ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รังษีนภดล ยุคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Noomtong (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
ชีวิตในวัยทรงพระเยาว์คุณหญิงชอบตามเสด็จพระบิดาไปเที่ยวชมสภาพธรรมชาติในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เช่น ป่า[[พนมสารคาม]] ป่าชายแดน[[เทือกเขาตะนาวศรี]] ทรงสนพระทัยศึกษาพันธุ์ไม้และความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก ซึ่งคุณหญิงสามารถนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่ร่วมงานและอยู่ใกล้ชิดกับองค์ท่านเป็นอย่างดี คุณหญิงรังษีนภดล ทรงได้รับการยกย่องในฐานะนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทรงทุ่มเทวรกาย เพื่องานอนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีพลานามัยที่แข็งแรง สามารถดำเนินป่า และขับรถยนต์ที่นั่งด้วยองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงมีความจำเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเก่าๆ ได้อย่างแม่นยำ ทรงมีมีพระจริยวัตรเรียบง่าย ไม่ถือพระองค์ และยังเสด็จไปในงานพิธีต่างๆ ตามการทูลเชิญ
ชีวิตในวัยทรงพระเยาว์คุณหญิงชอบตามเสด็จพระบิดาไปเที่ยวชมสภาพธรรมชาติในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เช่น ป่า[[พนมสารคาม]] ป่าชายแดน[[เทือกเขาตะนาวศรี]] ทรงสนพระทัยศึกษาพันธุ์ไม้และความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก ซึ่งคุณหญิงสามารถนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่ร่วมงานและอยู่ใกล้ชิดกับองค์ท่านเป็นอย่างดี คุณหญิงรังษีนภดล ทรงได้รับการยกย่องในฐานะนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทรงทุ่มเทวรกาย เพื่องานอนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีพลานามัยที่แข็งแรง สามารถดำเนินป่า และขับรถยนต์ที่นั่งด้วยองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงมีความจำเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเก่าๆ ได้อย่างแม่นยำ ทรงมีมีพระจริยวัตรเรียบง่าย ไม่ถือพระองค์ และยังเสด็จไปในงานพิธีต่างๆ ตามการทูลเชิญ


ปัจจุบันทรงประทับอยู่ ณ วังรังสิต ซึ่งตั้งตรงปากทางเข้าคลอง 4 (ริมถนนรังสิต-นครนายก) ถนนพระองค์เจ้าสาย ตรงข้ามร้านอาหารบ่อเงิน และสนามม้าพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันกับพระตำหนักบึงยี่โถ ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในบริเวณแนวเดียวกัน ซึ่งนอกจากเป็นที่ประทับแล้ว ยังเป็นที่ทำการมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล เป็นมูลนิธิที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ ด้วย โดยภายในพื้นที่วัง คุณหญิงรังษีนภดลทรงนำที่นาส่วนองค์มาใช้เป็นแปลงปลูกข้าวหอมนิล ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง โดยทรงลงมือหว่านพันธุ์ข้าว ใส่ปุ๋ยและควบคุมการเก็บผลผลิต ด้วยองค์เอง ทั้งยังใช้ที่นาเป็นที่ประทับทรงงาน เพื่อติดตามดูแปลงข้าว ซึ่งนำผลผลิตข้าวหอมนิลที่ได้ไปแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ต่างๆ
ปัจจุบันทรงประทับอยู่ ณ พระตำหนักคลอง 4 (รังสิต-ปทุมธานี) ซึ่งตั้งตรงปากทางเข้าคลอง 4 (ริมถนนรังสิต-นครนายก) ถนนพระองค์เจ้าสาย ตรงข้ามร้านอาหารบ่อเงิน และสนามม้าพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันกับพระตำหนักบึงยี่โถ ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในบริเวณแนวเดียวกัน ซึ่งนอกจากเป็นที่ประทับแล้ว ยังเป็นที่ทำการมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล เป็นมูลนิธิที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ ด้วย โดยภายในพื้นที่วัง คุณหญิงรังษีนภดลทรงนำที่นาส่วนองค์มาใช้เป็นแปลงปลูกข้าวหอมนิล ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง โดยทรงลงมือหว่านพันธุ์ข้าว ใส่ปุ๋ยและควบคุมการเก็บผลผลิต ด้วยองค์เอง ทั้งยังใช้ที่นาเป็นที่ประทับทรงงาน เพื่อติดตามดูแปลงข้าว ซึ่งนำผลผลิตข้าวหอมนิลที่ได้ไปแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ต่างๆ


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:51, 26 เมษายน 2559

รังษีนภดล ยุคล
เกิดหม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล
2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 (86 ปี)
วังอัศวิน
คู่สมรสหม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ (หย่า)
วิเชียร ตระกูลสิน
บุตรสายฝน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
รังษิดล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุพการีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (พระนามเดิม: หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล) มีพระนามลำลองคือ ท่านหญิงอ๋อย เป็นพระธิดาองค์เล็กของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

พระประวัติ

คุณหญิงรังษีนภดล ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 มีเจ้าพี่น้องร่วมพระอุทร 2 พระองค์ คือ

คุณหญิงทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินีจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จึงไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากวิชาสามัญแล้วคุณหญิงได้ศึกษาด้านการกีฬา และด้านภาษา มีปรีชาด้านการกีฬาหลายชนิด เช่น ขี่ม้า เทนนิส ว่ายน้ำ

คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อสมรสกับ หม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499 [1] มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ

  • นางสาวสายฝน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (28 ส.ค. 2499 - )
  • นายดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (31 ส.ค. 2500 - )
  • นายรังษิดล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (16 ธ.ค. 2502 - )
  • นายตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (20 เม.ย. 2506 - )

ต่อมาทรงเสกสมรสใหม่กับนายวิเชียร ตระกูลสิน

พระจริยาวัตร

ชีวิตในวัยทรงพระเยาว์คุณหญิงชอบตามเสด็จพระบิดาไปเที่ยวชมสภาพธรรมชาติในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เช่น ป่าพนมสารคาม ป่าชายแดนเทือกเขาตะนาวศรี ทรงสนพระทัยศึกษาพันธุ์ไม้และความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก ซึ่งคุณหญิงสามารถนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับผู้ที่ร่วมงานและอยู่ใกล้ชิดกับองค์ท่านเป็นอย่างดี คุณหญิงรังษีนภดล ทรงได้รับการยกย่องในฐานะนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทรงทุ่มเทวรกาย เพื่องานอนุรักษ์ธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีพลานามัยที่แข็งแรง สามารถดำเนินป่า และขับรถยนต์ที่นั่งด้วยองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงมีความจำเป็นเลิศ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเก่าๆ ได้อย่างแม่นยำ ทรงมีมีพระจริยวัตรเรียบง่าย ไม่ถือพระองค์ และยังเสด็จไปในงานพิธีต่างๆ ตามการทูลเชิญ

ปัจจุบันทรงประทับอยู่ ณ พระตำหนักคลอง 4 (รังสิต-ปทุมธานี) ซึ่งตั้งตรงปากทางเข้าคลอง 4 (ริมถนนรังสิต-นครนายก) ถนนพระองค์เจ้าสาย ตรงข้ามร้านอาหารบ่อเงิน และสนามม้าพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันกับพระตำหนักบึงยี่โถ ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในบริเวณแนวเดียวกัน ซึ่งนอกจากเป็นที่ประทับแล้ว ยังเป็นที่ทำการมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล เป็นมูลนิธิที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ช้างป่า กระทิง และสัตว์ป่าอื่นๆ ด้วย โดยภายในพื้นที่วัง คุณหญิงรังษีนภดลทรงนำที่นาส่วนองค์มาใช้เป็นแปลงปลูกข้าวหอมนิล ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง โดยทรงลงมือหว่านพันธุ์ข้าว ใส่ปุ๋ยและควบคุมการเก็บผลผลิต ด้วยองค์เอง ทั้งยังใช้ที่นาเป็นที่ประทับทรงงาน เพื่อติดตามดูแปลงข้าว ซึ่งนำผลผลิตข้าวหอมนิลที่ได้ไปแจกจ่ายประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๒/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้ารังษีนภดล ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙ ง, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๕
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (9ข): 1. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)