ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"

พิกัด: 7°00′39″N 100°29′49″E / 7.01083°N 100.49694°E / 7.01083; 100.49694
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 142: บรรทัด 142:
* [[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|คณะรัฐศาสตร์]]
* [[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|คณะรัฐศาสตร์]]
* คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
* คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี
{{ล่าง}}

=== วิทยาเขตตรัง ===
{{บน}}
* [[คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ]]
* [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]]
{{กลาง}}
* วิทยาลัยนวัตกรรมการแสดงและการจัดการ
{{ล่าง}}
{{ล่าง}}


บรรทัด 162: บรรทัด 170:
{{ล่าง}}
{{ล่าง}}


=== วิทยาเขตตรัง ===
{{บน}}
* [[คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ]]
* [[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]]
{{กลาง}}
* วิทยาลัยนวัตกรรมการแสดงและการจัดการ
{{ล่าง}}


=== [[สถาบันสมทบ]] ===
=== [[สถาบันสมทบ]] ===
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับวิทยาลัยพยาบาลในสังกัด[[สถาบันพระบรมราชชนก]] สำนักงานปลัดกระทรวง [[กระทรวงสาธารณสุข]] เข้าสมทบในมหาวิทยาลัย <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00124514.PDF พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๔๖], เล่ม ๑๒๐, ตอน ๓๖ก, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า๑</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/A/096/10.PDF พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙], เล่ม ๑๒๓, ตอน ๙๖ก, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑๐ </ref> ดังนี้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับวิทยาลัยพยาบาลในสังกัด[[สถาบันพระบรมราชชนก]] สำนักงานปลัดกระทรวง [[กระทรวงสาธารณสุข]] เข้าสมทบในมหาวิทยาลัย <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00124514.PDF พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๔๖], เล่ม ๑๒๐, ตอน ๓๖ก, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า๑</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/A/096/10.PDF พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙], เล่ม ๑๒๓, ตอน ๙๖ก, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑๐ </ref> ดังนี้
{{บน}}
{{บน}}
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] ตรัง
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] [[นครศรีธรรมราช]]
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] ยะลา
{{กลาง}}
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] สงขลา
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] สุราษฎร์ธานี
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] สุราษฎร์ธานี
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] [[นครศรีธรรมราช]]{{กลาง}}
{{ล่าง}}
{{ล่าง}}
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] ตรัง
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] สงขลา
* [[วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี]] ยะลา


=== สถาบันเรียนร่วม ===
=== สถาบันเรียนร่วม ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:56, 23 กรกฎาคม 2559

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อย่อม.อ. / PSU
คติพจน์ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา22 กันยายน พ.ศ. 2510
ทุนทรัพย์฿4,171,014,200
(2012)[1]
อธิการบดีรศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล
นายกสภามหาวิทยาลัยศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
ผู้ศึกษา39,700 (2012)[2]
ปริญญาตรี34,000 (2012)
บัณฑิตศึกษา5,700 (2012)
ที่ตั้ง
วิทยาเขตหาดใหญ่
ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วิทยาเขตปัตตานี
ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
วิทยาเขตภูเก็ต
ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ตำบลด่านมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วิทยาเขตตรัง
ถนนตรัง-กันตัง ตำบลควนปริง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

7°00′39″N 100°29′49″E / 7.01083°N 100.49694°E / 7.01083; 100.49694
ต้นไม้ศรีตรัง
สี  น้ำเงิน
เครือข่ายASAIHL
มาสคอต
นางสาวศรีตรัง
เว็บไซต์www.psu.ac.th
ไฟล์:Psu logo.jpg

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Prince of Songkla University; อักษรย่อ: ม.อ.) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย ตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 จึงถือว่าวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสงขลานครินทร์

ในระยะแรกของการก่อตั้ง ได้รับนักศึกษาเข้าศึกษาครั้งแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นสถานที่ศึกษา และปีต่อมา พ.ศ. 2511 ก็เริ่มย้ายนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มาเรียนที่จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2514 ย้ายนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเรียนที่ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด พ.ศ. 2520 เปิดวิทยาเขตภูเก็ต พ.ศ. 2533 เปิดวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ พ.ศ. 2534 เปิดวิทยาเขตตรัง

ประวัติ

กรมหลวงสงขลานครินทร์

เมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่ภาคใต้ โดยเริ่มต้นจากการจัดตั้ง "วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์" เพื่อรอการพัฒนาขึ้นเป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติหลักการในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคใต้ขึ้นที่ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยจะใช้เป็นที่ตั้งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "มหาวิทยาลัยภาคใต้" ซึ่งมีสำนักงานชั่วคราวของมหาวิทยาลัยอยู่ที่อาคารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (อาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)

หลังจากนั้น คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ โดย พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานชื่อให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงถือว่าวันที่ 22 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันสงขลานครินทร์"

ในปี พ.ศ. 2510 มหาวิทยาลัยที่จังหวัดปัตตานีก่อสร้างเสร็จในบางส่วนแล้วนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข และคณะ ได้เดินทางไปตรวจการก่อสร้าง พบว่า บริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้น จึงมีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยที่จังหวัดปัตตานีนั้นควรใช้เป็นอาคารของคณะศึกษาศาสตร์ และคณะทางศิลปศาสตร์ และได้ย้ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปตั้งที่ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ต่อมา วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขึ้น[3] มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันสถาปนามหาวิทยาลัย"

ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีสาระสำคัญคือได้ยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับปี พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2541 และได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป [4]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้เปิดคณะวิชาต่าง ๆ 25 คณะ โดยเปิดสอนสาขาวิชาการต่าง ๆ จำนวน 236 สาขา เป็นการศึกษาระดับปริญญาเอกและเทียบเท่า 20 สาขา หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง 9 สาขา ปริญญาโท 86 สาขา ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 สาขา และปริญญาตรี (4-6 ปี) 121 สาขา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Sri Trang.jpg
ดอกศรีตรัง

รายนามอธิการบดี

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีอธิการบดีมาแล้ว 11 คน ดังรายนามต่อไปนี้

อธิการบดี
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ เมษายน พ.ศ. 2510 - มีนาคม พ.ศ. 2512
2. ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข มีนาคม พ.ศ. 2512 - กรกฎาคม พ.ศ. 2514
3. ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง กรกฎาคม พ.ศ. 2514 - กรกฎาคม พ.ศ. 2516
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย กรกฎาคม พ.ศ. 2516 - กรกฎาคม พ.ศ. 2518
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์ กรกฎาคม พ.ศ. 2518 - กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (วาระที่ 1)
กรกฎาคม พ.ศ. 2528 - พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 2)
6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - มิถุนายน พ.ศ. 2528
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ มิถุนายน พ.ศ. 2534 - พฤษภาคม พ.ศ. 2540
8. รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ มิถุนายน พ.ศ. 2540 - พฤษภาคม พ.ศ. 2543
9. รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2549
10. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
11. รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน[5]

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามในขณะดำรงตำแหน่ง

วิทยาเขต

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภาคใต้ ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงมีเจตนาที่จะเป็นมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี, วิทยาเขตหาดใหญ่, วิทยาเขตตรัง, วิทยาเขตภูเก็ต, และ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

วิทยาเขตหาดใหญ่

วิทยาเขตปัตตานี

วิทยาเขตตรัง

วิทยาเขตภูเก็ต

วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี


สถาบันสมทบ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัย [6][7] ดังนี้

สถาบันเรียนร่วม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) ชั้นปีที่ 2-3 มาเรียนในรายวิชาปรีคลินิก เช่น ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน มหกายวิภาคศาสตร์ จุลกายวิภาคศาสตร์ คัพภวิทยา ประสาทกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาทางการแพทย์ จุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาอิมมูน ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ เภสัชวิทยาการแพทย์ พยาธิวิทยากายวิภาค พยาธิวิทยาคลินิก และเวชพันธุศาสตร์ โดยมีคณาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์รับเชิญพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนการสอน

เครือข่ายวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย

สาขาความเป็นเลิศ/สถานวิจัยความเป็นเลิศ/สถานวิจัย/หน่วยวิจัยที่ได้รับ

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

โดยวิธีรับตรงจากนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียน 14 จังหวัดภาคใต้ โครงการรับตรงต่าง ๆ ที่เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย และร่วมสอบคัดเลือกกับสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ งานรับนักศึกษา สังกัดกองทะเบียนและประมวลผล ที่เว็บไซต์ http://www.entrance.psu.ac.th/

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 200 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของทวีปเอเชีย (Asian university rankings - top 200 in 2010) โดยอยู่ในลำดับที่ 95 ในระดับเอเชียของปี 2554 (อันดับ 5 ของประเทศไทย) จากที่เคยได้อันดับที่ 101 ในปี 2553 และ อันดับ 109 ในปี 2552 ซึ่งจัดโดย Quacquarelli Symonds หรือ QS นอกจากนี้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2552 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยของไทย

วันสำคัญของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันสถาปนามหาวิทยาลัย

วันที่ 12 มีนาคม 2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอน 24 โดยเรียกว่า “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511” และวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีผลบังคับใช้ ดังนั้น มหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยถือว่าวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันคล้าย “วันสถาปนามหาวิทยาลัย”

วันสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดให้วันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยคือวัน “สงขลานครินทร์” เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดลุยเดช ในการพระราชทานชื่อแก่มหาวิทยาลัยภาคใต้ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2510 ว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ตามพระนามฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเทอดทูนเกียรติของสมเด็จพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีมหากรุณาธิคุณแด่การศึกษาแพทย์และการพยาบาลของไทย

วันมหิดล

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดให้วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยเรียกว่า “วันมหิดล” เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ โดยมหาวิทยาลัยร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนจะจัดให้มีกิจกรรมวางพวงมาลา หน้าพระบรมรูป ฯ ในทุกวิทยาเขต เพื่อเฉลิมพระเกียรติและระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ นอกจากนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรม "วันถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก ในการสร้างความเจริญแก่ประเทศชาติโดยไม่หวังผลตอบแทน เพิ่มอีกหนึ่งกิจกรรมด้วย

วันรูสะมิแล

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งที่ตำบลรูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2509 โดยในเวลาดังกล่าวมหาวิทยาลัยมีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาในปี 2510 มหาวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะแรก และในปี 2511 ก็เปิดรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ โดยอาศัยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ทำการเช่นเดียวกัน เมื่อการก่อสร้างอาคารที่ปัตตานีแล้วเสร็จเป็นบางส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยก็ได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี พร้อมกันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511 ดังนั้นในวันที่ 9 พฤศจิกายนของทุกปีจึงเรียกว่าวัน “รูสะมิแล” ซึ่งมีความหมายว่า “สนเก้าต้น” ตามชื่อตำบลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเพื่อระลึกถึงการมาอยู่ที่ตำบลรูสะมิแลวันแรก

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดให้มีขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปีโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ วิทยาเขตปัตตานี และวิทยาเขตหาดใหญ่ จนถึงปีพุทธศักราช 2530 หลังจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร และในปีพุทธศักราช 2541 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แต่หลังจากปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมาได้จัดขึ้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญาบัตรแต่บัณฑิตกิตติมศักดิ์ และบัณฑิตจากทุกวิทยาเขต โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมาสถานที่จัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คือ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

บุคคลที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่ม รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ้างอิง

  1. http://www.isranews.org/เวทีทัศน์/59-2012-08-12-13-59-01/15781--81-.html
  2. http://www.planning.psu.ac.th/2009-10-27-08-14-30.html
  3. พระราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑, เล่ม๘๕, ตอน ๒๔ก, หน้า ๑๒๗
  4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 53 ก หน้า 1 วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (นายชูศักดิ์ ลิ่มสกุล)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๔๖, เล่ม ๑๒๐, ตอน ๓๖ก, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙, เล่ม ๑๒๓, ตอน ๙๖ก, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑๐

แหล่งข้อมูลอื่น