ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กีฬาแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6435765 โดย 171.7.247.26ด้วยสจห.
บรรทัด 58: บรรทัด 58:


== กีฬาที่แข่งขัน ==
== กีฬาที่แข่งขัน ==

ใครลบออกวะ จะทำรายงาน ไอห่า


== การแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภาค ==
== การแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภาค ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:26, 27 เมษายน 2559

การแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย
Thailand National Games
ก่อตั้ง
จัดขึ้นทุก1 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 17 พิษณุโลกเกมส์ พิษณุโลก
วัตถุประสงค์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ
สำนักงานใหญ่การกีฬาแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าการกนกพันธุ์ จุลเกษม
หมายเหตุแบ่งเป็นกีฬาแห่งชาติ, กีฬาเยาวชนแห่งชาติ, กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย, กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย)
Thailand National Games
ก่อตั้ง
จัดขึ้นทุก1 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 44 นครสวรรค์เกมส์ นครสวรรค์
วัตถุประสงค์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ
สำนักงานใหญ่การกีฬาแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าการกนกพันธุ์ จุลเกษม
หมายเหตุแบ่งเป็นกีฬาแห่งชาติ, กีฬาเยาวชนแห่งชาติ, กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย, กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย

การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ (อังกฤษ: Thailand National Games) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายประเภท ระหว่างภูมิภาคในประเทศไทย โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้อำนวยการจัดแข่งขัน และมีกลุ่มนักกีฬาจาก 77 จังหวัดในประเทศไทยเข้าร่วม ปัจจุบันจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี จากนั้นตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 46 ประจำปี พ.ศ. 2561 จะปรับลดกำหนดแข่งขันลงเป็น 2 ปีต่อครั้ง

ประวัติ

กีฬาแห่งชาติ เดิมเรียกว่า "กีฬาเขตแห่งประเทศไทย" จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือ การกีฬาแห่งประเทศไทย; กกท.) เพื่อคัดเลือกผู้แทนนักกีฬาจากประเทศไทยไปแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 จัดการแข่งขันที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-5 พ.ย. พ.ศ. 2510 แบ่งการแข่งขันเป็นเขต จึงใช้ชื่อการแข่งขันว่า กีฬาเขตแห่งประเทศไทย โดยการแข่งขันครั้งแรก แบ่งกลุ่มนักกีฬาออกเป็น 5 เขตจากภูมิภาคต่างๆ

หลังจากนั้น เมื่อจัดแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทยครั้งต่อๆ มา จึงมีการปรับเพิ่มกลุ่มนักกีฬาตามเขตภูมิภาค ขึ้นเป็นลำดับตามความเหมาะสม โดยเฉพาะในการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 10 เขต โดยแยกกรุงเทพมหานคร ออกมาจากเขต 1 เป็นเขต 10

ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 คณะกรรมการ อสกท.มีมติให้เปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ว่า กีฬาแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2528 พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการแข่งขันเพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการกีฬาของชาติ

ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ การกีฬาแห่งประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาแห่งชาติ โดยปรับลดกำหนดแข่งขันลงจากปีละ 1 ครั้งเป็น 2 ปีต่อครั้ง และปรับปรุงการแบ่งกลุ่มนักกีฬา จากเดิมที่แบ่งตามภูมิภาคจำนวน 10 เขต มาเป็นแบ่งตามจังหวัดทั้ง 76 และแข่งขันแบบ 2 ปีครั้งมาอีก 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 33 เชียงใหม่, ครั้งที่ 34 ราชบุรี, ครั้งที่ 35 สุพรรณบุรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ กกท.ปรับเพิ่มกำหนดแข่งขันขึ้นจาก 2 ปีต่อครั้ง กลับไปเป็นปีละ 1 ครั้งตามเดิม ในครั้งที่ 36 นครศรีธรรมราช โดยให้เหตุผลเพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาวงการกีฬา แต่ยังแข่งขันในนามจังหวัดเหมือนเดิม

จากนั้นในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40 ประจำปี พ.ศ. 2555 มีการเพิ่มกลุ่มนักกีฬา ขึ้นจาก 76 เป็น 77 จังหวัด เนื่องจากมีการก่อตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้นใหม่

วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยมีมติให้ปรับลดกำหนดการจัดแข่งขันกีฬาแห่งชาติลงจากปีละ 1 ครั้ง เป็น 2 ปีต่อครั้ง และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามนั้น เพื่อให้นักกีฬาได้มีเวลาในการเตรียมตัว ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬาทั้งในและต่างประเทศหลายรายการ ทำให้การเตรียมตัวของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันซ้ำซ้อนกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฝึกซ้อมและงบประมาณในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อความสอดคล้องกับการแข่งขันกีฬาหลายรายการทั้งในและต่างประเทศเหล่านั้น โดยจะเริ่มในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 ประจำปี พ.ศ. 2561 เพื่อให้สลับกับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์

ประวัติไฟพระฤกษ์

ไฟพระฤกษ์ เป็นไฟที่อัญเชิญมาเพื่อประกอบพิธีเปิดกีฬาแห่งชาติและจุดในกระถางคบเพลิงตลอดการแข่งขัน ไฟพระฤกษ์สำหรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เริ่มมีครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องขอพระราชทานไฟพระฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อนำมา ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องทำหนังสือติดต่อไปยังสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลถึงกำหนดนัดหมาย วัน เวลา สถานที่ ให้คณะกรรมการเข้าเฝ้ารับพระราชทานไฟพระฤกษ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงจุดจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติในปีนั้นๆ ที่กรุงเทพมหานคร

โดยวิธีการจุดไฟพระฤกษ์นั้น สำนักพระราชวังจะนำพระแว่น “สุรยกานต์” ไปทอดไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ละปี สำหรับพระราชพิธีจัดไฟขึ้นอยู่กับสถาวะอากาศ และเมื่อทรงประกอบพระราชพิธีจัดไฟเรียบร้อยแล้ว สำนักพระราชวังจะนำไฟพระฤกษ์ไปเก็บรักษาไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจะเลี้ยงไว้สำหรับใช้ในปีนั้น จนกระทั่งถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ของปีนั้น ไฟพระฤกษ์ที่เลี้ยงไว้นี้จะใช้ในพระราชพิธีต่างๆ รวมทั้งเชิญไปใช้ในการพระราชทานเพลิงศพบุคคลที่สมควรด้วย[1]

กีฬาที่แข่งขัน

การแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภาค

การแข่งขันกีฬาแห่งชาติในปัจจุบันกำหนดให้มีการจัดการแข่งขันในรอบคัดเลือก เพื่อเลือกตัวแทนนักกีฬาของแต่ละจังหวัดให้เข้ามาแข่งขันในรอบสุดท้ายในระดับประเทศในปีนั้นๆ โดยรอบคัดเลือกในระดับภาคนี้จะจัดแยกกันออกไปในแต่ละภาคแบ่งออกเป็น 5 ภาค คือ

ชื่อภาค จำนวนจังหวัด รายชื่อจังหวัด
ภาค 1 8 จังหวัด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด

นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว

ภาค 2 18 จังหวัด กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์

พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

ภาค 3 20 จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์

มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี

ภาค 4 14 จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา

พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

ภาค 5 17 จังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก

เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

จังหวัดที่เข้าร่วมแข่งขัน

แบ่งตามภูมิภาค

แบ่งตามเขต

ชื่อเขต จำนวนจังหวัด รายชื่อจังหวัด
เขต 1 9 จังหวัด ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
เขต 2 8 จังหวัด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว
เขต 3 8 จังหวัด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
เขต 4 12 จังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
เขต 5 8 จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขต 6 9 จังหวัด กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี
เขต 7 8 จังหวัด กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี
เขต 8 7 จังหวัด กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี
เขต 9 7 จังหวัด ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
เขต 10 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร

แบ่งตามจังหวัด

ชนิดกีฬาที่จัดแข่งขัน

เจ้าภาพจัดการแข่งขัน

ครั้งที่ ชื่อการแข่งขัน ระยะเวลา จังหวัด หมายเหตุ
1 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 1 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 พระนคร แบ่งกลุ่มนักกีฬาออกเป็น 5 เขต จากภูมิภาคต่างๆ
2 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 3 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เชียงใหม่
3 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 24 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2512 สงขลา
4 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 1 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 นครราชสีมา
5 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 2 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 นครสวรรค์ เพิ่มกลุ่มนักกีฬาจากเดิม 9 เขต โดยแยกกรุงเทพมหานคร ออกจากเขต 1 มาเป็นเขต 10
6 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 2 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ราชบุรี
7 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 23 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2516 นครศรีธรรมราช
8 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 3 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2517 ชลบุรี
9 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ลพบุรี
10 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 4 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2519 อุดรธานี
11 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 11 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานคร
12 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 14 - 30 มกราคม พ.ศ. 2522 อุบลราชธานี เดิมกำหนดจัดในปี พ.ศ. 2521 แต่เกิดอุทกภัย ทำให้ต้องเลื่อนการแข่งขัน
13 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 23 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ลำปาง
14 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 22 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2524 ปัตตานี
15 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 22 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 อุดรธานี
16 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 19 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2525 ภูเก็ต
17 กีฬาเขตแห่งประเทศไทย 22 - 28 มกราคม พ.ศ. 2527 พิษณุโลก คณะกรรมการ อสกท.เปลี่ยนชื่อการแข่งขัน เป็นกีฬาแห่งชาติ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ การแข่งขันครั้งที่ 18 เป็นต้นไป
ครั้งที่ ชื่อการแข่งขัน ระยะเวลา จังหวัด หมายเหตุ
18 กีฬาแห่งชาติ 20 - 26 มกราคม พ.ศ. 2528 เชียงราย
19 กีฬาแห่งชาติ 14 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 จันทบุรี
20 กีฬาแห่งชาติ 23 - 29 มกราคม พ.ศ. 2530 ร้อยเอ็ด
21 กีฬาแห่งชาติ 18 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ลพบุรี สัญลักษณ์ หนุมานถือคบเพลิง ออกแบบโดย อาทิตย์ ทวีคูณ
22 กีฬาแห่งชาติ 22 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2532 สงขลา
23 กีฬาแห่งชาติ 4 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2533 เชียงใหม่
24 กีฬาแห่งชาติ อยุธยาเกมส์ 17 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2534 พระนครศรีอยุธยา
25 กีฬาแห่งชาติ ขอนแก่นเกมส์ 12 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ขอนแก่น
26 กีฬาแห่งชาติ สุราษฎร์ธานีเกมส์ 24 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สุราษฎร์ธานี
27 กีฬาแห่งชาติ สุพรรณบุรีเกมส์ 19 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 สุพรรณบุรี
28 กีฬาแห่งชาติ นครสวรรค์เกมส์ 16 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2539 นครสวรรค์
29 กีฬาแห่งชาติ ตรังเกมส์ 19 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ตรัง
30 กีฬาแห่งชาติ ศรีสะเกษเกมส์ 8 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ศรีสะเกษ
31 กีฬาแห่งชาติ ระยองเกมส์ 24 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ระยอง มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กกท.รับเป็นเจ้าภาพ มีกำหนดจัด 2 ปีต่อครั้ง และปรับการแบ่งกลุ่มนักกีฬา ตามภูมิภาคจำนวน 10 เขต เป็นแบ่งตามจังหวัดทั้ง 76
32 กีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานครเกมส์ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานคร
33 กีฬาแห่งชาติ เชียงใหม่เกมส์ 13 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เชียงใหม่
34 กีฬาแห่งชาติ ราชบุรีเกมส์ 18 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ราชบุรี
35 กีฬาแห่งชาติ สุพรรณบุรีเกมส์ 9 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สุพรรณบุรี มีมติคณะรัฐมนตรี เปลี่ยนแปลงการแข่งขันจาก 2 ปีต่อครั้ง เป็นปีละ 1 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาของวงการกีฬา โดยรูปแบบการแข่งขันยังเป็นเช่นเดิม
36 กีฬาแห่งชาติ นครศรีธรรมราชเกมส์ 15 - 25 กันยายน พ.ศ. 2550 นครศรีธรรมราช เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
37 กีฬาแห่งชาติ พิษณุโลกเกมส์ 14 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พิษณุโลก เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
38 กีฬาแห่งชาติ ตรังเกมส์ 9 - 19 กันยายน พ.ศ. 2552 ตรัง เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
39 กีฬาแห่งชาติ ชลบุรีเกมส์ 9 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ชลบุรี เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
40 กีฬาแห่งชาติ ขอนแก่นเกมส์ 3 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 ขอนแก่น เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ 1 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ 2
เดิมกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน- 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แต่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้ต้องเลื่อนการแข่งขัน ไปเป็นวันที่ 3 มีนาคม - 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
41 กีฬาแห่งชาติ เชียงใหม่เกมส์ 9 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เชียงใหม่ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
42 กีฬาแห่งชาติ สุพรรณบุรีเกมส์ 5 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557 สุพรรณบุรี เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ใช้ชื่อการแข่งขัน ตราสัญลักษณ์และตุ๊กตาสัญลักษณ์ ซ้ำกับกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 35 เนื่องจากจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพครั้งที่ 3
43 กีฬาแห่งชาติ นครราชสีมาเกมส์ 9 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557 นครราชสีมา เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
44 กีฬาแห่งชาติ นครสวรรค์เกมส์ 12 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นครสวรรค์ ถูกยกเลิกพิธีเปิดในวันที่ 11 ธันวาคมจึงมีกิจกรรม Bike for dad ปั่นเพื่อพ่อให้พิธีเปิดจัดในวันที่ 12 ธันวาคม
45 กีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2559 สงขลา คณะรัฐมนตรียืนยันในการจัดกรฬาแห่งชาติเป็น 2 ปีต่อครั้งดังเดิม โดยให้จังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพในครั้งที่ 45 เหมือนเดิม แต่ขยับไปจัดในปี 2560 แทน โดยไม่ต้องคัดเลือกเจ้าภาพใหม่ [1]
46 กีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เชียงราย มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการแข่งขันเป็น 2 ปีต่อครั้ง ตามมติคณะรัฐมนตรี [2]
47 กีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2563 ศรีสะเกษ
48 กีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ศรีสะเกษ
49 กีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2567 ศรีสะเกษ
50 กีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2569 เชียงใหม่

สรุปจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพ

จังหวัด จำนวนครั้ง ปีที่เป็นเจ้าภาพ
เชียงใหม่ 4
สุพรรณบุรี 3
นครสวรรค์ 3
กรุงเทพมหานคร 3
สงขลา 2
นครราชสีมา 2
สระบุรี 2
ราชบุรี 2
นราธิวาส 2
ชลบุรี 2
ลพบุรี 2
อุดรธานี 2
พิษณุโลก 2
ขอนแก่น 2
ตรัง 2
ศรีสะเกษ 2
อุบลราชธานี 1
ลำปาง 1
ปัตตานี 1
ภูเก็ต 1
เชียงราย 1
จันทบุรี 1
ร้อยเอ็ด 1
พระนครศรีอยุธยา 1
สุราษฎร์ธานี 1
ระยอง 1

สรุปผลเจ้าเหรียญทอง

ดูเพิ่ม

กีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย

อ้างอิง