ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมบัติ เมทะนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
}}
}}


'''ดร.สมบัติ เมทะนี''' (เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2480) ชื่อเล่น '''แอ๊ด''' เป็นนักแสดงและ[[ผู้กำกับภาพยนตร์]][[ชาวไทย]] ผู้ชนะเลิศ[[รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508|รางวัลตุ๊กตาทอง]]และ[[รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2543|รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง]] นอกจากนี้[[กินเนสบุ๊ค]]ยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลก โดยแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง
'''สมบัติ เมทะนี''' (เกิด: 26 มิถุนายน พ.ศ. 2480; ชื่อเล่น '''แอ๊ด''') เป็นนักแสดงและ[[ผู้กำกับภาพยนตร์]][[ชาวไทย]] ผู้ชนะเลิศ[[รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508|รางวัลตุ๊กตาทอง]]และ[[รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2543|รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง]] นอกจากนี้[[กินเนสบุ๊ค]]ยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลก โดยแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:20, 18 สิงหาคม 2559

สมบัติ เมทะนี
จาก World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2547
จาก World Film Festival of Bangkok ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2547
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด26 มิถุนายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)
คู่สมรสกาญจนา เมทะนี
(2502–ปัจจุบัน)
ปีที่แสดง2503–ปัจจุบัน
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2508 - ศึกบางระจัน
นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2534 - มือขวาอาถรรพ์
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2543 - ฟ้าทะลายโจร
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

สมบัติ เมทะนี (เกิด: 26 มิถุนายน พ.ศ. 2480; ชื่อเล่น แอ๊ด) เป็นนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ผู้ชนะเลิศรางวัลตุ๊กตาทองและรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นอกจากนี้กินเนสบุ๊คยังบันทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลก โดยแสดงเป็นพระเอกถึง 617 เรื่อง

ประวัติ

สมบัติ เมทะนี เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของแม่ แต่เมื่ออายุได้เพียง 7 วัน ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่แยกสะพานอ่อน ใกล้แยกปทุมวัน ตามพ่อซึ่งเป็นข้าราชการกรมรถไฟ[1]

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นจึงทำงานครั้งแรกที่บริษัทเอส ซี จี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทน แต่เมื่อฐานะการเงินของบริษัทไม่ดี จึงลาออกมาเพื่อหางานอื่นทำ ระหว่างนี้จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายและเข้าเกณฑ์ทหาร 6 เดือน พ้นเกณฑ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 จึงออกหางานทำ โดยตั้งใจว่าจะรับราชการ ระหว่างที่เดินหางานอยู่นั้น ได้เข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญ เมื่อเป็นที่ถูกตาของแมวมองแถวโรงภาพยนตร์คิงส์-ควีนส์ ย่านวังบูรพา เพราะมีรูปร่างสูงใหญ่ โดยเป็นพระเอกละครโทรทัศน์ทันทีทางช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5 ในปัจจุบัน) คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช ซึ่งเป็นนางเอกภาพยนตร์ชื่อดังก่อนแล้ว โดยมีสุพรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดงรุ่นพี่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแสดง[1]

ในส่วนชีวิตครอบครัวของสมบัติ เมทะนีสมรสกับกาญจนา เมทะนี (ตุ๊) เมื่อปี พ.ศ. 2502[2] มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรชาย 5 คน ธิดา 1 คน คือ สิรคุปต์ เมทะนี (อั๋น), สุรินทร์ เมทะนี (เอิร์ธ) เกียรติศักดิ์ เมทะนี (อั้ม), ศตวรรษ เมทะนี (เอ้), พรรษวุฒิ เมทะนี (อุ้ม) และ สุดหทัย เมทะนี (เอ๋ย)

ซึ่งสมบัติกับกาญจนา ทั้งคู่รู้จักกันในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกันและสมรสกันก่อนที่สมบัติจะเข้าสู่วงการบันเทิงเสียอีก[3][1]

ต่อมาสมบัติ เมทะนีได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ และระดับปริญญาโท-เอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย[4]

นอกจากนี้แล้ว สมบัติ เมทะนี ยังเป็นนักแสดงที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่า เป็นผู้ที่นิยมเล่นเพาะกาย โดยเล่นมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เนื่องจากมีพ่อเป็นนักกีฬา ชอบเล่นกีฬาหลายประเภททั้ง รักบี้, ฟุตบอล, มวย[1]

ปัจจุบัน สมบัติ เมทะนี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี เนื่องจากเป็นผู้ที่รักษาสุขภาพด้วยการเล่นกีฬา ออกกำลังกายอยู่เสมอ เพียงแต่มีปัญหาด้านสายตา ซึ่งไม่สามารถที่มองเห็นในเวลากลางคืน และแพ้แสงจ้า จึงทำให้ไม่สามารถที่จะขับรถด้วยตนเองมาได้นานกว่า 30 ปีแล้ว[1]

การแสดง

ไฟล์:สมบัติ-รัตนาภรณ์ รุ้งเพชร.jpg
สมบัติ กับรัตนาภรณ์ จากเรื่อง รุ้งเพชร ภาพยนตร์เรื่องแรกของสมบัติ

เริ่มเข้าวงการบันเทิง จากการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง หัวใจปรารถนา เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช หลังจากแสดงละครโทรทัศน์อยู่ 4 เรื่องจึงหันไปแสดงภาพยนตร์ เรื่องแรก รุ้งเพชร คู่กับ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง พ.ศ. 2504

ผลงานแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม.ถึง ยุคภาพยนตร์สโคป 35 มม.เสียงพากย์ในฟิล์มและซาวด์ออนฟิล์ม เช่น เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, ศึกบางระจัน, จุฬาตรีคูณ, เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง, กลัวเมีย, ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ

เคยกำกับภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ลูกสาวกำนัน, แม่แตงร่มใบ และ น.ส.ลูกหว้า

เคยปรากฏตัวพิเศษเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์ชุดทางทีวีครั้งแรกครั้งเดียว ใน ผู้หญิงก็มีหัวใจ นำแสดงโดย สุมาลี ทองหล่อ, ฉันทนา ติณสูลานนท์, สุระ นานา ผลงานของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล พร้อมมิตรภาพยนตร์ ช่อง 7 สี พ.ศ. 2511

ในช่วงที่ได้รับความนิยมถึงขีดสุด เคยรับงานแสดงพร้อมกันมากถึง 28 เรื่อง[5]

เป็นนักร้อง มีผลงานอัดแผ่นเสียงอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ จุฬาตรีคูณ, เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ วิวาห์พาฝัน เป็นต้น

เป็นพรีเซนเตอร์ เครื่องเล่นVCDวีซีดี, ดีวีดี/วีดิทัศน์ และ โฮมเธียร์เตอร์ สัญชาติไทยยี่ห้อ “เอเจ (AJ) ” [6]

และเคยเป็นพิธีกรช่วงสั้น ๆ ทางรายการ วิก 07 ทางช่อง 7 เมื่อ พ.ศ. 2533[7]

การเมือง

ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับ 6 จากที่ต้องการ 18 คนด้วยคะแนน 53,526 เสียง แต่ก่อนที่จะได้เข้าตำแหน่งก็มีการทำรัฐประหารก่อน ต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัวแทนฝ่าย สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน

ต่อมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาราช โดยได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 6 สังกัดพรรคประชาราช ลำดับที่ 1[8] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[9][10] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 102[11] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ผลงานทางภาพยนตร์

พ.ศ. 2504 - 2509

ปี พ.ศ. ชื่อภาพยนตร์
2504
2506
2507
2508
2509

พ.ศ. 2510 - 2519

ปี พ.ศ. ชื่อภาพยนตร์
2510
2511
2512
2513
2514
2515
2516
2517
2518
2519

พ.ศ. 2520 - 2529

ปี พ.ศ. ชื่อภาพยนตร์
2520
2521
2522
2523
2524
2525
2526
2527
2528
2529

พ.ศ. 2534 - 2559

ปี พ.ศ. ชื่อภาพยนตร์
2534
2536
2537
2538
2543
2544
2547
2547
2559
  • ลูกทุ่งซิกเนเจอร์

ผลงานทางโทรทัศน์

พรีเซ็นเตอร์

ละคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 บทสัมภาษณ์จากรายการ 9 ซีรีส์ ทางช่อง 9: เสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2556
  2. สมบัติ-กาญจนา ครองรัก&เรือน แบบพอเพียง
  3. http://www.thairath.co.th/people/view/ent/3608
  4. นักการเมืองปริญญาเอก?!!
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ อ้าง
  6. เพลินพิศ ศรีบุรินทร์, Brand Ambassador Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548
  7. ประวัติเจเอสแอล
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรคประชาราช)
  9. ดารา-เสื้อแดงแห่ลงสมัครส.ส.พท.
  10. พท.เปิดตัว"สมบัติ เมทะนี"เป็นสมาชิกใหม่ โว!!คนดังจ่อคิวอีกเพียบ
  11. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2550
  • ท่านขุน บุญราศรี, สมบัติ เมทะนี ดาวในดวงใจ, โกเมนเอก, 2549, ISBN 974-93604-0-0
  • หนึ่งเดียว, ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย, www.popcornmag.com, 2549, ISBN 974-94228-8-0

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม