ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันออกพรรษา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Specialitar (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Pu pan.jpg|left|170px|thumb|เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์ผู้อยู่จำครบพรรษาจะได้รับอานิสงส์พรรษาหลายอย่าง และพระสงฆ์บางส่วนจะถือโอกาสในช่วงออกพรรษา 9 เดือน [[ธุดงค์|ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม]] และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไป]]
[[ไฟล์:Pu pan.jpg|left|170px|thumb|เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์ผู้อยู่จำครบพรรษาจะได้รับอานิสงส์พรรษาหลายอย่าง และพระสงฆ์บางส่วนจะถือโอกาสในช่วงออกพรรษา 9 เดือน [[ธุดงค์|ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม]] และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไป]]
{{ใช้ปีพศ}}
{{ใช้ปีพศ}}
'''วันออกพรรษา''' หรือ '''วันปวารณาออกพรรษา''' เป็น[[วันสำคัญ]]ทาง[[พุทธศาสนา]]วันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุด[[วันเข้าพรรษา|ระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือน]]ของพระสงฆ์[[เถรวาท]] โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำ[[สังฆกรรม]][[ปวารณา]]ออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา{{fn|1}}) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณ[[เดือนตุลาคม]]) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตาม[[ปฏิทินจันทรคติไทย]]
"วันออกพรรษา" หรือ [["วันปวารณาออกพรรษา"]] เป็น[[วันสำคัญ]]ทาง[[พุทธศาสนา]]วันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุด[[วันเข้าพรรษา|ระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือน]]ของพระสงฆ์[[เถรวาท]] โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำ[[สังฆกรรม]][[ปวารณา]]ออกพรรษาในวันนี้ [[วันออกพรรษา]]ตามปกติ (ออกปุริมพรรษา{{fn|1}}) จะตรงกับ[[วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11]] (ประมาณ[[เดือนตุลาคม]]) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตาม[[ปฏิทินจันทรคติไทย]]


การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตาม[[พระวินัย]]สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "[[ปวารณา]]"<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ '''วิธีปวารณา'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=6371&Z=6395&pagebreak=0. เข้าถึงเมื่อ 3-10-52</ref> จัดเป็นญัตติกรรมวาจา[[สังฆกรรม]]ประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดย[[พระวินัยบัญญัติ]]ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตาม[[พระวินัย]]สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "[[ปวารณา]]"<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ "วิธีปวารณา". พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=6371&Z=6395&pagebreak=0. เข้าถึงเมื่อ 3-10-52</ref> จัดเป็นญัตติกรรมวาจา[[(สังฆกรรม)]]ประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดย[[พระวินัยบัญญัติ]]ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น


เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า [[ตักบาตรเทโว]] หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน [[พระพุทธเจ้า]]ได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายัง[[เมืองสังกัสสนคร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส '''สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137. เข้าถึงเมื่อ 3-10-52</ref>พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย<ref>[[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]]. (2548). '''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด'''. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงเพียรเพื่อพุทธศาสน์.</ref>
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบ[[ไตรมาสพรรษากาล]] (3 เดือน)ในวันนี้ และวันถัดไปเป็นวันออกพรรษา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า [[ตักบาตรเทโว]] หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า "ในวันถัดจากวันครบไตรมาสพรรษา เป็นวันออกพรรษา 275 วัน ในวันที่ 1 หลังจากวันครบไตรมาสพรรษา[[พระพุทธเจ้า]]ได้เสด็จจากเทวโลกลงมายังโลกา เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดา[[พระนางสิริมหามายา]]บน[[สวรรค์ดาวดึงส์]] (สวรรค์ชั้น 3) ใน[[พระพรรษาที่ 7]] เสด็จลงมายัง[[เมืองสังกัสสนคร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส "สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖". พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137. เข้าถึงเมื่อ 3-10-52</ref>พร้อมกับ[[ทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์]]เปิดไตรโลกา ทั้งสามด้วย<ref>[[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]]. (2548). '''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด'''. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงเพียรเพื่อพุทธศาสน์.</ref>


นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลา[[กฐิน]]กาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องใน[[กฐิน|งานกฐินประจำปี]]ในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง
นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลา[[กฐิน]]กาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องใน[[กฐิน|งานกฐินประจำปี]]ในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:54, 11 กันยายน 2559

เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์ผู้อยู่จำครบพรรษาจะได้รับอานิสงส์พรรษาหลายอย่าง และพระสงฆ์บางส่วนจะถือโอกาสในช่วงออกพรรษา 9 เดือน ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไป

"วันออกพรรษา" หรือ "วันปวารณาออกพรรษา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจา(สังฆกรรม)ประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น

เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาล (3 เดือน)ในวันนี้ และวันถัดไปเป็นวันออกพรรษา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า "ในวันถัดจากวันครบไตรมาสพรรษา เป็นวันออกพรรษา 275 วัน ในวันที่ 1 หลังจากวันครบไตรมาสพรรษาพระพุทธเจ้าได้เสด็จจากเทวโลกลงมายังโลกา เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาพระนางสิริมหามายาบนสวรรค์ดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้น 3) ในพระพรรษาที่ 7 เสด็จลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดไตรโลกา ทั้งสามด้วย[3]

นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

ความสำคัญ

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

การออกพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก

ประเภทของการออกพรรษาของพระสงฆ์

อานิสงส์ของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา

เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ[10] คือ

เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้) เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้) เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ) จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)

การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลออกพรรษาในประเทศไทย

ประเพณีเนื่องด้วยการออกพรรษาในประเทศไทย

ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ

เทโวโรหนสถูป เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันมีเทวาลัยของฮินดูตั้งอยู่ด้านบนสถูป

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาสและการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา3เดือนพออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า”วันพระเจ้าเปิดโลก” รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าโดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมดในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วยโดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อนภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตรในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆบ้างแล้วโยนเข้าถวายพระนี่เองจึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนเป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะเป็นประเพณีว่าถึงวันแรม1ค่ำเดือน11ทุกๆปีควร ทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้งดั้งเดิมเรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ จนทุกวันนี้

ประเพณีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก

การเทศน์มหาชาตเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง

วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย

ประเพณีถวายผ้ากฐินทาน

เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

วันออกพรรษาในปฏิทินสุริยคติไทย

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป

ปี วันที่ วันที่ วันที่
ปีชวด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2539 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู 16 ตุลาคม พ.ศ. 2540 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ปีขาล 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ปีเถาะ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2542 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 17 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 7 ตุลาคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ???
ปีมะแม 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ???
ปีวอก 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ???
ปีระกา 18 ตุลาคม พ.ศ. 2548 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ???
ปีจอ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ???
ปีกุน 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ???

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันออกพรรษาในประเทศไทย

พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังนิยมร่วมกันทอดกฐิน ในระยะเวลา 1 เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นต้น

ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล "ตักบาตรเทโว" ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

ในหมู่ชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคขึ้นในเวลากลางคืน ที่จังหวัดหนองคายอีกด้วย

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

  1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
  2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  3. ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
  4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
  5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

เชิงอรรถ

หมายเหตุ 1: ออกปุริมพรรษา คือการออกพรรษาต้น เป็นการเข้าและออกพรรษาตามปกติตามพระวินัยพุทธานุญาต พระสงฆ์ที่ออกพรรษาต้นจะได้รับกรานกฐินและได้รับอานิสงส์กฐิน แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ออกพรรษาในกรณียกเว้นคือ ออกปัจฉิมพรรษา จะไม่มีโอกาสได้รับกฐินและอานิสงส์กฐิน เพราะจำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จึงต้องจำครบ 3 เดือน และต้องออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเวลาหมดกฐินกาลพอดี (วันรับกฐินได้จะนับวันวันถัดจากวันออกพรรษาแล้ว 1 วัน)

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ "วิธีปวารณา". พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=6371&Z=6395&pagebreak=0. เข้าถึงเมื่อ 3-10-52
  2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส "สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖". พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=10137. เข้าถึงเมื่อ 3-10-52
  3. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงเพียรเพื่อพุทธศาสน์.
  • ปัณณวัฒน์. ปฏิทิน 100 ปี พ.ศ. 2468-2568 คัมภีร์พยากรณ์คู่บ้าน. กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2550. ISBN 974-455-535-1

ดูเพิ่ม