ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองสิงห์บุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
|ความหนาแน่น= 2,489
|ความหนาแน่น= 2,489
<!-- ข้อมูลสำหรับติดต่อ (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
<!-- ข้อมูลสำหรับติดต่อ (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
|สำนักงาน= สำนักงานเทศบาลเมืองสิงห์บุรี <br>ถนนวิไลจิตต์ ตำบลบางพุทรา [[อำเภอเมืองสิงห์บุรี|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดสิงห์บุรี]] 16000
|สำนักงาน= สำนักงานเทศบาลเมืองสิงห์บุรี <br>ถนนวิไลจิตต์ ตำบลบางพุทรา [[อำเภอเมืองสิงห์บุรี|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดสิงห์บุรี]] 16000 73000
|โทรศัพท์= 0 3652 3007,0 3652 3075
|โทรศัพท์= 0 3652 3007,0 3652 3075
|โทรสาร= 0 3651 1328
|โทรสาร= 0 3651 1328

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:54, 23 กรกฎาคม 2559

เทศบาลเมืองสิงห์บุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Sing Buri City
คำขวัญ: 
ถิ่นวีระชนคนกล้า คู้หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายไสวรินทร์ ศรีชำนิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.81 ตร.กม. (3.02 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2551)
 • ทั้งหมด19,439 คน
 • ความหนาแน่น2,489 คน/ตร.กม. (6,450 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองสิงห์บุรี
ถนนวิไลจิตต์ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี 16000 73000
โทรศัพท์0 3652 3007,0 3652 3075
โทรสาร0 3651 1328
เว็บไซต์http://www.muangsing.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองสิงห์บุรี หรือ เมืองสิงห์ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและคมนาคมของจังหวัดสิงห์บุรี เป็นที่ตั้งของของหน่วยงานราชการระดับจังหวัด และสถานศึกษาที่สำคัญทั้งของรัฐและเอกชนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา

ประวัติเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

เทศบาลเมืองสิงห์บุรี เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และเป็นเทศบาลขนาดกลาง ประวัติการจัดตั้งดังนี้ คือ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2460 สมัยมหาเสวกเอกเจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีการประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลเมืองสิงห์บุรี มณฑลกรุงเก่า ตำบลบางพุทรา (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองสิงห์บุรี) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 34 ปี 2460

ต่อมาในปี 2478 ได้ยกฐานะสุขาภิบาลเมืองสิงห์บุรีเป็นเทศบาลเมืองสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52) ในขณะนั้นมีพื้นที่การปกครอง 1.7 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ขยายเขตเทศบาลออกไปอีก 6.11 ตารางกิโลเมตร ทำให้ปัจจุบันเทศบาลมีพื้นที่ ทั้งหมด 7.81 ตารางกิโลเมตร

ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

สิงห์คู่ ชูพาน

คำขวัญเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

ตึกเก่า ร.5 นาวา 2 สาย หลากหลายช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตัวเทศบาลเป็นที่ราบริมฝั่งน้ำ ย่านเศรษฐกิจอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ ประมาณ 142 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลพบุรี ประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 41 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดชัยนาท ประมาณ 55 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 90 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ ประมาณ 95 กิโลเมตร มีพื้นที่ 7.81 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

ประชากร

จำนวนประชากรชาย 9,093 คน จำนวนประชากรหญิง 10,163 คน จำนวนครัวเรือน 7,443 ครัวเรือน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 19,439 คน จำนวนชุมชน 13 ชุมชน ได้แก่ 1. ชุมชนวัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์ 2.ชุมชนวัดตึกราชา 3.ชุมชนวัดสังฆราชาวาส 4.ชุมชนวัดโพธิ์ข้าวผอก 5.ชุมชนวัดหัวว่าว 6.ชุมชนวัดสว่างอารมณ์ 7.ชุมชนวัดพรหมสาคร 8.ชุมชนวัดโพธิ์แก้วนพคุณ 9.ชุมชนชาวตลาดสิงห์บุรี 10.ชุมชนวิทยาลัยเทคนิค 11.ชุมชนบ้านบางแคใน 12.ชุมชนบ้านบางแคนอก 13.ชุมชนบ้านบางกระบือ

การศึกษา

เทศบาลเมืองสิงห์บุรีจัดเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบด้วยสถานศึกษาที่เป็นของรัฐและเอกชน ดังนี้

  • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี
  1. โรงเรียนอนุบาลสิงห์บุรี
  2. โรงเรียนอนุบาลเมืองสิงห์บุรี
  3. โรงเรียนวัดพรหมสาคร
  4. โรงเรียนวัดศรัทธราภิรมณ์
  5. โรงเรียนวัดโพธิ์ข้าวผอก
  6. โรงเรียนสิงห์บุรี (มัธยมศึกษา)
  7. โรงเรียนสิงหพาหุ"ประสานมิตรอุปถัมภ์" (มัธยมศึกษา)
  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  1. โรงเรียนเทศบาล 1 วัดโพธิ์แก้วนพคุณ
  2. โรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสฐียรวัฒนดิษฐ์
  3. โรงเรียนเทศบาล 3 อนุบาลพรหมรวมมิตร
  4. โรงเรียนเทศบาล 4 รักษ์เมืองสิงห์
  • สังกัดคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา
  1. วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี
  2. วิทยาลัยอาชีวะศึกษาสิงห์บุรี
  3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี
  • สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
  1. โรงเรียนอินทโมลีประทาน
  2. โรงเรียนอนุบาลโพธิวรานุสรณ์
  3. โรงเรียนอนุบาลแสงเทียน
  4. โรงเรียนพนิชการสิงห์บุรี
  5. โรงเรียนบริหารธุรกิจสิงห์บุรี

การสาธารณสุข

ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรีมีหน่วยบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วย โรงพยบาล 4 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง คลีนิคเอกชน 17 แห่ง ดังนี้

  1. โรงพยาบาลสิงห์บุรี (รพท.ขนาด 330 เตียง)
  2. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชการ (รพ.เอกชน ขนาด 150 เตียง)
  3. โรงพยาบาลขุนสรรค์ (รพ.เอกชน ขนาด 30 เตียง)
  4. โรงพยาบาลแพทย์ชูชัย (รพ.เอกชน ขนาด 10 เตียง)

สถานที่ที่น่าสนใจในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีและศาลจังหวัดสิงห์บุรี (เก่า)

ตั้งอยู่บนถนนวิไลจิตต์ ตำบลในเมือง ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลจังหวัดสิงห์บุรีสร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) และศาลากลางจังหวัดสร้างขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454) สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตึกก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทรงยุโรป มีความสวยงามและมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2533

วัดสวางอารมณ์

ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปทางลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า 300 ตัว ซึ่งพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด-พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา ตัวหนังใหญ่ที่ใช้แสดงแบ่งเป็นชุดใหญ่ ๆ ได้ 4 ชุด คือ ชุดศึกใหญ่ (ศึกทศกัณฐ์) ชุดศึกมงกุฎ-บุตรลบ ชุดนาคบาศ และชุดศึกวิรุณจำบัง มีการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 08.30-17.00 น. สนใจเข้าชมการแสดงกรุณาติดต่อล่วงหน้า โทร. 08 1851 6205, 08 1802 6085

วัดกระดังงาบุปผารม

ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลบางกระบือ อยู่เลยจากวัดประโชติการามไปเล็กน้อย มีโบสถ์รูปทรงสมัยใหม่ที่งดงามไม่เหมือนโบสถ์แห่งไหนสร้างอยู่บนฐานศาลาการเปรียญหลังเก่า และวัดนี้ยังมีเจดีย์โบราณทรงระฆังคว่ำคล้ายเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น ฐานเป็นชั้น มีซุ้มทรงระฆังตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์องค์นี้นับว่ามีความสมบูรณ์ที่สุดที่มีอยู่ในสมัยเดียวกันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว นอกจากนี้ ด้านหน้าเจดีย์ยังมีวิหารเก่าแก่หลังคามุมด้วยกระเบื้องดิน บานประตูโบสถ์เป็นไม้แกะสลักลวดลายสวยงามมาก การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 311 เส้นสิงห์บุรี-ชัยนาท (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 6 ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น