ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (เหตุการณ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น่ารัก เงียบ ซน
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ มณีฉาย เพชรลอบ (พูดคุย) ไปยังรุ...
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เว็บย่อวิกิ|WP:EVENT}}
{{เว็บย่อวิกิ|WP:EVENT}}
{{ความโดดเด่นของบทความ}}เงียบ แต่ลึกๆเป็นคนสนุกสนาน
{{ความโดดเด่นของบทความ}}
{{รวมความโดดเด่น}}
{{รวมความโดดเด่น}}
ในวิกิพีเดีย [[วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม|ความโดดเด่นของบทความ]] เป็นเกณฑ์ตามเงื่อนไขจากความเหมาะสมในการเป็นสารานุกรมของหัวข้อของบทความ หัวเรื่องบทความควรมีความโดดเด่นหรือ "ควรค่าแก่การรู้จัก" (worthy of notice) และ "โดดเด่น" น่าสนใจพอ สมควรที่จะจดจำหรือจดบันทึก<ref>[http://encarta.msn.com/encnet/features/dictionary/DictionaryResults.aspx?refid=1861683928 Encarta dictionary definition] Retrieved 13 March 2008</ref>
ในวิกิพีเดีย [[วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม|ความโดดเด่นของบทความ]] เป็นเกณฑ์ตามเงื่อนไขจากความเหมาะสมในการเป็นสารานุกรมของหัวข้อของบทความ หัวเรื่องบทความควรมีความโดดเด่นหรือ "ควรค่าแก่การรู้จัก" (worthy of notice) และ "โดดเด่น" น่าสนใจพอ สมควรที่จะจดจำหรือจดบันทึก<ref>[http://encarta.msn.com/encnet/features/dictionary/DictionaryResults.aspx?refid=1861683928 Encarta dictionary definition] Retrieved 13 March 2008</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:02, 11 เมษายน 2559

ในวิกิพีเดีย ความโดดเด่นของบทความ เป็นเกณฑ์ตามเงื่อนไขจากความเหมาะสมในการเป็นสารานุกรมของหัวข้อของบทความ หัวเรื่องบทความควรมีความโดดเด่นหรือ "ควรค่าแก่การรู้จัก" (worthy of notice) และ "โดดเด่น" น่าสนใจพอ สมควรที่จะจดจำหรือจดบันทึก[1]

หน้านี้เป็นแนวทางสำหรับบทความประเภทเหตุการณ์ ที่สะท้อนการเห็นพ้องของคนส่วนใหญ่ ที่ผ่านการอภิปรายและมีการปฏิบัติตาม และได้รวบรวมข้อมูลการตัดสินใจจากบทความในอดีต รวมถึงปัจจุบัน การเขียนข่าวด่วนอาจต้องนำไปรวม หรือ ลบ หรือ พัฒนาต่อไป

ภูมิหลัง

การอภิปรายการลบบทความ เป็นข้อถกเถียงหลายครั้งเกี่ยวกับบทความเหตุการณ์ โดยมากเกี่ยวกับข่าวด่วน ที่ครอบคลุมในสื่ออย่างเข้มข้น แนวทางนี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เขียนเข้าใจนโยบายและแนวทางที่ใช้สำหรับบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ และเกี่ยวข้องกับ วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย (เช่น วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งรวบรวมข้อมูลข่าว) โดยจะพยายามอธิบายความสัมพันธ์ของกฎกับบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ แนวทางนี้เกิดจากการเห็นพ้องของคนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับบทความในลักษณะนี้

เกณฑ์

วิกิพีเดียไม่ใช่สารานุกรมที่เป็นรูปเล่ม นั่นหมายถึง ไม่มีขีดจำกัดในทางปฏิบัติถึงจำนวนหัวเรื่องที่สามารถมีได้ในวิกิพีเดีย หรือปริมาณเนื้อหาทั้งหมด อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียก็ไม่ใช่ แหล่งรวบรวมข้อมูลที่ขาดการพิจารณา จากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งข่าว วิกิข่าวเป็นสถานที่ที่ให้นักเขียนสามารถให้ข้อมูลข่าวปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ทุกข่าวที่จะโดดเด่นหรือเขียนเป็นบทความในวิกิพีเดียได้

ผู้เขียนควรมีความอดทนต่อความเป็นปัจจุบัน แนวโน้มของข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันดูเหมือนเป็นสิ่งสำคัญ มากกว่าที่เป็นหากผ่านไปหลายปี มีหลายเหตุการณ์ได้มีการเขียนรายงานข่าวและต่อมาก็ไม่ได้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ องค์กรข่าวมีเกณฑ์ในการนำเสนอข่าว เช่น คุณค่าของข่าว ที่แตกต่างจากเกณฑ์ของวิกิพีเดียและสารานุกรมโดยทั่วไป ข่าวอาชญากรรม การเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่อาจสำคัญพอที่ผู้รายงานข่าวและนักเขียนข่าวจะรายงาน แต่ก็ไม่เสมอไปที่จะโดดเด่นเพียงพอสำหรับการเป็นบทความในวิกิพีเดีย

  • เหตุการณ์อาจมีความโดดเด่นหากบทความนั้นมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป หรือบทความนั้นมีผลกระทบอย่างยั่งยืน
  • เหตุการณ์นั้นอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีความโดดเด่น เมื่อส่งผลกระทบอย่างแพร่หลาย (ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ) และครอบคลุมในสื่อหลากหลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำมาวิเคราะห์เหตุการณ์
  • เหตุการณ์นั้นมีการพูดถึงเพียงเล็กน้อย หรือ พูดถึงในแง่มุมที่จำกัด หรือ ไม่มีความโดดเด่น คำอธิบายด้านล่างเป็นการประเมินเหตุการณ์
  • ประเภทของข่าวที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เช่น อาชญากรรม อุบัติเหตุ การเสียชีวิต ผู้มีชื่อเสียง หรือ ข่าวการเมือง ข่าวที่สร้างความตกตะลึง เรื่องราวที่ขาดความยั่งยืน หรือเหตุการณ์ที่มีการรายงานเฉพาะในช่วงเวลานั้น โดยทั่วไปแล้วจะไม่โดดเด่นพอ จนกว่าจะให้ข้อมูลที่ให้ความโดดเด่นเพียงพอ

ในการประเมินเหตุการณ์ ผู้เขียนควรประเมินหลายมุมมองของเหตุการณ์นั้นและสื่อครอบคลุม ที่ส่งผลกระทบ ความลึก ระยะเวลาของข่าว ความครอบคลุมด้านภูมิศาสตร์ ความหลากหลายและความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว เช่นเดียวกับพิจารณาเรื่องข่าวประเภทที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

เหตุการณ์

ส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน

เหตุการณ์ที่เป็นแบบอย่างหรือก่อให้เกิดสิ่งสำคัญอื่นอย่างยั่งยืน ก็เป็นไปได้ว่าจะมีความโดดเด่น

เหตุการณ์ที่มักถือได้ว่ามีความโดดเด่น ถ้าเหตุการณ์ที่เป็นแบบอย่างหรือก่อให้เกิดสิ่งอื่น อาจหมายถึงส่งผลกระทบต่อมุมมองและพฤติกรรมของสังคมและกฎหมาย ตัวอย่างเช่น บทความ การฆาตกรรมอดัม วอล์ช นำมาสู่ กฎหมายปกป้องและความปลอดภัยเด็ก

เหตุการณ์ที่ถือได้ว่ามีผลกระทบอย่างถาวรกับประวัติศาสตร์อย่างสำคัญ มักถือได้ว่ามีความโดดเด่น ตัวอย่างเช่น หายนะทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบทางกายภาพที่ถูกทำลายอย่างกว้างขวาง นำมาสู่การสร้างใหม่ การเคลื่อนย้ายของคน และอาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา และ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ที่ถือได้ว่ามีความโดดเด่น สำหรับการแผ่นดินไหวเล็กน้อยหรือพายุที่มีผลกระทบน้อยหรือไม่มีผลกระทบต่อมนุษย์ อาจถือว่าไม่มีความโดดเด่น

อาจจะต้องพิจารณาร่วมหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ว่าเหตุการณ์นั้นส่งผลกระทบอย่างยั่งยืนหรือไม่ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ที่ไม่มีข้อมูลการส่งผลกระทบอย่างยั่นยืนจะถือได้ว่าไม่มีความโดดเด่น

ความครอบคลุมด้านภูมิศาสตร์

เหตุการณ์ที่โดดเด่นมักส่งผลกระทบสำคัญไปทั่วภูมิภาคหรือกลุ่มสังคมที่กว้างขวาง

เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในท้องถิ่นและมีรายงานในสื่อเพียงในท้องถิ่นนั้น อาจถือได้ว่าไม่มีความโดดเด่น สื่อครอบคลุมของเหตุการณ์ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติมีความเป็นไปได้ที่สร้างความโดดเด่น แต่การรายงานข่าวในระดับชาติหรือนานาชาตินี้ จะต้องไม่ใช่เหตุผลหลัก เหตุผลเดียวในการที่จะสร้างบทความ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ส่งผลกระทบระยะยาว ในระดับภูมิภาค หรือส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง (พิจารณาจากเกณฑ์ข้ออื่น) ก็อาจถือได้ว่ามีความโดดเด่นพอที่จะเป็นบทความ

การรายงานข่าว

ความลึกของข่าว

เหตุการณ์นั้นต้องมีความสำคัญหรือมีการรายงานข่าวเชิงลึกถึงมีความโดดเด่น

เกณฑ์การพิจารณาโดยทั่วไป คือ ข้อมูลต้องมีความสำคัญและไม่ใช่ข้อมูลทั่วไป ความลึกของข่าว รวมถึงการวิเคราะห์ที่เสริมเข้าไปในเนื้อหา อย่างเช่น มักพบได้ในหนังสือ บทความยาว ๆ ในหนังสือพิมพ์ข่าวที่สำคัญ และได้รายงานข่าวพิเศษ การรายงานข่าวที่มีใจความสำคัญเพียงเล็กน้อยหรือการให้ข้อมูลไม่มาก มักถือได้ว่าเป็นรายงานข่าวทั่วไป[2] ผู้เขียนบทความบางคนอาจเล่าเหตุการณ์ข่าวที่ดูเหมือนข้อมูลปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ

การรายงานข่าวของสื่อหลาย ๆ สถาบันเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในบางครั้งข่าวมีเนื้อหาเหมือน ๆ กัน ผู้เขียนไม่ควรอาศัยสื่อหลาย ๆ สื่อเพื่อยกประเด็นความโดดเด่นของเหตุการณ์นั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของการเขียนเป็นบทความต้องเป็นเหตุการณ์สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เก่าหรือเหตุการณ์ทั่วไป

ระยะเวลาการนำเสนอข่าว

เหตุการณ์ที่โดดเด่นมักมีการนำเสนอข่าวยาวนานกว่าวัฏจักรการนำเสนอข่าวทั่วไป

ระยะเวลาในการนำเสนอข่าว เป็นตัววัดความโดดเด่นของเหตุการณ์ได้อย่างมาก ว่าเป็นแค่เหตุการณ์ทั่วไปหรือเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน ถึงแม้ว่าความโดดเด่นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ที่มีความหมายว่า หัวเรื่องนั้นไม่จำเป็นจะต้องได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องอีก แต่การรายงานข่าวไม่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความโดดเด่นโดยทันที เหตุการณ์ที่ครอบคลุมเฉพาะในช่วงที่เกิดเหตุการณ์หรือหลังเหตุการณ์โดยทันที ที่ปราศจากการวิเคราะห์หรือการอภิปราย ก็ไม่เหมาะกับการเป็นบทความในสารานุกรม อย่างไรก็ตาม เป็นการยากและเป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินความโดดเด่นหลังเหตุการณ์โดยทันที ผู้เขียนไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุการณ์นี้จะนำไปสู่เหตุการณ์อื่นอย่างกว้างขวางหรือไม่ เหตุการณ์นั้นจะไม่โดดเด่นในช่วงเวลาที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นั้น ๆ

หากเหตุการณ์ ได้รับการอ้างถึงในการเป็นกรณีศึกษาในหลาย ๆ แหล่ง หลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขั้นต้น ก็อาจถือได้ว่าส่งผลกระทบอย่างยั่งยืน

ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล

การรายงานข่าวในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ อาจคาดหวังว่าเป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่น การรายงานในขอบเขตที่กว้างขวางถือได้ว่าแสดงความโดดเด่น แต่แหล่งข้อมูลข่าวที่ดูเหมือน ๆ กัน หรือคล้าย ๆ กับแหล่งข่าวอื่น ๆ หรือ ข้อมูลที่จำกัด ไม่ถือว่าเป็นแหล่งข่าวที่มีความหลากหลาย

ในนโยบาย วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม ที่แนะนำให้ใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง เพื่อแสดงความโดดเด่นของหัวข้อบทความนั้น ไม่ใช่แหล่งอ้างอิงหลาย ๆ แหล่ง ที่มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน[3] การรายงานข่าวอย่างต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์หรือช่องข่าวเดียวกัน ไม่ถือว่าสร้างความโดดเด่นให้บทความอย่างเพียงพอ

สื่อช่องต่าง ๆ ภายใต้การทำงานเครือเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นหนึ่งแหล่ง เช่นเดียวกัน รายงานข่าวหรือการแถลงข่าว ที่มีการพิมพ์ซ้ำ (มักมีข้อความเขียนที่เหมือนกัน) จากสำนักพิมพ์ หรือเมื่อผู้รายงานข่าวให้ข้อมูล ในข่าวที่ทำซ้ำจากที่อื่น (ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวเอพี รายงานว่า ...) ถือได้ว่าเป็นแหล่งข่าวเพียงแหล่งเดียว

อ้างอิง

  1. Encarta dictionary definition Retrieved 13 March 2008
  2. Cho, Jaeho (2003). "Media, Terrorism, and Emotionality: Emotional Differences in Media Content and Public Reactions to the September 11th Terrorist Attacks". Journal of Broadcasting & Electronic Media. 47. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า s: |laydate=, |separator=, |trans_title=, |laysource= และ |laysummary= (help); ระบุ |author= และ |last= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  3. จาก WP:GNG: "ขาดแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง แนะนำว่าหัวข้อนั้นอาจสรุปได้ว่าเหมาะกับการเป็นบทความ การตีพิมพ์จากแหล่งเดียวหรือข่าวจากในเครือเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นงานจากหลาย ๆ แหล่ง บางสำนักพิมพ์ตีพิมพ์บทความซ้ำ ๆ ในภูมิภาคนั้น หลาย ๆ ครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นแหล่งข่าวหลายแหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้เขียนใช้แหล่งข้อมูลในการเขียนเป็นข้อมูลเดียวกันและดูเหมือนเป็นการให้ข้อมูลซ้ำ"