ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แสน ส.เพลินจิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายป้ายโครงการวิกิประเทศไทยไปหน้าพูดคุย
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
[[หมวดหมู่:นักมวยสากลชาวไทยรุ่นฟลายเวท|สแน ส.เพลินจิต]]
[[หมวดหมู่:นักมวยสากลชาวไทยรุ่นฟลายเวท|สแน ส.เพลินจิต]]
[[หมวดหมู่:ชาวปทุมธานี|สแน ส.เพลินจิต]]
[[หมวดหมู่:ชาวปทุมธานี|สแน ส.เพลินจิต]]
[[หมวดหมู่:แชมป์โลก WBA]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:17, 2 สิงหาคม 2550

แสน ส.เพลินจิต
ไฟล์:1136885066.jpg
ชื่อจริงสมชาย เชิดฉาย
ฉายาโผน 2
รุ่นฟลายเวท
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2514
จังหวัดปทุมธานี
ชกทั้งหมด27
ชนะ26
ชนะน็อก6
แพ้1
เสมอ-
ผู้จัดการเสถียร เสถียรสุต
ทรงชัย รัตนสุบรรณ
เทรนเนอร์อิสมาแอล ซาลาส (คิวบา)

แสน ส.เพลินจิต แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) แชมป์โลกคนที่ 19 ของไทย มีชื่อจริงว่า สมชาย เชิดฉาย มีชื่อเล่นว่า เหน่ง เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ที่ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี เป็นบุตรชายของนายละเอียด และนางทิพย์ เชิดฉาย มีฐานะทางบ้านยากจนมาก แสนต้องชกมวยตั้งแต่เด็ก โดยหัดมวยกับ จ.ส.อ.ทวนชัย โล่ห์เงิน ในชื่อ " ซุปเปอร์เหน่ง โลห์เงิน " ได้ค่าตัวในการชกครั้งแรก 110 บาท แต่เนื่องจากเป็นมวยที่ชกสนุก เดินหน้าตลอด จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น " เดินหน้า โล่ห์เงิน " แสนได้โอกาสชกสากลอาชีพครั้งแรก เมื่อมวยสากลที่เวทีราชดำเนินขาดคู่ แสนจึงกลายเป็นมวยแทนขึ้นชกแทน ซึ่งก็ฉายแวว โดยเอาชนะ สีหราช ช.ไวคุล ไปได้อย่างงดงาม จากนั้น แสนจึงกลายเป็นมวยสากลชกประจำที่เวทีราชดำเนิน และได้เข้าตา เสถียร เสถียรสุต เจ้าของค่าย " ส.เพลินจิต " จึงถูกนำมาสร้างอย่างจริงจังในแบบมวยสากลอาชีพ และเปลี่ยนชื่อเป็น " แสน ส.เพลินจิต "

แสนถูกสร้างอย่างมีขั้นตอน ชกไต่อันดับไปเรื่อย ๆ จนได้ติดอันดับโลก และขึ้นชิงแชมป์กับเดวิด กรีแมน นักมวยชาวเวเนซุเอลา ผู้เคยชิงแชมป์กับเขาทราย แกแล็คซี่มาก่อน ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งแสนก็สามารถทำได้ โดยชนะคะแนนไป แสน เป็นนักมวยที่มีเชิงชกสวยงาม มีความรวดเร็ว เป็นมวยหมัดไม่หนัก แต่ชกได้ไวโดยเฉพาะหมัดแย็บ ซึ่งชั้นเชิงแบบนี้ละม้ายคล้ายกับ " โผน กิ่งเพชร " อดีตแชมป์โลกคนแรกของไทย จึงได้ฉายาว่า " โผน 2 " แสน เป็นนักมวยที่เรียกได้ว่าได้รับความนิยมจากแฟนมวยอย่างมากทีเดียวในสมัยนั้น เพราะชกได้สนุก และผู้ท้าชิงของแสนแต่ละรายนั้น ล้วนแต่มีดีกรีเป็นนักชกชั้นดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นอดีตแชมป์โลก เช่น เฮซุส โรฮาส, อคิวเลส กูซแมน, คิม ยอง กัง เป็นต้น โดยเฉพาะไฟท์ที่ประทับใจอย่างที่สุด คือ การป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 6 กับ ฮิโรกิ อิโอกะ นักมวยชาวญี่ปุ่น อดีตคู่ปรับของนภา เกียรติวันชัย โดยชนะทีเคโอในยกที่ 10 ถึงเมืองโอซาก้า ถิ่นของอิโอกะเลยทีเดียว ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2538 และหลังการชก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชสาสน์แสดงความยินดีมาแก่แสนและคณะ มีใจความว่า ทรงทอดพระเนตรการชกของแสนผ่านโทรทัศน์ โดยผ่านมาทางสถานกงสุลไทย ณ. นครโอซาก้า และต่อมาแสนได้รับรางวัลนักกีฬาอาชีพยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2538 อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2539 แสนป้องกันตำแหน่งอีก 3 ครั้ง ชนะรวด แต่ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของปีนั้น แสนต้องเสียตำแหน่งไปในการป้องกันครั้งที่ 10 กับ โฮเซ่ โบนิญญ่า นักมวยชาวเวเนซุเอลา ที่ จังหวัดอุบลราชธานี อย่างไม่มีใครคาดคิด โดยแพ้คะแนนไปอย่างสูสี

หลังจากนั้น แสนยังได้ขึ้นชกอุ่นเครื่องอีก 2 - 3 ครั้ง แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะได้มีโอกาสชิงแชมป์อีกเลย ผ่านไป 2 ปี แสนจึงต้องแขวนนวมไปโดยปริยาย ปัจจุบัน แสนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบ ๆ ไม่หวือหวา แต่ก็ไม่ถีงกับลำบากอะไร เพราะพอมีทรัพย์สินจากการชกมวยอยู่บ้าง