ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาพระเกี้ยว"

พิกัด: 13°44′08″N 100°31′53″E / 13.735487°N 100.531432°E / 13.735487; 100.531432
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่แหล่งอ้างอิง และจะใส่ข้อมูลเพื่อพัฒนาต่อไป
ป้ายระบุ: ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหัวข้อระดับสองและใส่เนื้อหา เพิ่มแหล่งอ้างอิง
บรรทัด 30: บรรทัด 30:


'''ศาลาพระเกี้ยว''' เป็นอาคารเอนกประสงค์ของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] สร้างในปี [[พ.ศ. 2508]]<ref>หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memohall.chula.ac.th/article/ศาลาพระเกี้ยว/ (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายอย่าง เช่น [[จุฬาฯวิชาการ]] ชั้นใต้ดินเป็น[[ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ลักษณะภายนอกของศาลาพระเกี้ยวเป็น[[สถาปัตยกรรมสมัยใหม่]] รูปทรงคล้าย[[พระเกี้ยว]] ในปี [[พ.ศ. 2559]] ศาลาพระเกี้ยวได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นจาก[[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]]<ref>สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 5 พฤษภาคม 2559. http://www.asa.or.th/en/node/140800 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
'''ศาลาพระเกี้ยว''' เป็นอาคารเอนกประสงค์ของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] สร้างในปี [[พ.ศ. 2508]]<ref>หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memohall.chula.ac.th/article/ศาลาพระเกี้ยว/ (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายอย่าง เช่น [[จุฬาฯวิชาการ]] ชั้นใต้ดินเป็น[[ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ลักษณะภายนอกของศาลาพระเกี้ยวเป็น[[สถาปัตยกรรมสมัยใหม่]] รูปทรงคล้าย[[พระเกี้ยว]] ในปี [[พ.ศ. 2559]] ศาลาพระเกี้ยวได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นจาก[[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]]<ref>สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 5 พฤษภาคม 2559. http://www.asa.or.th/en/node/140800 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>

== ประวัติ ==
นับตั้งแต่ [[พ.ศ. 2500]] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมี[[นิสิต]]เป็นจำนวนมาก มีการสนับสนุนให้นิสิตทำกิจกรรมในระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัย ทำให้สโมสรนิสิตจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่ปฏิบัติงานจากอาคารจักรพงษ์ที่ใช้อยู่เดิม ในขณะนั้น[[จอมพล]] [[ประภาส จารุเสถียร]] [[อธิการบดี]]จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างอาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของนิสิต สภามหาวิทยาลัยจึงอนุมัติให้สร้างอาคารหลังหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า ศาลาพระเกี้ยว ขึ้นบริเวณด้านหลังอาคารจุลจักรพงษ์ในปัจจุบัน ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 12 ล้านบาท<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๙ ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.</ref>

ศาลาพระเกี้ยวเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ [[พ.ศ. 2508]] สร้างเสร็จลงใน [[พ.ศ. 2509]] มี[[หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ]] เป็น[[สถาปนิก]]ออกแบบ เลิศ อุรัสยนันทน์เป็นสถาปนิกผู้ช่วยและมีรชฏ กาญจนะวณิชย์เป็น[[วิศวกร]]ควบคุมการก่อสร้าง หลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้มีพิธีเปิดในวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2510]] ซึ่งตรงกับวันครบรอบการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 50 ปี<ref>สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.prm.chula.ac.th/cen31.html (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>

ในปี [[พ.ศ. 2522]] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการปิดศาลาพระเกี้ยวเพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ เนื่องจากความทรุดโทรมที่เกิดจากการใช้งานมายาวนานและปัญหาฐานรากทรุด ใช้งบประมาณในการซ่อมแซมในครั้งนี้เป็นเงิน 19 ล้านบาท ใช้เวลา 2 ปีครึ่งจึงแล้วเสร็จ<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๙ ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.</ref> หลังจากนั้น 35 ปี ในปี พ.ศ. 2557 ศาลาพระเกี้ยวปิดทำการอีกครั้งเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยการปรับปรุงชั้นล่าง(ชั้นใต้ดิน) ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท<ref>สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการปรับปรุงศาลาพระเกี้ยวชั้นล่าง. 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.prm.chula.ac.th/projects.html (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> และการปรับปรุงตัวอาคารศาลาพระเกี้ยว ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท ในครั้งนี้ใช้เวลาปรับปรุง 1 ปีจึงสามารถเปิดทำการได้ในปีการศึกษา 2558<ref>ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แจ้งโครงการปรับปรุงศาลาพระเกี้ยว . 14 มีนาคม 2557. http://www.civil.eng.chula.ac.th/news/2014/03/14/225 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:41, 9 พฤษภาคม 2559

ศาลาพระเกี้ยว
Sala Prakeaw
ทางเข้าด้านหน้าของศาลาพระเกี้ยว
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทอาคารเอนกประสงค์
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
เมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ประเทศไทย ประเทศไทย
พิกัด13°44′08″N 100°31′53″E / 13.735487°N 100.531432°E / 13.735487; 100.531432
เริ่มสร้างพ.ศ. 2508
แล้วเสร็จ พ.ศ. 2509
ปรับปรุงครั้งแรก พ.ศ. 2522
ครั้งที่สอง พ.ศ. 2557
ผู้สร้างจอมพล ประภาส จารุเสถียร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและไม้
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
เลิศ อุรัสยะนันท์
วิศวกรรชฎ กาญจนะวณิชย์
รางวัลรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2559 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

ศาลาพระเกี้ยว เป็นอาคารเอนกประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างในปี พ.ศ. 2508[1] ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายอย่าง เช่น จุฬาฯวิชาการ ชั้นใต้ดินเป็นศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลักษณะภายนอกของศาลาพระเกี้ยวเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ รูปทรงคล้ายพระเกี้ยว ในปี พ.ศ. 2559 ศาลาพระเกี้ยวได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์[2]

ประวัติ

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนิสิตเป็นจำนวนมาก มีการสนับสนุนให้นิสิตทำกิจกรรมในระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัย ทำให้สโมสรนิสิตจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่ปฏิบัติงานจากอาคารจักรพงษ์ที่ใช้อยู่เดิม ในขณะนั้นจอมพล ประภาส จารุเสถียร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างอาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของนิสิต สภามหาวิทยาลัยจึงอนุมัติให้สร้างอาคารหลังหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า ศาลาพระเกี้ยว ขึ้นบริเวณด้านหลังอาคารจุลจักรพงษ์ในปัจจุบัน ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 12 ล้านบาท[3]

ศาลาพระเกี้ยวเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2508 สร้างเสร็จลงใน พ.ศ. 2509 มีหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ เป็นสถาปนิกออกแบบ เลิศ อุรัสยนันทน์เป็นสถาปนิกผู้ช่วยและมีรชฏ กาญจนะวณิชย์เป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้าง หลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้มีพิธีเปิดในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 50 ปี[4]

ในปี พ.ศ. 2522 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการปิดศาลาพระเกี้ยวเพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ เนื่องจากความทรุดโทรมที่เกิดจากการใช้งานมายาวนานและปัญหาฐานรากทรุด ใช้งบประมาณในการซ่อมแซมในครั้งนี้เป็นเงิน 19 ล้านบาท ใช้เวลา 2 ปีครึ่งจึงแล้วเสร็จ[5] หลังจากนั้น 35 ปี ในปี พ.ศ. 2557 ศาลาพระเกี้ยวปิดทำการอีกครั้งเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยการปรับปรุงชั้นล่าง(ชั้นใต้ดิน) ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท[6] และการปรับปรุงตัวอาคารศาลาพระเกี้ยว ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท ในครั้งนี้ใช้เวลาปรับปรุง 1 ปีจึงสามารถเปิดทำการได้ในปีการศึกษา 2558[7]

อ้างอิง

  1. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memohall.chula.ac.th/article/ศาลาพระเกี้ยว/ (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  2. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 5 พฤษภาคม 2559. http://www.asa.or.th/en/node/140800 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๙ ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.
  4. สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศาลาพระเกี้ยว. 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.prm.chula.ac.th/cen31.html (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๙ ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ, กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.
  6. สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการปรับปรุงศาลาพระเกี้ยวชั้นล่าง. 27 พฤศจิกายน 2557. http://www.prm.chula.ac.th/projects.html (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  7. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แจ้งโครงการปรับปรุงศาลาพระเกี้ยว . 14 มีนาคม 2557. http://www.civil.eng.chula.ac.th/news/2014/03/14/225 (9 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).