ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอโกสุมพิสัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6375444 สร้างโดย 183.89.21.188 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 102: บรรทัด 102:
=== โรงเรียนดีเด่นระดับตำบล ===
=== โรงเรียนดีเด่นระดับตำบล ===
* [[โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา]]
* [[โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา]]
* [[โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์]]

=== แหล่งท่องเที่ยว ===
=== แหล่งท่องเที่ยว ===
* [[หินร่อง]]
* [[หินร่อง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:37, 30 มิถุนายน 2559

อำเภอโกสุมพิสัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kosum Phisai
คำขวัญ: 
โกสุมพิสัยเมืองสะดืออีสาน ถิ่นฐานคนดี วนอุทยานโกสัมพีลือเลื่อง องค์พระมิ่งเมืองศักดิ์สิทธิ์
งามจับจิตบึงกุย
พิกัด: 16°14′55″N 103°4′1″E / 16.24861°N 103.06694°E / 16.24861; 103.06694
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด827.876 ตร.กม. (319.645 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด120,584 คน
 • ความหนาแน่น145.65 คน/ตร.กม. (377.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44140
รหัสภูมิศาสตร์4403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอโกสุมพิสัย ถนนศรีโกสุม ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอโกสุมพิสัย เป็นอำเภอใหญ่และเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม ถูกจัดตั้งขึ้นพร้อมกับเมืองวาปีปทุม และมีฐานะเป็นอำเภอ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2425 เป็นต้นมา มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่มากมาย เช่น วนอุทยานโกสัมพี แก่งตราด บึงบอน บึงกุย ลานหินร่อง สะดืออีสาน หาดวังโก เป็นต้น

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอโกสุมพิสัยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

ตามบันทึกพงศาวดารหัวเมืองอีสานในส่วนที่เกี่ยวกับโกสุมพิสัย ซึ่งคณะกรรมการเมืองโกสุมพิสัยทำส่งไปถวายกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์รักษาราชการมณฑลลาวกาว เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2439 มีความว่า โกสุมพิสัยนี้แต่ก่อนชื่อ "บ้านดงวังท่า" ไม่มีคำว่าหอขวางเติมท้าย ต่อมาจึงได้นามว่า "บ้านวังท่าหอขวาง" สันนิษฐานว่าเคยเป็นชุมชนหรือเมืองแห่งหนึ่งนานมาแล้ว โดยสันนิษฐานจากลักษณะศิลปะของพระพุทธรูปที่พบ คาดว่าจะมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในราว พ.ศ. 1300-1700 ในสมัยขอมเรืองอำนาจ สมัยเดียวกับปราสาทหินพิมาย เขาพระวิหาร และกู่ต่าง ๆ ที่อยู่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาถูกปล่อยให้รกร้างไปประมาณ 200 ปีจนเกิดป่าดงพงทึบ มีช้าง เสือ หมี กลาง ละมั่ง ลิง และสัตว์ต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ส่วนคำว่า "หอขวาง" นั้นมีที่มาคือ ในปี พ.ศ. 2413 มีนายพราน 2 คน คนหนึ่งชื่อพรานหมา อีกคนหนึ่งชื่อพรานบัว ร่วมกับพรรคพวกอีก 10 คน เป็นชาวบ้านโนนเมือง (เป็นหมู่บ้านเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันขึ้นกับตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) พากันไปหายิงเนื้อ แต่ก็หาได้พบเนื้อไม่ จนล่วงเข้ามาในเขตพัทธสีมาด้านตะวันตก (อยู่ด้านข้างวัดกลางโกสุมในปัจจุบัน) ต่างก็รู้สึกอ่อนเพลียไปตาม ๆ กัน จึงหยุดพักนอนในที่แห่งนั้น

ในคืนนั้นพรานคนหนึ่งฝันว่า มีบุรุษหนึ่งร่างกายกำยำสูงใหญ่ ท่าทางดุร้ายน่ากลัว ถือตะบองมาขู่ว่า "พวกสูมาทำไม กูจะตีเสียให้ตายเดี๋ยวนี้" พรานเกิดความหวาดกลัวตัวสั่น ได้แต่วิ่งอ้อนวอนร้องขอชีวิตไว้ บุรุษนั้นจึงสั่งว่า "ถ้าพวกสูอยากได้เนื้อ จงพากันมากราบไหว้ทำสักการบูชา กับปลูกหอเพียงตาขวางตะวันให้กู ถ้าไม่ทำเช่นนั้น กูจะตามไปฆ่าเสียให้ตาย และพวกสูจะไม่ได้เนื้อแม้สักตัวเดียว" พรานคนนั้นตกใจตื่นขึ้น ก็ได้เล่าความฝันให้พรรคพวกฟัง จึงตกลงกันว่าจะปลูกหอได้ตามที่ได้นิมิตนั้น

ครั้งรุ่งเช้า จึงช่วยกันปลูกหอมเหศักดิ์ (ศาลเจ้า) ซึ่งมีลักษณะทอดยาวจากทิศเหนือมาทิศใต้ซึ่งเรียกว่า "ขวางตะวัน" (หอขวาง) แล้วพากันหกดอกไม้ต่าง ๆ มาบูชาและกราบไหว้อธิษฐานขอให้ล่าเนื้อได้ตามประสงค์ แล้วก็ออกหาเนื้อตามป่าแถบนั้น ก็ไปพบหมูป่าตัวหนึ่ง กำลังขุดคุ้ยหาอาหารอยู่ริมฝั่งน้ำห่างจากที่พักประมาณ 1 เส้น พรานก็เลยยิงถูกกลางลำตัวพอดี แต่หมูป่าไม่ตายคาที่ พวกพรานจึงไล่ตามหมูป่าไปพบโบสถ์ร้างหลังหนึ่ง (คือสถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อมิ่งเมืองในปัจจุบัน) เห็นมีรอยเลือดติดอยู่ฝาผนัง จึงตามรอยเลือดไปจนพบหมู่ป่านอนตายพิงผนังโบสถ์ร้างนั้น (คือโบสถ์ร้างวัดใต้โกสุม) พวกพรานจึงกากันหามหมูป่ากลับถิ่นฐานของตน

ส่วนความเป็นมาของบรรพบุรุษชาวโกสุมพิสัยนั้น มีพงศาวดารกล่าวไว้ว่า บรรพบุรุษเป็นชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต (ล้านช้าง) ซึ่งได้อพยพกระจัดกระจายลงมาอยู่ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทุกวันนี้ โดยมาแสวงหาที่ทำกินอันเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมแก่จริตนิสัยของตน พวกไหนเห็นว่าสถานที่ใดเป็นที่เหมาะสม คือมีที่ดินทำกิน มีน้ำมีปลา และมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ก็รวมกันตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นในสถานที่นั้น เช่น เมืองหนองบัวลำภู (ลุ่มภู) นครจำปาศักดิ์ ดอนมดแดง และที่อื่น ๆ อีกมาก

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอโกสุมพิสัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 17 ตำบล 231 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หัวขวาง (Hua Khwang) 21 หมู่บ้าน 10. เขื่อน (Khuean) 11 หมู่บ้าน
2. ยางน้อย (Yang Noi) 14 หมู่บ้าน 11. หนองบอน (Nong Bua) 11 หมู่บ้าน
3. วังยาว (Wang Yao) 12 หมู่บ้าน 12. โพนงาม (Phon Ngam) 12 หมู่บ้าน
4. เขวาไร่ (Khwao Rai) 20 หมู่บ้าน 13. ยางท่าแจ้ง (Yang Tha Chaeng) 10 หมู่บ้าน
5. แพง (Phaeng) 16 หมู่บ้าน 14. แห่ใต้ (Hae Tai) 19 หมู่บ้าน
6. แก้งแก (Kaeng Kae) 10 หมู่บ้าน 15. หนองกุงสวรรค์ (Nong Kung Sawan) 10 หมู่บ้าน
7. หนองเหล็ก (Nong Lek) 20 หมู่บ้าน 16. เลิงใต้ (Loeng Tai) 12 หมู่บ้าน
8. หนองบัว (Nong Bua) 10 หมู่บ้าน 17. ดอนกลาง (Don Klang) 11 หมู่บ้าน
9. เหล่า (Lao) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอโกสุมพิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลโกสุมพิสัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหัวขวาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวขวาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหัวขวาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขวาไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก้งแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหล็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขื่อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางท่าแจ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางท่าแจ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแห่ใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแห่ใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงสวรรค์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเลิงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเลิงใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกลางทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

สถานศึกษา

ธนาคาร

โรงเรียนดีเด่นระดับตำบล

แหล่งท่องเที่ยว

อุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงงานน้ำตาลวังขนาย โรงงานเย็บผ้า บริษัทแทร็กซ์อินเตอร์เทรด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น