ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศสกอตแลนด์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Idolahu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6513944 สร้างโดย Idolahu (พูดคุย)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = สกอตแลนด์<br /><small>[[ภาษาแกลิกแบบสกอต|แกลิกสกอต]]:</small> ''Alba''
| native_name = สกอตแลนด์<br /><small>[[ภาษาแกลิกแบบสกอต|แกลิกสกอต]]:</small> ''Alba''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:17, 20 มิถุนายน 2559

สกอตแลนด์
แกลิกสกอต: Alba
คำขวัญ"In My Defens God Me Defend" (ภาษาสกอต)
ที่ตั้งของ สกอตแลนด์  (สีเขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (สีเขียว & สีเทาเข้ม) – ในสหราชอาณาจักร  (สีเขียว)
ที่ตั้งของ สกอตแลนด์  (สีเขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (สีเขียว & สีเทาเข้ม)
– ในสหราชอาณาจักร  (สีเขียว)

เมืองหลวงเอดินบะระ
เมืองใหญ่สุดกลาสโกว์
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ ภาษาแกลิกแบบสกอต และภาษาสกอต
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
Nicola Sturgeon
รัฐบาลสหราชอาณาจักร
เดวิด แคเมอรอน
• รัฐมนตรี
Alistair Carmichael
การก่อตั้ง
พื้นที่
• รวม
78,772 ตารางกิโลเมตร (30,414 ตารางไมล์) (n/a)
1.9
ประชากร
• 2548 ประมาณ
5,094,800 (n/a)
• สำมะโนประชากร 2544
5,062,011
95 ต่อตารางกิโลเมตร (246.0 ต่อตารางไมล์) (n/a)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2545 (ประมาณ)
• รวม
$130 billion (n/a)
$25,546 (n/a)
เอชดีไอ (2546)0.939
สูงมาก · n/a
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (£) (GBP)
เขตเวลาUTC+0 (GMT)
รหัสโทรศัพท์44
โดเมนบนสุด.uk

สกอตแลนด์ (อังกฤษ: Scotland; แกลิกสกอต: Alba) เป็นประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร และครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่[1][2][3] มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ[4]

เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ปัญญาและอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์[5] เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ[6] ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป[7]

เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษ จนเมื่อ ค.ศ. 1603 ที่พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ครองบัลลังก์อังกฤษโดยทรงใช้พระนามว่า พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ จึงมีผลให้ทั้งสองประเทศมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกัน เรียกว่า การรวมราชบัลลังก์ (Union of the Crowns) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของทั้งสองยังคงแยกจากกันอยู่จนกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 อังกฤษและสกอตแลนด์ได้รวมตัวกันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 มีผลให้รวมกับราชอาณาจักรอังกฤษ และกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[8]

ระบบกฎหมายของสกอตแลนด์ยังแยกจากระบบกฎหมายของอังกฤษ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์อยู่ในเขตอำนาจศาลต่างหากในกฎหมายมหาชนและเอกชน[9] การคงซึ่งสถาบันกฎหมาย การศึกษาและศาสนาแยกจากสถาบันที่เหลือของสหราชอาณาจักรล้วนส่งผลให้มีความต่อเนื่องของวัฒนธรรมสกอตแลนด์และอัตลักษณ์แห่งชาตินับแต่สหภาพ ค.ศ. 1707[10] ใน ค.ศ. 1999 รัฐสภาสกอตแลนด์ สภานิติบัญญัติโอนอำนาจของส่วนกลางให้ส่วนท้องถิ่น ประชุมใหม่โดยมีอำนาจเหนือกิจการภายในหลายด้านหลังการลงประชามติ ค.ศ. 1997 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 พรรคชาติสกอตแลนด์ชนะฝ่ายข้างมากในรัฐสภาสกอตแลนด์ ทำให้มีการลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2014 ซึ่งประชากรสกอตแลนด์ข้างมากปฏิเสธ[11][12]

สกอตแลนด์เป็นชาติสมาชิกสภาบริเตน–ไอร์แลนด์[13] และสมัชชารัฐสภาบริเตน–ไอร์แลนด์

อ้างอิง

  1. "The Countries of the UK". Office for National Statistics. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  2. "Countries within a country". 10 Downing Street. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2010. สืบค้นเมื่อ 24 August 2008. The United Kingdom is made up of four countries: England, Scotland, Wales and Northern Ireland
  3. "ISO 3166-2 Newsletter Date: 28 November 2007 No I-9. "Changes in the list of subdivision names and code elements" (Page 11)" (PDF). International Organization for Standardization codes for the representation of names of countries and their subdivisions – Part 2: Country subdivision codes. สืบค้นเมื่อ 31 May 2008. SCT Scotland country
  4. "Scottish Executive Resources" (PDF). Scotland in Short. Scottish Executive. 17 February 2007. สืบค้นเมื่อ 14 September 2006.
  5. "A quick guide to glasgow". Glasgow City Centre. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
  6. The Scottish Adjacent Waters Boundaries Order. London: The Stationery Office Limited. 1999. ISBN 0-11-059052-X. สืบค้นเมื่อ 20 September 2007.
  7. "Our City". Aberdeen City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2010. สืบค้นเมื่อ 1 December 2009. Aberdeen's buoyant modern economy – is fuelled by the oil industry, earning the city its epithet as 'Oil Capital of Europe'
  8. ข้อมูลประเทศสกอตแลนด์
  9. Collier, J. G. (2001) Conflict of Laws (Third edition)(pdf) Cambridge University Press. "For the purposes of the English conflict of laws, every country in the world which is not part of England and Wales is a foreign country and its foreign laws. This means that not only totally foreign independent countries such as France or Russia ... are foreign countries but also British Colonies such as the Falkland Islands. Moreover, the other parts of the United Kingdom – Scotland and Northern Ireland – are foreign countries for present purposes, as are the other British Islands, the Isle of Man, Jersey and Guernsey."
  10. Devine, T. M. (1999), The Scottish Nation 1700–2000, P.288–289, ISBN 0-14-023004-1 "created a new and powerful local state run by the Scottish bourgeoisie and reflecting their political and religious values. It was this local state, rather than a distant and usually indifferent Westminster authority, that in effect routinely governed Scotland"
  11. "Scotland: Independence Referendum Date Set". BSkyB. 21 March 2013. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.
  12. Gardham, Magnus (2 May 2011). "Holyrood election 2011: Alex Salmond: Referendum on Scottish independence by 2015". Daily Record. Scotland. สืบค้นเมื่อ 14 October 2011.
  13. "Scotland / Alba". British-Irish Council. สืบค้นเมื่อ 4 May 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น