ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์"

พิกัด: 13°46′03″N 100°30′26″E / 13.767606°N 100.507151°E / 13.767606; 100.507151
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6447174 สร้างโดย 180.180.141.232 (พูดคุย)
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บของมีค่าออกจากกองขยะ
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
|ชื่อหน่วยงาน = สำนักงาน<br />ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
|ชื่อหน่วยงาน = สำนักงาน<br />ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
|ตรา = CrownPropBureau_Logo.jpg
|ตรา =
|ตรา_กว้าง = 200px
|ตรา_กว้าง = 200px
|ตรา_บรรยาย =
|ตรา_บรรยาย =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:29, 30 เมษายน 2559

สำนักงาน
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2479
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำนักงานใหญ่วังลดาวัลย์ เลขที่ 173 ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์www.crownproperty.or.th

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: Crown Property Bureau; อักษรย่อ: CPB) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 เดิมมีสถานะเป็นหน่วยราชการระดับกองในสังกัดกระทรวงการคลัง ตามพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2481 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 วันที่ 30 มกราคม 2481, หน้า 886-888) และยกสถานะขึ้นเป็นนิติบุคคลเมื่อปี พ.ศ. 2491 มีหน้าที่ดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่กำหนดให้แยกต่างหากจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง

คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สำนักงานฯ มีฐานะเป็นเอกชน แต่เป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะ "สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย" สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิจารณ์ว่า ทรัพย์สินส่วนนี้แทบไม่ต่างกับทรัพย์สินส่วนพระองค์

ประวัติ

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวโดยสรุปคือ พระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรีที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ เช่น เงินสะสมจากการแต่งสำเภาค้าขายต่างประเทศในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือที่เรียกว่า เงินถุงแดง ซึ่งตกทอดถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนำไปใช้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศส หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมา หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 มีการออกกฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ บริหารจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ คือพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และมีการแก้ไขปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ย้ายที่ทำการมาแล้วสี่ครั้ง ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 มาอยู่ที่วังลดาวัลย์ เลขที่ 173 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

การบริหาร

พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 กำหนดให้มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และจะทรงแต่งตั้งหนึ่งคนในจำนวนนี้ ให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯ

ปัจจุบัน คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย[1]

การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491[2]

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑”

มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใดนอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังกล่าวแล้ว”

มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อท้ายมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ เป็นมาตรา ๔ ทวิ และมาตรา ๔ ตรี ตามลำดับ “มาตรา ๔ ทวิ ให้ตั้งสำนักงานขึ้นสำนักงานหนึ่งเรียกว่า “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” มีหน้าที่ปฏิบัติการตามความในมาตรา ๕ วรรคสอง ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นนิติบุคคล

มาตรา ๔ ตรี ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า ๔ คนซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ๑ คน ให้คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่ดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบหมาย และมีอำนาจลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย”

มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อท้ายมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ เป็นมาตรา ๕ ทวิ “มาตรา ๕ ทวิ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามพระราชอัธยาศัยแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศการแต่งตั้งนั้นในราชกิจจานุเบกษา เมื่อได้มีการประกาศตามความในวรรคก่อนแล้ว ในกรณีทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์ ห้ามมิให้ระบุพระปรมาภิไธยหรือข้อความใดๆ อันแสดงหรืออนุมานได้ว่า พระมหากษัตริย์เป็นคู่กรณีหรือคู่ความ ให้ระบุเพียงชื่อบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวแล้วต่อท้ายด้วยคำว่า “ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์” เท่านั้น”

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา ๕ วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพันรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอยเงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น”

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๖ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีบทกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น”
[๑]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๕/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๗๓/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑

ทรัพย์สิน

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีทรัพย์สินในความดูแล เป็นที่ดินกว่า 54 ตารางกิโลเมตรในกรุงเทพมหานคร และ 160 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดอื่น โดยทำสัญญาให้เช่าแก่หน่วยงานราชการ องค์กรธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ปัจจุบันมีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในความดูแลประมาณ 37,000 สัญญา ในจำนวนนี้มีการจัดประโยชน์หลายรูปแบบ ทั้งเพื่ออยู่อาศัยหาประโยชน์พอยังชีพ ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและสมาคม องค์กรที่ไม่ได้แสวงหาประโยชน์ในเชิงธุรกิจ แยกเป็นที่ดินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 25,000 สัญญา และในส่วนภูมิภาค อาทิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดลำปาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดนครปฐม จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี รวมประมาณ 12,000 สัญญา[3]

ในปลายปี พ.ศ. 2556 สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด รวมพื้นที่ 41,000 ไร่ (65.6 ตร.กม. หรือ 16,210 เอเคอร์) ซึ่งเป็นที่ดิน 93% สำหรับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน ตลาด ผู้เช่าอาคาร ที่ดินรายย่อย และมีพื้นที่ดินเชิงพาณิชย์ใจกลางเมืองคิดเป็น 7%[4]

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ริเริ่มการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ต่อมาร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน[5]

อนึ่ง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479[6] ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร

สฤณี อาชวานันทกุลเขียนโดยอ้างอิงหนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work ว่า ทรัพย์สินโดยเฉพาะหุ้นและที่ดินมีมูลค่ากว่า 990,000 ล้านบาทในปี 2548[7]

การลงทุนหลักทรัพย์

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องชำระภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป มีข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้

  • บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) SET:DVS - ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - ถือหุ้นร้อยละ 98.54 จำนวน 49,272,239 หุ้น (เป็นเหตุให้ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) SET:SCC - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,200 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 474 บาท
    • สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - ถือหุ้นร้อยละ 30 จำนวน 360 ล้านหุ้น
    • บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 1.6 จำนวน 19.22 ล้านหุ้น
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SET:SCB - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 33,944.38877 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 144 บาท
    • สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - ถือหุ้นร้อยละ 21.3 จำนวน 722.941958 ล้านหุ้น
    • บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 2.43 จำนวน 82.3678 ล้านหุ้น

และยังมีการลงทุนในบริษัทดังต่อไปนี้

  • บริษัท สยามสินธร จำกัด [8]
  • บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด [9]
  • บริษัท นวุติ จำกัด [10]
  • Apexcela Co., Ltd. [11]
  • Siam Bioscience Co., Ltd. [12]
  • Kempinski [13]
  • บริษัท หินอ่อน จำกัด [14]
  • บริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด [15]
  • บริษัท องค์การเภสัชกรรม - เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด [16]
  • บริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด [17]
  • บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด [18]
  • บริษัท นันทวัน จำกัด (ไทยโอบายาชิ) [19]
  • บริษัท พรีมัส (ประเทศไทย) จำกัด [20]
  • มหาวิทยาลัยเอเชียน [21]

บริษัทในเครือ

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือขึ้น 2 แห่ง เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสินทรัพย์ต่างๆ โดยชำระภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป ดังต่อไปนี้

ผลการดำเนินงาน

ภายหลังการมีสถานะเป็นนิติบุคคลในปี พ.ศ. 2491 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีการบริหารงานเช่นเดียวกับองค์กรทั่วไป จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงมีการปรับปรุงการบริหารงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกิจการต่างๆ ที่ลงทุน เริ่มฟื้นตัวได้ในปี พ.ศ. 2546[ต้องการอ้างอิง] จึงทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีรายได้ในปีนั้นที่ประมาณ 3,800 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]

จากการแถลงข่าวประจำปี พ.ศ. 2548 ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานฯ แจ้งว่าในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาท โดยประมาณร้อยละ 90 เป็นรายได้จากเงินปันผลของหุ้นที่ลงทุนใน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บมจ.เทเวศประกันภัย[ต้องการอ้างอิง] ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 8 หรือประมาณ 400 ล้านบาท เป็นรายได้จากค่าเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[ต้องการอ้างอิง]

ข้อวิจารณ์

ในปี 2553 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ระบุในรายงานประจำปี 2553 ปฏิเสธข่าวของนิตยสารฟอบส์ที่ลงว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก โดยอธิบายว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของรัฐและของแผ่นดิน ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบ โดยสำนักงานฯ เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน มีนโยบายดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมโดยตลอด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) นำที่ดินราวกึ่งหนึ่งที่มอบให้สำนักงานฯ ดูแลตั้งแต่ปี 2479 (44,000 กว่าไร่) จัดสรรให้ประชาชน ส่วนที่ดินที่เหลือก็ไม่ได้ใช้แสวงประโยชน์อย่างเอกชน แต่บริหารจัดการโดยมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวเพื่อประโยชน์สังคมเป็นหลัก[22]

ฝ่ายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนในประชาไท ว่า ในทางปฏิบัติ รัฐบาลมิได้เป็นผู้รับผิดชอบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งไม่มีอำนาจควบคุม จัดการได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในในวงการธุรกิจ รัฐบาลและสำนักงานฯ การเขียนในรายงานประจำปี 2553 เป็นการบิดเบือนความจริง เพราะแย้งว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ในมือรัฐบาล สมศักดิ์เขียนต่อไปว่า ผลประโยชน์ทั้งหมดจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์จะทรงจำหน่ายใช้สอย "ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ" หมายรวมถึงว่า จะทรงจำหน่ายใช้สอยในกรณีที่จะตีความว่าเป็น "ส่วนพระองค์" ก็ได้[23]

สมศักดิ์เขียนว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตีความสถานะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลายครั้ง ดังนี้[23]

  1. สำนักงานฯ "ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกิจการของรัฐ เพราะคำว่า “รัฐ” และคำว่า “พระมหากษัตริย์” มีความหมายแตกต่างกัน และตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 [แก้ไขเพิ่มเติม 2491] ก็มิได้มีบทบัญญํติที่แสดงให้เห็นว่า รัฐได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์แต่ประการใด"
  2. คณะกรรมการกฤษฎีกาลงความเห็นตามเสียงข้างมากว่า กฎหมายจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ "ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดกำหนดให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นส่วนราชการ” และ "การที่ทรงแต่งตั้งกรรมการ [ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] ดังกล่าว เป็นพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ มิใช่รัฐบาลเป็นผู้เสนอแนะในการแต่งตั้งแต่ประการใด การที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งดังกล่าว ก็เป็นเพียงการปฏิบัติการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มิได้มีผลทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ”
  3. สำนักงานฯ มีฐานะเป็นเอกชน เพราะ "การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงมิได้อยู่ในการควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล [...] มิได้อยู่ในการควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล ที่จะจัดให้ดำเนินงานตามความประสงค์ของรัฐบาลได้ แต่การดำเนินธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นไปเพื่อจัดหา ผลประโยชน์แก่กองทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้จ่ายสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ [...] และเท่าที่เป็นมา การที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าถือหุ้นในบริษัทรัฐวิสาหกิจแห่งใด ก็ถือว่ามีฐานะอย่างเอกชน ไม่มีการนับส่วนที่มีหุ้นนั้นว่าเป็นของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ"
  4. สำนักงานฯ "มิใช่หน่วยงานภาครัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือกำกับดูแลของรัฐบาล" จึงไม่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือเทียบเท่า และ ฎดังนั้น รัฐบาลจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินและภาระผูกพันของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"
  5. สำนักงานฯ ถือได้ว่าเป็น "หน่วยงานของรัฐ" เพราะ "สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย"[24]

จากการตีความครั้งหลังสุดของคณะกรรมการกฤษฎีกา สมศักดิ์เขียนว่า หากสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาย่อมมีอำนาจที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงการดำเนินการได้ แต่ที่จริง คณะกรรมการกฤษฎีกายังย้ำอีกว่า "โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือ ที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว"[23][24]

สมศักดิ์สรุปว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์กับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทบไม่ต่างกัน เพราะ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ไม่ว่าเป็นการกำหนด "รายจ่ายประจำ" หรือการกำหนดให้มี "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" และ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ขึ้นกับการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ หรือต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น หรือ "อยู่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย" ทั้งสิ้น[23]

วันที่ 15 ธันวาคม 2557 มีข่าวกระทรวงการคลังยืนยันว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารขอรับเงินพระราชทานจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และยังขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเผยแพร่เอกสารที่ไม่เหมาะสมในสื่อทุกชนิด[25]

บิลเลียนแนส์นิวส์ไวร์ (Billionaires NewsWire) ระบุว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังลงทุนในบริษัทที่ไม่แสดงรายการต่อสาธารณะ เช่น เครือโรงแรมเยอรมัน เคมพินสกีอาเก (Kempinski AG) และเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)[26]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. คณะกรรมการ
  2. http://law.longdo.com/law/297/rev479]
  3. "เปิดพอร์ต"มหึมา" สำนักงานทรัพย์สินฯขุมทรัพย์ที่ดินทำเลทองแสนล้าน". มติชนออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2554. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "รายงานประจำปี 2556". สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. การพัฒนาชุมชนในพื้นที่
  6. http://law.longdo.com/law/297/rev479#
  7. สฤณี อาชวานันทกุล (23 กรกฎาคม 2555). "นี่หรือคือโปร่งใส? กรณีรายงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์". ไทยพับลิกา.
  8. [1]
  9. [2]
  10. [3]
  11. [4]
  12. [5]
  13. History|Kempinski Hotels
  14. [6]
  15. [7]
  16. [8]
  17. [9]
  18. [10]
  19. [11]
  20. [12]
  21. [13]
  22. มติชนออนไลน์ (17 มิถุนายน 2554). "สำนักงานทรัพย์สินฯ แจง "ในหลวง"ไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก".
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 ประชาไท (22 มิถุนายน 2554). "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: โต้ รายงานประจำปี 2553 ของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์".
  24. 24.0 24.1 [www.sepo.go.th/mbc/Uploads/Files/1191838609.doc "บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง ฐานะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒"]. เมษายน 2544. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  25. กระทรวงการคลัง (15 ธันวาคม 2557). "ข่าวที่ 106/2557 การชี้แจงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรณีการพระราชทานเงินให้ท่านผู้หญิงศรีรัศม์ สุวะดี" (PDF).
  26. http://www.billionairesnewswire.com/search-trillionaires-king-bhumibol-thailands-hidden-treasures

แหล่งข้อมูลอื่น

13°46′03″N 100°30′26″E / 13.767606°N 100.507151°E / 13.767606; 100.507151