ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนนครอินทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
* รถประจำทางสาย 1024ข (ท่าน้ำนนทบุรี-บางบัวทอง)
* รถประจำทางสาย 1024ข (ท่าน้ำนนทบุรี-บางบัวทอง)
* รถตู้ประจำทางสาย ต.119 สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต-บางบัวทอง
* รถตู้ประจำทางสาย ต.119 สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต-บางบัวทอง



{{นนทบุรี}}
{{นนทบุรี}}
{{สร้างปี|2545}}
{{สร้างปี|2545}}
[[หมวดหมู่:ถนนในจังหวัดนนทบุรี|นครอินทร์]]
[[หมวดหมู่:ถนนในจังหวัดนนทบุรี|นครอินทร์]]
[[หมวดหมู่:ทางหลวงชนบท|นบ.1020]]
{{โครงคมนาคม}}
{{โครงคมนาคม}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:32, 29 เมษายน 2559

ถนนนครอินทร์
ถนนนครอินทร์

ถนนนครอินทร์ (อังกฤษ: Thanon Nakhon In) หรือ ทางหลวงชนบท นบ.1020 สายนครอินทร์ เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยเป็นถนนขนาด 10 ช่องทางจราจร มีเส้นทางเริ่มต้นที่แยกติวานนท์ ในอำเภอเมืองนนทบุรี ไปบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษก ที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียง ในอำเภอบางกรวย

ประวัติ

ถนนนครอินทร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตตลิ่งชัน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 โดยเป็นหนึ่งในโครงการถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ (แนวตะวันออก-ตะวันตก) เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การคมนาคม การขนส่ง และการจราจร แต่เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้หมดอายุบังคับใช้ไปก่อนที่กรมโยธาธิการจะสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนให้แล้วเสร็จ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาเดียวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นจึงเริ่มเวนคืนที่ดินและก่อสร้างเส้นทางถนนรวมทั้งสะพานซึ่งจะเป็นตัวเชื่อมถนนทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน

ในปี พ.ศ. 2545 ทางการได้เริ่มเปิดให้ใช้ถนนสายนี้ (ขณะนั้นแล้วเสร็จเพียงช่วงติวานนท์ถึงบางกรวย-ไทรน้อย) พร้อม ๆ กับเปิดการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำแห่งใหม่ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "สะพานพระราม 5" ประชาชนทั่วไปจึงเริ่มเรียกชื่อถนนว่า ถนนพระราม 5 ตามชื่อสะพาน จนกระทั่งการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ทั้งสายในปี พ.ศ. 2546 กรมทางหลวงชนบทผู้รับผิดชอบสายทาง (รับโอนมาจากกรมโยธาธิการ) ได้หารือกับกรมศิลปากรเพื่อตั้งชื่อถนนอย่างเป็นทางการ ในขั้นแรกนั้นทางกรมศิลปากรโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เห็นว่าน่าจะใช้ชื่อมีความสัมพันธ์กับชื่อสะพาน แต่หากนำชื่อสะพานมาใช้เป็นชื่อถนนด้วยนั้นจะซ้ำซ้อนกับถนนที่มีชื่อว่า "พระรามที่ 5" อยู่แล้ว นั่นคือ ถนนพระรามที่ 5 ในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงเห็นชอบกับชื่อถนนที่กรมทางหลวงชนบทเสนอไป โดยนำชื่อวัดนครอินทร์ซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงสะพานพระราม 5 มาตั้งโดยอนุโลมเป็น ถนนนครอินทร์

รายละเอียดเส้นทาง

เริ่มจากแยกติวานนท์ (จุดตัดระหว่างถนนติวานนท์กับถนนประชาราษฎร์) ในพื้นที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามคลองบางตะนาวศรีเข้าสู่ตำบลบางเขน จากนั้นเข้าเขตตำบลตลาดขวัญอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเข้าสู่ตำบลสวนใหญ่และตัดกับถนนพิบูลสงครามที่สี่แยกสะพานพระราม 5 จากนั้นซ้อนกับแนวซอยพิบูลสงคราม 13 (บุรีรังสรรค์) แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (โดยสะพานพระราม 5) เข้าเขตตำบลบางไผ่ ข้ามคลองบางสีทองเข้าเขตตำบลบางศรีเมือง ข้ามแนวคลองวัดสนามเข้าสู่ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย (บริเวณก่อนถึงจุดกลับรถสี่แยกบางสีทอง ซึ่งตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย) จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันตก ข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าเขตตำบลบางขนุน เข้าเขตตำบลบางขุนกอง ข้ามคลองบางขุนกอง ผ่านวงเวียนราชพฤกษ์ (จุดตัดกับถนนราชพฤกษ์) ใกล้กับวัดซองพลู จากนั้นข้ามคลองบางไกรนอก ข้ามคลองบางราวนกเข้าสู่ตำบลบางคูเวียง และข้ามคลองบางคูเวียงไปบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียง โดยในทุกแยกที่ถนนสายนี้ผ่านจะมีสะพานข้ามแยกขนาด 6 ช่องจราจร รวมระยะทางทั้งหมด 12.4 กิโลเมตร

ทางแยกสำคัญ

สถานที่สำคัญบนเส้นทาง

รถประจำทางที่ผ่าน

  • รถประจำทางสาย 114 (นนทบุรี-แยกลำลูกกา)
  • รถประจำทางสาย 387 (ศาลายา-ปากเกร็ด)
  • รถประจำทางสาย 1024ข (ท่าน้ำนนทบุรี-บางบัวทอง)
  • รถตู้ประจำทางสาย ต.119 สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต-บางบัวทอง