ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองแสนแสบ"

พิกัด: 13°44′57.878″N 100°32′25.035″E / 13.74941056°N 100.54028750°E / 13.74941056; 100.54028750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sayut Theelasam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
* [[คลองหนองปลาหมอ]]-[[คลองสิบสอง]]
* [[คลองหนองปลาหมอ]]-[[คลองสิบสอง]]
* [[คลองสิบสาม]]
* [[คลองสิบสาม]]
* [[คลองสิบสี่]]
* [[คลองสิบสี่]] (สุดเขตกรุงเทพมหานคร) เป็นหนึ่งในคลองซอยของ[[คลองรังสิตประยูรศักดิ์]] เชื่อมต่อระหว่างคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และ [[คลองแสนแสบ]]
ขุดโดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นคลองซอยคลองที่ 14 นับจากฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามโครงการทุ่งรังสิต ซึ่งมีขึ้นเพื่อการพัฒนาที่ดิน และพื้นที่ทำนาเพาะปลูกข้าว รวมถึงใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ระหว่างปี พ.ศ. 2435 - 2447 คลองสิบสี่เริ่มต้นจาก[[แม่น้ำใน]] ลำน้ำสาขาของ[[แม่น้ำนครนายก]] และเป็นเส้นแบ่งเขตปกครองระหว่างอำเภอหนองเสือ อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กับอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และช่วงใต้ของคลองเป็นเส้นแบ่ง[[เขตหนองจอก]] [[กรุงเทพมหานคร]] และ[[อำเภอบางน้ำเปรี้ยว]] [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]]
* [[คลองสิบห้า]]
* [[คลองสิบห้า]]
{{กลาง}}
{{กลาง}}
บรรทัด 81: บรรทัด 80:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Khlong Saen Saeb}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Khlong Saen Saeb|คลองแสนแสบ}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.dms.moph.go.th/h5n1/bankok_map.php แผนที่กรุงเทพมหานคร] โดย {{Icon_name_bma|สำนักผังเมือง}}
* [http://www.dms.moph.go.th/h5n1/bankok_map.php แผนที่กรุงเทพมหานคร] โดย {{Icon_name_bma|สำนักผังเมือง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:53, 2 พฤษภาคม 2559

เรือด่วนในคลองแสนแสบ

คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยเจ็ดสิบปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี ใน "สงครามอานามสยามยุทธ"

คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และเป็นเส้นทางเรือโดยสารคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมีปัญหามลภาวะในน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทิ้งขยะลงในแม่น้ำ

ที่มาของชื่อ

สำหรับที่มาของชื่อคลองแสนแสบนั้น มีข้อสันนิษฐานดังนี้

  1. ว่ากันว่าชื่อคลองที่เรียกว่า "แสนแสบ" นั้นเพราะยุงชุม โดยมีหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของนักสำรวจชาวอังกฤษชื่อนาย ดี.โอ. คิง ความว่า "...คลองนี้ยาวถึง 55 ไมล์ เชื่อมนครกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบชนบท... คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อสายมาเลย์... ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม มือข้างหนึ่งจะต้องใช้ปัดยุงเสมอ ..."
  2. เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรว่า "แสสาบ" เพราะในสมัยหนึ่งคนไทยเคยเรียกทะเลว่า "เส" หรือ "แส" ส่วนคำว่า "สาบ" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "จืด" คำนี้คนไทยยืมมาใช้เรียกทะเลน้ำจืดว่า "ทะเลสาบ" อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น "แสสาบ" หรือที่แปลว่าทะเลน้ำจืด อาจถูกนำมาใช้เรียกคลองน้ำจืดอันกว้างและยาวแห่งนี้ แล้วเพี้ยนเสียงกลายมาเป็น "แสนแสบ" ตามกาลเวลาที่ผ่านไป ประกอบกับในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้กวาดต้อนเชลยศึกชาวเขมรมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ย่านบางกะปิเป็นจำนวนมาก ชาวเขมรจึงอาจเรียกคลองที่ไหลผ่านแหล่งชุมชนของตนด้วยภาษาเขมร แล้วเพี้ยนมาเป็นแสนแสบดังที่กล่าวไปแล้ว
  3. "แสนแสบ" น่าจะเพี้ยนมาจากคำมลายู "เซนแญป" เป็นชื่อเรียกขานของชาวมุสลิมที่ถูกกวาดต้อนมาจากหัวเมืองภาคใต้ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมาตั้งบ้านเรือนแถบวัดชนะสงคราม กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อขุดคลองแล้วเสร็จและเสร็จศึกจึงให้มาอยู่ตามแนวคลองนั้น และเนื่องจากเคยอาศัยอยู่ริมคลองใกล้ทะเล กระแสน้ำแรง เมื่อมาอยู่ริมคลองที่น้ำไหลช้า ค่อนข้างนิ่ง จึงเรียกคลองนี้ว่า "สุไหงแซนแญบ" หรือคลองที่เงียบสงบ โดยสุไหงแปลว่าคลองหรือแม่น้ำ และแซนแญบหมายถึงเงียบสงบ ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนกันไปเป็นแสนแสบ

จากหนังสืออานามสยามยุทธ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โฆษิต หน้า ๓๔๒ เขียนโดย ก.ศ.ร.กุหลาบ จากบันทึกของเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยที่ไปบัญชาการรบในเขมร ระบุว่า

ครั้นถึง ณ เดือนยี่ขี้นสี่ค่ำ ในปีระกานพศกจุลศักราช ๑๑๙๙ ปี เป็นปีที่ ๑๔ในรัชกาลแผ่นดินที่ ๓กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้

พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ชื่อทัด)เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลอง ตั้งแต่ตำบลหัวหมากต่อคลองบางกะปิไปทางตะวันออก ทะลุที่บางกะหนากฝั่งแม่น้ำเมืองฉะเชิงเทรา รางวัดทางยาว ๑,๓๓๗เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๖ วา ราคาค่าจ้างขุดเส้นละ เจ็ดสิบบาท รวมเงินทั้งค่าฟันตอไม้ ค่าแก้คลองพระโขนงข้างปลาย รวมเป็นเงินพันสองร้อยหกชั่งสิบสามตำลึง สองบาทสลึงเฟื้อง

ขุดอยู่ถึงสีปีเศษจึงสำเร็จแล้วตลอด เป็นลำคลองเรื่อเดินได้ เมื่อปลายปีชวดโทศกจุลศักราช ๑๒๐๒ ปี เป็นปีที่ ๑๗ในรัฃกาลที่๓ กรุงเทพฯ ชนสามัญเรียกว่า "คลองแสนแสบ"

คลองสาขา

เนื่องจากคลองแสนแสบเป็นคลองหลัก ในการคมนาคมระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกง จึงมีการขุดคลองซอยขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนี้

อ้างอิง

  1. Shigeharu Tanabe: Historical Geography of the Canal System in the Chao Phraya Delta. In: Journal Of The Siam Society, Vol. 65 Part 2, The Siam Society, Bangkok 1977.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′57.878″N 100°32′25.035″E / 13.74941056°N 100.54028750°E / 13.74941056; 100.54028750