ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเกริก"

พิกัด: 13°52′24″N 100°36′00″E / 13.8734°N 100.600°E / 13.8734; 100.600
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| ก่อตั้ง = [[28 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2513]]
| ก่อตั้ง = [[28 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2513]]
| ประเภท = [[มหาวิทยาลัยเอกชน|เอกชน]]
| ประเภท = [[มหาวิทยาลัยเอกชน|เอกชน]]
| head_label = นายกสภา
| นายกสภา = พลเอก[[พิจิตร กุลละวณิชย์]]
| head = พลเอก[[พิจิตร กุลละวณิชย์]]
| ตำแหน่งหัวหน้า = อธิการบดี
| อธิการบดี = ณภัทร มังคละพฤกษ์
| หัวหน้า = [[เบญจา มังคละพฤกษ์|ดร.เบญจา มังคละพฤกษ์]]
| หัวหน้า = [[เบญจา มังคละพฤกษ์|ดร.เบญจา มังคละพฤกษ์]]
| ที่ตั้ง = [[ถนนรามอินทรา]] [[แขวงอนุสาวรีย์]] [[เขตบางเขน]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| ที่ตั้ง = [[ถนนรามอินทรา]] [[แขวงอนุสาวรีย์]] [[เขตบางเขน]] [[กรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:47, 8 กรกฎาคม 2559

13°52′24″N 100°36′00″E / 13.8734°N 100.600°E / 13.8734; 100.600

มหาวิทยาลัยเกริก
ชื่อย่อKrirk
คติพจน์ความรู้ทำให้องอาจ
ประเภทเอกชน
สถาปนา28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513
อธิการบดีณภัทร มังคละพฤกษ์
อธิการบดีณภัทร มังคละพฤกษ์
นายกสภาพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.krirk.ac.th

มหาวิทยาลัยเกริก เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ หลักสี่ ถนนรามอินทรา กม.1 กรุงเทพ เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2495 จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538[1]

ประวัติ

สถานศึกษาที่ต่อมาจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยเกริก เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกที่อาคาร ก ราชดำเนิน เมื่อปี พ.ศ. 2495 ในชื่อ โรงเรียนภาษาและวิชาชีพ โดย ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ (พ.ศ. 2458-2521) ซึ่งเป็นนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ จุดมุ่งหมายในการตั้งมหาวิทยาลัยในระยะแรกนั้น เพื่อดำเนินการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากท่านมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและประสบการณ์จากการทำงาน นับได้ว่าท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ทำการสอนภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งมุ่งให้นักศึกษาได้มีความรู้ในหลักภาษาและสามารถใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาได้เปิดแผนกบริหารธุรกิจและการเลขานุการเพิ่ม และพัฒนาเป็น โรงเรียนเกริกวิทยาลัย และยกฐานะเป็น เกริกวิทยาลัย เปิดสอนปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและคณะเศรษฐศาสตร์ และพัฒนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) และ มหาวิทยาลัยเกริก ดังเช่นปัจจุบัน

ไฟล์:Krirk u.JPG
มหาวิทยาลัยเกริกในปัจจุบัน

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปธรรมจักรทับอยู่ด้านหน้าคบเพลิง ภายในธรรมจักรมีรูปต้นไม้ กงล้อธรรมจักรด้านบนมีอักษรภาษาบาลี วิชฺชา จรณ สมฺปนฺโน [ความจริงต้องเขียนติดกันว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เพราะเป็นคำสมาส หากเขียนแยกกัน แปลไม่ได้] ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยว่า ความรู้ทำให้องอาจ [ไม่ทราบว่าแปล หรือตีความตามใจตนเอง เพราะคำนี้แปลได้แนวเดียวว่า สมบูรณ์ด้วยความรู้ (วิชชา) และความประพฤติ (จรณะ)] และด้านล่างของธรรมจักร มีอักษรภาษาไทยว่า มหาวิทยาลัยเกริก และภาษาอังกฤษว่า KRIRK UNIVERSITY

  • ความหมายของตราประจำมหาวิทยาลัย
    • ธรรมจักร หมายถึง กงล้อแห่งความรู้
    • คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญาและความรุ่งโรจน์
    • ต้นไม้ หมายถึง ความเติบใหญ่และความมั่นคงแข็งแรง

สถานที่ภายในมหาวิทยาลัย

  • อาคาร 1 (อาคารมังคละพฤกษ์) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น
  • อาคาร 2 (อาคาร ดร.เกริก) เป็นอาคารสูง 7 ชั้น
  • อาคาร 3 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ) เป็นอาคารที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น(ไม่รวมลานจอดรถชั้นใต้ดิน)
  • อาคาร 4 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น
  • อาคาร 5(อาคาร ดร.สุวรรณี) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น
  • อาคาร 6 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น
  • ลานพ่อเกริก

เพลงประจำสถาบัน

  • เพลงมาร์ชเกริก ทำนอง ครูเอื้อ-ศรีสวัสดิ์-อโศก ร้องหมู่ วงดนตรี สังคีตสัมพันธ์

เพลงอื่นๆ

  • เพลงพระคุณพ่อเกริก
  • เพลงเกริกกราว

คณะที่เปิดสอน

  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • วิทยาลัยสื่อสารการเมือง หลักสูตรสื่อสารการเมืองแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

  • สโมสรนักศึกษา

ชมรมต่างๆภายในมหาวิทยาลัย

  • ชมรมร้องประสานเสียง
  • ชมรมรัฐศาสตร์
  • ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
  • ชมรมจาวเหนือ
  • ชมรมอีสาน
  • ชมรมดนตรี
  • ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท
  • ชมรมกีฬา

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยเกริก

อ้างอิง

  1. รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาจากเว็บไซต์ สกอ.

แหล่งข้อมูลอื่น