ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงคราม ค.ศ. 1812"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:


สงครามนี้รบกันในสามเขตสงคราม เขตสงครามแรก ในทะเล เรือรบและไพรวะเทียร์ (privateer) ต่างฝ่ายโจมตีเรือพาณิชย์ของอีกฝ่าย ขณะที่บริเตนปิดล้อมชายฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐและตีโฉบฉวยขนาดใหญ่ในสงครามระยะหลัง เขตสงครามที่สอง มีการสู้รบทางบกและนาวิกตามชายแดนสหรัฐ–แคนาดา เขตสงครามที่สาม มียุทธการขนาดใหญ่ในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและกัล์ฟโคสต์ เมื่อสงครามยุติ ทั้งสองฝ่ายลงนามและให้สัตยาบัน[[สนธิสัญญาเกนต์]] และตามสนธิสัญญา คืนดินแดนที่ถูกยึดครอง เชลยศึกและเรือที่ถูกยึด (แม้ไม่มีฝ่ายใดคืนเรือรของอีกฝ่ายเนื่องจากมักขึ้นระวางประจำการอีกครั้งเมื่อยึดได้) แก่เจ้าของก่อนสงครามและคืนความสัมพันธ์การค้าฉันท์มิตรโดยปราศจากข้อจำกัด
สงครามนี้รบกันในสามเขตสงคราม เขตสงครามแรก ในทะเล เรือรบและไพรวะเทียร์ (privateer) ต่างฝ่ายโจมตีเรือพาณิชย์ของอีกฝ่าย ขณะที่บริเตนปิดล้อมชายฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐและตีโฉบฉวยขนาดใหญ่ในสงครามระยะหลัง เขตสงครามที่สอง มีการสู้รบทางบกและนาวิกตามชายแดนสหรัฐ–แคนาดา เขตสงครามที่สาม มียุทธการขนาดใหญ่ในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและกัล์ฟโคสต์ เมื่อสงครามยุติ ทั้งสองฝ่ายลงนามและให้สัตยาบัน[[สนธิสัญญาเกนต์]] และตามสนธิสัญญา คืนดินแดนที่ถูกยึดครอง เชลยศึกและเรือที่ถูกยึด (แม้ไม่มีฝ่ายใดคืนเรือรของอีกฝ่ายเนื่องจากมักขึ้นระวางประจำการอีกครั้งเมื่อยึดได้) แก่เจ้าของก่อนสงครามและคืนความสัมพันธ์การค้าฉันท์มิตรโดยปราศจากข้อจำกัด

ฝ่ายบริเตนใช้ยุทธศาสตร์ตั้งรับเป็นหลักในจังหวัดอัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา เนื่องจากกองทัพบกและเรือส่วนใหญ่ติดพันในทวีปยุโรปโดยสู้รบในสงครามนโปเลียน ชัยช่วงต้นเหนือกองทัพสหรัฐที่นำอย่างเลว เช่น ในยุทธการที่ควีนสตันไฮตส์ (Battle of Queenston Heights) แสดงว่าการพิชิตแคนาดาจะพิสูจน์ว่ายากกว่าที่คาด กระนั้น สหรัฐยังสามารถชนะพันธมิตรอเมริกันพื้นเมืองของบริเตนได้อย่างร้ายแรง ยุติโอกาสของสมาพันธรัฐอินเดียนและรัฐอเมริกันพื้นเมืองเอกราชในมิดเวสต์โดยบริเตนให้การสนับสนุน กองทัพสหรัฐยังสามารถได้กำไรและคว้าชัยหลายครั้ง ณ ชายแดนแคนาดา เข้าควบคุมทะเลสาบอีรีใน ค.ศ. 1813 ยึดส่วนตะวันตกของอัปเปอร์แคนาดา ทว่า ความพยายามยึด[[มอนทรีออล]]ขนาดใหญ่ของสหรัฐถูกขับไล่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1813 แม้ชัยสำคัญของสหรัฐที่ชิพเพวา (Chippawa) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 สุดท้ายความพยายามจริงจังของสหรัฐในการพิชิตอัปเปอร์แคนาดาอย่างสมบูรณ์ต้องเลิกให้หลัง[[ยุทธการที่ลันดีส์เลน]] (Battle of Lundy's Lane) อันนองเลือดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 จากนั้น สหรัฐถอยไปประมาณ 30 กิโลเมตรจากลันดีส์เลนไปฟอร์ตอีรี ที่ซึ่งต้านทานการล้อมนานหลายเดือน สุดท้ายบริเตนถอนกำลัง แต่เมื่อฤดูหนาวย่างกราย ฝ่ายอเมริกันรื้อป้อมแล้วถอยข้ามไนแอการา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:07, 3 มีนาคม 2559

สงคราม ค.ศ. 1812 เป็นความขัดแย้งทางทหารกินเวลาสองปีครึ่ง สู้รบกันระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่งกับสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ อาณานิคมอเมริดาเหนือและพันธมิตรอินเดียนอเมริกาเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ในสหรัฐและแคนาดามองว่าความขัดแย้งนี้เป็นสงคราม แต่นักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปบางทีมองว่าเป็นเขตสงครามย่อมของสงครามนโปเลียน เนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสงครามนั้น (โดยเฉพาะระบบภาคพื้นทวีป) เมื่อสงครามยุติใน ค.ศ. 1815 ปัญหาส่วนใหญ่ระงับแล้วและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเขตแดน

สหรัฐประกาศสงครามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1812 ด้วยหลายสาเหตุ ซึ่งรวมการจำกัดการค้าซึ่งมาจากสงครามกับฝรั่งเศสของบริเตน การเกณฑ์กะลาสีวาณิชย์อเมริกันถึง 10,000 คนเข้าราชนาวี การสนับสนุนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองที่ต่อสู้กับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกันที่ชายแดนของบริเตน ความเจ็บแค้นจากการลบหลู่เกียรติของชาติระหว่างเหตุการณ์เชซาพีก–เลพเพิร์ด และผลประโยชน์ของอเมริกันที่เป็นไปได้ในการผนวกดินแดนของบริเตน เป้าหมายสงครามหลักของบริเตน คือ ป้องกันอาณานิคมอเมริกาเหนือของตน แม้ยังหวังด้วยว่าจะตั้งรัฐกันชนอินเดียนที่เป็นกลางในมิดเวสต์

สงครามนี้รบกันในสามเขตสงคราม เขตสงครามแรก ในทะเล เรือรบและไพรวะเทียร์ (privateer) ต่างฝ่ายโจมตีเรือพาณิชย์ของอีกฝ่าย ขณะที่บริเตนปิดล้อมชายฝั่งแอตแลนติกของสหรัฐและตีโฉบฉวยขนาดใหญ่ในสงครามระยะหลัง เขตสงครามที่สอง มีการสู้รบทางบกและนาวิกตามชายแดนสหรัฐ–แคนาดา เขตสงครามที่สาม มียุทธการขนาดใหญ่ในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและกัล์ฟโคสต์ เมื่อสงครามยุติ ทั้งสองฝ่ายลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาเกนต์ และตามสนธิสัญญา คืนดินแดนที่ถูกยึดครอง เชลยศึกและเรือที่ถูกยึด (แม้ไม่มีฝ่ายใดคืนเรือรของอีกฝ่ายเนื่องจากมักขึ้นระวางประจำการอีกครั้งเมื่อยึดได้) แก่เจ้าของก่อนสงครามและคืนความสัมพันธ์การค้าฉันท์มิตรโดยปราศจากข้อจำกัด

ฝ่ายบริเตนใช้ยุทธศาสตร์ตั้งรับเป็นหลักในจังหวัดอัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา เนื่องจากกองทัพบกและเรือส่วนใหญ่ติดพันในทวีปยุโรปโดยสู้รบในสงครามนโปเลียน ชัยช่วงต้นเหนือกองทัพสหรัฐที่นำอย่างเลว เช่น ในยุทธการที่ควีนสตันไฮตส์ (Battle of Queenston Heights) แสดงว่าการพิชิตแคนาดาจะพิสูจน์ว่ายากกว่าที่คาด กระนั้น สหรัฐยังสามารถชนะพันธมิตรอเมริกันพื้นเมืองของบริเตนได้อย่างร้ายแรง ยุติโอกาสของสมาพันธรัฐอินเดียนและรัฐอเมริกันพื้นเมืองเอกราชในมิดเวสต์โดยบริเตนให้การสนับสนุน กองทัพสหรัฐยังสามารถได้กำไรและคว้าชัยหลายครั้ง ณ ชายแดนแคนาดา เข้าควบคุมทะเลสาบอีรีใน ค.ศ. 1813 ยึดส่วนตะวันตกของอัปเปอร์แคนาดา ทว่า ความพยายามยึดมอนทรีออลขนาดใหญ่ของสหรัฐถูกขับไล่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1813 แม้ชัยสำคัญของสหรัฐที่ชิพเพวา (Chippawa) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 สุดท้ายความพยายามจริงจังของสหรัฐในการพิชิตอัปเปอร์แคนาดาอย่างสมบูรณ์ต้องเลิกให้หลังยุทธการที่ลันดีส์เลน (Battle of Lundy's Lane) อันนองเลือดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 จากนั้น สหรัฐถอยไปประมาณ 30 กิโลเมตรจากลันดีส์เลนไปฟอร์ตอีรี ที่ซึ่งต้านทานการล้อมนานหลายเดือน สุดท้ายบริเตนถอนกำลัง แต่เมื่อฤดูหนาวย่างกราย ฝ่ายอเมริกันรื้อป้อมแล้วถอยข้ามไนแอการา