ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิหมิงอิงจง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
|title = จักรพรรดิจีน
|title = จักรพรรดิจีน
|succession = จักรพรรดิแห่ง [[ราชวงศ์หมิง]] องค์ที่ 6
|succession = จักรพรรดิแห่ง [[ราชวงศ์หมิง]] องค์ที่ 6
|reign = [[พ.ศ. 1978]] - [[พ.ศ. 1992]]
|reign = [[7 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 1978]] - [[1 กันยายน]] [[พ.ศ. 1992]]
|predecessor = [[จักรพรรดิซวนเต๋อ]]
|successor = [[จักรพรรดิจิ่งไท่]]
|era dates = '''เจิ้งถ่ง''' (Zhengtong , 1978 - 1992) <br> '''เทียนซุ่น''' (Tianshun , 2000 - 2007)
|era dates = '''เจิ้งถ่ง''' (Zhengtong , 1978 - 1992) <br> '''เทียนซุ่น''' (Tianshun , 2000 - 2007)
|temple name = '''หมิงอิงจง''' (Ming Yingzong)
|temple name = '''หมิงอิงจง''' (Ming Yingzong)
|father = [[จักรพรรดิเซฺวียนเต่๋อ]]
|father = [[จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ]]
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:14, 11 มิถุนายน 2559

จักรพรรดิหมิงอิงจง
จักรพรรดิจีน
จักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์หมิง องค์ที่ 6
ครองราชย์7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1978 - 1 กันยายน พ.ศ. 1992
ก่อนหน้าจักรพรรดิซวนเต๋อ
ถัดไปจักรพรรดิจิ่งไท่
รัชศก
เจิ้งถ่ง (Zhengtong , 1978 - 1992)
เทียนซุ่น (Tianshun , 2000 - 2007)
วัดประจำรัชกาล
หมิงอิงจง (Ming Yingzong)
พระราชบิดาจักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ
รูปภาพของจักรพรรดิเจิ้งถ่ง

สมเด็จพระจักรพรรดิเจิ้งถ่ง หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเทียนซุ่น หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิหมิงอิงจง (พระนามเดิม จู ฉีเจิน) ทรงเป็นจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง ทรงขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. 1978 เป็นจักรพรรดิเจิ้งถ่ง (正統) แต่ในพ.ศ. 1992 ระหว่างที่ทรงทำศึกกับมองโกลทรงถูกจับเป็นเชลยศึก ทางปักกิ่งจึงตั้งพระอนุชาขึ้นเป็นจักรพรรดิจิ่งไถ่ เมื่อจักรพรรดิเจิ้งถ่งทรงถูกปลอยตัวกลับมาก็ถูกพระอนุชาที่เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่จับขังไว้ จนในพ.ศ. 2000 จักรพรรดิเจิ้งถ่งจึงทรงยึดอำนาจกลับขึ้นครองราชย์อีกครั้ง ใช้รัชศกใหม่คือเทียนซุ่น (天順) แต่ก็มีเหตุการณ์นองเลือดรุนแรงในรัชสมัยหลังของพระองค์ คือ กบฏเฉาฉิน

รัชสมัยแรก

องค์ชายจู ฉีเจิน เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซวนเต๋อ กับ สนมซุน สนมองค์โปรดของฮ่องเต้ซวนเต๋อ แต่ตามหนังสือหมิงจื้อ (ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง) กล่าวว่าไม่มีใครทราบว่าพระราชมารดาของฮ่องเต้เจิ้งถ่งเป็นใคร เพราะสนมซุนจะส่งคนไปสืบทั่วทั้งวังว่ามีนางใดตั้งท้อง จับขังไว้เลี้ยงจนคลอดแล้วสังหารมารดาสวมรับลูกเป็นของตน เมื่อปรากฏว่าสนมซุนมีพระโอรสเป็นจู ฉีเจิน ทำให้ฐานะของสนมซุนมั่นคง ฮ่องเต้จึงปลดฮองเฮาองค์เดิมคือ ฮองเฮาโห และตั้งสนมซุนขึ้นเป็นฮองเฮาแทน จู ฉีเจินได้รับแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาท ในพ.ศ. 1978 ฮ่องเต้ซวนเต๋อสิ้นพระชนม์ องค์ชายรัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้เจิ้งถ่ง พระชนมายุแค่ 8 พรรษา ทรงเป็นฮ่องเต้พระเยาว์พระองค์แรกของราชวงศ์หมิง ทำให้พระองค์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขันทีหวัง เฉิน

วิกฤตการตูมู่

แม้ราชวงศ์หยวนจะถูกโค่นล้มไปแล้วและพวกมองโกลก็ถอยกลับคืนสู่ถิ่นเดิมในมองโกเลีย แต่เผ่ามองโกลต่างๆก็ยังคงเข้มแข็งและเข้ารุกรานจีนราชวงศ์หมิงอยู่บ่อยครั้ง ในพ.ศ. 1992 ผู้นำมองโกลเผ่าออยรัต คือ อีเซ็น ไทอีซี นำทัพขนาดใหญ่บุกเข้าภาคกลาง ขันทีหวังเฉินแนะนำฮ่องเต้เจิ้งถ่งว่าทรงควรที่จะนำทัพด้วยพระองค์เอง ทัพต้าหมิงจึงถูกเกณฑ์อย่างรีบๆ มีขุนพลระดับสูงหลายคนติดตาม มีหวังเฉินเป็นผู้นำทัพหน้า

ทัพมองโกลเอาชนะทัพต้าหมิงของหวังเฉินได้อย่างราบคาบ ฮ่องเต้เจิ้งถ่งเห็นท่าไม่ดีจึงทรงแต่งตั้งพระอนุชาต่างมารดา คือ จู ฉียู่ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนในขณะที่พระองค์ออกรบ เมื่อทรงเดินทัพออกไปปรากฏฝนตกหนักดินเลนทำให้เดินทางลำบาก บรรดาขุนนางพากันเห็นว่าควรจะส่งฮ่องเต้กลับพระราชวัง แต่หวังเฉินยืนกรานว่างานนี้ฮ่องเต้ต้องทรงนำทัพเอง

หวังเฉินไม่อยากให้เดินทัพผ่านบ้านของเขาที่ยูโจว จึงให้อ้อมไปโจมตีทัพมองโกลทางตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พอถึงเซียนฟูทัพหวังเฉินก็ถูกทัพมองโกลตีตลบหลังแตกพ่ายไปสิ้น ฝ่ายทัพหลวงอยู่ที่ป้อมตูมู่ บรรดาขุนนางเห็นว่าควรจะส่งฮ่องเต้ไปประทับที่เมืองฮวยไหล่ที่มีกำแพงแข็งแรง ซึ่งหวังเฉินก็คัดค้าน ทัพมองโกลยกทัพปิดทางออกแม่น้ำไว้มิให้ทัพต้าหมิงได้น้ำ และล้อมป้อมตูมู่ไว้ หวังเฉินปฏิเสธการเจรจาใดๆ และยกทัพไปทางแม่น้ำ ก็พบกับทัพมองโกลที่รออยู่ ทัพมองโกลตีทัพต้าหมิงแตกย่อยยับ สังหารขุนนางระดับสูงทุกคน รวมทั้งขันทีหวังเฉิน และจับองค์ฮ่องเต้เจิ้งถ่ง

ทัพมองโกลที่ดักรอที่แม่น้ำนั้นมีกำลังน้อยมาก ทัพต้าหมิงที่มีการบัญชาการที่ไม่ดีต้องพ่ายแพ้แก่ทัพมองโกลเพียงหยิบมือ และการจับฮ่องเต้เป็นตัวประกันเท่ากับว่าอีเซ็นมีโอกาสจะฟื้นฟูราชวงศ์มองโกลโดยการยึดปักกิ่งด้วยซ้ำ เป็นวิกฤตการร้ายแรงของราชวงศ์หมิง เรียกว่า วิกฤตการตูมู่

แต่โอกาสทั้งหลายของอีเซ็นก็ถูกทำลายด้วยความสามารถของขุนนางจีนที่ยู่ เฉียน เมื่ออีเซ็นยกทัพมาห่างจากปักกิ่งเพียง 80 กิโลเมตร ยู่ เฉียน นำทัพต้าหมิงเข้าเอาชนะทัพมองโกลและขับกลับไปได้ สำหรับปัญหาฮ่องเต้เจิ้งถ่งยู่ เฉียนก็แก้ปัญหาโดยการตั้งองค์ชายจูฉียู่ พระอนุชาต่างมารดาของฮ่องเต้เจิ้งถ่ง ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ่งไถ่แทน และให้ฮ่องเต้เจิ้งถ่งเป็นไท่ซ่างหวาง (ฮ่องเต้สละราชย์)

ฝ่ายอีเซ็นเมื่อฝ่ายต้าหมิงมีฮ่องเต้องค์ใหม่แล้วก็มิรู้ว่าจะกักตัวฮ่องเต้เจิ้งถ่งไว้เพื่ออะไร จึงปล่อยตัวอดีตฮ่องเต้ออกมาในปีต่อมาพ.ศ. 1993 เมื่อไท่ซ่างหวางกลับถึงปักกิ่ง ก็พบว่าพระองค์เองนั้นมิได้อำนาจอะไรเลยในฐานะไท่ซ่างหวาง ฮ่องเต้จิ่งไถ่จัดที่ประทับให้ที่พระราชวังทักษิณในพระราชวังต้องห้าม และห้ามมิให้ติดต่อใครเว้นแต่จะได้รับพระอนุญาตจากฮ่องเต้จิ่งไถ่ เท่ากับทรงถูกกุมขังดีๆนี่เอง

ไท่ซ่างหว่าง

ฮ่องเต้จิ่งไถ่ยังปลดองค์ชายรัชทายาทที่เป็นพระโอรสของฮ่องเต้เจิ้งถ่ง และแต่งตั้งพระโอรสของฮ่องเต้จิ่งไถ่เองเป็นรัชทายาทแทน แต่รัชทายาทองค์นี้ภายหลังก็สิ้นพระชนม์อย่างปริศนา แสดงว่าอิทธิพลของไท่ซ่างหวางในราชสำนักนั้นยังมีอยู่พอสมควร ฮ่องเต้จิ่งไถ่เสียพระทัยกับการสิ้นพระชนม์ของพระโอรสมาก จึงประชวรล้มป่วยลงและไม่แต่งตั้งรัชทายาทองค์ใหม่เพราะทรงไม่มีพระโอรสแล้ว

ในพ.ศ. 2000 ไท่ซ่างหวางเห็นเป็นโอกาส จึงก่อการยึดอำนาจปราบดาภิเษกตนเองเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง ฮ่องเต้จิ่งไถ่สิ้นพระชนม์อย่างปริศนาอีกเดือนต่อมา คาดว่านะจะเป็นการบงการของไท่ซ่างหวาง พร้อมทั้งบรรดาขุนนางทั้งหลายที่พลักดันให้ฮ่องแต้จิ่งไถ่ครองราชย์ เช่น ยู่ เฉียน ก็ถูกประหารชีวิต

รัชสมัยที่สอง

ในรัชสมัยที่สองทรงใช้รัชศกว่าเทียนซุ่น แปลว่า เชื่อฟังสวรรค์ ในพ.ศ. 2004 ฮ่องเต้เทียนซุ่นออกฎีกาตักเตือนบรรดาขุนนางให้จงรักภักดีต่อพระองค์และอย่าทำผิดกฎหมายบ้านเมือง เฉา ฉิน ขุนนางที่มีความผิดฐานสังหารทหารองค์รักษ์ในวังเพื่อปกปิดความผิดในการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ จึงร้อนตัวว่าตนจะถูกประหารชีวิตเป็นรายต่อไป จึงนำทัพมองโกลก่อกบฏ

ตั้งแต่ก่อตั้งราชวงศ์หมิงมา ชาวมองโกลที่มิได้กลับบ้านเกิดตนก็เข้ารับใช้ราชวงศ์ใหม่ส่วนมากเป็นขุนนางฝ่ายบู๊ระดับสูง บางคนเป็นถึงขุนพล และชาวฮั่นก็มิได้รังเกียจเดียดฉันท์ชาวมองโกลแต่อย่างใด แต่หลังวิกฤตการตูมู่ ทัศนคติของชาวฮั่นต่อชาวมองโกลเริ่มเปลี่ยนไป ชาวมองโกลไม่ได้รับความไว้วางใจอีกต่อไป

ทัพมองโกลของเฉาฉินนั้นคืนทัพที่เป็นทหารผ่านศึกลู่ชวน-ปิงหมิง ในสมัยฮ่องเต้เจิ้งถ่งเพื่อปราบปรามเผ่าไทและบุกอาณาจักรอังวะ ภายใต้การนำของบิดาบุญธรรมที่เป็นขันทีของเฉาฉิน ในปีนั้นทัพมองโกลบุกเข้ามาอีก เจ้ากรมกลาโหมหม่า อัง และขุนพลซุน ถัง นำทัพออกไปเพื่อรบมองโกล เฉาฉินจึงวางแผนล้มอำนาจฮ่องเต้จิ่งไถ่

กบฏเฉาฉิน

เฉาฉินจัดงานเลี้ยงให้ทหารมองโกลของเขา ทหารมองโกลคนหนึ่งขณะเมาสุราได้เผยแผนยึดอำนาจให้กับขุนพลฮั่นคนหนึ่ง เรื่องจึงรู้ไปถึงขุนพลซุน และรู้ไปถึงฮ่องเต้ ฮ่องเต้จึงมีพระบัญชาปิดประตูวังทั้งเก้าห้ามใครเข้าออก ฝ่ายเฉาฉินระแวงว่าแผนการของตนรั่ว พอทราบพระราชโองการจึงแน่ใจว่าแผนของตนแตกแล้ว จึงกระจายกำลังตามหาหม่า อังและซุน ถัง และตัวเฉาฉินเองก็ไปยังบ้านขององค์รักษ์ลู่ เกา เพื่อสังหารและพบราชเลขาลี่ เซียน ให้ร่างฎีกาขออภัยโทษจากฮ่องเต้ ว่าต้องการแค่แก้แค้นลู่เกา แต่แม้แต่กระดาษแผ่นเดียวก็ผ่านประตูวังไม่ได้

เมื่อขออภัยโทษไม่สำเร็จ เฉาฉินจึงจุดไฟเผาประตูวัง แต่บังเอิญฝนตกลงมาดับไฟเสียหมด ทัพทางการเข้าต่อสู้ เฉาฉินได้รับบาดเจ็บ หนีกลับไปยังบ้านของตน และกระโดดบ่อน้ำที่บ้านตนเองเสียชีวิต

ก่อนหน้า จักรพรรดิหมิงอิงจง ถัดไป
จักรพรรดิซวนเต๋อ จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 1435 - 1449)
จักรพรรดิจิ่งไท่
จักรพรรดิจิ่งไท่ จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 1457 - 1464)
จักรพรรดิเฉิงฮัว