ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละครบรอดเวย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WapBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ การแสดง ด้วย ศิลปะการแสดง
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
== ลักษณะของละครบรอดเวย์ ==
== ลักษณะของละครบรอดเวย์ ==
* '''ละครชวนหัว''' (Musical Comedy) คือเป็นแนวทางในการจัดทำละครบรอดเวย์เหล่านี้มักจะเป็นแนวเบาสมอง เป็นส่วนใหญ่ และมีการสอดแทรกมุขตลกอยู่เสมอ
* '''ละครชวนหัว''' (Musical Comedy) คือเป็นแนวทางในการจัดทำละครบรอดเวย์เหล่านี้มักจะเป็นแนวเบาสมอง เป็นส่วนใหญ่ และมีการสอดแทรกมุขตลกอยู่เสมอ
* '''เน้นหนักด้านเนื้อเรื่อง บทร้อง''' และทำนองเพลงการเต้นรำที่ใช้ประกอบเพลงซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างให้เป็นเพลง “ฮิต” บทร้องและดนตรีจึงมีความสำคัญมาก ทำให้รวมไปถึงผู้ออกแบบท่าเต้นประกอบเพลง (Choreographer) เช่น [[เจอราลด์ รอบบินส์]] (Jerome Robbins – West Side Story 1957), [[แอกเนส เดอ มิล]] (Agnes de Mille – Oklahoma! 1943), [[บ๊อบ ฟอซซี่]] (Bob Fossi – Cabaret 1966)
* '''เน้นหนักด้านเนื้อเรื่อง บทร้อง''' และทำนองเพลงการเต้นรำที่ใช้ประกอบเพลงซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างให้เป็นเพลง “ฮิต” บทร้องและดนตรีจึงมีความสำคัญมาก ทำให้รวมไปถึงผู้ออกแบบท่าเต้นประกอบเพลง (Choreographer) เช่น [[เจอโรม ร็อบบินส์]] (Jerome Robbins – West Side Story 1957), [[แอกเนส เดอ มิล]] (Agnes de Mille – Oklahoma! 1943), [[บ๊อบ ฟอซซี่]] (Bob Fossi – Cabaret 1966)
* '''หมอละคร''' (Show Doctor) คือผู้ที่ช่วยแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ของละครให้ดีขึ้น ถ้าเห็นว่าการแสดงในรอบปฐมทัศน์ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่นเรื่อง คาเมล๊อต (Camelot)มอส ฮาร์ทได้เข้ามาปรับปรุงแก้ไข ทำให้ละครเรื่องนี้กลับมาเป็นละครเพลงบรอดเวย์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเรื่องหนึ่งในเวลาต่อมา
* '''หมอละคร''' (Show Doctor) คือผู้ที่ช่วยแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ของละครให้ดีขึ้น ถ้าเห็นว่าการแสดงในรอบปฐมทัศน์ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่นเรื่อง คาเมล๊อต (Camelot)มอส ฮาร์ทได้เข้ามาปรับปรุงแก้ไข ทำให้ละครเรื่องนี้กลับมาเป็นละครเพลงบรอดเวย์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเรื่องหนึ่งในเวลาต่อมา
* '''ดารา''' มักจะกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในวงการอื่นๆ ด้วย เช่นวงการภาพยนตร์หรือ วงการโทรทัศน์ เช่น [[จูลี่ แอนดรูส์]] (จาก The Sound of Music 1959) ซึ่งแตกต่างจากดาราโอเปรา เพราะโอเปราใช้เสียงเป็นสื่อในการแสดงแต่ละครเพลงต้องการ นางเอก หรือ พระเอก ที่ดูเหมาะสมกับบทบาทอย่างแท้จริง
* '''ดารา''' มักจะกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในวงการอื่นๆ ด้วย เช่นวงการภาพยนตร์หรือ วงการโทรทัศน์ เช่น [[จูลี่ แอนดรูส์]] (จาก The Sound of Music 1959) ซึ่งแตกต่างจากดาราโอเปรา เพราะโอเปราใช้เสียงเป็นสื่อในการแสดงแต่ละครเพลงต้องการ นางเอก หรือ พระเอก ที่ดูเหมาะสมกับบทบาทอย่างแท้จริง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:51, 29 มิถุนายน 2559

โรงละครนิวแอมสเตอร์แดม และละครบรอดเวย์เรื่อง เดอะไลออนคิง

ละครบรอดเวย์ (อังกฤษ: Broadway theatre) มีชื่อเสียงทางด้านของศิลปะการละครเวที มีเอกลักษณ์ของละครอเมริกันอย่างที่นิยมกันเรียกกันว่าละครเพลง มีองค์ประกอบรูปแบบการแสดง เพลงและการเต้นรำในลักษณะต่างๆ ที่กำหนดไว้อย่างตายตัวไม่ว่าจะมีการแสดงสักกี่รอบก็ตาม โดย บรอดเวย์ เป็นชื่อของถนนสายหนึ่งในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

และวงการภาพยนตร์ก็มักจะนำเรื่องราวจากละครเพลงมาทำเป็นภาพยนตร์และส่วนมากจะประสบความสำเร็จได้รางวัลอยู่เสมอ เช่น เรื่อง West Side Story, The Sound of Music, South Pacific, The King and I, และ Chicago เป็นต้น

ละครเพลงบรอดเวย์ แต่ละเรื่องมักได้รับความนิยมยาวนานมาก ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 9 มกราคมปีนี้เอง ที่สถิติบันทึกว่า ละครเพลงเรื่อง The Phantom Of Opera ได้ทำการแสดงยาวนานที่สุด จำนวน 7,486 รอบ ณ โรงละครมาเจสติก และหลายเรื่องได้รับรางวัลโทนี่ ซึ่งเป็นมาตรฐานดีที่สุดของวงการบรอดเวย์

ประวัติ

ในยุคแรกของละครเพลงที่เกิดขึ้นนี้ได้รับอิทธิพลทางการแสดงจากประเทศทางแบบยุโรป ซึ่งมีลักษณะเป็นโอเปร่า (Operetta)คือมีรูปแบบการร้องเพลงแบบโอเปราร่วมกับการแสดง และมีโครงเรื่องที่มีลักษณะเหนือจริงมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรัก มีการเต้นประกอบการแสดงที่เรียกกันว่า โรแมนติก บัลเล่ต์ (Romantic Ballet) เช่นเรื่อง The Red Mill (1906) Naughty Marietta (1910) Sweethearts (1913)

ยุคที่สอง ในยุคนี้จัดว่าเริ่มเป็นยุคของละครเวทีแบบอเมริกันโดยแท้ คือมีรูปแบบการประพันธ์ เค้าโครงเรื่อง และองค์ประกอบต่างๆ ของละครมีลักษณะเป็นเรื่องราวของชาวบ้าน ชาวเมืองปกติในอเมริกา ใช้เพลงป็อป มีการนำการเต้นรำเข้ามาประกอบ มีบทพูดและมีการร้องเพลง การเต้นรำเพื่อเชื่อมต่อเรื่องราวจากเหตุการณ์หนึ่งไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง มีการเปลี่ยนฉาก มีบทชวนหัว เสียดสีล้อเลียนเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ที่เข้ากับเหตุการณ์ตอนนั้น ผู้นำการผลิตละครเพลงเวทีแบบอเมริกันในยุคนี้ได้แก่ จอร์ช แอมโคแฮน (1848-1942), เจอโรม เคิร์น (1885-1945), เออร์วิง เบอร์ลิน (1888-1985) ละครเพลงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคนี้ได้แก่ Show boat (1927),Funny Face (1927), Roberta (1933), Annie get your guns (1946)

ยุคที่สาม จะมีเนื้อหาและเรื่องราวของละครเพลงในยุคนี้เน้นการเสนอเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตจริงมากขึ้น และมีการนำเรื่องจากบทกวี วรรณคดีมาแสดงและผสมผสานเนื้อเรื่อง มีการเต้นรำมากขึ้น ละครเพลงในยุคนี้มีลักษณะเป็นละคร (Drama) มากขึ้น มีความสมบูรณ์มากขึ้นกว่าในยุคก่อน ผลงานเด่นในยุคนี้ได้แก่ Oklahoma! (1943) , South Pacific (1949), The King and I (1951), My Fair Lady (1956), The Sound of Music (1959)Camelot (1960), Funny Girls (1964) เป็นต้น

ยุคที่สี่ เป็นยุคของรูปแบบใหม่แห่งวงการละครเพลง คือการนำเสนอเรื่องราวจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของวีรบุรุษ ความรักความยิ่งใหญ่ตระการตาหมดไปมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตสังคมในแง่มุมต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็น จบลงด้วยความสุข หรือเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ อาจจะมีการใช้เพลงร็อกแอนด์โรลประกอบการแสดง เช่น Jesus Christ Superstar (1968) Grease (1972) และในยุคนี้นับเป็นการเริ่มต้นละครแบบทดลองคือมีการนำเรื่องราวที่แปลกออกไปมานำเสนอเช่นเรื่อง Cabaret (1966) และเรื่อง Evita (1970)เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมายและกลายเป็นละครเวทีที่ได้รับความนิยมเปิดแสดงติดต่อกันเป็นเวลานาน เพลงประกอบที่ได้รับความนิยมมากจากละครทั้งสองเรื่องนี้ก็คือ Cabaret, May be this time, Don’t cry for me Argentinaซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพ่อแห่งวงการละครเพลง แอนดรู ลอยด์ เว๊บเบอร์

ปัจจุบันละครบรอดเวย์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาปรับใช้ให้เข้ากับเรื่องราวและเหตุการณ์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องยิงเลเซอร์ เครื่องสร้างภาพ 3 มิติ เครื่องสร้างปรากฏการณ์ธรรมชาติเทียม ทำให้ละครดูสมจริงสมจังมากขึ้นทุกที เป็นจุดเด่นที่ทำให้ผู้ชมชื่นชอบละครบรอดเวย์มาโดยตลอด

ลักษณะของละครบรอดเวย์

  • ละครชวนหัว (Musical Comedy) คือเป็นแนวทางในการจัดทำละครบรอดเวย์เหล่านี้มักจะเป็นแนวเบาสมอง เป็นส่วนใหญ่ และมีการสอดแทรกมุขตลกอยู่เสมอ
  • เน้นหนักด้านเนื้อเรื่อง บทร้อง และทำนองเพลงการเต้นรำที่ใช้ประกอบเพลงซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างให้เป็นเพลง “ฮิต” บทร้องและดนตรีจึงมีความสำคัญมาก ทำให้รวมไปถึงผู้ออกแบบท่าเต้นประกอบเพลง (Choreographer) เช่น เจอโรม ร็อบบินส์ (Jerome Robbins – West Side Story 1957), แอกเนส เดอ มิล (Agnes de Mille – Oklahoma! 1943), บ๊อบ ฟอซซี่ (Bob Fossi – Cabaret 1966)
  • หมอละคร (Show Doctor) คือผู้ที่ช่วยแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ของละครให้ดีขึ้น ถ้าเห็นว่าการแสดงในรอบปฐมทัศน์ไม่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่นเรื่อง คาเมล๊อต (Camelot)มอส ฮาร์ทได้เข้ามาปรับปรุงแก้ไข ทำให้ละครเรื่องนี้กลับมาเป็นละครเพลงบรอดเวย์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเรื่องหนึ่งในเวลาต่อมา
  • ดารา มักจะกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงในวงการอื่นๆ ด้วย เช่นวงการภาพยนตร์หรือ วงการโทรทัศน์ เช่น จูลี่ แอนดรูส์ (จาก The Sound of Music 1959) ซึ่งแตกต่างจากดาราโอเปรา เพราะโอเปราใช้เสียงเป็นสื่อในการแสดงแต่ละครเพลงต้องการ นางเอก หรือ พระเอก ที่ดูเหมาะสมกับบทบาทอย่างแท้จริง
  • เค้าโครงเรื่อง ส่วนมากจะได้รับการจัดทำขึ้นโดยดูตลาดและผู้ชมเป็นแนวทางการในการผลิตละครแต่ละเรื่อง โครงเรื่องจึงแตกต่างกันไปตามแนวความนิยมของสังคมในแต่ละยุค มักนำเหตุการณ์ที่น่าจดจำมาเป็นส่วนโครงเรื่อง อย่างประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เช่น Oklahoma!, Show Boat ,Music Man หรือโครงเรื่องที่มีแนวเทพนิยายในลักษณะของซินเดอเรลล่า เช่น แอนนาในเรื่อง The King and I และมาเรียในเรื่อง The Sound of Music และ อีไลซ่า ดูลิตเติลในเรื่อง My Fair Lady หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อเรื่อง 'บุษบาริมทาง'

เค้าโครงเรื่องอีกประเภทหนึ่งคือเรื่องราวสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคม เช่นเรื่อง Cabaret, West Side Story, Chicago

  • ฉาก และ คอสตูม หรือเครื่องแต่งกาย เน้นความอลังการอันตื่นตา ผสมผสานกับพื้นฐานสำคัญในเรื่องการสร้างสรรค์เพลง ดนตรี รวมทั้งการเต้นที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง รวมทั้งแสง สี เสียง และเทคนิคของการจัดฉาก การเปลี่ยนฉาก และความสดในการแสดงของนักแสดงที่มีความสามารถสูงทั้งในด้านการร้องเพลง การเต้นรำ ทำให้ละครบรอดเวย์เป็นที่ประทับใจในเรื่องของความแปลกใหม่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 40°45′21″N 73°59′11″W / 40.75583°N 73.98639°W / 40.75583; -73.98639