ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระจูฬปันถกเถระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:เอตทัคคะบุคคล ไปยัง หมวดหมู่:เอตทัคคะ
Brandy Frisky (คุย | ส่วนร่วม)
ภาวนามนปัญญา คือสิ่งที่จะได้จากการเรียนกรรมฐาน จินตมยปัญญาคือ ฟังเขามา (สุตตะ) แล้วคิดต่อ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็น[[เอตทัคคะ]]ในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ '''อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=6994&Z=7014&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52</ref>
เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็น[[เอตทัคคะ]]ในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ '''อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=6994&Z=7014&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52</ref>


พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คือจินตมยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณาให้เห็นความจริงของโลกได้ด้วยตนเองได้หรือไม่ การท่องจำหรือเรียนเก่งไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม
พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คืภาวนามยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณรู้เห็นตามความเป็นจริงของโลกได้ด้วยตนเองได้หรือไม่ การท่องจำหรือเรียนเก่งไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:01, 13 สิงหาคม 2559

พระจูฬปันถก หรือ พระจูฬปันถกเถระ, พระจุลลปันถกะ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็น 1 ในพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้า

พระจูฬปันถก เป็นน้องชายของพระมหาปันถก ท่านบวชตามการสนับสนุนของพี่ชาย เมื่อแรกบวชท่านเป็นคนมีปัญญาทึบมาก ไม่สามารถท่องมนต์หรือเข้าใจอะไรได้เลย จึงทำให้ท่านถูกพระพี่ชายของท่านขับไล่ออกจากสำนัก เมื่อพระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง จึงนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราที่ไม่มีความยั่งยืน ท่านจึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้าขาวนั่นเอง

เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ[1]

พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คืภาวนามยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณรู้เห็นตามความเป็นจริงของโลกได้ด้วยตนเองได้หรือไม่ การท่องจำหรือเรียนเก่งไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม

ประวัติ

ออกบวชเพราะพี่ชาย

พระจูฬปันถกะ เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับพระมหาปันถกเถระผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปก่อนหน้า พระจูฬปันถกได้เห็นพี่ชายมีแต่ผู้คนเคารพกราบไหว้ ดูแล้วอยากเป็นบ้าง จึงถามพี่ชายทำอย่างไรถึงมีผู้คนเคารพกราบไหว้ แล้วน้องจะเป็นได้ไหม พี่ชายจึงให้ออกบวช จากนั้นพี่ชายก็ขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาตด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากอยู่แล้ว

ถูกไล่สึกโดยพี่ชาย

เมื่อท่านออกบวชพระพี่ชายของท่านได้สอนให้ท่องคาถาบทหนึ่งคือ

ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ

ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ

คำแปล: ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น

ปรากฏว่าเวลาผ่านไปถึง 4 เดือน ท่านก็ไม่สามารถท่องคาถาดังกล่าวที่มีเพียง 4 บรรทัดได้ [2] เพราะท่านเป็นคนปัญญาทึบมาก (ท่านกล่าวถึงตนเองเมื่อภายหลังว่า "เมื่อก่อน ญาณคติเกิดแก่เราช้า") จากการผลของกรรมที่ท่านทำไว้ในอดีต ท่านจึงถูกพระพี่ชายของท่านไล่ออกจากสำนัก

พระพุทธเจ้าโปรดพระจูฬปันถก-บรรลุอรหันต์

หลังจากท่านถูกพี่ชายไล่สึก ท่านมีความน้อยเนื้อต่ำใจมาก เพราะยังมีความอาลัยในผ้าเหลือง จึงไม่ยอมรับแม้กิจนิมนต์ที่หมอชีวกโกมารภัจจ์นิมนต์พระ 500 เพื่อรับฉันภัตตกิจในวันรุ่งขึ้น ท่านได้ไปยืนร้องไห้อยู่ที่ใกล้ซุ้มประตูวัดชีวกัมพวัน พอดีกับพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาเห็น จึงทรงเขาไปถาม เมื่อทรางทราบความจึงได้ตรัสว่า "ท่านไม่บวชพระเพื่อุทิศพระพี่ชายที่ไหน ท่านบวชเพื่ออุทิศให้เราต่างหาก ท่านมาอยู่กับเราดีกว่า" จากนั้นทรงลูบศีรษะและจับแขนพากลับเข้าวัดไปที่หน้าพระคันธกุฏี จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านพร้อมกับสั่งให้ท่านลูบผ้านั้นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับภาวนาว่า รโชหรณํ ๆ (แปลว่า เศร้าหมอง) ท่านลูบผ้าได้ไม่นานผ้าขาวนั้นก็หมองคล้ำลง ท่านจึงสติคิดได้ว่า "ผ้านี้แต่ก่อนก็ขาวบริสุทธิ์ แต่พอถูกลูบบ่อย ๆ ก็กลับดำ สรรพสิ่งมันช่างไม่ยั่งยืน" แล้วท่านจึงได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตตภาพร่างกายเป็นอารมณ์จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาในวันนั้นเอง แต่บางตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเล่าเรื่อง จูฬเศรษฐิชาดกให้พระจูฬปันถกเถระฟัง

แสดงฤทธิ์-ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ

เช้าวันต่อมาพระสงฆ์ 599 องค์ พร้อมทั้งพระพุทธองค์เสด็จไปรับภัตตกิจที่บ้านหมอชีวกโกมารภัจจ์ พอหมอชีวกนำภัตเข้ามาถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงปิดบาตรและตรัสว่า "ยังเหลืออีกรูปหนึ่งในวัด" หมอชีวกจึงใช้ให้คนไปนิมนต์ ปรากฏว่าคนนิมนต์เข้าไปวัดเห็นแต่พระสงฆ์นับพันที่พระจูฬปันถกเนรมิตด้วยฤทธิ์มโนมยิทธิขึ้นมา จึงกลับมา พระพุทธองค์จึงให้คนนิมนต์กลับไปบอกพระเหล่านั้นอีกว่า พระพุทธองค์เรียกพระจูฬปันถก เมื่อคนนิมนต์ไปที่วัดและเรียกเช่นนั้น ปรากฏว่าพระทุกรูปตอบว่าตนคือจูฬปันถกหมด คนนิมนต์จึงกลับมาอีก คราวนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้คอยส่งเกตว่าองค์ไหนพูดก่อน ให้คว้ามือองค์นั้นไว้ ปรากฏว่าคนนิมนต์กลับไปทำเช่นนั้น พอจับมือพระจูฬปันถกตัวจริง พระที่ถูกเนรมิตรก็หายไปหมด จึงเป็นที่รู้กันว่าพระจูฬปันถกได้กลายเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาในครั้งนั้นเอง

ในวันนั้น พระพุทธองค์จึงทรงให้พระจูฬปันถกทำอนุโมทนาแก่หมอชีวก และด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงยกย่องให้พระจูฬปันถกเป็นเอตทัคคะในด้าน ผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ [3]

ท่านดำรงสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลก็ได้ดับขันธปรินิพพาน

บุรพกรรม

พระจูฬปันถก ตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นน้องชายของกุฎุมพี ชาวเมืองหงสวดี (คือพระมหาปันถกในชาติปัจจุบัน) วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพี่ชายและพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และด้านชำนาญในมโนมยิทธิ (การใช้ฤทธิ์ทางใจ) แล้วปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏ ด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาของท่าน และได้รับพุทธพยากรณ์ว่าจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก 100,000 กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในเจโตวิมุติ และชำนาญในมโนมยิทธิ

เมื่อท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่นๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ในชาติที่พบพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้น ท่านออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ มีสติปัญญาดีมาก ทรงจำพระพุทธพจน์ไว้ได้มากและแม่นยำ คราวหนึ่งได้ฟังพระปัญญาทึบรูปหนึ่งสาธยายพระพุทธพจน์ผิดๆ ถูกๆ แล้วหัวเราะเยาะ จนพระรูปนั้นอายเลิกท่องจำพระพุทธพจน์อีกต่อไป จากชาตินั้นท่านเวียน ว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ[4]

จนมาถึงสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านเกิดมาเป็นน้องชายของพระมหาปันถก ตอนบวชใหม่ๆ บาป กรรมที่เคยหัวเราะเยาะพระปัญญาทึบตามมาให้ผล โดยทำให้ท่านไม่ได้กัลยาณมิตรแนะนำการปฏิบัติธรรม จึงไม่สามารถท่องจำคาถาแม้เพียงบทเดียวได้ จนถูกพระมหาปันถกขับไล่ให้สึก แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เจริญกรรมฐาน จึงได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนา มาแต่อดีตชาติ ประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วมีความชำนาญในการเข้าสมาธิ และชำนาญในการใช้ฤทธิ์ทางใจเนรมิตร่างกายท่านได้ตั้ง 1,000 ร่างในขณะจิตเดียว พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านชำนาญในการเข้าสมาธิ (เจโตวิมุติ) และชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ[5]

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  2. พระจูฬปันถกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ. เว็บไซต์พระธรรมขันธ์ พระไตรปิฏกออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เอกบุคคลบาลี. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  4. หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 72 พ.ย. 49 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ. ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
  5. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ เอกบุคคลบาลี. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52

แหล่งข้อมูลอื่น