ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิหมิงอิงจง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
ตัวจู ฉีเจิ้น นั้นกลับขึ้นเสวยราชย์อีกครั้ง ใช้พระนามว่า "เทียนชุ่น" (天順) แปลว่า "ภักดิ์ฟ้า" อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ก็เสด็จนฤพานใน ค.ศ. 1464 สิริพระชนม์ 36 พรรษา
ตัวจู ฉีเจิ้น นั้นกลับขึ้นเสวยราชย์อีกครั้ง ใช้พระนามว่า "เทียนชุ่น" (天順) แปลว่า "ภักดิ์ฟ้า" อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ก็เสด็จนฤพานใน ค.ศ. 1464 สิริพระชนม์ 36 พรรษา


จู เจี้ยนจฺวิ้น โอรสจู ฉีเจิ้น สืบบัลลังก์ต่อ ใช้พระนามว่า "[[จักรพรรดิเฉิงฮว่า|เฉิงฮว่า]]" (成化) แปลว่า "ปฏิรูปเป็นผล"
จู เจี้ยนจฺวิ้น โอรสจู ฉีเจิ้น สืบบัลลังก์ต่อ ใช้พระนามว่า "[[จักรพรรดิเฉิงฮว่า|เฉิงฮว่า]]" (成化) แปลว่า "ปฏิรูปเป็นผล" (accomplished change)


==พงศาวลี==
==พงศาวลี==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:10, 20 กรกฎาคม 2559

จักรพรรดิอิงจงแห่งราชวงศ์หมิง
Emperor Yingzong of Ming
รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์หมิง
ครองราชย์7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1435 – 1 กันยายน ค.ศ. 1449
ก่อนหน้าเซฺวียนเต๋อ
ถัดไปจิ่งไท่
พระเจ้าหลวง
ครองราชย์1 กันยายน ค.ศ. 1449 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457
รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์หมิง
ครองราชย์11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464
ก่อนหน้าจิ่งไท่
ถัดไปเฉิงฮว่า
ประสูติ29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1427(1427-11-29)
สวรรคต23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464(1464-02-23) (36 ปี)
ฝังพระศพสุสานอฺวี้หลิง (裕陵) เป่ย์จิง
คู่อภิเษกดูในบทความ
พระราชบุตรดูในบทความ
พระนามเต็ม
แซ่: จู (朱)
ชื่อ: ฉีเจิ้น (祁鎮)
รัชศก
เจิ้งถ่ง (正統): 18 มกราคม ค.ศ. 1436 – 13 มกราคม ค.ศ. 1450
เทียนชุ่น (天順): 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 – 26 มกราคม ค.ศ. 1465
พระนามหลังสวรรคต
พระเจ้าฝ่าเทียนลี่เต้าเหรินหมิงเฉิงจิ้งเจาเหวินเสฺวียนอู่จื้อเต๋อกวังเซี่ยวรุ่ย (法天立道仁明誠敬昭文憲武至德廣孝睿皇帝)
วัดประจำรัชกาล
หมิงอิงจง (明英宗)
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิง ตระกูลจู
พระราชบิดาเซฺวียนเต๋อ
พระราชมารดาเซี่ยวกงจางแห่งตระกูลซุน

จู ฉีเจิ้น (จีน: 朱祁鎮; พินอิน: Zhū Qízhèn; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1427 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1464) เป็นจักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง เสวยราชย์ 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1435–49 ใช้พระนามว่า เจิ้งถ่ง (จีน: 正統; พินอิน: Zhèngtǒng) แปลว่า "ครองธรรม" (right governance) นับเป็นรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์หมิง ครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1457–64 ใช้พระนามว่า เทียนชุ่น (จีน: 天順; พินอิน: Tiānshùn) แปลว่า "ภักดิ์ฟ้า" (obedience to Heaven) นับเป็นรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์หมิง[1] นอกจากนี้ ยังเรียกขานพระนามตามวัดประจำรัชกาลที่ชื่อ อิงจง (จีน: 英宗; พินอิน: Yīngzōng) แปลว่า "วีรกุล" (heroic ancestry)

ครองราชย์ครั้งแรก

จู ฉีเจิ้น เป็นโอรสของจู จานจี (朱瞻基) หรือจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ (宣德) กับมเหสีองค์ที่สอง คือ จักรพรรดินีซุน (孫)

ขณะพระชนม์ได้ 8 ชันษา จู ฉีเจิ้น ได้สืบสมบัติต่อจากเซฺวียนเต๋อพระบิดา ใช้พระนามว่า "เจิ้งถ่ง" (正統) แปลว่า "ครองธรรม"

เมื่อแรกเสวยราชย์นั้น ราชวงศ์หมิงรุ่งเรืองถึงขีดสุดเพราะการปกครองอันชาญฉลาดในรัชกาลพระบิดา แต่เพราะจู ฉีเจิ้น ยังเยาว์นัก เหล่าขันทีพี่เลี้ยง โดยเฉพาะหวัง เจิ้น (王振) จึงมีอิทธิพลเหนือพระองค์มาก พระองค์อาศัยความคิดอ่านของขันทีเป็นหลักในการว่าราชกิจ

เชลยมองโกล

ครั้น ค.ศ. 1449 พระชนม์ได้ 21 ชันษา จู ฉีเจิ้น นำทัพหลวงออกรบกับชาวมองโกลซึ่งนำโดยราชครูเหย่เซียน (也先太師; Esen Taishi) จากเผ่าหว่าล่า (瓦剌; Oirat) ณ ปราการถู่มู่ (土木) เสด็จไปครั้งนั้นมีขันทีหวัง เจิ้น เป็นที่ปรึกษาประจำทัพ แต่เกิดโกลาหล ทัพหลวงแตกพ่าย หวัง เจิ้น ถูกฆ่าตาย และจู ฉีเจิ้น ถูกมองโกลจับเป็นเชลย เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ วิกฤติถู่มู่ (土木之變)

แม้จู ฉีเจิ้น จะอยู่แคว้นมองโกลในฐานะเชลย แต่ก็ได้เป็นมิตรสนิทสนมกับราชครูเหย่เซียน และข่านทัวทัวปู้ฮวา (脱脱不花)

อย่างไรก็ดี การที่พระมหากษัตริย์ถูกจับเป็นเชลย ทำให้เกิดภาวะไร้ผู้นำจนแผ่นดินจีนสั่นคลอน เพื่อระงับสถานการณ์ จู ฉี-อฺวี้ (朱祁鈺) พระอนุชา ประกาศถอดจู ฉีเจิ้น ออกจากราชสมบัติ และประทานสมัญญาพระเจ้าหลวง (太上皇) ให้ แล้วจู ฉี-อฺวี้ ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ใช้พระนามว่า "จิ่งไท่" (景泰) แปลว่า "มองไกล" กับทั้งได้เสนาบดียฺหวี เชียน (于谦) ช่วยประคับประคองกิจการบ้านเมือง ราชวงศ์หมิงจึงดำเนินต่อไปด้วยดี

ครองราชย์ครั้งที่สอง

ใน ค.ศ. 1450 ชาวมองโกลปล่อยจู ฉีเจิ้ง เป็นไทให้กลับไปยังดินแดนจีน แต่ทันทีที่จู ฉีเจิ้น ย่างพระบาทเข้าสู่มาตุภูมิ จู ฉี-อฺวี้ ก็ให้กุมพระองค์ไปกักบริเวณไว้ ณ ตำหนักฝ่ายใต้ในพระราชวังต้องห้าม แล้วถอดจู เจี้ยนจฺวิ้น (見濬) โอรสของจู ฉีเจิ้น ออกจากตำแหน่งรัชทายาท ตั้งจู เจี้ยนจี้ (朱見濟) โอรสของตัว ขึ้นเป็นรัชทายาทแทน

จู ฉีเจิ้น ทรงน้อยพระทัยนัก ถูกกักบริเวณอยู่ตำหนักใต้ถึง 7 ปี กระทั่งจู เจี้ยนจี้ ประชวรสิ้นพระชนม์ จู ฉี-อฺวี้ โทมนัสจนประชวรไปด้วย จู ฉีเจิ้น จึงอาศัยโอกาสนี้รัฐประหารจู ฉี-อฺวี้ เป็นผลสำเร็จ

จู ฉีเจิ้น ถอดจู ฉี-อฺวี้ ออกจากตำแหน่งกษัตริย์ลงเป็นองค์ชาย ให้กักบริเวณไว้ที่ซี-ยฺเวี่ยน (西苑) หนึ่งเดือนให้หลัง จู ฉีเจิ้น ให้ขันทีวางยาฆ่าจู ฉี-อฺวี้ ตาย

ตัวจู ฉีเจิ้น นั้นกลับขึ้นเสวยราชย์อีกครั้ง ใช้พระนามว่า "เทียนชุ่น" (天順) แปลว่า "ภักดิ์ฟ้า" อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ก็เสด็จนฤพานใน ค.ศ. 1464 สิริพระชนม์ 36 พรรษา

จู เจี้ยนจฺวิ้น โอรสจู ฉีเจิ้น สืบบัลลังก์ต่อ ใช้พระนามว่า "เฉิงฮว่า" (成化) แปลว่า "ปฏิรูปเป็นผล" (accomplished change)

พงศาวลี

บรรพชน

พระภรรยาเจ้า

มเหสี

พระนาม ตระกูล สมรส สิ้นพระชนม์ หมายเหตุ
เซี่ยวจฺวังรุ่ย (孝莊睿) เฉียน (錢) ค.ศ. 1442 ค.ศ. 1468
  • ถูกถอดจากตำแหน่งมเหสีใน ค.ศ. 1449 เมื่อจู ฉีเจิ้น ถูกถอดเป็นพระเจ้าหลวง
  • กลับดำรงตำแหน่งมเหสีใน ค.ศ. 1457 เมื่อจู ฉีเจิ้น หวนคืนสู่บัลลังก์
  • โอรสบุญธรรมขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเฉิงฮว่า จึงได้เป็นพระพันปีฉืออี้ (慈懿皇太后)
เซี่ยวซู่ (孝肅) โจว (周) ค.ศ. 1504
  • พระบิดาชื่อ โจว เหนิง (周能)
  • สิ้นพระชนม์แล้วจึงได้รับสถาปนาเป็นมเหสี
  • โอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเฉิงฮว่า จึงได้เป็นพระพันปีเชิ่งฉือเหรินโช่ว (聖慈仁壽皇太后) ใน ค.ศ. 1487
  • ภายหลังเลื่อนเป็นพระพันปีหลวง (太皇太后)

บริจาริกา

นาม ตระกูล หมายเหตุ
จิ้งจวงอันมู่ (靖莊安穆宸妃) วั่น (萬)
ตฺวันจิ้งอันเหอ (端靖安和惠妃) หวัง (王)
จฺวังจิ้งอันหรง (莊靜安榮淑妃) เกา (高)
กงตฺวันจฺวังฮุ่ย (恭端莊惠德妃) เหฺวย์ (韋)
กงเหออันจิ้ง (恭和安靜順妃) ฝาน (樊)
  • เกิดใน ค.ศ. 1414 เสียชีวิตใน ค.ศ. 1470
  • เข้าวังใน ค.ศ. 1427
  • ได้เป็นบาทบริจาริกาใน ค.ศ. 1457
จฺวังสี่ตฺวันซู่ (莊僖端肅安妃) หยาง (楊)
เจาซู่จิ้งตฺวัน (昭肅靖端賢妃) หวัง (王)
เจินชุ่นอี้กง (貞順懿恭敬妃) หลิว (劉)
อันเหอหรงจิ้ง (安和榮靖麗妃) หลิว (劉)
ตฺวันจฺวัง (端莊昭妃) อู่ (武)
กงอัน (恭安和妃) กง (宮)
เจาจิ้ง (昭靜恭妃) หลิว (劉)
เจาชุ่น (昭順麗妃) จาง (張)
เจาอี้ (昭懿賢妃) หลี่ (李)
กงจิ้ง (恭靖莊妃) จ้าว (趙)
กงสี่ (恭僖成妃) จาง (張)
กงฮุ่ย (恭惠和妃) เหลียง (梁)
ซีเค่อ (僖恪充妃) ยฺหวี (余)
ฮุ่ยเหอ (惠和麗妃) เฉิน (陳)
หรงจิ้ง (榮靖貞妃) หวัง (王)

อ้างอิง

  1. Leo K. Shin (2006), The Making of the Chinese State: Ethnicity and Expansion on the Ming Borderlands, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-85354-5

บรรณานุกรม

  • Robinson, David M. "Politics, Force and Ethnicity in Ming China: Mongols and the Abortive Coup of 1461," Harvard Journal of Asiatic Studies (Volume 59: Number 1, June 1999): 79–123.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า จักรพรรดิหมิงอิงจง ถัดไป
เซฺวียนเต๋อ จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 1435-49)
จิ่งไท่
จิ่งไท่ จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 1457-64)
เฉิงฮว่า