ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเชียนเกมส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
=== ยุคกีฬาตะวันออกไกล ===
=== ยุคกีฬาตะวันออกไกล ===
{{บทความหลัก|กีฬาตะวันออกไกล}}
{{บทความหลัก|กีฬาตะวันออกไกล}}
เมื่อปี [[พ.ศ. 2456]] (ค.ศ. 1913) อี.เอส.บราวน์ ประธานสมาคมกีฬาแห่ง[[หมู่เกาะฟิลิปปินส์]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]] (The Philippines Athletic Association) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาคาร์นิวัลแห่ง[[กรุงมะนิลา]] จำนวนกีฬาที่แข่งขันจะกำหนดให้ลดน้อยลง เหลือเพียง 35 ชนิดใน[[เอเชียนเกมส์ 2014|การแข่งขันครั้งที่ 17]] ซึ่งจะจัดขึ้นที่[[อินช็อน|นครอินช็อน]]ของ[[เกาหลีใต้]] และคราวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่การแข่งขันจะจัดขึ้นตามระยะเวลาเดิม เมื่อโอซีเอผลักดันให้การแข่งขันครั้งถัดไป เกิดขึ้นก่อน[[กีฬาโอลิมปิก]]เพียงหนึ่งปี จึงหมายความว่า[[เอเชียนเกมส์ 2019|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18]] ซึ่งตามปกติจะมีกำหนดจัดในปี [[พ.ศ. 2561]] (ค.ศ. 2018) จะผลักดันไปเป็น [[พ.ศ. 2562]] (ค.ศ. 2019)
เมื่อปี [[พ.ศ. 2456]] (ค.ศ. 1913) อี.เอส.บราวน์ ประธานสมาคมกีฬาแห่ง[[หมู่เกาะฟิลิปปินส์]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]] (The Philippines Athletic Association) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาคาร์นิวัลแห่ง[[กรุงมะนิลา]] (Manila Carnival Games) เชิญชวนให้[[สาธารณรัฐจีน (2455–2492)|สาธารณรัฐจีน]] และ [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]] (ชื่อในขณะนั้น) เข้าร่วมการแข่งขัน '''กีฬาชิงชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล''' (Far East Games) ทว่าในเวลาต่อมา เกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างจีนกับญี่ปุ่น การแข่งขันจึงต้องสิ้นสุดลงในปี [[พ.ศ. 2480]] (ค.ศ. 1937) หลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สิ้นสุดลง มีการประกาศเอกราชเกิดขึ้นเป็นหลายประเทศใหม่ ซึ่งประเทศในเอเชียทั้งหมดต่างก็คาดหวังจะเห็น การแข่งขันกีฬาภายในทวีปรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีการใช้อิทธิพลเข้าครอบงำ หากแต่ร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

=== ยุคสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ===
{{บทความหลัก|สหพันธ์เอเชียนเกมส์}}

จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2491]] (ค.ศ. 1948) กลุ่มนักกีฬาของ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] และ[[ฟิลิปปินส์]] ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันใน[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1948|โอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14]] ที่[[กรุงลอนดอน]]ของ[[สหราชอาณาจักร]] มีดำริที่จะฟื้นการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกลขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม กูรู ดัตท์ สนธิ (Guru Dutt Sondhi) ผู้แทนคณะกรรมการ[[โอลิมปิก]]แห่ง[[อินเดีย]] ให้ความเห็นว่า ควรเปิดกว้างให้แก่ทุกประเทศในทวีปเอเชีย สามารถเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน จึงเสนอให้ร่างระเบียบขึ้น เพื่อจัดตั้งขึ้นในรูปสหพันธ์กีฬาแห่งเอเชีย (The Asian Athletic Federation) ต่อมาเมื่อวันที่ [[13 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2492]] (ค.ศ. 1949) ธรรมนูญองค์กรก็เสร็จสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น '''สหพันธ์กีฬาเอเชีย''' (The Asian Games Federation)<ref name="history">[http://www.ocasia.org/Council/History.aspx ประวัติศาสตร์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย], [http://www.ocasia.org เว็บไซต์สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย]</ref> ถือกำเนิดขึ้นที่[[กรุงนิวเดลี]]ของอินเดีย ซึ่งเมืองหลวงแห่งนี้เอง ที่เป็นเจ้าภาพ[[เอเชียนเกมส์ 1951|การแข่งขันครั้งที่ 1 ของเอเชียนเกมส์]] ในอีกสองปีถัดมา ([[พ.ศ. 2493]]; ค.ศ. 1950)

ระยะต่อมาเกิดปัญหาขึ้น ตั้งแต่ก่อน[[เอเชียนเกมส์ 1978|การแข่งขันครั้งที่ 8]] ซึ่งมี[[กรุงเทพมหานคร]]ของ[[ไทย]]เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี [[พ.ศ. 2521]] (ค.ศ. 1978) เนื่องจากสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ออกมติไม่ยินยอมให้ จีนไทเปและ[[อิสราเอล]] เข้าร่วมแข่งขัน อันมีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในของทั้งสองชาติ ทำให้เกิดความกังวลต่อการรักษาความปลอดภัย<ref>{{cite news|title=Asian Games Federation says no to Israel|url=http://news.google.com/newspapers?id=v7seAAAAIBAJ&sjid=Sr4EAAAAIBAJ&pg=1934,684691&dq=1978+asian+games&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=Anchorage Daily News|date=1978-06-03}}</ref> เป็นเหตุให้องค์กรกีฬาระดับนานาชาติหลายแห่ง ออกมาทักท้วงต่อต้าน โดยเฉพาะสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Association of Athletics Federations; IAAF) ถึงกับประกาศขู่ว่า หากนักกรีฑาของชาติใด เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์คราวนี้ สหพันธ์ฯจะกีดกันไม่ให้เข้าแข่งขัน ในกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1980|โอลิมปิกครั้งที่ 22]] ประจำปี [[พ.ศ. 2523]] (ค.ศ. 1980)<ref>{{cite news|title=New Israeli rejection forces Asian athletes to risk Olympic hope|url=http://news.google.com/newspapers?id=WwMuAAAAIBAJ&sjid=XaEFAAAAIBAJ&pg=2171,3744052&dq=1978+asian+games&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=The Montreal Gazette|date=1978-11-22}}</ref> ซึ่งส่งผลกระทบให้นักกีฬาหลายชาติ ขอถอนตัวจากการแข่งขันครั้งนี้<ref>{{cite news|title=Indonesia, Hong Kong protest ban on Israel|url=http://news.google.com/newspapers?id=kP0NAAAAIBAJ&sjid=LHwDAAAAIBAJ&pg=6027,3304995&dq=1978+asian+games&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=St. Petersburg Times|date=1978-12-04}}</ref>

=== ยุคสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ===
{{บทความหลัก|สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย}}
[[ไฟล์:Indian_athletes_at_the_First_Asiad.png|240px|thumb|พิธีเปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 1<br/>ที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2494]]

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติในทวีปเอเชีย ตัดสินใจเปิดการประชุมร่วมกันในวันที่ [[26 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2524]] (ค.ศ. 1981) โดยไม่มีการแจ้งให้ทางอิสราเอลเข้าร่วมด้วย เพื่อยกร่างแก้ไขธรรมนูญสหพันธ์เอเชียนเกมส์ มีสาระสำคัญคือ การจัดตั้งสมาคมบริหารจัดการเอเชียนเกมส์ขึ้นใหม่ เรียกว่า '''สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย'''<ref>{{cite news|title=Israelis facing Asian ban|url=http://news.google.com/newspapers?id=Rr4yAAAAIBAJ&sjid=jO4FAAAAIBAJ&pg=2948,6887134&dq=asian+games+federation&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=Ottawa Citizen|date=1981-12-10}}</ref> และก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ระหว่างการประชุมครั้งแรกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ [[16 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2525]] (ค.ศ. 1982) ที่กรุงนิวเดลี ก่อน[[เอเชียนเกมส์ 1982|การแข่งขันครั้งที่ 9]] ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหลวงของอินเดียตามกำหนดเดิม โดยไม่มีการยกเลิกกำหนดการต่าง ๆ ซึ่งสหพันธ์กีฬาเอเชียจัดทำไว้แล้ว และมีสมาชิกชุดก่อตั้ง เป็นคณะกรรมการโอลิมปิกของ 34 ชาติ<ref name="history"/> จากนั้นสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย จึงเริ่มรับหน้าที่กำกับดูแล[[เอเชียนเกมส์ 1986|เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10]] ซึ่ง[[โซล]]ของ[[เกาหลีใต้]]เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี [[พ.ศ. 2529]] (ค.ศ. 1986) เป็นครั้งแรก<ref>{{cite news|title=Olympics|url=http://news.google.com/newspapers?id=ukIwAAAAIBAJ&sjid=DqUFAAAAIBAJ&pg=1683,4438561&dq=asian+games+federation&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=The Montreal Gazette|date=1981-11-28}}</ref> มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนจีนไทเปกลับเข้าร่วมใน[[เอเชียนเกมส์ 1990|ครั้งที่ 11]] ที่[[กรุงปักกิ่ง]]ของ[[จีน]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2533]] (ค.ศ. 1990)<ref>{{cite news|title=China welcomes Taiwan's AG trip|url=http://news.google.com/newspapers?id=_mYVAAAAIBAJ&sjid=XAsEAAAAIBAJ&pg=5130,1232701&dq=chinese+taipei+asian+games&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=Manila Standard|date=1988-07-16}}</ref>

ใน[[เอเชียนเกมส์ 1994|การแข่งขันครั้งที่ 12]] ซึ่งจัดขึ้นที่[[ฮิโรชิมา|นครฮิโรชิมา]]ของ[[ญี่ปุ่น]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2537]] (ค.ศ. 1994) เป็นครั้งแรกที่มิได้จัดแข่งขันใน[[เมืองหลวง]]ของประเทศ โดย[[เครือรัฐเอกราช|กลุ่มประเทศที่แยกตัวเป็นเอกราช]]จาก[[การล่มสลายของสหภาพโซเวียต|การล่มสลายของ]][[สหภาพโซเวียต]] ซึ่งประกอบด้วย[[คาซักสถาน]], [[คีร์กีซสถาน]], [[อุซเบกิสถาน]], [[เติร์กเมนิสถาน]] และ[[ทาจิกิสถาน]] เข้าร่วมเป็นครั้งแรก<ref>{{cite web|title=第12届 1994年广岛亚运会|url=http://data.sports.163.com/match/history/0005000BBQDY.html|publisher=data.sports.163.com|accessdate=2010-10-09}}</ref> ส่วน[[อิรัก]]มิได้รับการยินยอมให้เข้าร่วม เนื่องจากเป็นชาติที่ก่อ[[สงครามอ่าวเปอร์เซีย]] เมื่อปี พ.ศ. 2533 และ[[เกาหลีเหนือ]][[การคว่ำบาตร|คว่ำบาตร]]การแข่งขัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นปัญหา นอกจากนี้ยังเกิดการสูญเสียผู้แทนจาก[[ประเทศเนปาล]] ''ณเรศกุมาร์ อธิการี'' (Nareshkumar Adhikari) ซึ่งเสียชีวิตระหว่างพิธีเปิดการแข่งขัน<ref>{{cite news|title=Let the Games Begin|url=http://news.google.com/newspapers?id=QpsWAAAAIBAJ&sjid=UxMEAAAAIBAJ&pg=1694,953978&dq=1994+asian+games+kazakhstan&hl=en|accessdate=2010-10-09|newspaper=New Straits Times|date=1994-10-03}}</ref> จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2541]] (ค.ศ. 1998) เป็นประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ เมื่อกรุงเทพฯของไทย เป็น[[เอเชียนเกมส์ 1998|เจ้าภาพครั้งที่ 4]] โดยพิธีเปิดในสามครั้งแรก มีขึ้นในวันที่ [[9 ธันวาคม]] ส่วนครั้งนี้เปิดในวันที่ [[6 ธันวาคม|6]] แต่ทั้งหมดสิ้นสุดในวันเดียวกันคือ [[20 ธันวาคม]] และ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดทั้งสี่ครั้ง

=== การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ===
จำนวนกีฬาที่แข่งขันจะกำหนดให้ลดน้อยลง เหลือเพียง 35 ชนิดใน[[เอเชียนเกมส์ 2014|การแข่งขันครั้งที่ 17]] ซึ่งจะจัดขึ้นที่[[อินช็อน|นครอินช็อน]]ของ[[เกาหลีใต้]] และคราวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่การแข่งขันจะจัดขึ้นตามระยะเวลาเดิม เมื่อโอซีเอผลักดันให้การแข่งขันครั้งถัดไป เกิดขึ้นก่อน[[กีฬาโอลิมปิก]]เพียงหนึ่งปี จึงหมายความว่า[[เอเชียนเกมส์ 2019|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18]] ซึ่งตามปกติจะมีกำหนดจัดในปี [[พ.ศ. 2561]] (ค.ศ. 2018) จะผลักดันไปเป็น [[พ.ศ. 2562]] (ค.ศ. 2019)

ในปัจุบันได้มีการยุติการเปลี่ยนระยะเวลาจัดการแข่งขันออกไป จากที่จะจัดการแข่งขันก่อนโอลิมปิกเกมส์เพียงหนึ่งปีเป็นจัดการแข่งขันตามระยะเวลาเดิม เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นเจ้าภาพ[[เอเชียนเกมส์ 2018|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18]] ไม่สามารถที่จะจัดภายในปีค.ศ. 2019 ได้ ซึ่งในปีค.ศ. 2019 นั้นได้มีการจัดการเลือกตั้งประธานธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย จึงจัดภายในปีค.ศ. 2018 ตามระยะเวลาเดิมแทน


== สัญลักษณ์ ==
== สัญลักษณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:16, 13 กันยายน 2559

เอเชียนเกมส์
Asian Games
ตราสัญลักษณ์ของเอเชียนเกมส์
ชื่อย่อAsiad
คำขวัญEver Onward
(ก้าวหน้าตลอดไป)
ก่อตั้งครั้งที่ 1 พ.ศ. 2494
อินเดีย กรุงนิวเดลี, อินเดีย
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 17 ที่อินช็อน
เกาหลีใต้ ประเทศเกาหลีใต้
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับภูมิภาคเอเชีย
สำนักงานใหญ่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
กรุงคูเวตซิตี, รัฐคูเวต
ประธานคูเวต เชค ฟาฮัด อัล-ซาบะห์
เว็บไซต์เอเชียนเกมส์

เอเชียนเกมส์ (อังกฤษ: Asian Games; ชื่อย่อ: Asiad) เป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสี่ปี เริ่มกำหนดการแข่งขันโดย สหพันธ์เอเชียนเกมส์ (The Asian Games Federation; AGF) ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกถึงครั้งที่ 8 และตั้งแต่เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 เป็นต้นมา บริหารจัดการแข่งขันโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA) ภายใต้การรับรองโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และยังถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาหลากชนิด ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากกีฬาโอลิมปิกด้วย

ในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ มีชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันแล้ว 9 ประเทศ โดยมี 46 ประเทศเข้าร่วม ยกเว้นอิสราเอลซึ่งถูกกีดกันออกจากเอเชียนเกมส์ หลังจากที่เข้าร่วมเป็นคราวสุดท้ายในครั้งที่ 17 โดยเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุด จัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 19 กันยายน-4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) และการแข่งขันครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018)

ประวัติ

ตรากีฬาตะวันออกไกล

ยุคกีฬาตะวันออกไกล

เมื่อปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) อี.เอส.บราวน์ ประธานสมาคมกีฬาแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา (The Philippines Athletic Association) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาคาร์นิวัลแห่งกรุงมะนิลา (Manila Carnival Games) เชิญชวนให้สาธารณรัฐจีน และ จักรวรรดิญี่ปุ่น (ชื่อในขณะนั้น) เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาชิงชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล (Far East Games) ทว่าในเวลาต่อมา เกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างจีนกับญี่ปุ่น การแข่งขันจึงต้องสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีการประกาศเอกราชเกิดขึ้นเป็นหลายประเทศใหม่ ซึ่งประเทศในเอเชียทั้งหมดต่างก็คาดหวังจะเห็น การแข่งขันกีฬาภายในทวีปรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีการใช้อิทธิพลเข้าครอบงำ หากแต่ร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็ง ภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ยุคสหพันธ์เอเชียนเกมส์

จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) กลุ่มนักกีฬาของสาธารณรัฐประชาชนจีน และฟิลิปปินส์ ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 14 ที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร มีดำริที่จะฟื้นการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกลขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม กูรู ดัตท์ สนธิ (Guru Dutt Sondhi) ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งอินเดีย ให้ความเห็นว่า ควรเปิดกว้างให้แก่ทุกประเทศในทวีปเอเชีย สามารถเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน จึงเสนอให้ร่างระเบียบขึ้น เพื่อจัดตั้งขึ้นในรูปสหพันธ์กีฬาแห่งเอเชีย (The Asian Athletic Federation) ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ธรรมนูญองค์กรก็เสร็จสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์กีฬาเอเชีย (The Asian Games Federation)[1] ถือกำเนิดขึ้นที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย ซึ่งเมืองหลวงแห่งนี้เอง ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งที่ 1 ของเอเชียนเกมส์ ในอีกสองปีถัดมา (พ.ศ. 2493; ค.ศ. 1950)

ระยะต่อมาเกิดปัญหาขึ้น ตั้งแต่ก่อนการแข่งขันครั้งที่ 8 ซึ่งมีกรุงเทพมหานครของไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เนื่องจากสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ออกมติไม่ยินยอมให้ จีนไทเปและอิสราเอล เข้าร่วมแข่งขัน อันมีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองภายในของทั้งสองชาติ ทำให้เกิดความกังวลต่อการรักษาความปลอดภัย[2] เป็นเหตุให้องค์กรกีฬาระดับนานาชาติหลายแห่ง ออกมาทักท้วงต่อต้าน โดยเฉพาะสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (International Association of Athletics Federations; IAAF) ถึงกับประกาศขู่ว่า หากนักกรีฑาของชาติใด เข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์คราวนี้ สหพันธ์ฯจะกีดกันไม่ให้เข้าแข่งขัน ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)[3] ซึ่งส่งผลกระทบให้นักกีฬาหลายชาติ ขอถอนตัวจากการแข่งขันครั้งนี้[4]

ยุคสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

พิธีเปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 1
ที่กรุงนิวเดลีของอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2494

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติในทวีปเอเชีย ตัดสินใจเปิดการประชุมร่วมกันในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) โดยไม่มีการแจ้งให้ทางอิสราเอลเข้าร่วมด้วย เพื่อยกร่างแก้ไขธรรมนูญสหพันธ์เอเชียนเกมส์ มีสาระสำคัญคือ การจัดตั้งสมาคมบริหารจัดการเอเชียนเกมส์ขึ้นใหม่ เรียกว่า สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย[5] และก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ระหว่างการประชุมครั้งแรกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ที่กรุงนิวเดลี ก่อนการแข่งขันครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองหลวงของอินเดียตามกำหนดเดิม โดยไม่มีการยกเลิกกำหนดการต่าง ๆ ซึ่งสหพันธ์กีฬาเอเชียจัดทำไว้แล้ว และมีสมาชิกชุดก่อตั้ง เป็นคณะกรรมการโอลิมปิกของ 34 ชาติ[1] จากนั้นสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย จึงเริ่มรับหน้าที่กำกับดูแลเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ซึ่งโซลของเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เป็นครั้งแรก[6] มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนจีนไทเปกลับเข้าร่วมในครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่งของจีน เมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)[7]

ในการแข่งขันครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นที่นครฮิโรชิมาของญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) เป็นครั้งแรกที่มิได้จัดแข่งขันในเมืองหลวงของประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่แยกตัวเป็นเอกราชจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งประกอบด้วยคาซักสถาน, คีร์กีซสถาน, อุซเบกิสถาน, เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน เข้าร่วมเป็นครั้งแรก[8] ส่วนอิรักมิได้รับการยินยอมให้เข้าร่วม เนื่องจากเป็นชาติที่ก่อสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี พ.ศ. 2533 และเกาหลีเหนือคว่ำบาตรการแข่งขัน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นปัญหา นอกจากนี้ยังเกิดการสูญเสียผู้แทนจากประเทศเนปาล ณเรศกุมาร์ อธิการี (Nareshkumar Adhikari) ซึ่งเสียชีวิตระหว่างพิธีเปิดการแข่งขัน[9] จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เป็นประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ เมื่อกรุงเทพฯของไทย เป็นเจ้าภาพครั้งที่ 4 โดยพิธีเปิดในสามครั้งแรก มีขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม ส่วนครั้งนี้เปิดในวันที่ 6 แต่ทั้งหมดสิ้นสุดในวันเดียวกันคือ 20 ธันวาคม และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดทั้งสี่ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

จำนวนกีฬาที่แข่งขันจะกำหนดให้ลดน้อยลง เหลือเพียง 35 ชนิดในการแข่งขันครั้งที่ 17 ซึ่งจะจัดขึ้นที่นครอินช็อนของเกาหลีใต้ และคราวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่การแข่งขันจะจัดขึ้นตามระยะเวลาเดิม เมื่อโอซีเอผลักดันให้การแข่งขันครั้งถัดไป เกิดขึ้นก่อนกีฬาโอลิมปิกเพียงหนึ่งปี จึงหมายความว่าเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ซึ่งตามปกติจะมีกำหนดจัดในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) จะผลักดันไปเป็น พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)

ในปัจุบันได้มีการยุติการเปลี่ยนระยะเวลาจัดการแข่งขันออกไป จากที่จะจัดการแข่งขันก่อนโอลิมปิกเกมส์เพียงหนึ่งปีเป็นจัดการแข่งขันตามระยะเวลาเดิม เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ไม่สามารถที่จะจัดภายในปีค.ศ. 2019 ได้ ซึ่งในปีค.ศ. 2019 นั้นได้มีการจัดการเลือกตั้งประธานธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย จึงจัดภายในปีค.ศ. 2018 ตามระยะเวลาเดิมแทน

สัญลักษณ์

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้มีการใช้สัญลักษณ์เพื่อที่จะใช้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ซึ่งยึดแนวทางตามการแข่งขันโอลิมปิก สัญลักษณ์ของการแข่งขันเอเชียนเกมส์ คือ

การจัดแข่งขัน

กรุงเทพมหานครของประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมากที่สุดถึง 4 ครั้ง (2509, 2513, 2521, 2541) ตามด้วยสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) 3 ครั้ง (โซล 2529,นครปูซาน 2545,นครอินช็อน 2557) สาธารณรัฐประชาชนจีน (กรุงปักกิ่ง 2533, นครกว่างโจว 2553,นครหางโจว 2565)

ภาพแสดงที่ตั้งเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ฤดูร้อน (2493-2565)
ครั้งที่ วัน/เดือน/พ.ศ.(ค.ศ.) เจ้าภาพ จำนวนเหรียญทอง ชาติเข้าร่วม นักกีฬา (คน) ชนิดกีฬา รอบแข่งขัน อ้างอิง
เมือง ประเทศ อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3
1 4-11 มีนาคม
พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951)
นิวเดลี ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (24) ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย (15) ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน (8) 11 489 6 57 [10]
2 1-9 พฤษภาคม
พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)
มะนิลา ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (38) ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (14) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (8) 19 970 8 76 [11]
3 24 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน
พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958)
โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (67) ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ (9) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (8) 16 1,820 13 97 [12]
4 24 สิงหาคม – 4 กันยายน
พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962)
จาการ์ตา ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (73) ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (21) ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย (10) 12 1,460 13 88 [13]
5 9 – 20 ธันวาคม
พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966)
กรุงเทพมหานคร  ไทย ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (78) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (12)  ไทย (11) 16 1,945 14 143 [14]
61 9 – 20 ธันวาคม
พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970)
กรุงเทพมหานคร  ไทย ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (74) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (18)  ไทย (9) 16 2,400 13 135 [15]
7 1-16 กันยายน
พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974)
เตหะราน ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (75) ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน (36) ธงของประเทศจีน จีน (32) 19 3,010 16 202 [16]
82 9-20 ธันวาคม
พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)
กรุงเทพมหานคร  ไทย ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (70) ธงของประเทศจีน จีน (51) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (18) 19 3,842 19 201 [17]
9 19 พฤศจิกายน ถึง 4 ธันวาคม
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)
นิวเดลี ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย ธงของประเทศจีน จีน (61) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (57) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (28) 33 3,411 21 147 [18]
10 20 กันยายน ถึง 5 ตุลาคม
พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
โซล ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ธงของประเทศจีน จีน (94) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (93) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (58) 27 4,839 25 270 [19]
11 22 กันยายน ถึง 7 ตุลาคม
พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)
ปักกิ่ง ธงของประเทศจีน จีน ธงของประเทศจีน จีน (183) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (54) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (38) 36 6,122 29 310 [20]
12 2-16 ตุลาคม
พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)
ฮิโระชิมะ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ธงของประเทศจีน จีน (125) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (64) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (63) 42 6,828 34 337 [21]
13 6-20 ธันวาคม
พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)
กรุงเทพมหานคร  ไทย ธงของประเทศจีน จีน (129) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (65) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (52) 41 6,554 36 376 [22]
14 29 กันยายน ถึง 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)
ปูซาน ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ธงของประเทศจีน จีน (150) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (96) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (44) 44 7,711 38 419 [23]
15 1-15 ธันวาคม
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)
โดฮา ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์ ธงของประเทศจีน จีน (165) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (58) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (50) 45 9,520 39 424 [24]
16 12-27 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)
กว่างโจว ธงของประเทศจีน จีน ธงของประเทศจีน จีน (199) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (76) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (48) 45 9,704 42 476 [25]
17 19 กันยายน ถึง 4 ตุลาคม
พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014)
อินช็อน ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ธงของประเทศจีน จีน (151) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (79) ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (47) 45 9,501 36 436 [26]
183 18 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน
พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018)
จาการ์ตา-ปาเลมบัง ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ยังไม่แข่งขัน [27]
19 10-25 กันยายน
พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022)
หางโจว ธงของประเทศจีน จีน ยังไม่แข่งขัน

หมายเหตุ

ประเทศที่เข้าร่วม

ตราสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

ดูบทความหลักที่ ชาติสมาชิกของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย มอบสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันแก่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติของ 45 ประเทศในเอเชีย ก่อนหน้านี้ในยุคสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ยังมีอิสราเอลเข้าร่วมด้วย แต่ถูกระงับไปตั้งแต่ พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 อิสราเอลร้องขอเข้าร่วมเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 แต่สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียปฏิเสธคำขอ เนื่องจากเหตุการณ์สังหารหมู่ ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 20 ที่นครมิวนิกของเยอรมนีตะวันตก ปัจจุบันอิสราเอลเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งยุโรป ตั้งแต่ พ.ศ. 2537; ค.ศ. 1994

สำหรับไต้หวันมีโอกาสร่วมการแข่งขันในครั้งที่ 11 ภายใต้ชื่อและธงโอลิมปิกของจีนไทเป หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งจีนไทเปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ส่วนมาเก๊าได้รับอนุญาตจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ให้เข้าเป็นสมาชิกและร่วมแข่งขันตั้งแต่ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) แม้ว่าคณะกรรมการโอลิมปิกสากล จะไม่ยอมรับให้เข้าแข่งขันในโอลิมปิกก็ตาม

เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์ (Sheikh Ahmad Al-Fahad Al-Ahmed Al-Sabah) ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ปฏิเสธข้อเสนอเมื่อปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ที่จะให้ออสเตรเลียเข้าร่วมแข่งขันด้วย โดยเขามีความเห็นว่า แม้ออสเตรเลียจะมีส่วนช่วยผลักดัน ให้มาตรฐานการกีฬาของเอเชียนเกมส์ดีขึ้น แต่ก็จะไม่เป็นธรรมต่อประเทศอื่นๆ ในกลุ่มโอเชียเนียเช่นกัน

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาในเอเชียนเกมส์ครบทุกประเภท มีทั้งหมด 7 ชาติได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา สิงคโปร์ และไทย

กีฬาที่จัดแข่งขัน

ตลอดระยะเวลาที่มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปรากฏว่ามีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 44 ชนิด ดังตารางต่อไปนี้

กีฬา พ.ศ.ที่แข่งขัน (ค.ศ.)
กีฬาทางน้ำ ตั้งแต่ 2494 (1951)
ยิงธนู ตั้งแต่ 2521 (1978)
กรีฑา ตั้งแต่ 2494 (1951)
แบดมินตัน ตั้งแต่ 2505 (1962)
เบสบอล ตั้งแต่ 2537 (1994)
บาสเกตบอล ตั้งแต่ 2494 (1951)
เกมกระดาน ตั้งแต่ 2549 (2006)
เพาะกาย 2545-2549 (2002–2006)
โบว์ลิง 2521 (1978),
2529 (1986),
ตั้งแต่ 2537 (1994)
มวยสากล ตั้งแต่ 2497 (1954)
เรือแคนู ตั้งแต่ 2529 (1986)
คริกเก็ต 2553 (2010)
บิลเลียด ตั้งแต่ 2541 (1998)
จักรยาน 2494 (1951),
ตั้งแต่ 2501 (1958)
ลีลาศ 2553 (2010)
เรือมังกร 2553 (2010)
ขี่ม้า 2525-2529 (1982-1986),
ตั้งแต่ 2537 (1994)
ฟันดาบ 2517-2521 (1974–1978),
ตั้งแต่ 2529 (1986)
ฟุตบอล ตั้งแต่ 2494 (1951)
กอล์ฟ ตั้งแต่ 2525 (1982)
ยิมนาสติก ตั้งแต่ 2517 (1974)
แฮนด์บอล ตั้งแต่ 2525 (1982)
ฮอกกี ตั้งแต่ 2501 (1958)
กีฬา พ.ศ.ที่แข่งขัน (ค.ศ.)
ยูโด ตั้งแต่ 2529 (1986)
กาบัดดี ตั้งแต่ 2533 (1990)
คาราเต้ ตั้งแต่ 2537 (1994)
ปัญจกรีฑาสมัยใหม่ 2537 (1994),
2544 (2002),
2553 (2010)
กีฬาล้อเลื่อน 2553 (2010)
เรือพาย ตั้งแต่ 2525 (1982)
รักบีฟุตบอล ตั้งแต่ 2541 (1998)
เรือใบ 2513 (1970),
ตั้งแต่ 2521 (1978)
เซปักตะกร้อ ตั้งแต่ 2533 (1990)
ยิงปืน ตั้งแต่ 2497 (1954)
ซอฟต์บอล ตั้งแต่ 2533 (1990)
ซอฟต์เทนนิส ตั้งแต่ 2533 (1990)
สควอช ตั้งแต่ 2541 (1998)
เทเบิลเทนนิส 2501-2509 (1958–1966),
ตั้งแต่ 2517 (1974)
เทควันโด 2529 (1986),
ตั้งแต่ 2537 (1994)
เทนนิส 2501-2509 (1958–1966),
ตั้งแต่ 2517 (1974)
ไตรกีฬา ตั้งแต่ 2549 (2006)
วอลเลย์บอล ตั้งแต่ 2501 (1958)
ยกน้ำหนัก 2494-2501 (1951–1958),
ตั้งแต่ 2509 (1966)
มวยปล้ำ ตั้งแต่ 2497 (1954)
วูซู ตั้งแต่ 2533 (1990)

เหรียญรางวัลรวม

ตลอดระยะเวลาของการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปรากฏว่าญี่ปุ่นและจีน เป็นเพียงสองชาติในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับเหรียญรางวัลมากที่สุด ส่วนชาติที่มี 1 เหรียญทองเป็นอย่างน้อย มีจำนวน 34 ประเทศ ขณะที่มี 43 ประเทศ ได้รับ 1 เหรียญรางวัลเป็นอย่างน้อย ต่อการแข่งขันหนึ่งครั้ง โดยภูฏาน มัลดีฟส์ และติมอร์ตะวันออก เป็นเพียงสามชาติ ที่ไม่เคยได้รับแม้แต่เหรียญรางวัลเดียว ตั้งแต่เข้าแข่งขันเป็นต้นมา ซึ่งในตารางต่อไปนี้เป็น 10 อันดับของประเทศที่ได้รับเหรียญรางวัลรวม

 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 จีน 1,342 900 653 2,895
2 ญี่ปุ่น 957 980 913 2,850
3 เกาหลีใต้ 696 606 761 2,063
4 อิหร่าน 159 161 175 495
5 คาซัคสถาน 140 141 200 481
6 อินเดีย 139 178 285 602
7 ไทย 121 159 233 513
8 เกาหลีเหนือ 98 132 166 396
9 จีนไทเป 82 125 255 452
10 ฟิลิปปินส์ 64 112 213 389
11 อุซเบกิสถาน 63 96 114 273
12 อินโดนีเซีย 60 95 203 358
13 มาเลเซีย 56 88 132 276
14 ปากีสถาน 44 63 93 200
15 สิงคโปร์ 37 55 101 193
รวม 4,313 4,295 5,136 13,744

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประวัติศาสตร์ของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย, เว็บไซต์สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
  2. "Asian Games Federation says no to Israel". Anchorage Daily News. 1978-06-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  3. "New Israeli rejection forces Asian athletes to risk Olympic hope". The Montreal Gazette. 1978-11-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  4. "Indonesia, Hong Kong protest ban on Israel". St. Petersburg Times. 1978-12-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  5. "Israelis facing Asian ban". Ottawa Citizen. 1981-12-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  6. "Olympics". The Montreal Gazette. 1981-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  7. "China welcomes Taiwan's AG trip". Manila Standard. 1988-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  8. "第12届 1994年广岛亚运会". data.sports.163.com. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  9. "Let the Games Begin". New Straits Times. 1994-10-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-09.
  10. "1st AG New Delhi 1951". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  11. "2nd AG Manila 1954". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  12. "3rd AG Tokyo 1958". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  13. "4th AG Jakarta 1962". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  14. "5th AG Bangkok 1966". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  15. "6th Asian Games Bangkok 1970". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  16. "7th AG Tehran 1974". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  17. "8th AG Bangkok 1978". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  18. "9th AG New Delhi 1982". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  19. "10th AG Seoul 1986". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  20. "11th AG Beijing 1990". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  21. "12th AG Hiroshima 1994". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  22. "13th AG Bangkok 1998". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  23. "14th AG Busan 2002". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  24. "15th AG Doha 2006". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  25. "16th AG Guangzhou 2010". OCA. สืบค้นเมื่อ 2010-11-29.
  26. "17th AG Incheon 2014". OCA. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  27. "OCA announces sports for Palembang at Jakarta Asian Games 2018". Olympic Council of Asia. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  28. 28.0 28.1 คณะกรรมการสาขาธุรกิจและสิทธิประโยชน์ในคณะกรรมการฝ่ายการเงินและสิทธิประโยชน์. การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 บางกอกเกมส์. กรุงเทพมหานคร:
  29. {{cite web|title=Indonesia to host 18th Asian Games in 2018|url=http://www.ocasia.org/News/IndexNewsRM.aspx?WKegervtea38r+R3h5SSgw==

แหล่งข้อมูลอื่น