตนวาปี
  9. อำเภอโพธิ์ตาก

ประชากรในจังหวัด

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอ พ.ศ. 2557[6] พ.ศ. 2556[7] พ.ศ. 2555[8] พ.ศ. 2554[9] พ.ศ. 2553[10] พ.ศ. 2552[11] พ.ศ. 2551[12]
1 เมืองหนองคาย 148,485 147,386 146,248 145,507 145,472 144,565 145,153
2 โพนพิสัย 98,084 97,835 97,585 97,184 97,321 96,622 96,580
3 ท่าบ่อ 82,948 82,775 82,723 82,634 82,859 82,813 83,954
4 เฝ้าไร่ 51,952 51,659 51,425 50,914 50,708 50,568 50,523
5 รัตนวาปี 38,599 38,352 38,199 37,897 37,602 37,345 37,301
6 ศรีเชียงใหม่ 30,687 30,691 30,579 30,599 30,749 30,735 31,031
7 สระใคร 26,426 26,284 26,067 25,926 25,838 25,675 25,559
8 สังคม 24,776 24,602 24,379 24,090 23,840 23,664 23,552
9 โพธิ์ตาก 15,303 15,359 15,234 15,119 15,006 14,939 14,892
รวม 517,260 514,943 512,439 509,870 509,395 506,926 508,545

เศรษฐกิจ

การเกษตร

ประชากรโดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เพื่อการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 57.29 ของพื้นที่จังหวัด หรือ 2,625,441 ไร่ ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว (นาปี) และยางพารา

นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ ไก่ไข่ สุกร โคพื้นเมือง เป็ดไข่ ไก่เนื้อ กระบือ เป็ดเนื้อ และโคพันธุ์ ส่วนด้านการประมงนั้น มีทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ กระชัง การจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ การจับสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง และการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำอื่นๆ[13][14]

อุตสาหกรรม

ทางด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดหนองคาย คือ โรงสีข้าว อุตสาหกรรมยางพารา และอุตสาหกรรมแปรูปไม้ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ คือ อัดเศษโลหะ อัดเศษกระดาษและบดย่อยพลาสติก ซ่อมรถยนต์ ทำน้ำแข็งก้อนเล็ก ห้องเย็นทำวงกบประตูหน้าต่าง และเครื่องเรือนเครื่องใช้จากไม้ ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 1,171 โรงงาน[15]

รายชื่อสาขาธนาคารในจังหวัดหนองคาย

ประเพณีและวัฒนธรรม

ประชาชนชาวจังหวัดหนองคาย ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนคนไทยทั่วไปในภาคอีสาน คือ ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นแนวทางการดำรงชีวิตซึ่งทำให้แดนอีสานอยู่กันด้วยความผาสุก ร่มเย็นตลอดมา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปีฮีดสิบสอง ดังนี้ เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม เดือนยี่บุญคูณลาน เดือนสามบุญข้าวจี่ เดือนสี่บุญพระเวส เดือนห้าบุญสรงน้ำหรือบุญตรุษสงกรานต์ เดือนหกบุญบั้งไฟ เดือนเจ็ดบุญชำฮะ เดือนแปดบุญเข้าพรรษา เดือนเก้าบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบบุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษา และเดือนสิบสองบุญกฐิน

เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์อีสาน-หนองคาย

เป็นงานประจำปีจัดขึ้นที่วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวงชั้นตรี) มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระใสลงมาจากพระอุโบสแล้วแห่รอบเมือง ในวันที่ 13 เมษายนเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ มีการทำบุญตักบาตรวันสงกรานต์ เฉลิมฉลองหลวงพ่อพระใสที่ศาลาหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย มีงานรื่นเริงการละเล่นพื้นเมือง การกีฬาท้องถิ่น และมหรสพ 5 วัน 5 คืน จนกระทั่งถึงวันที่ 18 เมษายน จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อพระใสกลับขึ้นไปประดิษฐานยังพระอุโบสถตามเดิม ซึ่งทางจังหวัดได้จัดขึ้นทุกปี

งานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ

ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทอง ฝีมือของช่างฝ่ายเหนือและช่างล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก สร้างเมื่อ พ .ศ. 2105 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หล่อโดยใช้ทองคำ ทองเหลือง และเงินผสมกัน รวมน้ำหนักได้ 1 ตื้อ (ตื้อ เป็น มาตราโบราณของอีสาน) ใช้เวลาในการสร้าง 7 ปี 7 เดือน ทางจังหวัดได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

งานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ

จัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี ที่บริเวณอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ภายในงานจะมีการแสดงและการละเล่น มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก

บุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้ปฏิบัติกันมานาน เกี่ยวกับการบูชาเทวดาขอฟ้าขอฝน ตามความเชื่อและโบราณกาล เป็นงานใหญ่โตมาก มีการจัดประกวดบั้งไฟประเภทตกแต่งสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ ประกวดขบวนแห่ และการจุดขึ้นสูงสุด จัดทำในวันเพ็ญเดือน 6 (พฤษภาคม)และวันเพ็ญ เดือน 7 (มิถุนายน)(จังหวัดหนองคายจะจัดบุญบั้งไฟทั้งเดือน6และเดือน7) ของทุกปี จังหวัดหนองคายได้จัดเป็นการแสดงแสงสีเสียงตำนานบั้งไฟพญานาค เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) แล้วมีเรื่องราวไม่ถูกใจกับพญาแถน (พระอินทร์) จึงสาบให้แผ่นดินแห้งแล้งจนพญาคันคากแนะนำให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟถวายจนฝนตกลงมาในที่สุด

แห่เทียนเข้าพรรษา

เป็นงานประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษา ประชาชนตามคุ้มต่างๆ ได้จัดทำต้นเทียนขี้ผึ้งล้วน ทำลวดลายสวยงามประดับดอกไม้ มีการประกวดลวดลายสวยงามของต้นเทียนขบวนแห่มีรางวัล จัดให้มีในคืนวันเพ็ญวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันอาสาฬบูชา ของทุกปี

แข่งเรือ

เป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่จัดขึ้นก่อนวันออกพรรษา จัดให้มีการแข่งเรือยาวในลำน้ำโขง โดยประชาชนในคุ้มต่างๆ ได้จัดเรือแข่งจากอำเภอและบางปีก็มีเรือจากประเทศลาวมาร่วมการแข่งขันด้วย เป็นการแสดงถึงความสามัคคีไมตรีที่มีต่อกันมานานโดยจัดให้มีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

แห่ปราสาทผึ้ง

เป็นประเพณีของท้องถิ่นเก่าแก่ ซึ่งทางจังหวัดได้จัดให้มีขึ้นควบคู่กันกับงานแข่งเรือ มีการจัดทำปราสาทผึ้งประกวด และนำลงเรือยนต์ล่องไปตามลำน้ำโขง กลางคืนมีการไหลเรือไฟประดับดวงไฟมากมาย และดูทิวทัศน์แสงไฟกระทบพื้นน้ำยามกลางคืนสวยงามมาก เพื่อนมัสการพระธาตุหล้าหนอง (วัดและองค์มหาเจดีย์ได้พังลงน้ำโขงเมื่อปี พ.ศ. 2390) อยู่หน้าวัดสิริมหากัจจายน์ อำเภอเมืองหนองคาย จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 11 จัดพร้อมกันกับงานแข่งเรือประจำปี

วันออกพรรษา

จัดเป็นงานต่อจากวันแห่ปราสาทผึ้งและแข่งเรือ เป็นวันทำบุญประจำของท้องถิ่น มีการตักบาตรเทโวภายในเขตอำเภอเมือง ประชาชนท้องถิ่นถือเป็นวันสำคัญยิ่งไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพอยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ เมื่อถึงกำหนดวันทำบุญออกพรรษาแล้ว คนส่วนมากจะเดินทางกลับบ้านเพื่อทำบุญอุทิศกุศลแก่บรรพบุรุษตามประเพณีนิยมที่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาแต่โบราณกาล

ลอยเรือไฟบูชาพญานาค

บั้งไฟพญานาคแม้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติตามลำน้ำโขงมานานหลายปีแล้วตามคำร่ำลือของชาวบ้าน แต่เพิ่งจะได้รับส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวของจังหวัดหนองคายไม่กี่ปีมานี้เอง บั้งไฟพญานาคเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นมาจากใต้แม่น้ำโขง พุ่งลอยขึ้นสู่อากาศ ประมาณ 20 - 30 เมตร แล้วก็หายไป ลูกไฟไม่จำกัดบริเวณที่เกิดและเกิดไม่ค่อยซ้ำที่บริเวณนั้น ขนาดของลูกไฟก็มีหลายขนาด เช่น ขนาดโตเท่าผลส้ม ขนาดกลางเท่าไข่ไก่ ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ เวลาที่เกิดขึ้นไม่แน่นอนแต่ต้องมืดค่ำแล้ว บางทีเกิดตั้งแต่หัวค่ำ ประมาณ 6 โมงเย็น บางปีเริ่มเกิด 2 - 3 ทุ่ม และจะเกิดไปอีกประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง จึงจะค่อยๆ หมดลง จำนวนลูกไฟที่เกิดขึ้นบริเวณหนึ่งๆ มีจำนวนไม่แน่นอน สถานที่เกิดนั้นจะอยู่ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี บั้งไฟพญานาคจะเกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ เดือน 11 หรือแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี และทางจังหวัดได้จัดงานลอยเรือไฟบูชาพญานาค ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงใกล้วัดสิริมหากัจจายน์ (วัดธาตุ) อำเภอเมือง โดยจัดเป็นประเพณีทุกปี

การคมนาคม

ระยะทางจากจังหวัดหนองคายไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง โดยประมาณ คือ

รถยนต์

จากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จนไปถึง หนองคาย

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งหนองคาย มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และจากหนองคายไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น

  • สาย 23 กรุงเทพฯ - หนองคาย ของ ชาญทัวร์ แอร์อุดร เชิดชัยทัวร์ 407 พัฒนา บุษราคัมทัวร์ รุ่งประเสริฐทัวร์
  • สาย 590 หนองคาย - ระยอง ของ 407 พัฒนา
  • สาย 507 หนองคาย - เลย
  • สาย 224 อุดรธานี - หนองคาย - นครพนม
  • สาย 221 หนองคาย - อุดรธานี
  • สาย 776 หนองคาย - ภูเก็ต ของชาญประเสริฐทัวร์
  • บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด กรุงเทพ - หนองคาย หนองคาย-กรุงเทพ ให้บริการรถ NCA First Class 15เมตร และอื่นๆ

รถโดยสารระหว่างประเทศ

รถไฟ

การรถไฟแห่งประเทศไทยมีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ - หนองคาย ทุกวัน โดยออกจากสถานีหนองคายไปยังอุดรธานี ขอนแก่น และกรุงเทพฯ วันละ 3 เที่ยว สถานีรถไฟหนองคาย

การคมนาคมในตัวจังหวัดหนองคาย

  • รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
  • รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
  • แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

เครื่องบิน

ต้องลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีจากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

ไฟล์:Nkc 86011713544421.jpg
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

ระดับอาชีวศึกษา

โรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย

  • โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร เกิดจากการรวมสถานศึกษาสองแห่งคือ โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร (เดิม) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด (ชายล้วน) และโรงเรียนสตรีหนองคายปทุมเทพรังสรรค์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด (หญิงล้วน) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2510 จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร" ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหนองคายจนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนสังกัดท้องถิ่นจังหวัด

สังกัด อบจ.หนองคาย

สังกัด เทศบาลเมืองหนองคาย

  • โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา
  • โรงเรียนเทศบาล 2 ชำนาญอนุเคราะห์
  • โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง (www.yuwaboon3.ac.th)
  • โรงเรียนเทศบาล 4 ฉลองรัตน
  • โรงเรียนเทศบาล 5 มีชัยวิทยา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย (www.nkmvc.ac.th)

สังกัด เทศบาลเมืองท่าบ่อ

  • โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ

โรงเรียน

ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดหนองคาย

ประชากรมีระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น มีจำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 324 โรงเรียน สังกัด สพป. เขต 1 – 2 รวม 267 โรงเรียน และเอกชน 26 โรงเรียน สังกัด สพม. เขต 21 รวม 31 โรงเรียน

สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว

หลวงพ่อพระใส
ไฟล์:ทะเลหมอกภูห้วยอีสัน.JPG
ทะเลหมอกภูห้วยอีสัน
ไฟล์:คกอาน.jpg
คกอาน(แก่งคกอาน)
ไฟล์:แก่งก้อนแดง-หาดแห่2.jpg
แก่งก้อนแดง-หาดแห่
ไฟล์:หนองปลาบึก.jpg
หนองปลาบึก(อินเลแห่งหนองคาย)
ไฟล์:หาดทรายขาว 2.jpg
หาดทรายขาว
ไฟล์:หาดคกอาน2.jpg
หาดคกอาน
ไฟล์:ฟาร์มจระเข้หนองคาย.jpg
ฟาร์มจระเข้หนองคาย

อำเภอเมือง

อำเภอท่าบ่อ

อำเภอศรีเชียงใหม่

  • วัดอรัญบรรพต พระสุธรรมเจดีย์
  • พระธาตุขาว
  • วัดหินหมากเป้ง
  • น้ำตกวังมอก (น้ำตกวังน้ำมอก)
  • ป่าชุมชน"ภูผีปอบ"
  • สถานีประมงน้ำจืด (บ้านหัวทราย)

อำเภอโพนพิสัย

อำเภอโพธิ์ตาก

  • โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยทอนตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • น้ำตกห้วยไทรทอง (น้ำตกห้วยหินขาว)
  • วัดโนนทองศรีแก้ว (หลวงพ่อใหญ่ในโบสถ์)
  • วัดถ้ำพระฤๅษี
  • วัดเวฬุวัน (ถ้ำพระ)
  • วัดถ้ำดาลกอก
  • วัดป่าบ้านน้ำทอนใต้
  • วัดห้วยหินขาว
  • วัดอรัญญา (ดงนาคำ)
  • วัดเทพนิมิตวิทยาราม
  • วัดศรีสังวร
  • วัดบ้านไร่
  • วัดอรัญญาสุนทราลัย
  • วัดโพธิรุกขาราม
  • วัดสว่างอุทัย

อำเภอสังคม

  • วัดถ้ำศรีมงคล (วัดถ้ำดินเพียง)
  • วัดผาตากเสื้อ
  • ทะเลหมอกภูอีห้วยสัน
  • ทะเลหมอกภูผาดัก(ภูผาดัก)
  • หนองปลาบึก
  • คกอาน(แก่งคกอาน)
  • ภูโล้น
  • ภูห้วยเซียงดา
  • ภูหอ
  • ภูป่าซาง
  • น้ำตกธารทิพย์
  • น้ำตกธารทอง
  • เหมืองทองโบราณ
  • แก่งก้อนแดง-หาดแห่
  • ไร่ข้าวโพดบ้านวังมน
  • แก่งพาล (แกรนด์แคนยอนหนองคาย)
  • แก่งก้อนค้าง
  • น้ำตกท่าลี่
  • น้ำตกตาดเซา
  • ก้อนแท่นบรรทม
  • จุดชมวิวบ้านหนอง
  • จุดชมวิวบ้านม่วง
  • ก้อนแข่(ก้อนจระเข้)
  • หาดแสน
  • หาดทรายขาว
  • หาดคกอาน

อำเภอรัตนวาปี

  • ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย
  • พระบาทนาหงส์ วัดพระบาทนาหงส์

อำเภอเฝ้าไร่

  • สิมวัดกุดแคน (อดีตสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11)
  • อ่างเก็บน้ำห้วยงู

อำเภอสระใคร

  • วัดมฤคทายวัน (วัดดงแขม)
  • โครงการสองพลัง ผู้ยิ่งใหญ่ สู้ภัยแล้ง อำเภอสระใคร ณ บ้านห้วยทราย
  • วัดนิเวศคชสาร
  • วัดเกษตรโกสับ


สถานที่พัก


อันดับที่สำคัญ

  • จังหวัดหนองคายได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Modern Maturity ของสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2544 ว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุชาวอเมริกันอันดับที่ 7 ของโลก[16]
  • จังหวัดหนองคายได้รับพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย

บุคคลที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  3. "The Money Drop ไทยแลนด์ 3 พ.ค.58 3/3". ช่อง 7. 3 May 2015. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดหนองคาย, บรรยายสรุปจังหวัดหนองคาย
  5. กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปลักษณะอากาศรายปี
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  13. รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดหนองคาย ปี 2554 และแนวโน้มปี 2555 ณ เดือนกันยายน 2554
  14. กระทรวงพลังงาน, ฐานข้อมูลพลังงาน จ.หนองคาย
  15. รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย
  16. http://207.5.46.81/tat_news/detail.asp?id=963

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

17°53′N 102°44′E / 17.88°N 102.74°E / 17.88; 102.74