ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับวานร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
ในการจัดลำดับทางวิวัฒนาการ ไม่มีการระบุว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มใดมีวิวัฒนาการสูงกว่า
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
| range_map_width = 250px
| range_map_width = 250px
}}
}}
'''อันดับวานร''' หรือ '''อันดับไพรเมต''' ({{lang-en|Primate}}) เป็น[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]ของ[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]]ที่มี[[วิวัฒนาการ]]สูงสุดในบรรดา[[สิ่งมีชีวิต]]ทั้งหมดบน[[โลก]] อันได้แก่ สัตว์จำพวก[[ลีเมอร์]], [[ลิง]] และ[[ลิงไม่มีหาง]] ซึ่งรวมถึง[[มนุษย์]]ด้วย มี[[ชื่อสามัญ]]เรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ใน[[แอฟริกา]], ตอนล่างของ[[ทวีปเอเชีย]], [[อเมริกากลาง]] และ[[อเมริกาใต้]] แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่[[species|ชนิด]]ในแถบ[[เอเชียเหนือ|ตอนเหนือของทวีปเอเชีย]] จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบใน[[ทวีปยุโรป]] และ[[ทวีปออสเตรเลีย]] โดยใช้[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า Primates
'''อันดับวานร''' หรือ '''อันดับไพรเมต''' ({{lang-en|Primate}}) เป็น[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]ของ[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]] อันได้แก่ สัตว์จำพวก[[ลีเมอร์]], [[ลิง]] และ[[ลิงไม่มีหาง]] ซึ่งรวมถึง[[มนุษย์]]ด้วย มี[[ชื่อสามัญ]]เรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ใน[[แอฟริกา]], ตอนล่างของ[[ทวีปเอเชีย]], [[อเมริกากลาง]] และ[[อเมริกาใต้]] แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่[[species|ชนิด]]ในแถบ[[เอเชียเหนือ|ตอนเหนือของทวีปเอเชีย]] จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบใน[[ทวีปยุโรป]] และ[[ทวีปออสเตรเลีย]] โดยใช้[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า Primates


==นิรุกติศาสตร์==
==นิรุกติศาสตร์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:38, 7 พฤษภาคม 2559

อันดับวานร
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีนยุคปลาย-ปัจจุบัน, 58–0Ma
ชิมแปนซี (Pan troglodytes) เป็นไพรเมตที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด จัดเป็นลิงไม่มีหาง (Hominoidea)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
ชั้นฐาน: Eutheria
อันดับใหญ่: Euarchontoglires
อันดับ: Primates
Linnaeus, 1758
อันดับย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของไพรเมตรอบโลก ที่ไม่ใช่มนุษย์

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (อังกฤษ: Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates

นิรุกติศาสตร์

คำว่า Primate มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า "Primus" ซึ่งแปลว่า "ปฐม" หรือ"ที่หนึ่ง" หรือ"ผู้นำ" ซึ่งมีนัยว่าสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือสัตว์ทั้งมวล[1]

ลักษณะสำคัญ

  • มีนิ้ว มีเล็บมือแบน แทนอุ้งเล็บหรือกีบ เช่น สัตว์อันดับอื่น ๆ
  • มีสูตรของฟันเป็น 4 ประเภท คือ ฟันตัด, ฟันเขี้ยว, ฟันกรามหน้า และฟันกราม โดยฟันกรามหน้ามี 2 ยอด ฟันกรามมี 4 ยอด
  • มีนิ้วแรกของมือ (เท้าหน้า) และเท้า สามารถเคลื่อนที่ตรงกันข้ามกับนิ้วอื่น ๆ ทำให้หยิบจับได้มั่นคงมากขึ้น
  • มีกระบอกตา และเบ้าตาล้อมรอบทางด้านหลังของกระดูก ทำให้แยกเบ้าตาออกจากกล่องสมองและตาอยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้างเห็นภาพลึกชัดและแยกแยะสีต่าง ๆ ได้
  • เต้านมลดจำนวนลงเหลือเพียง 1 คู่ บนหน้าอก ยกเว้นไพรเมตบางชนิดอาจมีเต้านมบนหน้าท้องด้วย
  • มีประสาทการดมกลิ่นไม่ดี มีการพัฒนาการลดลงมากกว่าสัตว์อื่น แต่จะไปพัฒนาประสาทการมองเห็นได้ดีกว่า
  • มีกระดูกไหปลาร้า และกระดูกสะบักแข็งแรง ทำให้ขาคู่หน้าสามารถหมุนได้จึงเคลื่อนที่ได้หลายแบบ
  • ระบบสืบพันธุ์เพศเมียมีวิวัฒนาการสูงประกอบด้วยการมีรอบเดือน ซึ่งพบทั้งลิงโลกเก่า, ลิงไม่มีหาง และมนุษย์
  • ต่อมเหงื่อปรากฏบนผิวหนังทั่วไป ต่างจากสัตว์อื่น ๆ ที่มักมีต่อมเหงื่อที่อุ้งมือ หรืออุ้งเท้า
  • มีขนเป็นหย่อม ๆ บนตัว เช่น ที่หัว, รักแร้ ไม่ได้กระจายตัวสม่ำเสมอเหมือนสัตว์อื่น ๆ
  • กล่องสมองค่อนข้างกลมและมีขนาดใหญ่ ช่องเปิดฟอราเมน แมกนัม มาอยู่ข้างล่างของกะโหลกทำให้กะโหลกและกระดูกสันหลังต่อกันในแนวยืนมากขึ้น[2]

การจำแนก

  • หมายเหตุ ในอดีต กระแต ก็ถูกจัดให้อยู่ในอันดับนี้ด้วย ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการร่วมกันมา[6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ตีแผ่ชีวิตชะนี
  2. ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต
  3. Rylands, A. B. & Mittermeier, R. A. (2009). "The Diversity of the New World Primates (Platyrrhini)". In Garber, P. A., Estrada, A., Bicca-Marques, J. C., Heymann, E. W. & Strier, K. B.. South American Primates: Comparative Perspectives in the Study of Behavior, Ecology, and Conservation. Springer. ISBN 978-0-387-78704-6.
  4. Mittermeier, R., Ganzhorn, J., Konstant, W., Glander, K., Tattersall, I., Groves, C., Rylands, A., Hapke, A., Ratsimbazafy, J., Mayor, M., Louis, E., Rumpler, Y., Schwitzer, C. & Rasoloarison, R. (December 2008). "Lemur Diversity in Madagascar". International Journal of Primatology 29 (6): 1607–1656.
  5. Groves, C. (2005). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. eds. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press. pp. 111–184. OCLC 62265494. ISBN 0-801-88221-4.
  6. หน้า 196, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งข้อมูลอื่น