ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพชรตัดเพชร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 123: บรรทัด 123:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
* [https://www.sharerice.com/index.php?title=Petch_Tud_Petch_(2001) Petch Tud Petch (2001) : sharerice.com]
* [https://www.sharerice.com/index.php?title=Phet_Tud_Phet Phet Tud Phet : sharerice.com]
* [http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=1674 ชุมทางหนังไทยในอดีต (ตอนที่ 2)]
* [http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=1674 ชุมทางหนังไทยในอดีต (ตอนที่ 2)]
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:56, 15 มิถุนายน 2559

เพชรตัดเพชร
ไฟล์:เพชรตัดเพชร.jpg
กำกับวิจิตร คุณาวุฒิ
พร้อมสิน สีบุญเรือง
ประกอบ แก้วประเสริฐ
เขียนบทเศก ดุสิต และ ส. เนาวราช
อำนวยการสร้างปริญญา ทัศนียกุล
นักแสดงนำมิตร ชัยบัญชา
ลือชัย นฤนาท
เพชรา เชาวราษฎร์
เรจิน่า ไป่ปิง (Regina Pai Ping)
เกชา เปลี่ยนวิถี
อดุลย์ ดุลยรัตน์
วิไลวรรณ วัฒนพานิช
พันคำ
เชาว์ แคล่วคล่อง
ชุมพร เทพพิทักษ์
เยาวเรศ นิศากร
มาลี เวชประเสริฐ
ชาย มีคุณสุด
เชาว์ มีคุณสุด
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
ล้อต๊อก
กำกับภาพโชน บุนนาค
ตัดต่อปง อัศวินิกุล
วันฉาย5 เมษายน พ.ศ. 2509
ความยาว138 นาที
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย

เพชรตัดเพชร เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2509 สร้างจากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต และ ส. เนาวราช สร้างโดย ปริญญา ทัศนียกุล แห่งบริษัทสหการภาพยนตร์ไทยจำกัด มีผู้กำกับการแสดงถึง 3 ท่านคือ วิจิตร คุณาวุฒิ (เจ้าของฉายาเศรษฐีตุ๊กตาทอง) พร้อมสิน สีบุญเรือง (พันคำ) และประกอบ แก้วประเสริฐ

ภาพยนตร์เรื่องเพชรตัดเพชรเป็นภาพยนตร์ในระบบ 35 ม.ม.ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม ตามแบบมาตรฐานโลก นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชา ให้มาประกบกับการกลับมาของพระเอกเก่า ลือชัย นฤนาท เป็นจุดขายอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ และนางเอกคู่ขวัญ เพชรา เชาวราษฎร์ มาร่วมแสดง และมีนักแสดงสาวจากฮ่องกงเรจิน่า ไป่ปิง นอกจากนี้ยังมี เกชา เปลี่ยนวิถี อดุลย์ ดุลยรัตน์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช พร้อมดาราอีกมากร่วมแสดง

ภาพยนตร์เรื่องเพชรตัดเพชรออกฉายครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2509 ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ จุดเด่นที่ทำให้หนังโด่งดังมากก็คือ การทำถ่ายด้วยฟิล์ม 35 ม.ม. แล้วมาบันทึกเสียงพากย์ เสียงแบ็คกราวน์ลงในฟิล์ม ทำให้มีความสมจริงในเรื่องคุณภาพเสียงซึ่งต่างจากหนัง 16 ม.ม. ในยุคนั้นที่ใช้การพากย์สดๆ ฉากวิวทิวทัศน์ของเกาะฮ่องกงก็เป็นที่ตื่นตาตื่นใจคนไทยสมัยนั้น บทบู๊ก็เล่นได้มันสะใจโดยเฉพาะฉากที่มิตรต่อยกับลือชัย

และฉากที่มิตรขับรถยนต์หนีตำรวจ พอรถวิ่งลงน้ำก็แล่นไปได้เหมือนเรือ ฉากที่มิตรทิ้งขวดเป๊ปซี่เต็มถนนสกัดการติดตามและที่ทุกคนจดจำ และยังมีเพลง เพชรตัดเพชร ร้องโดย คณะสุเทพโชว์ วงดนตรีซิลเวอร์แซนด์ และเพลง ดวงใจ ร้องโดย สวลี ผกาพันธ์ ซึ่งเป็นเพลงดังของหนังเรื่องนี้

เรื่องย่อ

ยอด (ลือชัย นฤนาท) สมุนมือขวาของ มิสเตอร์ตัน (เกชา เปลี่ยนวิถี) หักหลังฆ่า ชาติ (มิตร ชัยบัญชา) แล้วชิงเอาเฮโรอีนหนีข้ามไปขายยังเกาะฮ่องกง แต่ยอดก็ถูกมิสเตอร์ตันซ้อนแผนแจ้งข่าวให้ตำรวจฮ่องกงจับกุมยอด เมื่อยอดถูกปล่อยตัวกลับกรุงเทพฯ ตำรวจฮ่องกงให้นักร้องสาว ไป่หลู (เรจิน่า ไป่ปิง) สายลับตีสนิทติดตามมาสืบหาผู้เป็นหัวหน้าใหญ่ ร.ต.ท.ศักดิ์ชัย (มิตร ชัยบัญชา) นายตำรวจหนุ่มจากกองปราบที่มีหน้าตาเหมือนกับชาติถูกเรียกตัวให้มาพบและวางตัวให้ปลอมตัวเป็นชาติเพื่อเข้าไปในองค์การฯ จนได้เป็นแขนขวาของมิสเตอร์ตัน ภายหลังยอดและ รัศมี (เพชรา เชาวราษฎร์) คนรักพร้อมด้วยศักดิ์ชัยและไป่หลูได้ร่วมมือกันสืบหาจนรู้ว่า ใจสมร (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) เป็นหัวหน้าใหญ่ แต่เหล่าร้ายก็รู้ตัวแล้ว ความมันระดับเพชรตัดเพชร จึงเกิดขึ้น

นักแสดงในปีต่างๆ

รูปแบบการนำเสนอ ร.ต.ท.ศักดิ์ชัย/ชาติ ยอด ไป่หลู่ รัศมี
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2509 มิตร ชัยบัญชา ลือชัย นฤนาท เรจินา ไป่ปิง เพชรา เชาวราษฎร์
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2527 สรพงศ์ ชาตรี โกวิท วัฒนกุล อภิรดี ภวภูตานนท์ ลินดา ค้าธัญเจริญ
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2544 เจตริน วรรธนะสิน อัมรินทร์ นิติพน พัชราภา ไชยเชื้อ กัลยกร นาคสมภพ
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2559 ศุกลวัฒน์ คณารศ มิกค์ ทองระย้า อุษามณี ไวทยานนท์ ขอขวัญ เรสเตอร์วี

นำกลับมาสร้างใหม่

รายชื่อนักแสดงฉบับละครโทรทัศน์

ปี พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2559
สถานีออกอากาศ ช่อง 7
ผู้จัดละคร ดาราวิดีโอ พอดีคำ
บทโทรทัศน์ ทรนง ศรีเชื้อ แพรพริมา
ผู้กำกับการแสดง สยาม สังวริบุตร สยาม น่วมเศรษฐี
วันเวลาออกอากาศ
ร.ต.ท.ศักดิ์ชาย / ชาติ เจตริน วรรธนะสิน ศุกลวัฒน์ คณารศ
ยอด อัมรินทร์ นิติพน มิกค์ ทองระย้า
ไป่หลู พัชราภา ไชยเชื้อ อุษามณี ไวทยานนท์
รัศมี กัลยกร นาคสมภพ ขอขวัญ เรสเตอร์วี
ตรัน ลิขิต เอกมงคล
พ.ต.อ.เชิดศักดิ์ อรรถชัย อนันตเมฆ อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
มาดามหลุยส์ ชลิตา พานิชการ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
เฉินหลง เมธี อมรวุฒิกุล อติรุจ สิงหอำพล
ฟิเดลโล่ กลศ อัทธเสรี เล็ก ไอศูรย์
เชง เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์ อรุชา โตสวัสดิ์
เป๊กกี้ ปิยวรรณ จิตณาธรรม ธัญญชล สถิรบุตร
บรูชลี สมรักษ์ คำสิงห์
ปราบ ยุทธพิชัย
วรพรต ชะเอม
ฤทธิ์ ลือชา
ไชยยา สุดใจดี
ร.ต.ท.ศักดิ์ชาย อัมรินทร์ สิมะโรจน์
พล.ต.ท.บูรพา ทม วิศวชาติ
เกริกพันธ์ งามจิตสุขศรี

อ้างอิง

  1. หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "กลางดงควันปืน". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2549. หน้า 224. ISBN 974-93354-0-6