ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 51: บรรทัด 51:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ [[15 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2496]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็น[[คนไทยเชื้อสายจีน]][[ฮกเกี้ยน]] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และต่อปริญญาโท [[MBA]] สาขาบริหารการเงิน [[สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]] และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่[[มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น]] สหรัฐอเมริกา
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ [[15 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2496]] ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เป็น[[คนไทยเชื้อสายจีน]][[ฮกเกี้ยน]] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และต่อปริญญาโท [[MBA]] สาขาบริหารการเงิน [[สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]] และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่ [[มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น]] สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์") มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ (คิด) นายณพล จาตุศรีพิทักษ์ (เต่๋า) และเด็กชายณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ (คลัง)
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์")มีบุตร 2 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ และนายณพล จาตุศรีพิทักษ์


== การทำงาน ==
== การทำงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:39, 2 สิงหาคม 2559

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ไฟล์:สมคิด จาตุศรีพิทักษ์.jpg
รองนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าธารินทร์ นิมมานเหมินท์
ถัดไปสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2547 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ถัดไปทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าทนง พิทยะ
ถัดไปเกริกไกร จีระแพทย์
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ถัดไปพลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร
พลเรือเอก ณะ อารีนิจ
พลเอก สมหมาย เกาฏีระ
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองพรรคไทยรักไทย
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
คู่สมรสอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์

ศาสตราภิชาน รองศาสตราจารย์ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ[1] รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557

ประวัติ

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่ มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์") มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ (คิด) นายณพล จาตุศรีพิทักษ์ (เต่๋า) และเด็กชายณฉัตร จาตุศรีพิทักษ์ (คลัง)

การทำงาน

งานการเมือง

ชีวิตภายหลังการรัฐประหาร 2549

ดร.สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป

หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็น สมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

ดร.สมคิด ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[5]

หลังการรัฐประหาร 2557

ดร.สมคิด ได้เข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ดร.สมคิด จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เขาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กรณีกระทรวงการคลังไล่ออกนายสาธิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2559[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/096/14.PDF
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
  4. เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
  5. บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/043/7.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕) เล่ม 119 ตอนที่ 21ข วันที่ 4 ธันวาคม 2545
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ถัดไป
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 61)
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
สุวิทย์ คุณกิตติ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
จาตุรนต์ ฉายแสง
นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
วิษณุ เครืองาม
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
พินิจ จารุสมบัติ
สมศักดิ์ เทพสุทิน
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 55)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ไฟล์:ตรากระทรวงการคลัง.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 54)
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ไฟล์:ตรากระทรวงการคลัง.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 54-55)
(10 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548)
ทนง พิทยะ
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 55)
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
เกริกไกร จีระแพทย์