ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขเพิ่มเติม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แก้ไขเพิ่มเติม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมือง[[กำแพงเพชร]]และ[[เชียงราย]] เมื่อ[[พระเจ้าแสนเมืองมา]] เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับ[[พระแก้วมรกต]] เมื่อ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ [[พ.ศ. 2205]] ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]]กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี
ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมือง[[กำแพงเพชร]]และ[[เชียงราย]] เมื่อ[[พระเจ้าแสนเมืองมา]] เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับ[[พระแก้วมรกต]] เมื่อ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ [[พ.ศ. 2205]] ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่[[วัดพระศรีสรรเพชญ์]]กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี


เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่[[พม่า]]ใน [[พ.ศ. 2310]] ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่[[พม่า]]ใน [[พ.ศ. 2310]] ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปยังนครเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระพุทธสิหิงค์จึงได้สถิตประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ตราบตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้


พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ ในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 องค์ คือองค์แรกพระสิงห์1ศิลปะแบบเชียงแสนรุ่น 1 ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (องค์จริง) องค์ที่สองพระสิงห์ 2 ศิลปะแบบสุโขทัย ปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไทสวรรค์ ในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพมหานคร(อัญเชิญมาจาก สุโขทัย) ส่วนองค์ที่สามพระสิงห์ 3 ศิลปะแบบล้านช้าง ปางสมาธิ(องค์เล็กสุด)ประดิษฐานอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ ในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 องค์ คือองค์แรกพระสิงห์1ศิลปะแบบเชียงแสนรุ่น 1 ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (องค์จริง) องค์ที่สองพระสิงห์ 2 ศิลปะแบบสุโขทัย ปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไทสวรรค์ ในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพมหานคร(อัญเชิญมาจาก สุโขทัย) ส่วนองค์ที่สามพระสิงห์ 3 ศิลปะแบบล้านช้าง ปางสมาธิ(องค์เล็กสุด)ประดิษฐานอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในสามที่นี้ ล้วนแต่เป็นองค์จริงทั้งสิ้น และขนาดความกว้างของหน้าตัก และความสูง รวมถึงศิลปะในการสร้างพระสิงห์ทั้งสามองค์นี้ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันจึงเป็นที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งว่าประเทศไทย มีพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานคู่ราชอาณาจักร ถึงสามองค์ด้วยกัน
พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในสามที่นี้ ล้วนแต่เป็นองค์จริงทั้งสิ้น และขนาดความกว้างของหน้าตัก และความสูง รวมถึงศิลปะในการสร้างพระสิงห์ทั้งสามองค์นี้ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันจึงเป็นที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งว่าประเทศไทย มีพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานคู่ราชอาณาจักร ถึงสามองค์ด้วยกัน


ส่วนที่มาขอชื่อวัดพระสิงห์ ที่จังหวัดเชียงรายนั้น ก็เนื่องมาจากวัดแห่งนั้นเคยเป็นสถานที่ ที่ใช้ประดิษฐาน. พระสิงห์มาก่อน ซึ่งปัจจุบันพระสิงห์องค์นั้น(องค์จริง)ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนองค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระสิงห์ ที่จังหวัดเชียงรายนั้นเป็นองค์จำลอง
ส่วนที่มาขอชื่อวัดพระสิงห์ ที่จังหวัดเชียงรายนั้น ก็เนื่องมาจากวัดแห่งนั้นเคยเป็นสถานที่ ที่ใช้ประดิษฐาน พระสิงห์มาก่อน ซึ่งปัจจุบันพระสิงห์(องค์จริง) ประดิษฐานอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนองค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงรายนั้น เป็นองค์จำลอง


== ลำดับเจ้าอาวาส ==
== ลำดับเจ้าอาวาส ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:02, 4 มีนาคม 2559

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
พระเจดีย์และพระอุโบสถ วัดพระสิงห์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระสิงห์
ที่ตั้งถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)
ความพิเศษประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) (ศิลปะเชียงแสน)
จุดสนใจสักการะพระพุทธสิหิงค์ ชมซุ้มประตูโขง และจิตรกรรมฝาผนัง
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ไทยถิ่นเหนือ: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ด้านในทางทิศตะวันตกหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บนถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูป เก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสน ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"ซึ่งในช่วงวันที่ 13 - 15 เมษายน ของทุกปี จะมีพิธีอาราธนาอัญเชิญพระสิงห์ (องค์จริง) ออกจากวิหารลายคำ เพื่ออัญเชิญขึ้นรถบุษบกแบบล้านนา ร่วมในขบวนแห่งพระสิงห์ และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ อีกหลายองค์ แห่รอบเมืองเชียงใหม่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำเนื่องในเทศกาลประเพณี ปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ ของจังหวัดเชียงใหม่อีกงานหนึ่ง โดยจะมีขบวนแห่ที่งดงามยิ่งใหญ่ ในช่วงบ่ายของวันที่ 13 เมษายนของทุกปี จากนั้นจะอัญเชิญพระสิงห์ขึ้นประดิษฐาน ณ บุษบก บนลานหน้าวัดพระสิงห์ฯ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำขอพรวันสงกรานต์ จนถึงวันที่ 15 เมษายน และในช่วงเช้าวันที่ 16 เมษายนจะมีพิธีอาราธนาอัญเชิญพระสิงห์ กลับขึ้นประดิษฐาน บนวิหารลายคำเช่นเดิม นอกจากนี้ในวัดพระสิงห์ฯยังมีพระธาตุเจดีย์ช้างล้อมวัดพระสิงห์ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัพพุทธเจ้าและยังเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิด ของผู้ที่เกิด ปีมะโรง ซึ่งปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ฯและศรัทธาประชาชน ได้ดำเนินการขออนุญาตจากกรมศิลปกร เพื่อทำการปิดทองจังโก พระธาตุเจดีย์ช้างล้อมวัดพระสิงห์และพระธาตุบริวารให้เหลืองอร่าม เพื่อบูรณะปฎิสังขร และเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพรต่อไป และเป็นประจำทุกปีในวันที่ 1 มกราคม และ 15 เมษายน วัดพระสิงห์ฯจะจัดพิธีสักการะสรงน้ำและห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ช้างล้อมวัดพระสิงห์ขึ้นในช่วงบ่าย ซึ่งถือว่าเป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ อีกงานหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยจัดพิธีแบบล้านนา นอกจากนี้ภายในวัดพระสิงห์ฯ ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่งคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองคำแท้บริสุทธิ์ ไว้เป็นอนุสรณ์เมื่อการทำสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 8 ของโลก ณ วัดเจ็ดยอด เมื่อปี พ.ศ.2020 สมัยอาณาจักรล้านนา จากนั้นจึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระสิงห์ฯแห่งนี้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่อีกองค์หนึ่ง ตามประวัติพระเจ้าทองทิพย์แสดงปาฎิหารย์ เมื่อครั้งกุฎิเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ฯ หลังเก่าถูกเพลิงไหม้วอดเกือบทั้งหลัง ทุกอย่างถูกเพลิงเผาผลาญจนเหลือแต่ซาก แต่ปรากฎว่า พระเจ้าทองทิพย์องค์เดียว ที่เพลิงไม่อาจต้องพระวรกายเลยแม้แต่น้อย ซึ่งชาวเชียงใหม่ศรัทธาและเคารพสักการะอย่างยิ่ง มาจนถึงปัจจุบัน วัดพระสิงห์วรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดหลวงประจำนครเชียงใหม่ และอาณาล้านนาในอดีต ที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้างและทำนุบำรุงมาโดยตลอดตามลำดับ จนถึงสมัยปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงค์ทุกพระองค์ ก็ทรงเสด็จมาสักการะพระสิงห์และพระธาตุเจดีย์ รวมถึงได้ทรงเสด็จมาประกอบพระราชพิธีต่างๆอยู่หลายคราวด้วยกัน อีกทั้งพระราชวงค์ทุกพระองค์ยังทรงทำนุบำรุงวัดพระสิงห์ฯมาโดยลำดับตลอดจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" เนืี่องจาก ลี ในภาษาล้านนาโบราณแปลว่าตลาด ซึ่งสมัยนั้นหน้าวัดพระสิงห์ ยาวไปจนถึงสี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่ เป็นตลาด วัดนี้จึงได้ชื่อเมื่ิอครั้งแรกสร้างว่า วัดลีเชียงพระ ต่อมาสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย เพื่ิอมาประดิษฐาน ณ วัดสวนดอก แต่ปรากฎว่าเมื่อขบวนแห่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ มาถึงหน้าวัด ลีเชียงพระ รถบุษบกแบบล้านนา ที่อัญเชิญพระสิงห์ กลับลากไม่ขยับ พระเจ้าแสนเมืองมา โปรดให้ใช้คน ใช้ช้าง ใช้ม้า เพื่อลากรถบุษบก ไปยังวัดสวนดอกแต่รถบุษบกก็มิขยับไปไหน พระเจ้าแสนเมืองมา เห็นเหตุเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้จัดพิธีแบบล้านนา อัญเชิญพระสิงห์ มาประดิษฐาน ณ วิหารหลวง วัดลีเชียงพระ และต่อมาจึงสร้างวิหารลายคำ เพื่ิอประดิษฐานพระสิงห์ จนถึงปัจจุบัน ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพระสิงห์ของชาวเชียงใหม่และล้านนา และเหตุแห่งความอัศจรรย์ที่รถบุษบกอัญเชิญพระสิงห์ มิยอมขยับไปไหนในครั้งนั้นแพร่สะพัดไปทั่ว นครเชียงใหม่ และล้านนา ชาวนครเชียงใหม่และล้านนา จึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดพระสิงห์ มาจนถึงปัจจุบัน

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ [1]

ตำนานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่)

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางมารวิชัย สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร [2] (องค์จริงที่จังหวัดเชียงใหม่)ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปยังนครเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระพุทธสิหิงค์จึงได้สถิตประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ตราบตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ ในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 องค์ คือองค์แรกพระสิงห์1ศิลปะแบบเชียงแสนรุ่น 1 ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (องค์จริง) องค์ที่สองพระสิงห์ 2 ศิลปะแบบสุโขทัย ปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไทสวรรค์ ในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพมหานคร(อัญเชิญมาจาก สุโขทัย) ส่วนองค์ที่สามพระสิงห์ 3 ศิลปะแบบล้านช้าง ปางสมาธิ(องค์เล็กสุด)ประดิษฐานอยู่ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในสามที่นี้ ล้วนแต่เป็นองค์จริงทั้งสิ้น และขนาดความกว้างของหน้าตัก และความสูง รวมถึงศิลปะในการสร้างพระสิงห์ทั้งสามองค์นี้ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันจึงเป็นที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งว่าประเทศไทย มีพระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ ที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานคู่ราชอาณาจักร ถึงสามองค์ด้วยกัน

ส่วนที่มาขอชื่อวัดพระสิงห์ ที่จังหวัดเชียงรายนั้น ก็เนื่องมาจากวัดแห่งนั้นเคยเป็นสถานที่ ที่ใช้ประดิษฐาน พระสิงห์มาก่อน ซึ่งปัจจุบันพระสิงห์(องค์จริง) ประดิษฐานอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนองค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงรายนั้น เป็นองค์จำลอง

ลำดับเจ้าอาวาส

วัดพระสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ มีเจ้าอาวาสครองวัดสืบมาเท่าที่ปรากฏนามมีดังนี้[3]

ลำดับที่ รายนาม ดำรงตำแหน่ง
1 พระอภัยจุลมหาเถระ พ.ศ. 1888 รัชสมัยพญาผายู
2 สมเด็จพระศรีนันทะ รัชสมัยพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์
3 พระเจ้าจันทรังสีมหาเถระ รัชสมัยพระเจ้ากาวิละ
4 สมเด็จพระจันทมหาเถระ รัชสมัยพระยาพุทธวงศ์
5 ครูบาโพธิ์ ?
6 พระกัญจนมหาเถระ พ.ศ. 2402 รัชสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
7 พระเจ้าคันธา คนฺธโร พ.ศ. 2453
8 ครูบาศรีวิชัย รักษาการในปี พ.ศ. 2467
9 พระแก้ว รักษาการในปี พ.ศ. 2475
10 พระโพธิรังสี (สีโหม้) พ.ศ. 2481-2492
11 พระอภัยสารทะ (สมบูรณ์ จนฺทวํโส) พ.ศ. 2492-2493
12 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) พ.ศ. 2493-2516
13 พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร) พ.ศ. 2516-2552
14 พระราชสิงหวรมุนี (โสภณ โสภโณ) พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
  2. เทพชู ทับทอง,ต่วย'ตูน พิเศษ พฤษภาคม พ.ศ. 2546 หน้า 105
  3. จรีย์ สุนทรสิงห์. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดามคอมพิวกราฟิค, 2543. 64 หน้า. หน้า 23-24. ISBN 974-85311-1-2

4. ข้อมูลจากประวัติวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และตำนานพระสิงห์ ของวัดพระสิงห์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ อนุญาตให้เผยแพร่โดย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ฯ