ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนัด คอมันตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47: บรรทัด 47:


ในทางวิชาการ เคยดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรกของ[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512 และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง
ในทางวิชาการ เคยดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรกของ[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512 และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง

พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ถึงแก่กรรมในเวลาเย็นของวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่บ้านพักส่วนตัวที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 102 ปี<ref>หน้า 13 ต่อจากหน้า 2, ''สิ้น "ถนัด คอมันตร์"''. "ถนัด คอมันตร์เสียชีวิต". '''เดลินิวส์'''ฉบับที่ 24,249: วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม</ref>


กล่าวกันว่าโดยส่วนตัว พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ลงรอยกับ [[พิชัย รัตตกุล|นายพิชัย รัตตกุล]] ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนถัดมา ซึ่งในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยถ้ามีผู้ใดถามถึง นายพิชัย กล่าวกันว่า พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆ นี้"<ref name="กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา">{{อ้างหนังสือ
กล่าวกันว่าโดยส่วนตัว พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ลงรอยกับ [[พิชัย รัตตกุล|นายพิชัย รัตตกุล]] ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนถัดมา ซึ่งในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยถ้ามีผู้ใดถามถึง นายพิชัย กล่าวกันว่า พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆ นี้"<ref name="กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา">{{อ้างหนังสือ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:36, 20 มีนาคม 2559

ถนัด คอมันตร์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ถัดไปจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 เมษายน พ.ศ. 2525
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปพิชัย รัตตกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457
กรุงเทพมหานคร
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 2559 (102 ปี)
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสท่านผู้หญิง โมลี คอมันตร์
ไฟล์:ถนัด คอมันตร์.jpg
พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ขณะกำลังให้สัมภาษณ์วิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย

พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559) อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

ประวัติ

พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ เดิมมีชื่อว่า "ถนัดกิจ คอมันตร์" เป็นบุตรของพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป๋ คอมันตร์) เนติบัณฑิตไทยรุ่นแรก กับคุณหญิงถนอม พิพากษาสัตยาธิปไตย สมรสกับท่านผู้หญิงโมลี คอมันตร์ ธิดาคนรองของนายเป๋า วีรางกูร หลานตาของพระยาอนุกูลสยามกิจ (ชุน อนุกูลสยามกิจ) [1]

พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จบปริญญาตรีด้านกฎหมายจาก มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบอร์โดซ์ ปริญญาโทและปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีหลานชายคนหนึ่งเป็นนักธุรกิจที่เคลื่อนไหวทางการเมือง คือ นายอัมรินทร์ คอมันตร์

เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ได้รับการยกย่องในฐานะผู้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการ ก่อตั้ง "สมาคมอาเซียน" หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2510 และต่อมา พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ยังได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกฝ่ายไทย ใน ศาลประจำอนุญาโตตุลาการกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีวาระ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2545

ในทางการเมือง เคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2525 หลังการลาออกจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรค ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 ที่ประกาศ วางมือทางการเมือง ซึ่งนับเป็นช่วงวิกฤตที่สุดของ พรรคประชาธิปัตย์ ที่กระแสความนิยมตกต่ำอย่างรุนแรง และสมาชิกในพรรคเกิดความแตกแยกกัน โดยผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2522 ในกรุงเทพฯ ได้ ส.ส. เพียงคนเดียว คือตัว พ.อ. (พิเศษ) ดร.ถนัด เองที่เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ( เขตพญาไท และ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ) โดย พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ต้องรับภาระในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค เพื่อประคองพรรคให้อยู่รอดต่อไปได้ และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] และในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[3]

ในทางวิชาการ เคยดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512 และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง

กล่าวกันว่าโดยส่วนตัว พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ลงรอยกับ นายพิชัย รัตตกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนถัดมา ซึ่งในขณะนั้นนายพิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรค เนื่องจากมีสภาพเหมือนคู่แข่งกัน ในการทำงานระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่คนละรัฐบาล และต่างขั้วกัน โดยถ้ามีผู้ใดถามถึง นายพิชัย กล่าวกันว่า พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ จะตอบเสมอ ๆ ว่า "ไม่รู้จักคน ๆ นี้"[4]

ถึงแก่อสัญกรรม

พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ถึงแก่กรรมในเวลาเย็นของวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่บ้านพักส่วนตัวที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 102 ปี[5]

วันที่ 5 มีนาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ บ้านพักของเขา ต่อมามีพระบรมราชโองการพระราชทานโกศมณฑป เนื่องจากถึงแก่อสัญกรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพวงมาลงประจำพระองค์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์อีกด้วย

สถานที่ในการพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว. การต่างประเทศของไทย ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เอมิล โรเชร์, ชูศรี สาธร แปล. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 77 ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน. กรุงเทพฯ : อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเป๋า วีรางกูร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 21 ธันวาคม 2504, 2504.
  2. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  4. เริงศักดิ์ กำธร. กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา. กรุงเทพฯ : บางหลวง, 2535. 160 หน้า. ISBN 974-85645-2-5
  5. หน้า 13 ต่อจากหน้า 2, สิ้น "ถนัด คอมันตร์". "ถนัด คอมันตร์เสียชีวิต". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,249: วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕, ตอน ๓๙ ง, ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๘๓, ตอน ๕๘ ง ฉบับพิเศษ, ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๙, หน้า ๕

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ถนัด คอมันตร์ ถัดไป
พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
พลเอก เสริม ณ นคร
สมภพ โหตระกิตย์
พลเอก เล็ก แนวมาลี
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 42)
(3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2526)
พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
พิชัย รัตตกุล
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย
พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ไฟล์:กระทรวงการต่างประเทศ.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
จรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไฟล์:Democrat Party logo.png
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2525)
พิชัย รัตตกุล