ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพนด้ายักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
==การค้นพบ==
==การค้นพบ==
[[ไฟล์:Lightmatter panda.jpg|thumb|left|250px|[[เกาเกา]], แพนด้าเพศผู้ที่[[สวนสัตว์ซานดิเอโก]]]]
[[ไฟล์:Lightmatter panda.jpg|thumb|left|250px|[[เกาเกา]], แพนด้าเพศผู้ที่[[สวนสัตว์ซานดิเอโก]]]]
แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี [[ค.ศ. 1869]] โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส [[Armand David|อาร์มันด์ เดวิด]] ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ [[11 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1869]] ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักสัตว์วิทยาเยอรมัน [[ฮิวโก เวยโกลด์]] เขาซื้อลูกของมันมาในปี [[ค.ศ. 1916]] [[เคอร์มิท รูสเวลท์|เคอร์มิท]] และ [[ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์]] ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไป[[สตัฟฟ์]]และใช้ในการศึกษาที่[[พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์]] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี [[ค.ศ. 1936]] [[รุธ ฮาร์คเนส]] เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายัง[[สหรัฐอเมริกา|สหรัฐฯ]] เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ใน[[ชิคาโก]]
แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี [[ค.ศ. 1869]] โดยซ็อกการีชาวฝรั่งเศส [[อาร์แซน แวงแกร์]] ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ [[11 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1869]] ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักปรัชญาชาวดัตช์ [[ลูวี ฟัน คาล]] เขาซื้อลูกของมันมาในปี [[ค.ศ. 1916]] [[เคอร์มิท รูสเวลท์|เคอร์มิท]] และ [[ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์]] ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไป[[สตัฟฟ์]]และใช้ในการศึกษาที่[[พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์]] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี [[ค.ศ. 1936]] [[Alex Ferguson|ป๋าแพนด้า]] เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายัง[[สหราชอาณาจักร]] เป็นลูกแพนด้าชื่อเจอ-หร่าน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์แอนฟิลด์ใน[[ลิเวอร์พูล]]


==สถานะ==
==สถานะ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:57, 8 มีนาคม 2559

แพนด้ายักษ์
ช่วงช่วง, แพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Ursidae
สกุล: Ailuropoda
Milne-Edwards, 1870
สปีชีส์: A.  melanoleuca
ชื่อทวินาม
Ailuropoda melanoleuca
(David, 1869)
สปีชีส์ย่อย
ถิ่นที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ (อังกฤษ: Giant panda; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ailuropoda melanoleuca) หรือที่นิยมเรียกว่า หมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน [1] อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว

ลักษณะทั่วไป

ถึงแม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99% ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ จัดได้ว่าแพนด้ายักษ์เป็นหมีที่แตกต่างไปจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก แม้ว่าไผ่จะเป็นพืชที่ให้พลังงานกิโลแคลเลอรี่ต่ำมาก ทำให้แพนด้ายักษ์ใช้เวลากินไผ่นานถึงวันละ 16 ชั่วโมง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัม และขับถ่ายมากถึงวันละ 40 ครั้ง และทำให้ในช่วงฤดูหนาว แพนด้ายักษ์จะไม่จำศีลในถ้ำเหมือนกับหมีชนิดอื่น เนื่องจากไผ่ให้พลังงานสะสมไม่เพียงพอ และจากการที่มีพฤติกรรมกินไผ่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์ที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ยากด้วย โดยในรอบปี แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะมีอาหารติดสัดเพียง 1-2 วันเท่านั้น และออกลูกรวมถึงเลี้ยงลูกให้รอดจนเติบโตในธรรมชาติได้ยากมาก หากแพนด้ายักษ์แพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว จะทำให้ไผ่พืชอาหารหลักหมดไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน [2]

หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิดี้ (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง วงศ์ไอเลอริดี้ (Ailuridae))

แพนด้าเป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า

หมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือและมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร

การค้นพบ

เกาเกา, แพนด้าเพศผู้ที่สวนสัตว์ซานดิเอโก

แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1869 โดยซ็อกการีชาวฝรั่งเศส อาร์แซน แวงแกร์ ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1869 ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักปรัชญาชาวดัตช์ ลูวี ฟัน คาล เขาซื้อลูกของมันมาในปี ค.ศ. 1916 เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1936 ป๋าแพนด้า เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหราชอาณาจักร เป็นลูกแพนด้าชื่อเจอ-หร่าน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์แอนฟิลด์ในลิเวอร์พูล

สถานะ

ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุด[3] มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[3] อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[4] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น[5][6] สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์[7]

แพนด้ายักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า "ทูตสันถวไมตรี"

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน

อ้างอิง

  1. "Global Species Programme – Giant panda". กองทุนสัตว์ป่าโลก. 14 พ.ย. 2550. สืบค้นเมื่อ 22 ก.พ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ท่องโลกกว้าง: สัตว์ป่าหน้าแปลก". ไทยพีบีเอส. 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  3. 3.0 3.1 "Number of pandas successfully bred in China down from last year". ซินหัว. 8 พ.ย. 2550. สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Hope for future of giant panda". บีบีซีนิวส์. 20 มิ.ย. 2549. สืบค้นเมื่อ 14 ก.พ. 2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Giant panda gives birth to giant cub
  6. Warren, Lynne (ก.ค. 2549). "Pandas, Inc". เนชันแนลจีโอกราฟิก. สืบค้นเมื่อ 10 เม.ย. 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "Concern grows for smallest bear". บีบีซีนิวส์. 12 พ.ย. 2550. สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ailuropoda melanoleuca ที่วิกิสปีชีส์