ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประปาส่วนภูมิภาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
== พื้นที่บริการ ==
== พื้นที่บริการ ==
การประปาส่วนภูมิภาค มีเขตพื้นที่บริการแบ่งออกเป็น 10 เขต ได้แก่<ref>[http://www.pwa.co.th/general/regional.html การแบ่งเขตการบริหารของ กปภ.]</ref>
การประปาส่วนภูมิภาค มีเขตพื้นที่บริการแบ่งออกเป็น 10 เขต ได้แก่<ref>[http://www.pwa.co.th/general/regional.html การแบ่งเขตการบริหารของ กปภ.]</ref>
# การประปาส่วนภูมิภาคเขต 1 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด และระยอง
# การประปาส่วนภูมิภาคเขต 1 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด และระยอง
# การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท
# การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท
# การประปาส่วนภูมิภาคเขต 3 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
# การประปาส่วนภูมิภาคเขต 3 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:40, 23 กรกฎาคม 2559

การประปาส่วนภูมิภาค
Provincial Waterworks Authority
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ)
สำนักงานใหญ่72 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งบประมาณประจำปี2,890.7539 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • จิรชัย มูลทองโร่ย, ประธานกรรมการ
  • รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์, ผู้ว่าการ
ต้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์http://www.pwa.co.th

การประปาส่วนภูมิภาค หรือ กปภ. (อังกฤษ: Provincial Waterworks Authority) เป็นรัฐวิสาหกิจหนึ่งในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 มีหน้าที่ผลิตและให้บริการเกี่ยวกับน้ำประปาในทุกพื้นที่ของประเทศไทย (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ) อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลขององค์การอนามัยโลก

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้ง "กรมสุขาภิบาล" เพื่อบริหารจัดการน้ำมาใช้ในพระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 รัฐบาลในขณะนั้นได้อนุมัติให้ กรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างการประปาขึ้น ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ใช้ชื่อว่า "การประปาพิบูลสงคราม" เพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำให้ประชาชน และได้ขยายไปยังต่างจังหวัดในปี พ.ศ. 2497 รวม 6 แห่ง คือ ขอนแก่น ราชบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และ ภูเก็ต

การผลิตและจำหน่ายน้ำสำหรับประชาชน เดิมแบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ

  • กองประปาภูมิภาค กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบระบบประปาในเขตชุมชนที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 5,000 คน ขึ้นไป
  • กองประปาชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบระบบประปาในหมู่บ้าน

ต่อมาได้มีการศึกษาวิธีการจัดรูปแบบการบริหารจัดการประปาภูมิภาค โดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และมีการตราพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มีผลให้กิจการประปาของกรมโยธาธิการ และกรมอนามัย ถูกโอนมารวมกันเป็น "การประปาส่วนภูมิภาค" ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522[2]

พื้นที่บริการ

การประปาส่วนภูมิภาค มีเขตพื้นที่บริการแบ่งออกเป็น 10 เขต ได้แก่[3]

  1. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 1 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด และระยอง
  2. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท
  3. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 3 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
  4. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 4 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง และชุมพร
  5. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล ตรัง และพัทลุง
  6. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 6 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด
  7. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
  8. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 8 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ
  9. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 9 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง และลำพูน
  10. การประปาส่วนภูมิภาคเขต 10 รับผิดชอบการบริการในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร และกำแพงเพชร

อ้างอิง

ดูเพิ่ม