ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานามสยามยุทธ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:


== สาเหตุ ==
== สาเหตุ ==
[[ประเทศ]]ในภูมิภาค[[เอเชีย]]ที่มีอำนาจและอิทธิพลเป็นคู่แข่งกับ[[ไทย]]ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น มิได้จำกัดที่[[พม่า]]เพียงแห่งเดียว ยังมีญวนซึ่งถือเป็นชาติใหญ่อีกแห่งหนึ่ง การที่ไทยขยายอิทธิพลเข้าไปใน[[ลาว]]และเขมรในสมัยกรุงธนบุรีได้ก็เนื่องจากความแตกแยกในญวนเองจาก[[กบฏ]]เต็ยเซิน (ไกเซิน) ซึ่งทำให้ผู้ปกครองญวนทางใต้ต้องเข้ามาพึ่งไทยและขอกำลังไปช่วยปราบกบฏ ซึ่งไทยก็รับปกป้องคุ้มครอง แต่ไม่สามารถแบ่งกำลังไปช่วยได้ ญวนจึงต้องพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรเพื่อแสวงยุทธปัจจัย เช่น พาหนะและส่วยต่าง ๆ จนสร้างความตึงเครียดระหว่างไทยกับญวนสมัยปลายกรุงธนบุรี
[[ประเทศ]]ในภูมิภาค[[เอเชีย]]ที่มีอำนาจและอิทธิพลเป็นคู่แข่งกับ[[ไทย]]ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น มิได้จำกัดที่[[พม่า]]เพียงแห่งเดียว ยังมีญวนซึ่งถือเป็นชาติใหญ่อีกแห่งหนึ่ง การที่ไทยขยายอิทธิพลเข้าไปใน[[ลาว]]และเขมรในสมัยกรุงธนบุรีได้ก็เนื่องจากความแตกแยกภายในญวนเองจาก[[กบฏ]]เต็ยเซิน (ไกเซิน) ซึ่งทำให้ผู้ปกครองญวนทางใต้ต้องเข้ามาพึ่งไทยและขอกำลังไปช่วยปราบกบฏ ซึ่งไทยก็รับปกป้องคุ้มครอง แต่ไม่สามารถแบ่งกำลังไปช่วยได้ ญวนจึงต้องพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรเพื่อแสวงยุทธปัจจัย เช่น พาหนะและส่วยต่าง ๆ จนสร้างความตึงเครียดระหว่างไทยกับญวนสมัยปลายกรุงธนบุรี


เมื่อขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยไม่ต้องการทำสงครามกับพม่าและญวนในเวลาเดียวกัน จึงเลือกอุปถัมภ์องเชียงสือ ผู้นำตระกูลสำคัญของญวนในการรวบรวมชาติญวน จนองเชียงสือสามารถปราบปรามกบฏได้และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ญวนเรียกว่า [[สมเด็จพระจักรพรรดิซา ล็อง|จักรพรรดิซา ล็อง]] (พระเจ้าเวียดนามยาลอง) อย่างไรก็ดี ฝ่ายญวนเองต้องการทรัพยากรจากลาวและเขมรเพื่อเลี้ยงตัวเองและสร้างความเข้มแข็ง จึงต้องขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรและลาวด้วย ฝ่ายไทยเองถึงแม้จะไม่พอใจ แต่ไม่ต้องการทำศึกหลายด้าน จึงทำเป็นไม่รับรู้ ทำให้ญวนขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรได้อย่างเปิดเผยและมีท่าทีขยายเข้าไปในลาว การขยายอิทธิพลและท่าทีไม่เป็นมิตรของญวน ดังประจักษ์จากการที่ญวนมีส่วนสนับสนุนอย่างลับ ๆ ในกรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์เมือง[[เวียงจันทน์]] รวมทั้งกรณี[[กษัตริย์เขมร]]ต่อต้านอำนาจของไทย ทำให้ไทยไม่สามารถอดทนได้อีกต่อไป
เมื่อขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยไม่ต้องการทำสงครามกับพม่าและญวนในเวลาเดียวกัน จึงเลือกอุปถัมภ์องเชียงสือ ผู้นำตระกูลสำคัญของญวนในการรวบรวมชาติญวน จนองเชียงสือสามารถปราบปรามกบฏได้และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ญวนเรียกว่า [[สมเด็จพระจักรพรรดิซา ล็อง|จักรพรรดิซา ล็อง]] (พระเจ้าเวียดนามยาลอง) อย่างไรก็ดี ฝ่ายญวนเองต้องการทรัพยากรจากลาวและเขมรเพื่อเลี้ยงตัวเองและสร้างความเข้มแข็ง จึงต้องขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรและลาวด้วย ฝ่ายไทยเองถึงแม้จะไม่พอใจ แต่ไม่ต้องการทำศึกหลายด้าน จึงทำเป็นไม่รับรู้ ทำให้ญวนขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรได้อย่างเปิดเผยและมีท่าทีขยายเข้าไปในลาว การขยายอิทธิพลและท่าทีไม่เป็นมิตรของญวน ดังประจักษ์จากการที่ญวนมีส่วนสนับสนุนอย่างลับ ๆ ในกรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์เมือง[[เวียงจันทน์]] รวมทั้งกรณี[[กษัตริย์เขมร]]ต่อต้านอำนาจของไทย ทำให้ไทยไม่สามารถอดทนได้อีกต่อไป


== อันนัมสยามยุทธ ==
== อันนัมสยามยุทธ ==
ต่อมาบางส่วนของพม่าต้องตกเป็น[[จักรวรรดิอังกฤษ|อาณานิคมของอังกฤษ]] ประกอบกับไทยเลือกไม่ปะทะกับอังกฤษด้วยการขยายอิทธิพลลงไปในแหลมมลายู ทำให้รัชกาลที่ 3 สามารถเลือกเผชิญหน้ากับญวนทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่ โดยทำสงครามกับญวนที่เรียกว่า สงครามอานัมสยามยุทธ หรือสงครามไทยญวน ระหว่าง พ.ศ. 2376–2390 ซึ่งเป็นสงคราม 14 ปี ระหว่างสองชนชาติใหญ่ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นของ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ก่อความเสียหายให้ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างมาก
ต่อมาบางส่วนของพม่าต้องตกเป็น[[จักรวรรดิอังกฤษ|อาณานิคมของอังกฤษ]] ประกอบกับไทยเลือกที่จะไม่ปะทะกับอังกฤษด้วยการขยายอิทธิพลลงไปในแหลมมลายู ทำให้ในรัชกาลที่ 3 สามารถเลือกที่จะเผชิญหน้ากับญวนทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่ โดยทำสงครามกับญวนที่เรียกว่า สงครามอานัมสยามยุทธ หรือสงครามไทย-ญวน ระหว่าง พ.ศ. 2376–2390 ซึ่งเป็นสงคราม 14 ปี ระหว่างสองชนชาติใหญ่ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นของ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ได้ก่อความเสียหายให้ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างมาก


ใน พ.ศ. 2376 เมืองไซง่อนก่อการจลาจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] เป็นแม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] เป็นแม่ทัพ[[เรือ]]ไปตีหัวเมือง[[เขมร]]และ[[ญวน]]ตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมือง[[ไซง่อน]] ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก
ใน พ.ศ. 2376 เมือง[[โฮจีมินห์|ไซง่อน]]ก่อการจลาจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] เป็นแม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] เป็นแม่ทัพ[[เรือ]]ไปตีหัวเมือง[[เขมร]]และ[[ญวน]]ตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมือง[[ไซง่อน]] ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก


ในสงครามกับญวนครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรฯ ได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ 18 ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู อันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เป็นมาตรการที่ให้ไพร่พลเกิดความยำเกรงต่อกฎข้อบังคับและคำสั่ง จนเป็นกำลังไปสู่ชัยชนะได้
ในสงครามกับญวนครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรฯ ได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ 18 ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู อันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เป็นมาตรการที่ให้ไพร่พลเกิดความยำเกรงต่อกฎข้อบังคับและคำสั่ง จนเป็นกำลังไปสู่ชัยชนะได้
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== ผลสรุป ==
== ผลสรุป ==
ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรบชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาด ทำให้ต้องทำ[[สนธิสัญญา]]สงบศึกกัน โดยไทยยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนา[[กษัตริย์เขมร]] แต่เขมรก็ยังต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ 3 ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย สงครามจึงยุติลง
ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรบชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาด ทำให้ต้องทำ[[สนธิสัญญา]]สงบศึกกัน โดยไทยยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนา[[กษัตริย์เขมร]] แต่เขมรก็ยังคงต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ 3 ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย สงครามจึงยุติลง


== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:42, 13 กรกฎาคม 2559

อานัมสยามยุทธ คือสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับเวียดนามเพื่อแย่งชิงกัมพูชาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สาเหตุ

ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีอำนาจและอิทธิพลเป็นคู่แข่งกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น มิได้จำกัดที่พม่าเพียงแห่งเดียว ยังมีญวนซึ่งถือเป็นชาติใหญ่อีกแห่งหนึ่ง การที่ไทยขยายอิทธิพลเข้าไปในลาวและเขมรในสมัยกรุงธนบุรีได้ก็เนื่องจากความแตกแยกภายในญวนเองจากกบฏเต็ยเซิน (ไกเซิน) ซึ่งทำให้ผู้ปกครองญวนทางใต้ต้องเข้ามาพึ่งไทยและขอกำลังไปช่วยปราบกบฏ ซึ่งไทยก็รับปกป้องคุ้มครอง แต่ไม่สามารถแบ่งกำลังไปช่วยได้ ญวนจึงต้องพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรเพื่อแสวงยุทธปัจจัย เช่น พาหนะและส่วยต่าง ๆ จนสร้างความตึงเครียดระหว่างไทยกับญวนสมัยปลายกรุงธนบุรี

เมื่อขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยไม่ต้องการทำสงครามกับพม่าและญวนในเวลาเดียวกัน จึงเลือกอุปถัมภ์องเชียงสือ ผู้นำตระกูลสำคัญของญวนในการรวบรวมชาติญวน จนองเชียงสือสามารถปราบปรามกบฏได้และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ญวนเรียกว่า จักรพรรดิซา ล็อง (พระเจ้าเวียดนามยาลอง) อย่างไรก็ดี ฝ่ายญวนเองต้องการทรัพยากรจากลาวและเขมรเพื่อเลี้ยงตัวเองและสร้างความเข้มแข็ง จึงต้องขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรและลาวด้วย ฝ่ายไทยเองถึงแม้จะไม่พอใจ แต่ไม่ต้องการทำศึกหลายด้าน จึงทำเป็นไม่รับรู้ ทำให้ญวนขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรได้อย่างเปิดเผยและมีท่าทีขยายเข้าไปในลาว การขยายอิทธิพลและท่าทีไม่เป็นมิตรของญวน ดังประจักษ์จากการที่ญวนมีส่วนสนับสนุนอย่างลับ ๆ ในกรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ รวมทั้งกรณีกษัตริย์เขมรต่อต้านอำนาจของไทย ทำให้ไทยไม่สามารถอดทนได้อีกต่อไป

อันนัมสยามยุทธ

ต่อมาบางส่วนของพม่าต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ประกอบกับไทยเลือกที่จะไม่ปะทะกับอังกฤษด้วยการขยายอิทธิพลลงไปในแหลมมลายู ทำให้ในรัชกาลที่ 3 สามารถเลือกที่จะเผชิญหน้ากับญวนทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่ โดยทำสงครามกับญวนที่เรียกว่า สงครามอานัมสยามยุทธ หรือสงครามไทย-ญวน ระหว่าง พ.ศ. 2376–2390 ซึ่งเป็นสงคราม 14 ปี ระหว่างสองชนชาติใหญ่ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ได้ก่อความเสียหายให้ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างมาก

ใน พ.ศ. 2376 เมืองไซง่อนก่อการจลาจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมืองไซง่อน ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก

ในสงครามกับญวนครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรฯ ได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ 18 ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู อันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เป็นมาตรการที่ให้ไพร่พลเกิดความยำเกรงต่อกฎข้อบังคับและคำสั่ง จนเป็นกำลังไปสู่ชัยชนะได้

ใน พ.ศ. 2384 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพเรือ ไปตีเมืองโจดก เรือรบไทยที่เดินทางไปร่วมรบในครั้งนี้มี เรือกำปั่นพุทธอำนาจ เรือเทพโกสินทร์ เรือราชฤทธิ์ เรือวิทยาคม เรืออุดมเดช เรือค่าย เรือปักหลั่น และเรือมัจฉานุ ซึ่งใช้บรรทุกเสบียงอาหาร อย่างไรก็ดีการรบทางเรือครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากทหารไทยไม่ชำนาญภูมิประเทศ และเรือไทยมีสมรรถนะที่ด้อยกว่า เรือญวน (ดูรายละเอียดใน พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์, 2508) ทั้งในเรื่องของขนาดและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องต่อเรือรบใหม่เป็นเรือป้อมอย่างญวน สามารถติดตั้งปืนใหญ่ได้หลายกระบอก ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็น แม่กอง อำนวยการต่อเรือป้อมแบบญวนไว้ใช้ในราชการ 80 ลำ ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง 14 ปี ก็ต้องยุติลงโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ. 2390 เพราะทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน เปรียบเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง

ผลสรุป

ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรบชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาด ทำให้ต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกกัน โดยไทยยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนากษัตริย์เขมร แต่เขมรก็ยังคงต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ 3 ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย สงครามจึงยุติลง

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • บดินทร์เดชา, เจ้าพระยา. (2550). อานามสยามยุทธ : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับลาว เขมร และญวน. โฆษิต. ISBN 9789747119961.