ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธาตุดอยคำ"

พิกัด: 18°45′35″N 98°55′5″E / 18.75972°N 98.91806°E / 18.75972; 98.91806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขเพิ่มเติม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แก้ไขเพิ่มเติม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
'''วัดพระธาตุดอยคำ''' เป็นวัดที่มีความสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลัง[[อุทยานหลวงราชพฤกษ์]] ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำยังมีลานชมวิว ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่ ที่สวยงามดั่งสวรรค์บนดินได้อีกจุดหนึ่ง นอกจากที่ลานชมวิววัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร และนอกจากนี้ยามค่ำคืนเมื่อมองขึ้นไปบนพระธาตุดอยคำจะเห็นองค์พระธาตุเหลืองอร่ามสว่างไสว งดงามยิ่งนัก
'''วัดพระธาตุดอยคำ''' เป็นวัดที่มีความสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลัง[[อุทยานหลวงราชพฤกษ์]] ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำยังมีลานชมวิว ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่ ที่สวยงามดั่งสวรรค์บนดินได้อีกจุดหนึ่ง นอกจากที่ลานชมวิววัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร และนอกจากนี้ยามค่ำคืนเมื่อมองขึ้นไปบนพระธาตุดอยคำจะเห็นองค์พระธาตุเหลืองอร่ามสว่างไสว งดงามยิ่งนัก


งานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยคำประจำปี กำหนดจัดขึ้นหลังวันวิสาขะบูชาแล้ว 5 วัน หรือหลังวันนมัสการและสรงน้ำพระบรมธาตุดอยสุเทพแล้ว 5 วัน กำหนดจัดงานประเพณีรวม 3 วัน 2 คืน โดยงานจะสิ้นสุดในช่วงสายของวันอัฐมีบูชา ซึ่งในแต่ละปีพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาต ทรงประทานน้ำสรงพระธาตุและพระไตร เพื่อสรงน้ำพระธาตุด้วย โดยมีการจัดขบวนแห่น้ำสรงและผ้าไตรประทานเตียว(เดิน)ขึ้นวัดพระธาตุดอยคำอย่างงดงาม ซึ่งขบวนแห่จัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันแรกในการจัดงานประเพณี และจัดพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยคำแบบพิธีล้านนา รวมทั้งตลอดระยะเวลาที่จัดงานประเพณีรวม 3 วัน 2 คืนนั้น คณะวงปี่พาทย์ล้านนาจากหลากหลายที่ ได้พร้อมใจกันมาร่วมบรรเลงปี่พาทย์ล้านนา เพื่อร่วมบูชาพระธาตุดอยคำด้วย นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาที่จัดงาน ยังมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นมากมายจากคนในชุมชนเทศบาลเมืองแม่เหี๊ยะอีกด้วย
งานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยคำประจำปี


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 4 มีนาคม 2559

วัดพระธาตุดอยคำ
แผนที่
ที่ตั้งวัดพระธาตุดอยคำ หมู่ 3 เมืองแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
ก่อตั้งพ.ศ. 1230
พระประธานพระพุทธนพีสีพิงครัตน์
พระพุทธรูปสำคัญพระเจ้าทันใจ
เจ้าอาวาสพระครูสุนทรเจติยารักษ์ (ครูบาพิณ )
เวลาทำการ6.00 น. - 18.00 น.
จุดสนใจจุดชมวิว
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดที่มีความสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลังอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำยังมีลานชมวิว ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่ ที่สวยงามดั่งสวรรค์บนดินได้อีกจุดหนึ่ง นอกจากที่ลานชมวิววัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร และนอกจากนี้ยามค่ำคืนเมื่อมองขึ้นไปบนพระธาตุดอยคำจะเห็นองค์พระธาตุเหลืองอร่ามสว่างไสว งดงามยิ่งนัก

งานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยคำประจำปี กำหนดจัดขึ้นหลังวันวิสาขะบูชาแล้ว 5 วัน หรือหลังวันนมัสการและสรงน้ำพระบรมธาตุดอยสุเทพแล้ว 5 วัน กำหนดจัดงานประเพณีรวม 3 วัน 2 คืน โดยงานจะสิ้นสุดในช่วงสายของวันอัฐมีบูชา ซึ่งในแต่ละปีพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาต ทรงประทานน้ำสรงพระธาตุและพระไตร เพื่อสรงน้ำพระธาตุด้วย โดยมีการจัดขบวนแห่น้ำสรงและผ้าไตรประทานเตียว(เดิน)ขึ้นวัดพระธาตุดอยคำอย่างงดงาม ซึ่งขบวนแห่จัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันแรกในการจัดงานประเพณี และจัดพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยคำแบบพิธีล้านนา รวมทั้งตลอดระยะเวลาที่จัดงานประเพณีรวม 3 วัน 2 คืนนั้น คณะวงปี่พาทย์ล้านนาจากหลากหลายที่ ได้พร้อมใจกันมาร่วมบรรเลงปี่พาทย์ล้านนา เพื่อร่วมบูชาพระธาตุดอยคำด้วย นอกจากนี้ตลอดระยะเวลาที่จัดงาน ยังมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นมากมายจากคนในชุมชนเทศบาลเมืองแม่เหี๊ยะอีกด้วย

ประวัติ

วัดพระธาตุดอยคำสร้างในปี พ.ศ. 1230 รัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 1230 ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอยคำ"

พ.ศ. 2509 ขณะนั้นวัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่

ตำนาน

เทือกเขาถนนธงชัย ด้านทิศตะวันตกบนเทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเจดีย์สำคัญและเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ถึง 2 องค์พระเจดีย์ แต่ละแห่งถูกสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยหริภุญชัยและล้านนาตามลำดับ หนึ่งในนั้นคือพระธาตุดอยคำ อยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “พระธาตุดอยคำ” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ จิคำและตาเขียวมาก่อน ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ – ย่าแสะ” ปู่แสะย่าแสะมีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤๅษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ”

จากตำนานหลายฉบับได้กล่าวว่า เทวดาได้นำพระเกศาธาตุที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแก่ปู่แสะและย่าแสะ นำขึ้นมาฝังและก่อสถูปไว้บนดอยแห่งนี้ และต่อมาในปี พ.ศ. 1230 เจ้ามหันตยศ และเจ้าอนันตยศ 2 พระโอรสแฝดของพระนางจามเทวี แห่งหริภุญชัยนครได้ขึ้นมาก่อเจดีย์ครอบพระสถูปเกศานั้นไว้ ส่วนพระเจดีย์แห่งที่ 2 ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ทางทิศเหนือของดอยคำ คือ พระธาตุดอยสุเทพ

ภาพภายในวัด

อ้างอิง

1.18°45′35″N 98°55′5″E / 18.75972°N 98.91806°E / 18.75972; 98.91806 ข้อมูลจากตำนานวัดพระธาตุดอยคำ ฉบับวัดพระธาตุดอยคำ