ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเลยพิทยาคม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Songpaok (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 233: บรรทัด 233:
* ศาสตราจารย์[[สุรพล นิติไกรพจน์]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ศาสตราจารย์[[สุรพล นิติไกรพจน์]] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* [[ไพโรจน์ พรหมสาส์น]] อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
* [[ไพโรจน์ พรหมสาส์น]] อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
* [[อัสนี โชติกุล]] นักร้อง/นักดนตรี
* [[วสันต์ โชติกุล]] นักร้อง/นักดนตรี


== เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน ==
== เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:09, 3 สิงหาคม 2559

โรงเรียนเลยพิทยาคม
Loeipittayakom School
ไฟล์:LPK.jpg
ช่อชัยพฤกษ์กับคบเพลิง หลอมรวมกับคติพจน์
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นล.พ.ค. (L.P.K.)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญคณสฺส สามคฺคี สุขา (ความสามัคคีของหมู่คณะเป็นสุข)
สถาปนาพ.ศ. 2450 สโมสรวิทยาลัย
24 มีนาคม พ.ศ. 2515
เลยพิทยาคม
ผู้ก่อตั้งกรมสามัญศึกษา
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
ผู้อำนวยการธวัช มูลเมือง
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี██████ น้ำเงิน - ชมพู
เพลงมาร์ชเลยพิทยาคม
หนังสือพิมพ์วารสารรอบรั้วเลยพิทย์
หนังสือรุ่นหนังสือที่ระลึกประจำปี
โทรศัพท์0-4281-1290
แฟกซ์0-4286-1566
ต้นไม้ประจำโรงเรียนพญาสัตบรรณ / จามจุรี
เว็บไซต์http://www.loeipit.ac.th

โรงเรียนเลยพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดเลย และ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ ถนนเลย-ด่านซ้าย บ้านนาหนอง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000 สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2515 ปัจจุบัน เปิดสอนระดับชั้น ม.1 - ม.6

ประวัติ

โรงเรียนเลยพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่รวมโรงเรียนสตรีเลย (โรงเรียนประจำจังหวัดหญิง) กับโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย) ตามประกาศของ กรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2515 ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมวิสามัญศึกษา (กรมสามัญศึกษา) ในการปรับปรุงโรงเรียนของรัฐบาลทั่วประเทศให้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยโรงเรียนรัฐบาลของจังหวัดใดก็ตามหากพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่สามารรับนักเรียนได้ถึง 2,000 คน ในปี พ.ศ. 2515 กระทรวงศึกษาธิการก็จะรวมโรงเรียนประจำจังหวัดชายและโรงเรียนประจำจังหวัดหญิงเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนเดียวซึ่งในระยะเดียวกันนี้ จังหวัดอื่นๆ ก็มีการรวมโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งชายและหญิงเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนเดียว เช่น โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี โรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม จังหวัดพิจิตร โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย จึงต้องย้ายจากสถานที่เดิมที่มีพื้นที่เพียง 23 ไร่ (โรงเรียนเมืองเลยในปัจจุบัน) มารวมกับโรงเรียนสตรีเลย ซึ่งมีพื้นที่ถึง 81 ไร่ 2 งาน 04 5/10 ตารางวา

หลังจากมีประกาศของ กรมสามัญศึกษา แล้ว นายสมสิน โทณะสุต ศึกษาธิการจังหวัดเลยได้ดำเนินการย้ายโรงเรียนในช่วงปิดภาคเรียนและได้แต่ตั้ง นายเฉลิม จิรนาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเลยพิทยาคม เมื่อเริ่มเปิดทำการสอนในปั พ.ศ. 2515 จัดการเรียนแบบสหศึกษา มีห้องเรียน 35 ห้อง นักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,468 คน เป็นชาย 758 คน หญิง 710 คน ครู-อาจารย์ 61 คน โดยมี ดร.ก่อ สวัสดิพานิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา และ นายวิจิน สัจจะเวทะ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เปิดป้ายโรงเรียนเลยพิทยาคม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2515 ในปี พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้ดำเนินการสอน 2 ผลัด ปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ “คมภ.2 รุ่น 1” ปี พ.ศ. 2521 ได้รับโอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) จากโรงเรียนเมืองเลย จำนวน 2 ห้อง และได้เปลี่ยนระบบการศึกษาจาก 7:3:2 มาเป็น 6:3:3

ข้อมูลทั่วไป

ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 12:11:12/11:11:11 รวม 68 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 210 คน แยกเป็น ข้าราชการครู 156 คน ข้าราชการ ก.พ. 1 คน ลูกจ้างประจำตำแหน่งยาม นักการภารโรง 9 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่สอน 9 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่สนับสนุน 13 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่ยาม นักการภารโรง พนักงานขับรถ 16 คน ครูชาวต่างประเทศ จำนวน 10 คน [1] นักเรียน 3,106 คน [2] มีอาคารเรียนถาวร 6 หลัง อาคารประกอบ 11 หลัง สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดภารกิจ ให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานคุณภาพ ดังต่อไปนี้

  • 1. โรงเรียนยอดนิยม ที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจ จึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
  • 2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามกรอบกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ดำเนินงานโดยเน้น “ห้องเรียนคุณภาพ” เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • 3. โรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร ดังนี้
    • 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย
      • 1) หลักสูตรโรงเรียนเลยพิทยาคม พุทธศักราช 2552 ตามแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในชั้น ม.1 - ม.6
    • 3.2 โครงการพิเศษ ประกอบด้วย
      • 1) โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
      • 2) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
      • 3) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SC) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 4) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SM) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 5) โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program : ICE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 6) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ต้องจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality management System) ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)
      • 7) โรงเรียนที่ต้องขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ “จุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย”

ความหมายและตราของโรงเรียน

ไฟล์:LPK.jpg

  • สัญลักษณ์
    - คบเพลิง เป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่างที่ส่องนำทาง เพื่อให้การศึกษาก้าวรุดหน้าด้วยความมั่นคง และเจริญรุ่งเรือง

- ช่อชัยพฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความปรองดอง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะนำเยาวชนให้เป็นผู้มีความพร้อมด้วยความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมอันดีงาม

  • สี น้ำเงิน-ชมพู เป็นสัญลักษณ์เตือนใจนักเรียนและครู-อาจารย์ของโรงเรียน ให้รำลึกถึงโรงเรียนเดิมที่รวมกันมาเป็นโรงเรียนเลยพิทยาคม

สีน้ำเงิน เป็นสีประจำโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย
สีชมพู เป็นสีประจำโรงเรียนสตรีเลย

อาณาเขต

มีพื้นที่รวม 81 ไร่ 2 งาน 04 5/10 ตารางวา

รายชื่ออาคารโรงเรียนเลยพิทยาคม

  • อาคาร 25 ปี เลยพิทยาคม (อเนกประสงค์)
  • อาคาร 1 (พาราซานโตส)
  • อาคาร 2 (อาคาร sc/sm)
  • อาคาร 3 (อาคารวิทยาศาสตร์)
  • อาคาร 4 (จามจุรี)
  • อาคาร 5
  • อาคาร 6 (อินทนิล)
  • หมวดคหกรรมศิลป์
  • หมวดอุตสาหกรรมศิลป์
  • หมวดทัศน์ศิลป์
  • หมวดนาฏศิลป์
  • หมวดดนตรี/วงโยธวาทิต
  • อาคารดนตรีรวมใจ
  • อาคารโคว น่ำ เซ้ง

แผนการเรียน

โรงเรียนเลยพิทยาคมเปิดสอนในแผนการเรียนดังต่อไปนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

จำนวน 11 ห้อง 2 ระดับชั้น 12 ห้อง 1 ระดับชั้น รวม 34 ห้อง

  • ห้อง 1-3 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิศศาสตร์
  • ห้อง 4-6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • ห้อง 7-9 แผนการเรียนคณิศศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • ห้อง 10 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program)
  • ห้อง 11-12 โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (ER-English Program)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

จำนวน 11 ห้องต่อระดับชั้น รวม 36 ห้อง

  • ห้อง 1 แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี ทัศนศิลป์ และเทคโนโลยี
  • ห้อง 2 ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน ICE (Intensive Chinese and English Program)
  • ห้อง 4-9 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 10 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Science-Math Program-SM)
  • ห้อง 11 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science Program-SC)

แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนเลยพิทยาคม

  • ห้องเรียนพิเศษ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) EP เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ห้องเรียนพิเศษ ICE (Intensive Chinese and English Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science Program-SC) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Science-Math Program-SM) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรมภายในโรงเรียน

  • กิจกรรมกีฬาภายใน "เลยพิทย์เกมส์" (กีฬาสี)

โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงปลายเดือนพฤษจิกายนของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยแบ่งเป็น 4 สี มีสี เหลือง เขียว ฟ้า แดง และมีการแข่งขันกีฬาดังต่อไปนี้

  • ฟุตบอล
  • ฟุตซอล
  • บาสเกตบอล
  • วอลเลย์บอล
  • เซปักตะกร้อ
  • เปตอง
  • กรีฑา
  • กิจกรรมการเชียร์ของคณะต่างๆ

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาภายในจะจัดขึ้นที่สนามกีฬาโรงเรียนเลยพิทยาคม ในวันเปิดการแข่งขันจะมีการเดินขบวนพาเหรดของทั้ง 4 สีเดินจากบริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองเลย วงเวียนน้ำพุ ผ่านสีแยกศาลากลางจังหวัด ไปจนถึงสนามกีฬาโรงเรียนเลยพิทยาคม โดยกิจกรรมในวันพิธีปิดจะมีการแข่งขันกรีฑา การแข่งขันฟุตบอลคุณครู การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และกิจกรรมชักกะเย่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การประกวดกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์จาก 4สี และพิธีมอบถ้วยรางวัล

  • มหกรรมวิชาการเฟ้นหาคนเก่ง (วันวิชาการ)

โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดมหกรรมวิชาการเฟ้นหาคนเก่ง ซึ่งจะมีการแข่งขันทางวิชาการและการแสดงผลงานของนักเรียน ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี ปีละ 1 วัน

  • กิจกรรมวันเด็ก

โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดงานวันเด็กของนักเรียนเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในวันศุกร์ก่อนวันเด็กแห่งชาติ 1 วัน และไม่มีการเรียนการสอนในวันนั้น มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมากมาย อาทิ LPK Music Award LPK Cover Dance LPK Cosplay โรงทานแจกจ่ายอาหาร ของเล่น รวมถึงกิจกรรมสอยดาว ประกวด ดาว เดือน ไอดอล อีกด้วย

ทำเนียบผู้บริหาร

นับแต่การสถาปนาโรงเรียนสโมสรวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2440 โรงเรียนสตรีเลยเมื่อ พ.ศ. 2482 จวบจนยุบรวมเป็นโรงเรียนเลยพิทยาคมในปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 45 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนเลยพิทยาคมมาแล้วทั้งสิ้น 26 คน ดังนี้

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (พ.ศ. 2450 - พ.ศ.2515)

ลำดับที่ ชื่อ - สกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1 นายทอน สุพรมจักร พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2452 ครูใหญ่
2 นายเปลื่อง สืบทิม พ.ศ. 2453 พ.ศ. 2454 ครูใหญ่
3 นายอินทร์ พิมสอน พ.ศ. 2455 พ.ศ. 2458 ครูใหญ่
4 รองอำมาตย์โทโปร่ง บุณยารมย์ พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2460 ครูใหญ่
5 ราชบุรุษเฉลย อิ่นทุมาน พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2462 ครูใหญ่
6 ราชบุรุษขุนนาก บุนบุตรศึกษากร (ป.ม.) พ.ศ. 2463 พ.ศ. 2468 ครูใหญ่
7 ราชบุรุษขุนเดช กุญชรศึกษา (ป.ม.) พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2487 ครูใหญ่
8 นายวิศาล ศิวารัตน์ (ป.ม.) พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2490 ครูใหญ่
9 นายสุวรรณ คุณพงศ์ (ป.ม.) พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2493 ครูใหญ่
10 นายชวน สุทธิรัตน์ (ป.ม.) พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2497 ครูใหญ่
11 นายเฉลิม จิรนาท (ป.ม.) พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2515 อาจารย์ใหญ่

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสตรีเลย (พ.ศ.2482 - พ.ศ.2515)

ลำดับที่ ชื่อ - สกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1 รักษาการ
นางสาวจำนง บำรุงสวัสดิ์ (ม.8)
พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2482 รักษาการแทน
2 นางสาวสุมาลี เวสประชุม (พ.ม) พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2486 ครูใหญ่
3 นางเปี่ยมศรี จุลกาญจน์ (ป.ป.) พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2488 ครูใหญ่
4 นางสาวน้อม นิคมภักดี (ป.ม.) พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2490 ครูใหญ่
5 นางสาวบุญกอบ วิสมิตะนันท์ (ป.ม.) พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2495 ครูใหญ่
6 นางจารุนีล์ โชติกุล (ป.ม.) พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2515 อาจารย์ใหญ่

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเลยพิทยาคม (ตั้งแต่พ.ศ. 2515)

ลำดับที่ ชื่อ - สกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1 นายเฉลิม จิรนาท (ป.ม.) พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2452 อาจารย์ใหญ่
2 นายทรวง ยุวกาญจน์ (พ.ม.,กศ.บ.) พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2520 อาจารย์ใหญ่
3 นายวิลาศ วีระสุโข (ป.ม.,กศ.บ.) พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการ
4 นายสนิทพงศ์ นวลมณี (ค.ม.,น.บ.) พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2529 ผู้อำนวยการ
5 นายสุเมธ กัปโก (กศ.ม) พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการ
6 นายประพนธ์ พลเยี่ยม (กศ.ม) พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2541 ผู้อำนวยการ
7 นายโกศล บุญไชย (กศ.ม) พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการ
8 นายกิตติพิชญ์ พสิษฐ์เนาวกุล (ศษ.ม) พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการ
9 นายธวัช มูลเมือง (ค.ม) พ.ศ. 2554 ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

องค์กรภายในโรงเรียน

  • สมาคมผู้ปกครองและครูเลยพิทยาคม
  • สมาคมศิษย์เก่า สโมสรวิทยาลัย สตรีเลย เลยพิทยาคม

เกียรติประวัติโรงเรียนเลยพิทยาคม

  1. โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
    จาก กระทรวงศึกษาธิการ
  2. โรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ ปลอดยาเสพติด ประจำปี 2542
    จาก กระทรวงศึกษาธิการ
  3. โรงเรียนรักษาศีล 5
    จาก กระทรวงศึกษาธิการ
  4. นายพงษ์เทพ เสนานุช นักเรียนโรงเรียนเลยพิทยาคม สอบ O-Net วิชาคณิตศาสตร์ ได้ 100 คะแนนเต็ม เมื่อปี 2555

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน

เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

แม่แบบ:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 (เลย-หนองบัวลำภู)

แม่แบบ:รายชื่อโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ แม่แบบ:โรงเรียนรัฐบาล