ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะอุร์สุลิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
เมื่ออันเจลาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1540 คณะยังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จนแพร่หลายไปทั่วยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สมาชิกของคณะที่เดิมอยู่แบบฆราวาสก็เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างนักพรตหญิงและอาศัยในอาราม ซึ่งแต่ละอารามปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอารามอื่น ๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของ[[มุขนายกประจำมุขมณฑล]]ที่อารามนั้นตั้งอยู่ จึงกลายเป็นคณะนักบวชอารามิกโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่า'''คณะของนักบุญอุร์สุลา''' (Order of St. Ursula) สมาชิกของคณะยังคงเน้นทำงานด้านการจัดการศึกษา และได้แพร่หลายมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19<ref name="The Company of Saint Ursula">{{cite web|url=http://www.ursulines-ur.org/index.php?option=com_content&view=article&id=11%3Athe-company-of-saint-ursula&catid=5%3Aour-history&Itemid=15&lang=en|work=Ursulines of the Roman Union|title=The Company of Saint Ursula|accessdate=27 February 2014}}</ref>
เมื่ออันเจลาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1540 คณะยังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จนแพร่หลายไปทั่วยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สมาชิกของคณะที่เดิมอยู่แบบฆราวาสก็เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างนักพรตหญิงและอาศัยในอาราม ซึ่งแต่ละอารามปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอารามอื่น ๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของ[[มุขนายกประจำมุขมณฑล]]ที่อารามนั้นตั้งอยู่ จึงกลายเป็นคณะนักบวชอารามิกโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่า'''คณะของนักบุญอุร์สุลา''' (Order of St. Ursula) สมาชิกของคณะยังคงเน้นทำงานด้านการจัดการศึกษา และได้แพร่หลายมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19<ref name="The Company of Saint Ursula">{{cite web|url=http://www.ursulines-ur.org/index.php?option=com_content&view=article&id=11%3Athe-company-of-saint-ursula&catid=5%3Aour-history&Itemid=15&lang=en|work=Ursulines of the Roman Union|title=The Company of Saint Ursula|accessdate=27 February 2014}}</ref>


ต่อมา[[สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13]] เห็นว่าอาราคณะอุร์สุลินมีอยู่หลายคณะกระจายตามมุขมณฑลต่าง ๆ สมควรจะรวมให้เป็นคณะเดียวกันภายใต้[[อัคราธิการิณี]]คนเดียวที่ประจำอยู่กรุงโรม การทำงานจะได้มีประสิทธิภาพขึ้น คุณแม่อธิการิณีมารี เดอ แซ็งฌูว์เลียง โอบรี แห่งอารามบรัวจึงส่งจดหมายเชิญอธิการิณีอารามคณะอุร์สุลินมาร่วมประชุมกันที่กรุงโรม ปรากฏว่ามีทั้งสิ้น 71 อารามที่ยอมตกลงเข้าร่วม จึงเกิดเป็น'''คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน''' และคุณแม่มารีย์เป็นอัคราธิการิณีคนแรก สหภาพโรมันนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันก่อตั้งคณะ<ref name="คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน">{{cite web|url=http://haab.catholic.or.th/priest/priestsister/osu.html|work=หอจดหมายเหตุ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ|title=คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน|accessdate=27 February 2014}}</ref>
ต่อมา[[สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13]] เห็นว่าอาราคณะอุร์สุลินมีอยู่หลายคณะกระจายตามมุขมณฑลต่าง ๆ สมควรจะรวมให้เป็นคณะเดียวกันภายใต้[[อัคราธิการิณี]]คนเดียวที่ประจำอยู่กรุงโรม การทำงานจะได้มีประสิทธิภาพขึ้น คุณแม่อธิการิณีมารี เดอ แซ็งฌูว์เลียง โอบรี แห่งอารามบรัวจึงส่งจดหมายเชิญอธิการิณีอารามคณะอุร์สุลินมาร่วมประชุมกันที่กรุงโรม ปรากฏว่ามีทั้งสิ้น 71 อารามที่ยอมตกลงเข้าร่วม จึงเกิดเป็น'''คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน''' และคุณแม่มารีย์เป็นอัคราธิการิณีคนแรก สหภาพโรมันนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันก่อตั้งคณะ<ref name="คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน">{{cite web|url=http://haab.catholic.or.th/priest/priestsister/osu.html|work=หอจดหมายเหตุ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ|title=คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน|accessdate=27 February 2014}}</ref>


ฝ่าย "คัมพานีของนักบุญอุร์สุลา" ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมสุดของคณะอุร์สุลินได้เสื่อมลง จนหายไปในสมัยที่[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] รุกรานอิตาลี<ref name="Our History">{{cite web|url=http://www.istitutosecolareangelamerici.org/storia.htm#OUR%C2%A0_HISTORY|work=Istituto Secolare di Sant'Angela Merici|title=Our History|accessdate=27 February 2014}}</ref> ต่อมาราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มัดดาเลนาและเอลีซาเบตตา พี่น้องตระกูลจีเรลลี ได้รื้อฟื้นคัมพานีขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างกลุ่มฆราวาสช่วยงานมุขนายก[[จีราลาโม เดย์ กอนตี แวร์เซรี]] (Girolamo dei Conti Verzeri) คณะฆราวาสนี้แพร่หลายไปในหลายประเทศ โดยแยกกันปกครองเป็นอิสระ ผู้นำภายในคณะจึงมีดำริจะรวมแต่ละเป็นสมาพันธ์เดียว ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1958 จึงได้รับการรับรองจากสันตะสำนักในชื่อใหม่ว่า'''สถาบันฆราวาสผู้ถวายตนของนักบุญอันเจลา เมรีชี''' (Secular Institute of St. Angelia Merici)<ref name="Our History"/>
ฝ่าย "คัมพานีของนักบุญอุร์สุลา" ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมสุดของคณะอุร์สุลินได้เสื่อมลง จนหายไปในสมัยที่[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] รุกรานอิตาลี<ref name="Our History">{{cite web|url=http://www.istitutosecolareangelamerici.org/storia.htm#OUR%C2%A0_HISTORY|work=Istituto Secolare di Sant'Angela Merici|title=Our History|accessdate=27 February 2014}}</ref> ต่อมาราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มัดดาเลนาและเอลีซาเบตตา พี่น้องตระกูลจีเรลลี ได้รื้อฟื้นคัมพานีขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างกลุ่มฆราวาสช่วยงานมุขนายก[[จีราลาโม เดย์ กอนตี แวร์เซรี]] (Girolamo dei Conti Verzeri) คณะฆราวาสนี้แพร่หลายไปในหลายประเทศ โดยแยกกันปกครองเป็นอิสระ ผู้นำภายในคณะจึงมีดำริจะรวมแต่ละเป็นสมาพันธ์เดียว ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1958 จึงได้รับการรับรองจากสันตะสำนักในชื่อใหม่ว่า'''สถาบันฆราวาสผู้ถวายตนของนักบุญอันเจลา เมรีชี''' (Secular Institute of St. Angelia Merici)<ref name="Our History"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:43, 22 สิงหาคม 2559

คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน
ชื่อย่อO.S.U.
คําขวัญSoli Deo Gloria" (สิริโรจนาแด่พระเจ้าแต่ผู้เดียว)
ก่อตั้ง25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900
ประเภทคณะนักบวชคาทอลิก
สํานักงานใหญ่โรม ประเทศอิตาลี
คุณแม่เซลิเซีย หวาง
เว็บไซต์คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมันประเทศไทย

คณะอุร์สุลิน (อังกฤษ: Ursulines) หมายถึงสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วกลุ่มใด ๆ ก็ตามที่นักบุญอันเจลา เมรีชี ริเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการจัดการศึกษาแก่เยาวชนหญิง คณะอุร์สุลินที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน (Ursulines of the Roman Union) นอกจากนี้ยังมีคณะของนักบุญอุร์สุลา (Order Sister of st. Ursula; O.S.U) ซึ่งสมาชิกเป็นนักพรตหญิงที่ใช้ชีวิตอารามวาสี

ประวัติ

อันเจลา เมรีชี สตรีชาวอิตาลี สมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้การศึกษาแก่เยาวชนหญิง ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1532 อันเจลาจึงได้รวมรวบหญิงสาวและหญิงม่ายมาตั้งเป็นคัมพานีของนักบุญอุร์สุลา (Company of St. Ursula) มีสถานะเป็นสถาบันฆราวาสผู้ถวายตน (คือกลุ่มผู้ถวายตัวต่อพระเจ้า โดยปฏิบัติตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร 3 ข้อ แต่ยังอาศัยอยู่ในบ้านของตนร่วมกับฆราวาสอื่น ๆ) และถือเอานักบุญอุร์สุลาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์คณะ

เมื่ออันเจลาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1540 คณะยังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จนแพร่หลายไปทั่วยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สมาชิกของคณะที่เดิมอยู่แบบฆราวาสก็เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างนักพรตหญิงและอาศัยในอาราม ซึ่งแต่ละอารามปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอารามอื่น ๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของมุขนายกประจำมุขมณฑลที่อารามนั้นตั้งอยู่ จึงกลายเป็นคณะนักบวชอารามิกโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่าคณะของนักบุญอุร์สุลา (Order of St. Ursula) สมาชิกของคณะยังคงเน้นทำงานด้านการจัดการศึกษา และได้แพร่หลายมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19[1]

ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 เห็นว่าอาราคณะอุร์สุลินมีอยู่หลายคณะกระจายตามมุขมณฑลต่าง ๆ สมควรจะรวมให้เป็นคณะเดียวกันภายใต้อัคราธิการิณีคนเดียวที่ประจำอยู่กรุงโรม การทำงานจะได้มีประสิทธิภาพขึ้น คุณแม่อธิการิณีมารี เดอ แซ็งฌูว์เลียง โอบรี แห่งอารามบรัวจึงส่งจดหมายเชิญอธิการิณีอารามคณะอุร์สุลินมาร่วมประชุมกันที่กรุงโรม ปรากฏว่ามีทั้งสิ้น 71 อารามที่ยอมตกลงเข้าร่วม จึงเกิดเป็นคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน และคุณแม่มารีย์เป็นอัคราธิการิณีคนแรก สหภาพโรมันนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันก่อตั้งคณะ[2]

ฝ่าย "คัมพานีของนักบุญอุร์สุลา" ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมสุดของคณะอุร์สุลินได้เสื่อมลง จนหายไปในสมัยที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานอิตาลี[3] ต่อมาราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มัดดาเลนาและเอลีซาเบตตา พี่น้องตระกูลจีเรลลี ได้รื้อฟื้นคัมพานีขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างกลุ่มฆราวาสช่วยงานมุขนายกจีราลาโม เดย์ กอนตี แวร์เซรี (Girolamo dei Conti Verzeri) คณะฆราวาสนี้แพร่หลายไปในหลายประเทศ โดยแยกกันปกครองเป็นอิสระ ผู้นำภายในคณะจึงมีดำริจะรวมแต่ละเป็นสมาพันธ์เดียว ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1958 จึงได้รับการรับรองจากสันตะสำนักในชื่อใหม่ว่าสถาบันฆราวาสผู้ถวายตนของนักบุญอันเจลา เมรีชี (Secular Institute of St. Angelia Merici)[3]

อ้างอิง

  1. "The Company of Saint Ursula". Ursulines of the Roman Union. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.
  2. "คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน". หอจดหมายเหตุ มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.
  3. 3.0 3.1 "Our History". Istituto Secolare di Sant'Angela Merici. สืบค้นเมื่อ 27 February 2014.