ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 124.120.72.129 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย ZenithZealotry
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
| ราคา = 10.00 [[บาท]]
| ราคา = 10.00 [[บาท]]
| คำขวัญ = เนชั่น เจาะข่าว ทั่วไทย<br/>คม-ทุกเรื่องราว ชัด-ทุกเนื้อข่าว ลึก-ทุกประเด็น
| คำขวัญ = เนชั่น เจาะข่าว ทั่วไทย<br/>คม-ทุกเรื่องราว ชัด-ทุกเนื้อข่าว ลึก-ทุกประเด็น
| สำนักงานใหญ่ = [[อาคารเนชั่นทาวเวอร์]] [[ถนนบางนา-ตราด]] [[กิโลเมตร]]ที่ 4.5 [[เขตบางนา]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| สำนักงานใหญ่ = [[อาคารเนชั่นทาวเวอร์]] [[ถนนบางนา-ตราด]] [[กิโลเมตร]]ที่ 4.5 แขวงบางนา [[เขตบางนา]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| circulation =
| circulation =
| ISSN =
| ISSN =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:12, 24 เมษายน 2559

คมชัดลึก
เนชั่น เจาะข่าว ทั่วไทย
คม-ทุกเรื่องราว ชัด-ทุกเนื้อข่าว ลึก-ทุกประเด็น
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
ขนาดหนังสือพิมพ์มวลชน
(Mass Newspaper)
เจ้าของบริษัท เอ็นเอสที นิวส์ จำกัด
ผู้เผยแพร่เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป
บรรณาธิการเฉลียว คงตุก
ก่อตั้งเมื่อ16 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ภาษาภาษาไทย
สำนักงานใหญ่อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 4.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์www.komchadluek.net

คมชัดลึก เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เสนอข่าวทั่วไป ของ บริษัท เอ็นเอสที นิวส์ จำกัด ของเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ปก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มี เฉลียว คงตุก เป็นบรรณาธิการ มีคอลัมนิสต์ประจำในเครือคือ สุทธิชัย หยุ่น (เจ้าของคอลัมน์ คิดนอกกรอบ) โสภณ องค์การณ์ (เจ้าของคอลัมน์ เล่นนอกสภา ตีพิมพ์ทุกวันพุธ และเกาที่คัน ตีพิมพ์ทุกวันเสาร์) นอกจากนี้ยังมีคอลัมนิสต์รับเชิญ เช่น คุณหญิง พ.ญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์ พล.อ.บัญชร ชวาญศิลป์ กวี จงกิจถาวร สุจินต์ จันทร์นวล นันทขว้าง สิรสุนทร เจนนิเฟอร์ คิ้ม

รางวัล

คมชัดลึกได้รับรางวัลหนังสือพิมพ์โลก ปีพุทธศักราช 2548 (2005) จากสมาคมหนังสือพิมพ์โลก ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของเมืองไทย เพียงฉบับเดียวที่ได้รับรางวัล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548

คมชัดลึกฉบับข่าวร้อน ก่อนเที่ยง

หนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ โดยให้หนังสือพิมพ์กรอบบ่ายที่ลงวันที่ล่วงหน้าให้เป็นฉบับข่าวร้อนก่อนเที่ยง โดยสีที่ใช้ในการพาดหัวข่าวจะใช้สีน้ำเงิน จากเดิมที่ใช้สีน้ำตาลพาดหัวเป็นหลัก แตกต่างจากฉบับกรอบเช้าซึ่งใช้สีดำ สำหรับจุดขายที่คมชัดลึกพยายามนำเสนอคือ ข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน 8.00 น. จะถูกตีพิมพ์และวางแผงไม่เกิน 12.00 น. ของแต่ละวัน ซึ่งจะวางขายเฉพาะแผงหนังสือในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น

การปรับลดขนาดหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับลดขนาดหนังสือพิมพ์ลงจากเดิม 31 นิ้ว เป็น 27 นิ้ว [1]ส่งผลให้มีขนาดเทียบเท่ากับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โพสต์ทูเดย์ เดอะเนชั่น และกรุงเทพธุรกิจ ที่ได้มีการปรับลดขนาดก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีการลดขนาดหัวคอลัมน์ให้เล็กลง เพื่อสะดวกในการจัดวางหน้า (Layout)

สำหรับหนังสือพิมพ์หัวสีฉบับอื่นๆ มีเพียงสยามรัฐที่มีการปรับลดขนาด คงเหลือไทยรัฐ เดลินิวส์ และข่าวสดที่ยังไม่มีการปรับลดขนาด

กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการตีพิมพ์คำให้สัมภาษณ์หลังเวทีของ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในฉบับประจำวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกล่าวในทำนองว่า หากผู้รับสนองพระบรมราชโองการไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดของพระราชกฤษฎีกาแล้ว จะให้ใครรับผิดชอบ ซึ่งทำให้ประชาชนฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนายสนธิ และหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นจำนวนมาก ในหลายพื้นที่

ต่อมา เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม กลุ่มคาราวานคนจน ที่เป็นกลุ่มที่นำหนังสือพิมพ์มาแสดงเป็นกลุ่มแรก บนเวทีปราศรัยสวนจตุจักร จำนวนนับพันคน นำโดย นายคำตา แคนบุญจันทร์ นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน[2] นายประยูร ครองยศ นายทองเจือ ชาติกิจเจริญ เป็นต้น เคลื่อนขบวนจากสวนจตุจักร มาชุมนุมหน้าอาคารเนชั่นทาวเวอร์ เพื่อประท้วงคมชัดลึก

เวลาผ่านไปกว่า 7 ชั่วโมง จึงได้ผลการเจรจาระหว่างกลุ่มคาราวานคนจน กับผู้บริหารหนังสือพิมพ์คมชัดลึก สรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์คมชัดลึกขอปิดตัวเองเป็นเวลา 5 วัน และในฉบับวันที่ 3 เมษายน ซึ่งเป็นฉบับแรก หลังจากปิดตัวเองรอบแรก 3 วัน จะตีพิมพ์คำขอพระราชทานอภัยโทษ บนหน้า 1 นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประกาศลาออกจาก บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์คมชัดลึก เพื่อแสดงความรับผิดชอบ (ปัจจุบันไปเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายข่าว ส.ส.ท.) สั่งปลดผู้สื่อข่าวที่เขียนข่าวดังกล่าว และบรรณาธิการข่าวหน้า 1

ทั้งนี้ นสพ.คมชัดลึก ได้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการสั่งให้ออกพนักงานทีมข่าวหน้า 1 โทษฐานประมาทเลินเล่อ และนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ลาออกจากการเป็นบรรณาธิการบริหาร นสพ.คมชัดลึก เพื่อแสดงความรับผิดชอบ พร้อมทั้งทำหนังสือต่อสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการตีพิมพ์ข้อความที่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทั้งนี้ได้ตีพิมพ์หนังสือลงในหน้าหนึ่ง ของ นสพ.คมชัดลึก ฉบับประจำวันที่ 29 มีนาคม 2549

เวลาผ่านไปกว่า 7 ชั่วโมง การเจรจาระหว่างกลุ่มดังกล่าวสรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์คมชัดลึกขอปิดตัวเองเป็นเวลา 5 วัน นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ บรรณาธิการบริหารในขณะนั้น ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ สั่งปลดผู้สื่อข่าว และบรรณาธิการข่าวหน้า 1 ในวันเกิดเหตุ และจะต้องลงข่าวระบุว่า กลุ่มคนไทยผู้จงรักภักดีฯ ได้มาชุมนุมเรียกร้องในวันดังกล่าว ตามที่กลุ่มคาราวานคนจนบังคับ

เหตุการณ์ในครั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ นักวิชาการ สื่อมวลชน รวมถึงนิสิต นักศึกษา ได้ยกย่องและให้กำลังใจในการแสดงความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และประณามการกระทำของกลุ่มมวลชนบางกลุ่มที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ในการคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชน [3]

อนึ่ง ภายหลังจากเหตุการณ์การรวมตัวกันของกลุ่มคาราวานคนจนดังกล่าว นางสอิ้ง ไถวสินธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มคาราวานคนจน ตกเป็นข่าวเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2549 ระบุว่าได้ออกรถอีซุซุ ดีแม็กซ์ป้ายแดง ท่ามกลางข้อครหาของชาวบ้านที่เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคาราวานคนจน ว่าถูกหักหัวคิว และได้รับค่าจ้างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย [4]

ต่อมาวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษาจำคุก นายคำตา แคนบุญจันทร์ สมัชชาเกษตรรายย่อย , นายอรรถฤทธิ์ สิงห์ลอ เลขาธิการคาราวานคนจน , นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน , นายธนวิชญ์ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา แกนนำคาราวานคนจน , นายชิวัฒน์ หาบุญพาด แนวร่วม นปช. และ นายสำเริง อดิษะ แกนนำคาราวานคนจน เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐาน ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย, กักขัง หน่วงเหนี่ยว และ พรบ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมไปปิดล้อมอาคารอินเตอร์ลิงก์ ทาวเวอร์

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 6 เป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น ที่ไปปิดล้อมอาคารทำให้พนักงานไม่สามารถเข้าออกจากอาคารได้ อีกทั้งไม่ได้เป็นการชุมนุมที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ในการสั่งการให้กลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมกระจายกำลังไปทั่วอาคารอีกด้วย พิพากษาว่า จำเลยทั้ง 6 มีความผิดฐาน ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่น ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปีแต่ทำให้การเป็นประโยชน์มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยทั้ง 6 เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ นอกจากนี้จำเลยทั้ง 6 ยังมีความผิด ตาม พรบ.ควบคุมการโฆษณาด้วยเครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ลงโทษปรับจำเลยที่ 1,3,4 และ 6 คนละ 180 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 และ 5 ปรับ คนละ 120 บาท ภายหลังจำเลยทั้ง 6 ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์จำนวนคนละ 1 แสนบาท เพื่อขอประกันตัวออกไป[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น