ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดิอิมพอสซิเบิ้ล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
==สรุปผลงาน==
==สรุปผลงาน==
===สตูดิโออัลบั้ม===
===สตูดิโออัลบั้ม===
* เป็นไปไม่ได้ (2515)
* [[เป็นไปไม่ได้]] (2515)
* หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (2516)
* หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (2516)
* [[Hot pepper]](2519)
* [[Hot pepper]](2519)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:39, 8 ตุลาคม 2559

ดิอิมพอสซิเบิ้ล
ไฟล์:TheImpossibles.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
แนวเพลงป็อป, แจ๊ซ-ร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2509-2520
ค่ายเพลงนิธิทัศน์ โปรโมชั่น
สมาชิกวินัย พันธุรักษ์ (กีตาร์)
เศรษฐา ศิระฉายา (กีตาร์-ร้องนำ)
เรวัต พุทธินันทน์ (คีย์บอร์ด-ร้องนำ)
ปราจีน ทรงเผ่า (คีย์บอร์ด-ทรอมโบน)
อนุสรณ์ พัฒนกุล (กลอง)
สุเมธ แมนสรวง (ร้องนำ-ออร์แกน)
พิชัย ทองเนียม (เบส)
สิทธิพร อมรพันธ์ (กีตาร์) (เสียชีวิตแล้ว)
ยงยุทธ มีแสง (ทรัมเปต)
สมชาย กฤษณเศรณี
ปรีดิ์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา (กลอง)
ไพฑูรย์ วาทยะกร

ดิอิมพอสซิเบิ้ล หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ดิอิม เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆ ของไทย มีชื่อเสียงในยุค 70 ก่อนจะยุบวงในปี พ.ศ. 2520 แต่ผลงานเพลงของวงยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

ก่อตั้ง

ดิอิมพอสซิเบิ้ลตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีสมาชิกรุ่นแรกประกอบด้วย วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา ใช้ชื่อวงว่า Holiday J-3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น จอยท์ รีแอ็กชั่น เล่นดนตรีเพลงสากลที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงของคลิฟ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ บางเพลงนำทำนองเพลงต่างประเทศที่เป็นที่นิยม มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับวงอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่น ซิลเวอร์แซนด์ รอยัล สไปรท์ส เล่นดนตรีตามไนท์คลับต่างๆ

วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน [1] ในช่วงปี 2512-2515 วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ จากสหรัฐอเมริกา คือเรื่อง The Impossibles (1966) [2][3]

โด่งดัง

ช่วงหลังจากชนะเลิศในปีแรก ความนิยมได้พุ่งสูงอย่างมากมาย วงดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้รับการชักชวนจากเปี๊ยก โปสเตอร์ ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ให้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน วงดิ อิมพอสซิเบิ้ล จึงได้บันทึกเสียงงานเพลงของตัวเองครั้งแรกในปลายปี พ.ศ. 2512 ในเพลงเริงรถไฟ ,ชื่นรัก และ ปิดเทอม เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้

หลังจากภาพยนตร์เรื่องโทน ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 และประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ค่ายหนังสุวรรณ ฟิล์ม ได้ออกอัลบั้มชุดเพลงประกอบภาพยนตร์โทน ในเวลาต่อมา ซึ่งอัลบั้มดังกล่าวถือเป็นอัลบั้มที่มีการบันทึกเสียงเสียงครั้งแรกของวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล และทำเป็นแผ่นเสียง โดยมีเพลงของทางวงอยู่ 3 เพลง

ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในขณะเดียวกันก็เกิดความเปลี่ยนแปลง สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออกไป และได้สิทธิพร อมรพันธุ์ จากวงฟลาวเวอร์กับ ปราจีน ทรงเผ่า จากวงเวชสวรรค์ ได้เข้าร่วมวงแทน ระยะเวลานั้นดิอิม เล่นประจำอยู่ที่ศูนย์การค้าเพลินจิต แห่งเดียว ส่วนการแสดงตามโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ไทย หรือการแสดงในรอบเช้า 6.00 นาฬิกา ร่วมกับการฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในยุคนั้น (ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เก๋า..เก๋า พ.ศ. 2549 ได้นำเสนอบรรยากาศของเรื่องการแสดงรอบเช้าของดิอิมด้วย ถึงจะไม่เหมือนไปทุกอย่าง แต่ก็ทำได้ใกล้เคียงและทำให้เห็นบรรยากาศในยุคนั้นได้ดีทีเดียว) ได้รวมถึงการแสดงตามเวทีลีลาศทั้งที่สวนลุมพินี สวนอัมพร ซึ่งมีขึ้นประจำทุกวันศุกร์หรือเสาร์ ช่วงปี 2511-2515 กลายเป็นปีทองของวงดิอิมอย่างแท้จริงราวปี พ.ศ. 2516-2518

ออกแสดงต่างประเทศครั้งแรกและความเปลี่ยนแปลงในวง

ดิอิมพอสซิเบิ้ล มีชื่อเสียง และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ผลงานแผ่นเสียงขายดีที่สุดในยุคนั้น ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในกลางปี 2515 ดิอิมพอสซิเบิ้ล ได้รับทาบทามให้ไปทำการแสดงที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ได้เพิ่มยงยุทธ มีแสง ทรัมเป๊ตจากวงวิชัย อึ้งอัมพร ร่วมวงไปด้วย ตลอดเวลา 1 ปีใน ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิลส์ได้รับความนิยมและความสำเร็จมากมาย เป็นวงดนตรีแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดตั้งแต่เปิดทำการของคลับที่แสดงอยู่ชื่อ ฮาวายเอี้ยนฮัท โรงแรมอลาโมอานา (ที่มีศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน) ดิอิมซ้อมหนักมาก พิชัย ทองเนียม มือเบส ขอลาออก เศรษฐาต้องไปเล่นเบส ทำให้ไม่สะดวกในการร้องนำ จึงทำให้เกิดความคิดที่จะเรียกเรวัติ พุทธินันท์(เต๋อ) นักร้องนำวงเดอะแธ้งค์ ซึ่งเคยเล่นสลับที่อิมพอสสิเบิลส์คาเฟ่มาเป็นนักร้องนำแทนเศรษฐา ช่วงที่เต๋อเข้ามาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นของการบรรเลง โดยได้เน้นเพลงที่มีเครื่องเป่ามากขึ้น และเป็นเพลงที่เหมาะกับการเต้น เช่นเพลงของวง Tower of Power เป็นต้น ขณะที่แสดงที่นั้นได้มีนักร้องศิลปินดัง ๆ ของโลกมาเปิดการแสดงที่ฮาวาย ทำให้วงดิอิม ได้ใช้ประสบการณ์ในการเข้าชมศิลปินดัง ๆ เหล่านี้มาปรับปรุงการแสดงของวงให้พัฒนาขึ้นตลอดเวลา

ดิอิมหมดสัญญาที่ฮาวายในเดือนสิงหาคม 2516 และได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมกับผู้จัดการวงใหม่ ชื่อจรัล นันทสุนานนท์(ปัจจุบัน ดร.พุทธจรัล) เพื่อให้มีการจัดการวงในรูปแบบสากลอย่างมีระบบ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2516 หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ดิอิม ได้เข้าทำการแสดง ณ เดอะเดนไนท์คลับ โรงแรมอินทรา ประตูน้ำเป็นเวลา 6 เดือน และที่เดอะเดนนี้เอง ดิอิม ได้สร้างระบบใหม่ในการเข้าชมของวง โดยมีการเก็บค่าชม ก่อนการเข้าไปในคลับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของเมืองไทยและวงดนตรีไทย ในช่วงนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ได้สมชาย กฤษณเศรณี(ปึ๊ด) มาเล่นเบสแทนเศรษฐา และปรีด์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก)มาเล่นกลองแทนอนุสรณ์ พัฒนกุล ได้ให้เรวัติเป็นนักร้องนำและเล่นออร์แกน เศรษฐาได้กลับไปเป็นนักร้องนำตามเดิม

ดิอิมฯ ในยุโรปเหนือ

การเดินทางเริ่มขึ้นอีกครั้งหลังหมดสัญญาที่เดอะเดน วงดิอิมได้รับการติดต่อไปแสดงในประเทศแถบสแกนดิเนียเวีย เริ่มจากสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงธันวาคม 2517 จากนั้นกลับเมืองไทย และเปลี่ยนมือเบส ไพฑูรย์ วาทยะกร เข้ามาแทนสมชาย เดือนมิถุนายน 2518 ไปยุโรปอีกครั้ง เริ่มที่สวีเดน ฟินแลนด์ ข้ามไปสวิตเซอร์แลนด์ กลับมาสวีเดนอีกและไปจบที่สวิสในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 กลับเมืองไทย เล่นที่โรงแรมมณเฑียรเหมือนเดิม

ในปี 2518 ระหว่างการกลับไปตระเวณแสดงในยุโรปครั้งที่ 2 ดิอิมพอสสิเบิ้ล ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวง ในชื่ออัลบั้ม Hot pepper

ยุคปลาย

หลังจากนี้ถือได้ว่าเกือบเป็นปลายยุคของวง ได้มีการประชุมตกลงที่จะยุบวง หลังจากวงมีอายุรวมกันมาถึง 9 ปี มีการแถลงข่าวยุบวงอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชนช่วงเดือนเมษายน 2519 หลังจากนั้นได้เดินทางไปเล่นที่โรงแรมมาเจสติค กรุงไทเป ไต้หวัน โดยทำสัญญาเดือนต่อเดือน พอเริ่มทำงานหมดเดือนแรก เรวัติออกไปก่อน และได้เดินทางไปทำงานที่สวีเดน 3 เดือน ในไต้หวันทำงานค่อนข้างหนัก เพราะต้องแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน (1 มิถุนายน-4 กันยายน 2519) หลังกลับเมืองไทยดิอิมได้แสดงในช่วงสุดท้ายที่คลับโรงแรมแมนฮัตตัน ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ และที่เดอะฟ๊อกซ์ ชั้นใต้ดินศูนย์การค้าเพลินจิต โดยทำการแสดงคืนละ 3 แห่ง ในราวเดือนตุลาคม 2519 ก็ได้หยุดทำการแสดงอย่างเป็นการถาวรในนาม ดิอิมพอสซิเบิ้ล วงดนตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานของวงดนตรีสากลแบบสตริงคอมโบ วงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นของประเทศไทยต่อมาในช่วงพ.ศ. 2533ทางวงได้กลับมาออกอัลบั้มอีกครั้งกับนิธิทัศน์ โปรโมชั่นโดยเป็นการนำเอาเพลงยอดนิยมมาออกใหม่

สรุปผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม

อีพี

  • ทัศนาจร (2516)

ผลงานการแสดงดนตรี [4]

(จากการบันทึกของสมาชิกวงพิชัย ทองเนียม และปราจีน ทรงเผ่า หนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles)

ช่วงปี 2509-2512 (ยุคเริ่มต้น)
  • Holiday Carden ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Holiday J-3)
  • Wachington Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Joint Reaction)
  • Progress Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
  • Las Vegas Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
ช่วงปี 2512-2517 (หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)
  • The Fire Cracker Club โรงแรม First ประตูน้ำ
  • The impossibles Cafe ศูนย์การค้าประตูน้ำ ปทุมวัน
  • ศาลาแดง ฮอลล์ ตรงข้างสวนลุมพินี (สลับกับวงวิชัย อิ้งอัมพร)
  • Hawaiian Hut Ala Moana Hotel Honolulu Hawai U.S.A. - การแสดงต่างประเทศครั้งแรก
  • The Den โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
ช่วงปี 2517(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1974)
  • Europa Hotel - Gothenberg Sweden
  • Norrköping - Sweden
  • Monday Club - Stockholm Sweden
  • Hesperia Hotel - Helsinki Finland
  • Rainbow Club - Oslo Norway
  • Noimalman - Stockholm Sweden
  • Borsen Club - Stockholm Sweden
  • Sundsvall - Sweden
  • Grand Central Hotel - Gävle Sweden
  • Hotel Jonkoping -Sweden
  • New Yaki Club - Gothenberg Sweden
  • แอน แอน ครับ - โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทยชั่วคราว)

ช่วงปี 2518-2519 (ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1975-1976)

  • Tragarn Restaurant - Gothenberg Sweden
  • Hesperia Hotel - Helsinki Finland
  • Malibu Club Basle - Switzerland
  • New Yaki Club - Gothenberg Sweden
  • Grinderwald - Switzerland
  • Mascot Club Zurich - Switzerland
  • Babalu Club Bern - Switzerland
  • แอน แอน คลับ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทย 2519|1976)
  • ประกาศยุบวงในเดือนเมษายน 2519 ขณะเล่นที่ แอน แอน คลับ
  • หลังประกาศยุบวงยังได้กลับมาวงตัวไปแสดงที่ ไต้หวัน ช่วง 1 มิถุนายน - 4 กันยายน 2519 Majestic Club Majestic Hotel - Taipei Taiwan
  • ตุลาคม 2519 กลับเมืองไทย เล่นส่งท้าย (ประมาณ 14 วัน) คืนละ 3 แห่ง ที่ แมนฮัตตัน คลับ สุขุมวิท, ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ, เดอะ ฟอกซ์ ศูนย์การค้าเพลินจิต

เพลงประกอบภาพยนตร์

  • เริงรถไฟ-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2512)
  • ปิดเทอม-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2512)
  • ชื่นรัก-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2512)
  • รักกันหนอ-จากภาพยนตร์เรื่อง รักกันหนอ (2513)
  • เจ้าพระยา-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • ลำนำรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • ล่องวารี-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • เริงทะเล-จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย (2514)
  • ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
  • ไปตามดวง-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
  • หนาวเนื้อ-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
  • ผม-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
  • โลกของเรา-จากภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก (2514)
  • น้ำผึ้งพระจันทร์(ร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร)-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
  • ใจหนุ่มใจสาว-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
  • มันไหนล่ะ-จากภาพยนตร์เรื่อง สายชล (2514)
  • จันทร์เพ็ญ-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • ดีด สี ตี เป่า-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • ความหวัง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • หาดสีทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • สายใยชีวิต-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
  • จูบฟ้า ลาดิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
  • มิสเตอร์สโลลี่-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
  • ข้าวเปลือก-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
  • ค่าของคน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
  • ค่าของรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
  • ค่าของเงิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
  • รอรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
  • หนึ่งในดวงใจ-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
  • เดอะทีนเอจ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
  • ทะเลไม่เคยหลับ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
  • ครองจักรวาล-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
  • โลกมายา-จากภาพยนตร์เรื่อง สาวกอด (2515)
  • โอ้รัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โอ้รัก (2515)
  • หัวใจเหิร-จากภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์สองแผ่นดิน (2515)
  • ยอดเยาวมาลย์-จากภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง (2515)
  • ไม่มีคำตอบจากสวรรค์-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
  • ทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง (2516)
  • ข้าวนอกนา-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
  • ชีวิตคนดำ-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
  • เกลียดคนสวย-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
  • ตัดเหลี่ยมเพชร-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • แล้วเธอจะรู้-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • ราตรีที่แสนเหงา-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • The Great Friday(บรรเลง)-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • ดับสุริยา-จากภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา (2519)
  • คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
  • ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมีรงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้

เพลงที่มีชื่อเสียง

  • เป็นไปไม่ได้
  • เริงทะเล
  • ชื่นรัก
  • ทะเลไม่เคยหลับ
  • โอ้รัก
  • ไหนว่าจะจำ
  • คอยน้อง
  • หนาวเนื้อ
  • หนึ่งในดวงใจ
  • จูบฟ้า ลาดิน
  • ชั่วนิจนิรันดร
  • ขาดเธอ ขาดใจ
  • ทัศนาจร
  • ชาวดง
  • นกขมิ้น
  • ข้าวนอกนา
  • เกลียดคนสวย
  • ชีวิตคนดำ
  • ผมไม่วุ่น
  • ฯลฯ

สิ่งสืบเนื่อง

  • วง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ เก๋า..เก๋า โดยเป็นเนื้อเรื่องเมื่อวงพอสซิเบิ้ลได้เจออุปกรณ์วิเศษคล้ายไมโครโฟนจึงพาข้ามมาปรากฏตัวในปี พ.ศ. 2549 [5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น