ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
# [[มหาวิทยาลัยสวนดุสิต]] (มีผลวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/066/78.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ๒๕๕๘]</ref>
# [[มหาวิทยาลัยสวนดุสิต]] (มีผลวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/066/78.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ๒๕๕๘]</ref>
# [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (มีผลวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/066/49.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา<!-- ต้องนับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันแรก และวันที่ครบกำหนด ตาม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/answer.jsp?id=1451--> </ref>
# [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (มีผลวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/066/49.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา<!-- ต้องนับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นวันแรก และวันที่ครบกำหนด ตาม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/answer.jsp?id=1451--> </ref>
# [[ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์]] (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งราชวิทยาลัย, มีผลวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/007/1.PDF พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</ref>
# [[ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์]] (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งราชวิทยาลัย, มีผลวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/007/1.PDF พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</ref>
# [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] (มีผลวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/033/10.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๕๙] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</ref>
# [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] (มีผลวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/033/10.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๕๙] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</ref>
# [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] (มีผลวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/049/1.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๕๙] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</ref>
# [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] (มีผลวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/049/1.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๕๙] มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:30, 29 มิถุนายน 2559

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยนอกระบบ" คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (autonomous university) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา

ประวัติ

แนวความคิดที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ยื่นหลักการต่อ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ไม่ได้รับการเห็นชอบ เพียงแต่ได้มีการจัดตั้ง "ทบวงมหาวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อดูแลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แทน "สำนักนายกรัฐมนตรี" ดังนั้น ในยุคนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้ย้ายไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จากเดิมที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายระเบียบของระบบราชการเช่นเดิม ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินงาน จึงได้มีความพยายามที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเรื่อยมา [1]

และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2541 นโยบายการออกนอกระบบก็ได้เป็นข้อตกลงหนึ่งที่ผูกพันกับสัญญาการกู้ยืมเงินกับ IMF โดยมุ่งหมายของรัฐบาลเพื่อลดงบประมาณในส่วนราชการที่สามารถเลี้ยงตนเองและบริหารงบ?ประมาณเองได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2542 เริ่มมีการเสนอให้มหาวิทยาลัย หรือคณะฯ ที่ตั้งขึ้นใหม่ "ออกนอกระบบ" ราชการ และมีการหยุดรับข้าราชการพลเรือนเข้ามาในมหาวิทยาลัยรัฐเดิมทั้งหมด ตำแหน่งที่บรรจุเข้ามาใหม่ เรียกว่า "พนักงานมหาวิทยาลัย" ซึ่งมีกรอบเงินเดือนและสวัสดิการแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนเดิม และหากผู้ที่เกษียณราชการไปให้ตำแหน่งและเงินเดือนนั้นเปลี่ยนเป็นตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งเริ่มบรรจุใหม่เท่านั้น

เริ่มมีความพยายามนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอีกครั้งตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร แต่มีการคัดค้าน ดังนั้น จึงยังไม่มีการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบในช่วงนี้ ต่อมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดย ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีศึกษาธิการ ก็ได้เสนอ ครม.และ สนช. ให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกครั้ง

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

ในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษา ในกำกับ 22 แห่ง ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบราชการหรือไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยในจำนวนนี้มี 7 แห่งที่เป็นสถาบันในกำกับของรัฐตั้งแต่ก่อตั้ง ส่วนที่เหลือนั้นเป็นสถาบันในกำกับของรัฐโดยการแปรสภาพด้วยผลของกฎหมาย ทั้งนี้มีเฉพาะมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชแห่งเดียวที่อยู่ในกำกับของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นจะอยู่ในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นราชการส่วนกลาง

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผล 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2533)[2] เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรก
  2. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผล 8 เมษายน พ.ศ. 2535)[3]
  3. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มีผลวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540)[4]
  4. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มีผลวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540)[5]
  5. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผลวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2541)[6]
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ออกนอกระบบวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541)[7]
  7. มหาวิทยาลัยมหิดล (มีผลวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2550)[8]
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มีผลวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550)[9]
  9. มหาวิทยาลัยบูรพา (มีผลวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551)[10]
  10. มหาวิทยาลัยทักษิณ (มีผลวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)[11]
  11. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มีผลวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)[12]
  12. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มีผลวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551)[13]
  13. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (มีผลวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551)[14]
  14. มหาวิทยาลัยพะเยา (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผลวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)[15]
  15. มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย, มีผลวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553)[16]
  16. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งสถาบัน, มีผลวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555)[17]
  17. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มีผลวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)[18]
  18. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มีผลวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)[19]
  19. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มีผลวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)[20]
  20. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มีผลวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558)[21]
  21. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งราชวิทยาลัย, มีผลวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559)[22]
  22. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มีผลวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)[23]
  23. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มีผลวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)[24]
  24. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มีผลวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559)[25]

สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในขั้นตอนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

สถาบันอุดมศึกษาที่มีร่างพระราชบัญญัติของสถาบันอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

ร่างพระราชบัญญัติ อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีรับหลักการแล้ว อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี อยู่ระหว่างการพิจารณาของมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา พ.ศ. ...  [26]
ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ...  [27]
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ...  [28]

การวิพากษ์วิจารณ์

การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น เป็นประเด็นขัดแย้ง มีการล่ารายชื่อคัดค้าน [29], [30]จนกระทั่งวาระสุดท้ายของการพิจารณาใน สนช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กรรมการสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[31] ร่วมกับ ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ในฐานะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คัดค้าน สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ....อย่างเร่งรีบโดยไม่ฟังเสียงประชาคมจุฬาฯ [32], [33], [34] นอกจากนี้ยังเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งนักวิชาการ นักการศึกษา รวมถึงนิสิต นักศึกษา ประชาชนโดยทั่วไป โดยประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้นจะวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสียของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ[35] ดังนี้

ข้อดี

  • เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัยมากขึ้น
  • เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
  • มหาวิทยาลัยสามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้
  • สวัสดิการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทียบเท่าเอกชน

ข้อเสีย

  • นักการเมืองมีบทบาทในมหาวิทยาลัยมากขึ้น เนื่องจากงบประมาณส่วนหนึ่งยังต้องขอรับการจัดสรรจากรัฐบาล
  • ค่าเล่าเรียนอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของผู้มีรายได้น้อยทางอ้อม
  • คณะหรือหลักสูตรที่ไม่คุ้มทุนในการเปิดสอน อาจจะต้องปิดตัวลง
  • การบริหารงานของฝ่ายบริหารอาจจะไม่โปร่งใส ตรวจสอบได้ยาก
  • เนื้อหาของร่าง พรบ. มีลักษณะเป็นกฎหมายบริหารจัดการทรัพย์สินที่ดิน ไม่ได้เป็นการบริหารจัดการการศึกษาแต่อย่างใด [36]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ คืออะไร  : ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล
  2. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_01.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓
  3. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_02.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
  4. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_03.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐
  5. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_04.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐
  6. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_06.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. ๒๕๔๑
  7. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_05.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๑
  8. http://www.mahidol.ac.th/muthai/autonomy/data/prb_171050.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๐
  9. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_08.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. ๒๕๕๐
  10. http://council.buu.ac.th/pdf/Buu.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๕๐
  11. http://www.tsu.ac.th/form/files_c/020942200842.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. ๒๕๕๑
  12. http://www.chula.ac.th/idcucm1/groups/glegis/documents/cu_chulaact2551/cu2551.pdf พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑
  13. http://legal.tu.ac.th/tu_51/tu_control/pdf/2551%20%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.pdf พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑
  14. http://www.op.mahidol.ac.th/orla/oldversion/in_tra_net/data/prb_13.pdf พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๕๑
  15. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553
  16. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553
  17. พระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555
  18. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
  19. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๘
  20. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ๒๕๕๘
  21. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  22. พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีผลเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  23. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  24. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๕๙ มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  25. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  26. [1]
  27. [2]
  28. [3]
  29. ผู้จัดการรายวัน “คุณหญิงจารุวรรณ” นำทัพค้านจุฬาฯ ออกนอกระบบ21 พฤศจิกายน 2550 22:56 น
  30. หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวันประชาคมจุฬาฯ-กราบทูลพระเทพฯวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6228
  31. ข่าวสภาคณาจารย์ เรื่องการออกนอกระบบ ฉบับที่ 14, ฉบับที่ 16, สำเนาหนังสือฯ, ฉบับที่ 17, ฉบับที่ 18, ฉบับที่ 19, แถลงการณ์จากสภามหาวิทยาลัยฯ
  32. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. ประชาคมจุฬาฯยื่น สนช.ค้านออกนอกระบบ. วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  33. บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์แทบลอยด์ เรื่องปก 'ถอนร่างออก' นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ 17 ธันวาคม 2549
  34. ณศักต์ อัจจิมาธร, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. ผ่าความคิด 'นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์' หัวหอกต้าน 'จุฬาฯ' ออกนอกระบบวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  35. เอกสารเผยแพร่ ม.นอกระบบ โดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
  36. ผู้จัดการ Onlineสนช.มีมติเอกฉันท์ให้ “จุฬาฯ-ลาดกระบัง-เชียงใหม่” ออกนอกระบบ19 ธันวาคม 2550 18:15 น.