ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสุขุมวิท"

พิกัด: 13°44′34.09″N 100°33′1.46″E / 13.7428028°N 100.5504056°E / 13.7428028; 100.5504056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| ชื่อ = ถนนสุขุมวิท
| ชื่อ = ถนนสุขุมวิท
| แผนที่ = Thanon Sukhumvit.png
| แผนที่ = Thanon Sukhumvit.png
| คำอธิบายแผนที่ =
| คำอธิบายแผนที่ = เส้นทางถนนสุขุมวิท
| ความยาว-กม = 488.387
| ความยาว-กม = 488.387
| ทิศทางจุดa =  ต.ต.น.
| ทิศทางจุดa =  ต.ต.น.
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
| ต้นทาง = [[ถนนเพลินจิต]] [[เขตคลองเตย]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| ต้นทาง = [[ถนนเพลินจิต]] [[เขตคลองเตย]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| ปลายทาง = ชายแดนบ้านหาดเล็ก [[อำเภอคลองใหญ่]] [[จังหวัดตราด]]
| ปลายทาง = ชายแดนบ้านหาดเล็ก [[อำเภอคลองใหญ่]] [[จังหวัดตราด]]
| แยกสำคัญ =
| แยกสำคัญ = ?
| สร้าง = [[พ.ศ. 2479]]
| สร้าง = [[พ.ศ. 2479]]
| ทางหลวงเอเชีย = {{AH|123}} (ระยอง-บ้านหาดเล็ก)
| ทางหลวงเอเชีย = {{AH|123}} (ระยอง-บ้านหาดเล็ก)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:13, 14 มิถุนายน 2559

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3
ถนนสุขุมวิท
เส้นทางถนนสุขุมวิท
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ระยอง-บ้านหาดเล็ก)
ความยาว488.387 กิโลเมตร (303.470 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2479–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศ ต.ต.น.ถนนเพลินจิต เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
 ?
ปลายทางทิศ ต.อ.ต.ชายแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนสุขุมวิท ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวประมาณ 488 กิโลเมตร

ประวัติ

ป้ายชื่อถนนสุขุมวิท เขียนเป็นอักษรไทยและอักษรโรมัน

ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462[1] เมื่อนางสาว อี. เอส. โคล หรือ "แหม่มโคล" ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราชมาอยู่ริมคลองแสนแสบซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ จึงขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต) ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง ในปี พ.ศ. 2466 โรงเรียนกุลสตรีวังหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย นาย เอ.อี.นานา ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากจุดตัดของถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ ไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เป็นระยะทาง 3,072 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงลพบุรีราเมศร เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระบรมราชานุญาต รัชกาลที่ 7 ตัดถนนต่อจากปากซอยโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยไปถึงสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางคนที่ 5 ได้จัดทำ "โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นแม่บทในการสร้างทางหลวงเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลักของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตราด เรียกชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-ตราด" ทำให้คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราดว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493

เส้นทาง

กรุงเทพมหานคร

ถนนสุขุมวิทในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ถนนสุขุมวิท เริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง โดยได้เริ่มต้นเรียกชื่อถนนสุขุมวิทตั้งแต่กรุงเทพมหานครบริเวณเพลินจิตหลังจากข้ามทางรถไฟสายปากน้ำ อนึ่งถนนสุขุมวิทช่วงตั้งแต่สี่แยกใต้ด่วนเพลินจิตถึงซอยสุขุมวิท 52 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตวัฒนากับเขตคลองเตย หลังจากนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ เขตพระโขนง และเขตบางนา ก่อนเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านเข้าสู่จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 318 (ช่วงตัวเมืองตราดถึงด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่) ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ทำให้ถนนสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มขึ้นอีก 89 กิโลเมตร

ถนนสุขุมวิทช่วงต้น ๆ สายที่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตธุรกิจสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตามซอยต่าง ๆ ตลอดแนวถนนสุขุมวิทในช่วงนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งบันเทิงใหญ่ของเมืองอีกด้วย และที่สำคัญถนนสุขุมวิทยังมีแนวระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ซึ่งก็คือรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทด้วย โดยวิ่งเหนือถนนสุขุมวิทตั้งแต่สถานีเพลินจิตถึงสถานีแบริ่งหรือสุดเขตกรุงเทพมหานคร และในปัจจุบันได้มีการสร้างส่วนต่อขยายระยะที่ 2 ระหว่างแบริ่ง - สมุทรปราการ โดยส่วนต่อขยายดังกล่าวจะยกระดับถนนสุขุมวิทตลอดเส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2559 [2]

สถานที่สำคัญบนเส้นทาง

แม่แบบ:ถนนสุขุมวิท

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดต่างๆ

จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดชลบุรี
  • นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
  • วัดเขาบางทราย
จังหวัดระยอง
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดตราด

สะพานที่สำคัญบนเส้นทาง

ทางเลี่ยงเมือง

  • ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี ระยะทาง 13.851 กิโลเมตร (ปัจจุบันเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361)
    • กม.4.245 สะพานข้ามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (กม.3.261)
    • กม.8.848 สะพานข้ามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (กม.1.945)
    • กม.11.611 ทางแยกต่างระดับตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 สายเดิม (กม.0)
  • ทางเลี่ยงเมืองระยอง (ปัจจุบันรวมสายทางกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 และเปลี่ยนหมายเลขทางหลวงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 0+000 - 3+909 เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 364)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. โรม บุนนาค (10 มิถุนายน 2556). "เรื่องเก่าเล่าสนุก : หลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย". all Magazine ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือน มิถุนายน 2556. all Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ดีเดย์ 1 มี.ค.เริ่มสร้าง รถไฟฟ้า แบริ่ง-สมุทรปราการ จัดแผนก่อสร้างหวั่นสุขุมวิทอ่วม
  3. http://www.ds.ac.th/highlight/

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′34.09″N 100°33′1.46″E / 13.7428028°N 100.5504056°E / 13.7428028; 100.5504056