ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดสวนแก้ว"

พิกัด: 13°51′38″N 100°24′40″E / 13.8605805°N 100.4110243°E / 13.8605805; 100.4110243
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tropicalkitty (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tropicalkitty (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6527129 สร้างโดย Tropicalkitty (พูดคุย)
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
เดิมชื่อ '''วัดแก้ว''' เป็นวัดร้างมา 80 ปี ภายหลัง[[หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ]] และพระภิกษุอีก 3-4 รูปได้เข้ามาพำนัก แต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยเรือกสวน หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้เพราะขาดบุคลากรที่จะช่วยพัฒนา
เดิมชื่อ '''วัดแก้ว''' เป็นวัดร้างมา 80 ปี ภายหลัง[[หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ]] และพระภิกษุอีก 3-4 รูปได้เข้ามาพำนัก แต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยเรือกสวน หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้เพราะขาดบุคลากรที่จะช่วยพัฒนา


พ.ศ. 2521 [[พระพยอม]]และเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูป ได้เดินทางมากราบหลวงพ่อเทียน เพื่อขอทำโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน เมื่อเสร็จแล้วก็จะลากลับสวนโมกข์ เมื่อหลวงพ่อเทียนได้อนุญาตให้พำนักแล้ว ยังได้ช่วยสนับสนุนงานบวชเณรภาคฤดูร้อนด้วยโดยช่วยเป็นพระพี่เลี้ยงให้
พ.ศ. 2521 [[พระพยอม]]และเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูป ได้เดินทางมากราบหลวงพ่อเทียน เพื่อขอทำโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน เมื่อเสร็จแล้วก็จะลากลับสวนโมกข์ เมื่อหลวงพ่อเทียนได้อนุญาตให้พำนักแล้ว ยังได้ช่วยสนับสนุนงานบวชเณรภาคฤดูร้อนด้วยโดยช่วยเป็นพระพี่เลี้ยงให้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:40, 29 มิถุนายน 2559

วัดสวนแก้ว
แผนที่
ที่ตั้ง55/1 หมู่ 1 ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 11110
ประเภทวัดไทย
เวลาทำการทุกวัน 06:00-18:00 นาฬิกา
จุดสนใจพระอุโบสถธรรมชาติ
กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การถ่ายภาพสามารถถ่ายรูปได้
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสวนแก้ว เป็นวัดในจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 55/1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีเจ้าอาวาส คือ พระพยอม กัลยาโณ

ประวัติ

เดิมชื่อ วัดแก้ว เป็นวัดร้างมา 80 ปี ภายหลังหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ และพระภิกษุอีก 3-4 รูปได้เข้ามาพำนัก แต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยเรือกสวน หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้เพราะขาดบุคลากรที่จะช่วยพัฒนา

พ.ศ. 2521 พระพยอมและเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูป ได้เดินทางมากราบหลวงพ่อเทียน เพื่อขอทำโครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน เมื่อเสร็จแล้วก็จะลากลับสวนโมกข์ เมื่อหลวงพ่อเทียนได้อนุญาตให้พำนักแล้ว ยังได้ช่วยสนับสนุนงานบวชเณรภาคฤดูร้อนด้วยโดยช่วยเป็นพระพี่เลี้ยงให้

พ.ศ. 2522 หลวงพ่อเทียนได้มอบหมายให้พระพะยอมและเพื่อนภิกษุเป็นผู้ดูแลรักษาวัดต่อไป ส่วนตัวหลวงพ่อเทียน กลับจังหวัดเลย ที่วัดแก้วนี้ พระพยอมได้พัฒนาพื้นที่ของวัดและเตรียมจำลองสวนโมกขพลารามให้เกิดขึ้นในเมือง ตามคำที่ท่านพุทธทาสเคยปรารภเมื่อคราวที่ยังศึกษาธรรมอยู่ที่สวนโมกข์

ท่านได้ทุ่มเทชีวิตใจเพื่อการบูรณะวัดอย่างเต็มที่และได้นำทรัพย์ส่วนตัวมาพัฒนาวัดแก้ว ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสวนแก้ว เมื่อพัฒนาวัดจนเหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมของวัดแล้วจึงมุ่งเผยแพร่พุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. 2529 เป็นปีที่พระพยอมรับกิจนิมนต์มากทำให้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ของคนระดับกลางลงมา ซึ่งต้องยอมรับว่าบุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรมหลงใหล ใฝ่ต่ำเรื่องเพศ เรื่องเหล้า เมายา ไม่มีสมองที่จะคิดพัฒนาใด ๆ เท่าที่ควรทำให้พระพยอมตัดสินใจที่จะช่วยบุคคลเหล่านี้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระพยอมจึงได้รวบรวมทุนทรัพย์ส่วนตัวซึ่งมีไม่มากนักนำมาใช้พัฒนาบริเวณวัด และหาทุนซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงต่อออกไปอีก เพื่อทำเป็นมูลนิธิสวนแก้ว ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการบริหารงานช่วยสังคม ปัญหาของสังคมทุกวันนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างฐานะ อาชีพ ความรู้ และโอกาส ซึ่งพระสงฆ์ควรจะมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหานี้ด้วย ด้วยปณิธานที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเผยแพร่ศีลธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ท่านจึงได้จัดตั้งมูลนิธิสวนแก้วขึ้น ในปี พ.ศ. 2529

พ.ศ. 2555 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี 2555 จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ปี พ.ศ. 2529 เริ่มจัดตั้ง "มูลนิธิสวนแก้ว" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

  • เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมในศาสนา
  • เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี
  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมีสัมมาชีพ

ในปี พ.ศ. 2548 มูลนิธิสวนแก้วได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ (ทะเบียนเลขที่ 0163) ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 ภายใต้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 6 ประการ คือ

  1. เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  2. เพื่อส่งเสริมศีลธรรม จรรยาอันดี
  3. เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย
  4. เพื่อร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
  5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
  6. จัดการศึกษาและส่งเสริมการศึกษา

แหล่งข้อมูลอื่น

13°51′38″N 100°24′40″E / 13.8605805°N 100.4110243°E / 13.8605805; 100.4110243